<<
สิงหาคม 2554
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
22 สิงหาคม 2554
 
 
คำสอนของพระพุทธเจ้า




" คำสอน"พระพุทธเจ้า" "

ให้
ลูกหลานทั้งหลายจงจดจำคิดว่า
"โลกนี้เป็นอนิจจังทุกอย่างไม่มีอะไรเที่ยงมันไม่มีการทรงตัวโลกนี้ถ้า
เราเอาจิตเข้าไป ยึดถือมันก็เป็นทุกข์" ให้ทุกคนทำกำลังใจแข็งไว้ว่า
เราจะไม่ยอมแพ้ความชั่ว จะไม่ยอมให้ความชั่วเข้ามาเป็นเจ้านายหัวใจ
เราจะทรงกำลังใจ ไว้แต่เพียงความดี เมื่อจิตใจมันเข้มแข็งอย่างนี้
ความชั่วมันเป็นเจ้านายไม่ได้

สิ่ง
ใดที่เคยทำผิดพลาดไปแล้ว พระพุทธเจ้าทรงบอกว่า
ให้ลืมเสียทุกอย่างไม่ตามนึกถึงมัน มุ่งหน้าเฉพาะความดีที่ให้ภาวนา พุทโธ
ธัมโม สังโฆ นี้ให้นึกถึงความดีอย่างเดียว ไอ้ความที่ไม่ดี
อาจแลบเข้ามาบ้างเป็นของธรรมดา เราก็นึกถึงความ ดีให้มาก ไม่ตามนึกถึงมัน
มันก็ไม่เกาะใจเรา ใจเราเกาะเฉพาะบุญใช่ไหม เกาะเฉพาะบุญ เวลาตาย
บุญก็นำเราไปก่อน ไปสวรรค์ก่อนอย่างน้อย

การ
ปฏิบัติพระกรรมฐานนี้ มีความสำคัญมากเพราะว่า เราทุกคน ถ้าก่อนจะตาย
ถ้าจิตจับอารมณ์ที่เป็นบาป อย่างใดอย่างหนึ่ง ในขณะนั้นแล้วก็ตาย
อย่างนี้ตายไปอบายภูมิแน่ ถึงแม้จะทำบุญไว้มากสักเพียงไรก็ตาม
ต้องไปนรกก่อน เราจะไปสวรรค์ก่อน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนที่มีชีวิตอยู่
ถ้ามีความฉลาด ถึงแม้ว่าเราจะบาปมากจะมีบุญน้อย ก็ควบคุมอารมณ์
ที่เป็นบุญไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าหากว่าทุกคนตั้งใจ ไว้เฉพาะพระนิพพาน
ถึงแม้เราจะมีบุญน้อย เราก็สามารถไป พระนิพพานได้

พระ
พุทธเจ้าทรงแนะนำไว้ว่า ท่านทั้งหลายจงอย่านึกถึงความชั่ว ที่ทำมาแล้ว
ความชั่วก็คือ บาป บาปก็คือ ความชั่วเราไม่ยอมนึกถึงมัน
นึกถึงความดีอย่างเดียว ควบคุมจิตให้เป็นฌาน ให้ได้ทุกวัน ฌานก็ได้แก่
อารมณ์ชิน คิดไว้เสมอว่า เราจะเจริญสมาธิภาวนาได้ทุกอย่างเป็นพุทโธ
วันหนึ่งเราสามารถทำได้สัก10 นาที 20 นาทีก็ตาม แม้จะมีเวลาน้อย
และถ้าทำได้ ให้นึกถึงภาพพระพุทธรูปองค์ใดองค์หนึ่งที่เราชอบ
แล้วภาวนาอย่างนี้ทุกวันจนชิน อย่างนี้เรียกว่า เป็นฌาน

ถ้า
ทำได้แบบนี้ทุกวัน ถึงแม้จะบาป มากขนาดไหนก็ตาม ก่อนตายแทนที่จะเห็นภาพ
ที่เราเคยทำบาป บาปจะเข้ามาไม่ได้ มันมีแต่ภาพของบุญอย่างนี้ไปสวรรค์แน่
เป็นอย่างต่ำ การเจริญพระกรรมฐานอันดับแรก ให้ทุกคนกำ หนดรู้ลมหายใจเข้า
ออก เวลาหายใจเข้ารู้อยู่หายใจเข้า เวลาหายใจออกรู้อยู่หายใจออก
การภาวนาไม่จำกัดใคร จะภาวนาว่า อย่างไรก็ไม่เป็น ไรตามถนัดแต่ว่าก่อนภาวนา
ให้นึกถึงพระพุทธเจ้าก่อนถือเป็นพุทธานุสสติ
เวลาภาวนาจะใช้เวลาไหนบ้างก็ตามชอบ ใจถ้าเวลาอื่นไม่มี ก็นอนอย่าลืม
ถ้าศรีษะถึงหมอน ภาวนาพุทโธทันที นึกถึงภาพพระพุทธรูปองค์ใดองค์หนึ่ง
ที่เราชอบคิด ว่าองค์นี้คือ พระพุทธเจ้า แล้วก็ภาวนา อาจจะภาวนา "พุทโธ"
หายใจเข้านึกว่า "พุท" หายใจออกนึกว่า "โธ" สัก 2-3 ครั้งก็
ได้ตามความพอใจมากก็ได้น้อยก็ได้แล้วก็หลับไป พอตื่นขึ้นมาใหม่ๆ
ก็นึกถึงพระพุทธรูปองค์นั้นอีกแล้วก็ภาวนาว่า "พุทโธ" อีก ทำอย่างนี้ทุกวัน
จนกระทั่งวันไหน ถ้าเราไม่มีโอกาสจะทำ วันนั้นรำคาญ ต้องทำเป็นอารมณ์ชิน
อย่างนี้ ถือว่า ทรง ฌานในพุทธานุสสติกรรมฐานแล้ว
แม้ศีลมันจะขาดมันจะบกพร่องบ้าง ถึงยังไงก็ตาม ตายแล้วต้องไปสวรรค์แน่นอน

ญาติ
โยมพุทธบริษัทบางท่าน ที่ไม่สามารถจะรักษาศีล 5 ได้ครบถ้วนก็ให้จับ
อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
หนึ่งพุทธานุสสติกรรมฐานอย่าทิ้งพระพุทธเจ้า
และประการที่สองให้จับอารมณ์สังฆทาน มีภาพแบบไหน มีอะไรบ้างว่าเรา
เคยถวายสังฆทานแล้วในชีวิตนี้ จับอารมณ์ให้ทรงตัวส่วนนี้ เป็นส่วนหนึ่ง
ที่พาท่านไปนิพพานได้โดยง่ายเหมือนกัน และจงอย่าลืมคิด ตามความเป็นจริง
ตามอริยสัจว่า การเกิดมันเป็นทุกข์ ความแก่เป็นทุกข์
ความป่วยไข้ไม่สบายเป็นทุกข์ ความ พลัดพรากจากของรัก ของชอบใจเป็นทุกข์
ความตายเป็นทุกข์ ถ้าเราจะเกิดอย่างนี้ อีกกี่ชาติ ก็จะมีทุกข์อย่างนี้
เมื่อเวลาใกล้จะตาย จิตอย่าลืมนิพพาน ต้องยึดไว้ทุกวัน นิพพานนี้
นึกให้เป็นอารมณ์ไปจนชินตัว นึกว่าถ้าตายจาก
โลกนี้เมื่อไหร่ขอไปนิพพานเมื่อนั้นให้จิตเป็นฌานที่เรียกว่า
อุปสมานุสสติกรรมฐาน อย่างนี้ทุกคนจะไม่พลาดนิพพาน

ที่
นี้การฝึกอารมณ์บรรดาญาติโยมพุทธบริษัทส่วนใหญ่
มักจะไปบ่นว่าอารมณ์ไม่ทรงตัวบ้าง
อารมณ์ไม่สงัดบ้างอย่างนี้เป็นความคิดมากเกินไป คนที่มีอารมณ์สงัดจริงๆ
นะมีเฉพาะพระอรหันต์ ขึ้นไปเท่านั้น ถ้าต่ำกว่าพระอรหันต์จะถือว่า
อารมณ์สนิททรงตัวสนิท ไม่คิดอะไรอีก ไม่มีอรหัตมรรค ยังมีอารมณ์ฟุ้งซ่าน
คนที่มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน คือ พระอรหัตผล
ในเมื่อเรายังไม่เป็นพระอรหันต์จิตก็ต้องฟุ้งซ่าน เป็นของธรรมดาที่มี
การที่จะทรงตัวให้อารมณ์อยู่เป็นปกติ ก็ต้องใช้เวลาน้อยๆ
วันหนึ่งถ้าเราสามารถ ทรงสมาธิได้จริงๆ สัก 5 นาทีหรือ10 นาที
ก็ควรจะพอใจเพราะว่า เวลาที่จิตทรงสมาธิ เวลานั้นพระพุทธเจ้าถือว่า
จิตว่างจากกิเลส ที่พระพทธเจ้าทรงตรัสกับพระสารีบุตรว่า "สารีปุตตะ
ดูก่อนสารีบุตร บุคคลใดมีจิตว่างจาก กิเลส วันหนึ่งชั่วขณะจิตหนึ่ง
ตถาคตถือว่า บุคคลนั้นมีจิตไม่ว่างจากฌาน"

สม
เด็จรพระจอมไตรองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสว่า
ถ้าเราต้องการหมดความทุกข์ ต้องการมีความสุขก็จงอย่า คิดว่า
โลกนี้เป็นของเรา ร่างกายนี้เป็นของเรา ร่างกายของบุคคลอื่น เป็นเราของเรา
จงคิดว่า ร่างกายมันเป็นพียงธาตุ 4 มันเข้ามาประชุมกัน เห็นร่างกายภายใน
คือ ร่างกายของเรา ก็ทำความรู้สึกเพียงสักแต่ว่าเห็น คือ ไม่สนใจ
ไม่ยึดถือว่ามัน กับเราจะอยู่ด้วยกันตลอดกาลตลอดสมัย

ตัดความโลภเสียด้วยการให้ทาน ตัดความโกรธเสียด้วยการเห็นใจซึ่งกันและกัน ตัดความหลงคือยอมรับนับถือกฎของความเป็นจริง


หลวงพ่อฤาษีลิงดำ



ที่มา : //www.hcc.ac.th/%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%99/tabid/224/articleType/ArticleView/articleId/27/.aspx







Free TextEditor


Create Date : 22 สิงหาคม 2554
Last Update : 22 สิงหาคม 2554 23:12:14 น. 7 comments
Counter : 2616 Pageviews.

 
สาธุ สาธุ สาธุ ขอบคุณที่แวะไปเยี่ยมนะคะ

เม้นส่งต่อให้เพื่อนคลิกเลยจ้า


โดย: pantawan วันที่: 22 สิงหาคม 2554 เวลา:23:20:59 น.  

 
สาธุ ...


โดย: q-hazelnut IP: 110.168.19.84 วันที่: 24 สิงหาคม 2554 เวลา:8:24:48 น.  

 
อนุโมทนาสาธุด้วยค่ะ

ขอบุญได้บังเกิดแก่จขบ.ด้วยนะคะ

ราตรีสวัสดิ์ค่ะ


โดย: พิรุณร่ำ วันที่: 24 สิงหาคม 2554 เวลา:20:56:31 น.  

 
มีของฟรีมาแจกคร้าด้วยคร้า เพื่อนๆ เข้าทางมือถือนนะคะ เราได้ลิงค์มาฟรีอ่ะค่ะกดเข้าไปที่ wap.chickyclub.net/f เค้าแจกธีม BB แล้วก้อธีมมือถือต่างๆ อ่ะคะส่วนใหญ่จะเป็นภาพการ์ตูนน่ารักๆ อ่ะ ลองดูนนะคร้า
หรืออยากได้ภาพ สี เสียง สมจิง ก้อเข้านี้เรยค่ะ wap.chickyclub.net/icw/?i=ASC


โดย: wall IP: 124.121.212.164 วันที่: 25 สิงหาคม 2554 เวลา:16:09:32 น.  

 


โดย: prayakong วันที่: 1 ธันวาคม 2554 เวลา:20:11:45 น.  

 


โดย: prayakong วันที่: 4 ธันวาคม 2554 เวลา:22:28:35 น.  

 


โดย: prayakong วันที่: 4 ธันวาคม 2554 เวลา:22:29:39 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 

prayakong
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add prayakong's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com