ความรู้มีไว้แบ่งปัน

CM Triplets
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




Group Blog
 
<<
เมษายน 2553
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
21 เมษายน 2553
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add CM Triplets's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 

การหลีกเลี่ยงและฉ้อโกงภาษีอากรโดยใช้คณะบุคคล สรรพากรประกาศจะเอาผิดทั้งทางแพ่งและอาญา

การหลีกเลี่ยงและฉ้อโกงภาษีอากรโดยใช้คณะบุคคล สรรพากรประกาศจะเอาผิดทั้งทางแพ่งและอาญา
บทความภาษีอากร
ผู้เขียน: พิชัย พืชมงคล
วันที่: 20 มกราคม 2009
วันที่ 19 มกราคม 2552 มติชนออนไลน์ ได้รายงานข่าว สรุปว่า จากการตรวจสอบของกรมสรรพากร พบว่า ปัจจุบันได้มีการหลีกเลี่ยงภาษี หรือฉ้อโกงภาษี โดยการจัดตั้งคณะบุคคลเป็นเท็จ โดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สร้างรายจ่ายเท็จ เช่น รายจ่ายค่าขนส่ง ค่านายหน้า ค่าที่ปรึกษา ค่าจ้างทำของ ฯลฯ เพื่อให้มีกำไรสุทธิน้อยลงหรือมีผลขาดทุนสุทธิ ทำให้เสียภาษีน้อยลงหรือไม่ต้องเสียภาษี และมีการขอคืนภาษีโดยไม่ถูกต้อง

วิธีการจัดตั้งคณะบุคคลเป็นเท็จ และสร้างหลักฐานเท็จว่า มีการจ่ายค่าใช้จ่ายดังกล่าว ให้แก่คณะบุคคล ซึ่งกรมสรรพากรได้ตรวจสอบแล้ว พบว่า ผู้มีชื่อร่วมเป็นคณะบุคคล ไม่มีส่วนรู้เห็นในการจัดตั้งคณะบุคคล หรือมิได้มีการประกอบกิจการร่วมกันในฐานะคณะบุคคลแต่อย่างใด

ทั้งยังมีกรณีผู้มีเงินได้ที่เป็นบุคคลธรรมดา ซึ่งมีเงินได้จำนวนมาก หลีกเลี่ยงภาษี โดยใช้วิธีจัดตั้งคณะบุคคลขึ้นมาหลาย ๆ คณะ โดยแต่ละคณะบุคคล จะมีชื่อของผู้มีเงินได้อยู่ในทุกคณะบุคคล แต่ชื่อผู้ร่วมจัดตั้งคณะบุคคล จะเปลี่ยนไป เพื่อเกิดเป็นคณะบุคคลใหม่ เพื่อกระจายฐานเงินได้ของผู้มีเงินได้ที่แท้จริง ทำให้เสียภาษีในอัตราต่ำ นอกจากนี้ คณะบุคคลยังมีการขอคืนภาษีโดยอ้างว่า ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย นำส่งกรมสรรพากรไว้ ทั้งๆ ที่คณะบุคคลไม่เคยมีเงินได้

เมื่อวันที่ 19 มกราคม นายวินัย วิทวัสการเวช อธิบดีกรมสรรพากร ชี้แจงว่า พฤติการณ์ดังกล่าว ต้องรับผิดทางแพ่ง โดยต้องชำระภาษีพร้อมทั้งเบี้ยปรับ เงินเพิ่มและยังมีความผิดทางอาญา โดยถือเป็นความผิดฐานเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี อันเป็นความผิดตามมาตรา 37 แห่งประมวลรัษฎากร ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 – 200,000 บาท

ส่วนกรณีขอคืนภาษีเป็นเท็จ เป็นความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงเงินภาษีอากรของรัฐ อันเป็นความผิดตามมาตรา 341 มาตรา 80 และมาตรา 83 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้ยังมีความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานฯ ซึ่งเป็นความผิดตามมาตรา 137 แห่งประมวลกฎหมายอาญา มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับด้วย

จากรายงานข่าวดังกล่าว มีข้อสังเกตุและข้อพิจารณาทางกฎหมาย ดังนี้

1.ตามหลักกฎหมายแพ่งและพานิชย์ของไทย มีบุคคลอยู่ 2 ประเภท คือ บุคคลธรรมดาหรือคนจริงๆ และนิติบุคคล ซึ่งไม่ใช่คนจริงๆ แต่มีกฎหมายกำหนดให้เป็น บุคคล เช่น บริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด สมาคม มูลนิธิ หรือหน่วยงานของรัฐที่มีกฎหมายจัดตั้งกำหนดให้เป็นนิติบุคคล เช่น กรมที่ดิน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ เป็นต้น ดังที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 65 บัญญัติว่า นิติบุคคลจะมีขึ้นได้ ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น

คณะบุคคล ไม่ใช่บุคคลธรรมดา และไม่ใช่นิติบุคคลตามกฎหมาย ฐานะทางกฎหมายของคณะบุคคลคือ ห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ได้จดทะเบียน ตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 1025 ซึ่งได้บัญญัติว่า อันว่าห้างหุ้นส่วนสามัญนั้น คือห้างหุ้นส่วนประเภทซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนหมดทุกคน ต้องรับผิดร่วมกันเพื่อหนี้ทั้งปวงของหุ้นส่วนโดยไม่มีจำกัด

การจัดตั้งคณะบุคคล จึงเหมือนกับการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ได้จดทะเบียนคือ ต้องมีสัญญาจัดตั้งคณะบุคคล กำหนดชื่อ วัตถุประสงค์ ที่ตั้ง ทุน ส่วนลงหุ้นของหุ้นส่วนแต่ละคน (อาจเป็นเงิน หรือทรัพย์สินสิ่งอื่น หรือลงแรงงานก็ได้) ฯลฯ จากนั้นจึงไปขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษี จากสำนักงานสรรพากรพื้นที่ ซึ่งคณะบุคคลนั้นตั้งอยุ่ ถ้าคณะบุคคลใด ประกอบกิจการตามหลักเกณฑ์ที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็ต้องไปดำเนินการจดทะเบียนดังกล่าวด้วย

2.ข้อดีของการจัดตั้งคณะบุคคล คือ จัดตั้งได้ง่าย มีบุคคลธรรมดาตั้งแต่ 2 คน ขึ้นไปก็ตั้งได้แล้ว ไม่ต้องไปเสียเวลา เสียค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนจัดตั้งให้ยุ่งยาก เพียงใช้สัญญาฉบับเดียว เมื่อตั้งเสร็จ ตามประมวลรัษฎากร ก็จะถือว่า เป็นหน่วยภาษี (tax unit) ที่มีรายได้ รายจ่ายของตนเอง แยกต่างหากออกจากบรรดาบุคคลธรรมดาที่เข้าเป็นหุ้นส่วนหรืออยู่ในคณะบุคคลนั้น ทั้งเมื่อคณะบุคคลเสียภาษีแล้ว บุคคลธรรมดา ก็ไม่ต้องนำเงินที่ได้รับจากคณะบุคคลไปเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอีก

การตั้งคณะบุคคลและแบ่งรายได้ของบุคคลธรรมดาให้คณะบุคคล จึงทำให้ฐานเงินได้พึงประเมินของบุคคลธรรมดา ซึ่งมีรายได้สูง สามารถลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาลงได้มาก เนื่องจากระบบการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทย ใช้อัตราก้าวหน้า (Progressive Rate) คือ เงินได้พึงประเมิน ยิ่งสูง อัตราภาษี ก็จะยิ่งสูงตามไปด้วย ( อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปัจจุบัน เริ่มตั้งแต่ 7% -37 % ซึ่งนับว่าสูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศทั่วไป)

ดังนั้น บุคคลธรรมดาที่มีรายได้สูง ซึ่งมักเป็นนักวิชาชีพ ที่มีความชำนาญเฉพาะทาง เช่น นักบริหาร นักการเงิน แพทย์ นักกฎหมาย นักบัญชี วิศวกร สถาปนิก ฯลฯ จึงนิยมตั้งคณะบุคคลขึ้น เพื่อรองรับรายได้บางส่วนของตนเอง บางคนถึงกับตั้งคณะบุคคลขึ้นมา หลายคณะ เพื่อกระจายฐานรายได้ของตนออกไป

ด้วยเหตุนี้ การตั้งคณะบุคคล จึงเป็นช่องโหว่หรือจุดอ่อนในระบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทยตลอดมา และเป็นช่องทางหนึ่ง ที่บุคคลธรรมดา ซึ่งมีรายได้สูง ใช้ลดอัตราภาษี จากอัตราที่สูง เป็นการเสียในอัตราที่ต่ำได้ โดยชอบด้วยกฎหมาย

3.แต่เนื่องจากคณะบุคคลที่ตั้งขึ้น เพื่อลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ดังกล่าว ส่วนมากมักเป็นการเอาชื่อญาติ พี่ น้อง เพื่อนฝูง ทั้งของตนเองและภริยา มาใช้ โดยไม่ใช่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญที่เป็นการเข้าหุ้นกันจริง และร่วมกันทำกิจการกันจริง

ซึ่งอาจสังเกตุได้โดยง่ายจากรายได้ของคณะบุคคล ที่มักมาจากรายได้ประเภทที่อาศัยความรู้ ความสามารถและความชำนาญพิเศษของบุคคลธรรมดา ที่เป็นหลักในคณะบุคคลนั้น โดยหุ้นส่วนคนอื่น ไม่มีความรู้ ความสามารถและความชำนาญพิเศษดังกล่าวและไม่มีบทบาท หรือมีบทบาทน้อยมากในการสร้างรายได้แก่คณะบุคคลดังกล่าว

4. สัญญาจัดตั้งคณะบุคคล เพื่อลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยไม่มีการเข้าหุ้นกันจริง และร่วมกันทำกิจการกันจริง จึงมีลักษณะเป็น การแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กับหุ้นส่วน เพื่ออำพรางรายได้ของบุคคลธรรมดา ว่าเป็นรายได้ของคณะบุคคล จึงเป็นนิติกรรมอำพรางชนิดหนึ่ง ซึ่งตามกฎหมาย จะต้องบังคับตามนิติกรรมที่แท้จริง

5.เนื่องจากอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลในปัจจุบันของไทย คือ ร้อยละ 30 จากกำไรสุทธิ (ซึ่งนับว่าสูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศทั่วไป เช่นเดียวกัน) ดังนั้น ในกรณีบริษัทมีกำไรสูง ก็มีการหาทางลดภาษีที่ต้องจ่ายให้รัฐ โดยการเพิ่มรายจ่ายของบริษัทให้สูงขึ้น เช่น ค่าขนส่ง ค่านายหน้า ค่าที่ปรึกษา ค่าจ้างทำของเป็นต้น โดยเป็นการจ่ายแก่คณะบุคคล ซึ่งไม่มีการทำงานจริง หรือทำงานจริง แต่มีรายได้สูงกว่ามูลค่างานที่ทำมาก

คณะบุคคล เสียภาษีโดยใช้อัตราภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดา ดังนั้น รายได้ของคณะบุคคล ในส่วนแรกที่ยังไม่สูงนัก จึงเสียภาษีในอัตราที่ต่ำกว่าอัตราภาษีเงินได้ของบริษัท การที่บริษัทจ่ายค่าใช้จ่าย ประเภทต่างๆ ดังกล่าวแก่คณะบุคคล จึงเป็นการลดหรือหลีกเลี่ยงภาษีของบริษัทอีกวิธีหนึ่ง

6.เหตุที่กรมสรรพากร แถลงข่าว ตั้งเป้าการเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมที่คณะบุคคล เนื่องจากไทยกำลังเผชิญหน้ากับวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหม่ ทำให้การจัดเก็บภาษีจากแหล่งรายได้หลัก คือ ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้นิติบุคคล พลาดเป้าหมายการจัดเก็บไปเป็นจำนวนมาก ดังนั้น กรมสรรพากร จึงพยายามหาทางจัดเก็บจากกลุ่มคนที่มีรายได้สูง แต่ยังเสียภาษีให้รัฐน้อย และกลุ่มหนึ่งที่กรมสรรพากร ได้ค้นพบแล้วคือ คณะบุคคลที่มีรายได้สูง นี่จึงเป็นที่มาของข่าวข้างต้น

คณะบุคคลผู้สุจริต ซึ่งไม่ประสงค์เผชิญหน้ากับความยุ่งยาก จึงควรต้องตระเตรียมรับมือกับการตรวจสอบและการประเมินภาษีอากรเพิ่มเติมให้พรักพร้อม

//www.dlo.co.th/node/158




 

Create Date : 21 เมษายน 2553
0 comments
Last Update : 21 เมษายน 2553 11:13:01 น.
Counter : 521 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.