ความรู้มีไว้แบ่งปัน

CM Triplets
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




Group Blog
 
<<
เมษายน 2553
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
21 เมษายน 2553
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add CM Triplets's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 
ปิดกิจการชั่วคราว นายจ้างควรทำอย่างไร ในแง่ของการจ้างแรงงาน

ปิดกิจการชั่วคราว นายจ้างควรทำอย่างไรเมื่อบริษัทต้องเผชิญวิกฤตการณ์อย่างหนักในการดำเนินกิจการ จนมีเหตุอันควรให้ต้องหยุดกิจการบางส่วน หรือทั้งหมด เป็นการชั่วคราว เช่นประสบภาวะขาดทุน เป็นหนี้ค่าวัสดุ หรือลูกค้ายกเลิกคำสั่งซื้อ ทำให้คำสั่งซื้อลดลง เมื่องานมีน้อย ลูกจ้างมีมาก จึงจำเป็นต้องประกาศหยุดการดำเนินงานชั่วคราวเพื่อแก้ไข คลี่คลายสถานการณ์ให้บรรเทาเบาบางลง ก่อนพร้อมเปิดดำเนินการอีกครั้ง

ในกรณีที่ต้องการปิดกิจการชั่วคราว นายจ้างควรทำอย่างไรให้ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อไม่ให้เกิดการประท้วงของเหล่าพนักงาน ว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากนายจ้าง

เหตุที่นายจ้างใช้อ้างในการปิดกิจการชั่วคราว ต้องเกิดจากการประสบปัญหาในการดำเนินการอันเป็นเหตุสมควรให้ต้องปิดกิจการ

ตามพ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 75 กำหนดว่า ตลอดระยะเวลาที่นายจ้างให้ลูกจ้างหยุดงานชั่วคราวนั้น นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้าง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของค่าจ้างในวันทำงานที่ลูกจ้างได้รับก่อนที่นายจ้างจะหยุดกิจการ

หากตรวจสอบพบว่านายจ้างแจ้งเหตุจำเป็นที่ต้องปิดกิจการเป็นความเท็จ ลูกจ้างมีสิทธิฟ้องร้องต่อศาลแรงงานเพื่อเรียกร้องค่าเสียหาย และสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ตามข้อตกลงที่นายจ้างให้ไว้ได้


การให้ลูกจ้างหยุดงานชั่วคราวในกรณีนี้ ต้องไม่เลือกปฏิบัติว่าลูกจ้างนั้นเป็นกรรมการลูกจ้างหรือไม่ มิฉะนั้นอาจเข้าหลักเกณฑ์พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 52 ใน ซึ่งว่าด้วยการคุ้มครองลูกจ้างที่เป็นกรรมการลูกจ้างให้พ้นจากการถูกกลั่นแกล้งจากนายจ้าง เพื่อบีบให้ออกด้วยการลดค่าจ้าง ลงโทษ หรือขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ จนลูกจ้างทนไม่ไหว ต้องลาออกจากงานในที่สุด ทั้งนี้มาตรา 52 ไม่ได้อยู่ในสถานการณ์ที่นายจ้างประสบวิกฤตการณ์ ในการดำเนินธุรกิจจนต้องหยุดดำเนินการชั่วคราวแต่อย่างใด

การเลือกใช้วิธีปิดกิจการชั่วคราว เพื่อลดรายจ่ายและหาทางแก้ไขปัญหาหนี้สินของบริษัทนั้น เป็นทางเลือกหนึ่งที่ดีกว่าการเลิกจ้างลูกจ้างทั้งหมดในทันที เนื่องจากการเลิกจ้างจะมีความรับผิดชอบตามมาอีกมากมาย ทั้งค่าชดเชย ค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เงินค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่เลิกจ้าง รวมถึงค่าจ้างที่ยังไม่ได้จ่าย ก็ต้องนำมาจ่ายให้ลูกจ้างภายใน 3 วันนับตั้งแต่เลิกจ้างเสียด้วย เพื่อให้ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างทันทีโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า ได้รับการเยียวยาในขณะที่ยังตั้งตัวไม่ได้

ทั้งนี้ การเลิกจ้างมีกระบวนการที่ซับซ้อนมากมาย ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อคุ้มครองลูกจ้างไม่ให้ถูกนายจ้างเอาเปรียบ และเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม ดังนั้นหากบริษัทประสบปัญหาอย่างหนัก การปิดกิจการชั่วคราวจึงเป็นทางออกหนึ่งที่ยุติธรรมต่อทั้งสองฝ่าย

ezyjob.com


Create Date : 21 เมษายน 2553
Last Update : 21 เมษายน 2553 10:48:20 น. 0 comments
Counter : 481 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.