www.princedesign.com 0888264946
<<
ธันวาคม 2553
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
28 ธันวาคม 2553

สร้างนวัตกรรมด้วยวิธีคิดแบบ Blue Ocean

สร้างนวัตกรรมด้วยวิธีคิดแบบ Blue Ocean

เมื่อลูกค้าเดิมเริ่มลดลง ลูกค้าใหม่ไม่ปรากฎ ท่านจะทำอย่างไร? ดั่งข้อคิดที่ว่า "ผู้แพ้เห็นปัญหาและซ่อนตัวเสีย ผู้ชนะมองเห็นโอกาสและสร้างกลยุทธ์" อ้างอิงถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งสอนให้เราไม่ละเลยสิ่งที่มีอยู่ในตัว หากรู้จักนำมาสร้างสรรค์ให้กลายเป็นสิ่งใหม่ ผ่านการทดลองและพัฒนาเพื่อประโยชน์ส่วนตัวและส่วนรวม โดยคำนึงถึงโอกาสทางการตลาดที่เหมาะสม ก็เรียกได้ว่า เราได้สร้างนวัตกรรม(Innovation) จากภูมิปัญญาท้องถิ่นขึ้นแล้ว

วิธีคิดใช้นวัตกรรมเพื่อเปิดตลาดกลุ่มใหม่ ลูกค้ากลุ่มใหม่ที่มีการแข่งขันน้อย ทำกำไรได้ดี เรียกว่ากลยุทธ์น่านน้ำสีคราม(Blue Ocean Streategy) อันสะท้อนถึงขีดความสามารถในการปฎิบัติเชิงกลยุทธ์(Strategy Action Competency) ของนักบริหารสมัยใหม่ ที่จะช่วยให้ธุรกิจปรับตัวได้ดีท่ามกลางเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ตรงกันข้ามกับกลยุทธ์แบบเดิมที่ เรียกว่า น่านน้ำสีแดง(Red Ocean) ซึ่งเน้นการแข่งขันกันในตลาดกลุ่มเดิมที่อิ่มตัวแล้วและตลาดไม่สามารถเติบโตขึ้นได้อีก จึงทำให้เกิดการแย่งลูกค้ากันโดยแข่งกันที่ราคาในที่สุด จะส่งผลทำให้ธุรกิจเหล่านี้ประสบปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้

ทักษะการคิดแบบน่านน้ำสีคราม(Blue Ocean Strategy)

ทักษะนี้เป็นการระดมสมองทีมงานผ่านการจินตนาภาพเชิงบวกในธุรกิจที่ทำอยู่ เพื่อค้นหาตลาดเฉพาะและสร้างคาวามแตกต่างให้กับสินค้าและบริการ อันเป็นการเปิดตลาดใหม่ที่แข่งขันน้อย ทำให้ธุรกิจปรับตัวและอยู่รอดต่อไปได้ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน

1.ตั้งคำถามเพื่อเปิดจินตนาภาพเชิงบวก (Positive-viewed Questioning) เป็นการเปิดโอกาสให้ทีมงานช่วยกันคิดนอกกรอบให้เห็นภาพปลายทางของกิจการที่ทำว่าอยากให้เป็นอย่างไร โดยตั้งคำถามว่า"หากตื่นขึ้นมาแล้ว พบว่าเป้าหมายที่ตั้งใจไว้สำเร็จ วันนั้นเหตุการณ์จะเป็นอย่างไร" เช่น ร้านขายสินค้า "คนจะมาออกันเต็มร้าน เดินกันไปมา มือกดเครื่องเก็บเงินเป็นระวิง...."ซึ่งจะทำให้ทุกคนรู้สึกตื่นเต้นและกล้าคิดกล้าแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ และไอเดียบางอย่างจะผุดขึ้นมาอย่างไม่เคยนึกมาก่อนซึ่งนำมาปรับใช้ได้ให้เกิดประโยชน์ต่อไปได้

2.ตั้งคำถามค้นเพื่อหาความแตกต่าง (Differentiation-focused Questioning) เป็นการถามต่อจากข้อ1 เพื่อค้นพบตลาดใหม่และสินค้าที่แตกต่างจากเดิมซึ่งอยู่ในศักยภาพที่เราทำได้ โดยถามว่า"ลูกค้าที่เข้ามาเป็นใครบ้าง?" ส่วนใหญ่เป็นใคร?" "เขาซื้อสินค้าอะไร?" "อะไรทำให้เขาซื้อสินค้าเรา แต่ไม่ซื้อสินค้าคนอื่น" ซึ่งจะทำให้เราเริ่มเห็นตลาดใหม่ สินค้าใหม่ที่ตรงความต้องการ แม้อาจไม่ใหญ่มาก แต่การแข่งขันมีน้อย จึงเหมาะกับกิจการ SMEs ที่ยังไม่สามารถแข่งขันกับธุรกิจขนาดใหญ่ในตลาดเดิมได้

3.ตั้งคำถามเพื่อดำเนินการจริง (Action-Oriented Questioning) เมื่อเรารู้ว่าตลาดใหม่และสินค้าใหม่ที่ตรงความต้องการของตลาดเป็นอย่างไรแล้ว เราก็รีบวางแผนการผลิตหรือจำหน่ายสินค้าและบริการอย่างรวดเร็ว คล่องตัว ซึ่งเป็นจุดแข็งของ SMEs ที่เรียกว่าจิ๋วแต่แจ๋ว

ถ้าหากลูกค้าทุกคนหันมาซื้อสินค้าและบริการของท่าน ย่อมแสดงว่าท่านได้ก้าวพ้นจากน่านน้ำสีแดงแล้ว


Create Date : 28 ธันวาคม 2553
Last Update : 28 ธันวาคม 2553 15:28:45 น. 0 comments
Counter : 267 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

PRINCE DESIGN
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add PRINCE DESIGN's blog to your web]