ความรู้มีไว้แบ่งปัน

CM Triplets
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
24 พฤศจิกายน 2552
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add CM Triplets's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 
การแยกห้องนอนกับลูก

การแยกห้องนอนกับลูก

“คุณหมอคะ ดิฉันมีเรื่องจะขอคำปรึกษาจากคุณหมอดังนี้ค่ะ คือดิฉันมีลูก 1 คน เป็นลูกชาย ตอนนี้แกอายุได้ 4 ขวบแล้ว ปัญหาคือแกจะไม่ยอมไปนอนที่ห้องของแกเองเลยน่ะค่ะ แกจะไม่ยอมไปนอนที่ไหนเลย นอกจากจะนอนห้องเดียวกับดิฉันนี่แหละค่ะ ดิฉันได้พยายามทุกวิถีทางแล้วที่นะให้แกไปนอนห้องของแกเอง แต่ไม่สำเร็จ จนกระทั่งดิฉันรู้สึกหมดหวังแล้วล่ะค่ะ ดิฉันจะทำอย่างไรดีคะ”

แน่นอน ปัญหาทำนองนี้ไม่ใช่ปัญหาของครอบครัวไทย แต่เป็นปัญหาครอบครัวแบบฝรั่ง ถ้าเป็นครอบครัวไทยหรือครับ ปัญหาทำนองนี้คงไม่เกิดขึ้น เพราะมันไม่ใช่ปัญหา แต่ปัญหาของคนไทยส่วนใหญ่น่าจะอยู่ที่ไม่มีห้องจะให้ลูกๆ แยกไปอยู่เป็นส่วนตัวเสียมากกว่า แต่สังคมฝรั่งแตกต่างกันออกไป หากคุณเคยดูหนังฝรั่ง คุณคงจะเคยเห็นนะครับว่า พ่อแม่ฝรั่งเขามักจะแยกห้องนอนให้กับลูกตั้งแต่วัยแบเบาะกันเลยทีเดียว พอจะนอนก็มาหอมแก้มเจ้าตัวเล็ก...say good night แล้วก็ปล่อยเอาไว้โดดเดี่ยวไว้ในห้องกันเลยทีเดียว อย่างดีก็แง้มๆ ประตูห้องเอาไว้หน่อย เพื่อจะได้ยินเสียงร้องของลูกบ้าง ถ้าเกิดแกร้องขึ้นมา คุณและผมซึ่งเป็นคนไทย เราไม่คุ้นเคยกับการแยกห้องนอนให้ลูกกันตั้งแต่แบเบาะแบบนั้น...มันทำให้รู้สึกไม่สบายใจนะครับ มันเสียว มันเป็นห่วง คนฝรั่งคงไม่คิดแบบไทย

ฝรั่งคงไม่กลัวเด็กตกเตียง ฝรั่งคงไม่กลัวเด็กเป็นโน่นเป็นนี่ ฝรั่งคงไม่คิดว่าเด็กตัวเล็กๆ จะกลัวผี กลัวความมืด ครับ ก็เพราะเขาไม่กลัวนะซิ่ครับ เขาจึงกล้าที่แยกห้องให้ลูกนอนเป็นห้องส่วนตัวกันตั้งแต่วัยแบเบาะ จนกลายเป็นเรื่องปรกติวิสัยธรรมดาไปสำหรับฝรั่ง เมื่อมาเจอเด็กวัย 4 ขวบ ไม่ยอมแยกห้องนอนจึงกลายเป็นปัญหา

ตรงกันข้ามกับประเทศแถบตะวันออกเฉียงใต้อย่างเราๆ ที่มักจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มก้อน กว่าจะแยกย้ายกันไปนอนคนละห้อง ก็มักจะโตๆ กันแล้ว บ้างอาจจะถึงกับแต่งงานจึงจะแยกกันออกไปก็มี คงเป็นเพราะประเทศแถบตะวันออกเฉียงใต้มักจะเป็นประเทศที่จัดอยู่ในประเภทยากจน ดูออกจะลำบากอยู่สักหน่อย เมื่อความยากจนครอบงำ บ้านก็เล็กกะทัดรัด ทั้งบ้านอาจจะมีห้องนอนเพียงห้องเดียว กับอีกห้องน้ำ ห้องส้วมอีกหนึ่งห้อง ห้องอาหาร ห้องรับแขก และห้องนั่งเล่น อย่างละหนึ่ง แต่ทั้งหมดรวมกันอยู่ในห้องเดียวกัน เรียกว่าห้องอเนกประสงค์ ฉะนั้นคงเป็นเพราะความจำเป็น ความเคยชินมาแต่ไหนแต่ไร การนอนรวมกันจนกระทั่งโตเป็นหนุ่มเป็นสาวจึงเป็นเรื่องปรกติไป

ความคิดที่จะมีการแยกห้องนอนระหว่างพ่อแม่กับลูกๆ จึงไม่ใช่นิสัยที่ยึดถือปฏิบัติกันตามปรกติของสังคมครอบครัวอย่างไทยๆ เรา ซึ่งว่าไปแล้วมันก็มีข้อดีของมัน คือกระชับความอบอุ่นภายในครอบครัวอยู่ตลอดเวลาทั้งกลางวันและกลางคืน และลุกๆ ทุกคนก็อยู่ในสายตาตลอดเวลาที่อยู่ภายในบ้าน ใครทำอะไรก็เป็นที่รับรู้กันหมด

อย่างไรก็ตาม มาถึงยุคปัจจุบัน ยุคที่วัฒนธรรมตะวันตกมามีอิทธิพลต่อสังคมครอบครัวไทย ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของบ้านที่อยู่อาศัย การวางแผนครอบครัวที่นิยมมีลูกกันเพียงคนสองคน เพราะได้เรียนรู้แล้วว่าการมีลูกมากๆ นั้น มิใช่ของดีไม่ดีต่อทั้งต่อทั้งครอบครัวและสังคมโดยรวมของประเทศ

ในสมัยนี้ จึงอาจจะมีอยู่บ้างที่บางครอบครัวได้มีการวางแผนเตรียมห้องไว้สำหรับลูกกันตั้งแต่ยังไม่มีลูก หรือมีเตรียมไว้กันตั้งแต่เริ่มสร้างเรือนหอกันเลยทีเดียว

นับว่าเป็นสิ่งที่ดี ที่ได้มีการวางแผนล่วงหน้า พรรคพวกผมคนหนึ่งเป็นหมอ เคยอยู่อเมริกามาก่อน เมื่อกลับมาอยู่เมืองไทย ได้สร้างบ้าน และเตรียมห้องเอาไว้สำหรับลูกเป็นที่เรียบร้อย เป็นการเตรียมกันล่วงหน้า เพราะยังไม่เคยมีลูก เมื่อมีลูกขึ้นมา ตอนแรกๆ ก็เอาไว้นอนด้วยในห้อง ซึ่งก็เหมือนกับครอบครัวประสาไทยๆ ทั้งหลาย ผมเองก็เลี้ยงลูกในห้องนอนเหมือนกัน ไม่กล้าปล่อยให้ลูกนอนอย่างโดดเดี่ยวในห้องส่วนตัวของลูก แม้จะมีพี่เลี้ยงนอนเฝ้าก็ตาม

อาจจะเป็นเพราะว่าเห่อ หรือเป็นเพราะเป็นห่วงเพราะลูกยังเล็กขนาดแบเบาะ พรรคพวกผมก็เช่นเดียวกัน คงไม่กล้าปล่อยให้ลูกน้อยนอนในห้องที่เตรียมไว้ตั้งแต่แรกหรอกครับ ไม่กล้าปล่อยเหมือนฝรั่ง จนกระทั่วเวลาผ่านพ้นไปเรื่อยๆ ลูกก็ยังคงนอนกับพ่อแม่

จนกระทั่งลูกอายุ 11 ขวบ คุณแม่เริ่มมาบ่นให้ผมฟังว่า ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่เจ้าลูกน้อยจะย้ายไปนอนห้องตนเองสักทีจะเป็นหนุ่มอยู่แล้ว แต่จนแล้วจนรอดก็ไม่กล้าออกปากบอกด้วยเกรงว่าลูกจะเข้าใจผิดคิดว่าไล่

จนกระทั่งมาพบกลยุทธ์ ก็คือว่าลูกชายชอบเล่นคอมพ์ และชอบฟังเพลง คุณแม่ก็เลยเนรมิตห้องนอนของลูกให้มีทั้งคอมพิวเตอร์และเครื่องเสียงชั้นดี มีหรือที่ลูกชายจะไม่ชอบ ลูกก็เลยย้ายไปอยู่และนอนที่ห้องตนเอง โดยที่ไม่ได้ออกปากเชิญเลย

การแยกห้องนอนระหว่างพ่อแม่ลูก ลำพังสังคมครอบครัวไทยจึงไม่ค่อยมีปัญหา เมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น ว่ากันตามหลักการพัฒนาทางด้านวัยวุฒิแล้ว เด็กๆ ย่อมจะมีความเหมาะสมว่าเด็กโตพอที่จะดูแลตนเองได้หรือไม่ในเรื่องของความจำเป็นพื้นฐาน อันได้แก่ การกิน การนอน ความปลอดภัยเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งจะต้องเข้าใจและดูแลตนเองได้ นั่นก็คือควรจะอยู่ในอายุระดับชั้นประถมเป็นต้นไป คืออายุตั้งแต่เจ็ดขวบขึ้นไปนั่นแหละครับ ถึงจะโตพอที่จะดูแลตนเองได้ภายในห้องนอนตนเอง

แต่ถ้าหากโตจนถึงวัยรุ่น คืออายุประมาณ 12 ขวบขึ้นไปแล้วนั้น ออกจะช้าไปสักหน่อย เพราะถึงตอนนั้นฮอร์โมนเพศไม่ว่าเพศหญิงหรือเพศชาย ก็ออกมาทำให้สรีระรูปร่างมีการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน ทั้งเพศหญิงและเพศชาย ควรจะได้มีห้องส่วนตัวเป็นรโหฐาน

แต่การที่จะแยกห้องกันตั้งแต่วัยอนุบาล ผมคิดว่ามันเร็วเกินไปนะครับ ไม่มีอะไรต้องรีบร้อน และไม่ต้องถึงกับหมดหวังอย่างคุณแม่ฝรั่งที่เขียนจดหมายไปปรึกษาหมอหรอกนะครับ
ข้อสำคัญ คุณเตรียมห้องไว้ให้คุณลูกแล้วหรือยัง นี่ดูเหมือนจะเป็นปัญหาที่ยิ่งใหญ่กว่า คุณว่ามั้ย

.....................................................................................................................................

ขอขอบคุณที่มา : นิตยสาร ดิฉัน ฉบับที่ 668 31 ธันวาคม 2547



Create Date : 24 พฤศจิกายน 2552
Last Update : 24 พฤศจิกายน 2552 11:40:33 น. 0 comments
Counter : 1440 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.