จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ ... จิตที่ฝึกดีแล้ว ย่อมนำความสุขมาให้ ... สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ ... การให้ธรรมะชนะการให้ทั้งปวง
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2554
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
30 สิงหาคม 2554
 
All Blogs
 
จิตตานุภาพ ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ราชมานิต วัดเทพศิรินทราวาส




จิตตานุภาพ
ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ราชมานิต วัดเทพศิรินทราวาส




จิตตานุภาพ คืออานุภาพของจิต แบ่งเป็น ๓ ประเภท คือ

• จิตตานุภาพบังคับตนเอง
• จิตตานุภาพบังคับผู้อื่น
• จิตตานุภาพบังคับเคราะห์กรรม



จิตตานุภาพบังคับตนเอง



“ ตนของตนย่อมเป็นที่พึ่งแก่ตนเอง ”



เหตุนี้จึงต้องหัดบังคับตนเอง
ผู้อื่นถึงจะเป็นศัตรูก็ไม่เท่าตนเป็นศัตรูต่อตนของตนเอง
ถ้ายังไม่สามารถบังคับตนของตนเองให้ดีได้แล้ว ก็อย่าหวังเลยว่าจะบังคับผู้อื่นให้ดีได้

จิตตานุภาพบังคับตนเองมี ๗ ประการ



• บังคับความหลับและความตื่น



การหัดนอนให้หลับสนิทเป็นกำลังสำคัญยิ่งนัก เหตุที่ทำให้นอนไม่หลับมี ๒ ประการ คือ



๑.๑ ร่างกายไม่สบายพอ


อาหารที่ย่อยยากก็เป็นเหตุให้ร่างกายไม่สบายพอ ควรนอนตะแคงข้างขวา
ถ้านอนหงายก็ควรให้เอียงขวานิดหน่อย
ถ้าต้องการพลิกก็ควรพลิกจากขวานิดหน่อย แล้วกลับตะแคงขวาตามเดิม
นอนย่อมให้อวัยวะทุกส่วนพักผ่อน อย่าให้เกร็งตึงและไม่ควรตะแคงซ้าย



๑.๒ ความคิดฟุ้งซ่าน


เวลานอนถ้าจิตฟุ้งซ่าน ควรคิดถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แต่อย่างเดียว
ครั้นแล้วก็เลิกละไม่คิดสิ่งนั้น และไม่คิดอะไรอื่นต่อไปอีก
กระทำใจให้หมดจดเหมือนน้ำที่ใสสะอาด
ควรบังคับตัวให้ตื่นตรงตามเวลาที่ต้องการ
ก่อนนอนต้องคิดให้แน่แน่ว สั่งตนเองให้ตื่นเวลาเท่านั้น
เมื่อถึงเวลาก็จะตื่นได้เองตามความประสงค์



• ทำความคิดให้ปลอดโปร่ง ว่องไว ในเวลาตื่นขึ้น อย่าให้เซื่องซึม



"ต้องเอาความคิดในเวลาตื่นเช้า ไปประสานติดต่อกับความคิด
ที่เราทิ้งไว้เมื่อวันวานก่อนที่จะนอนหลับ ”


ก่อนนอนควรจดบันทึกกิจการที่เราจะต้องทำในวันรุ่งขึ้นนั้นไว้ในกระดาษแผ่นหนึ่งเสมอ
พอตื่นขึ้นมาก็หยิบดูเพื่อปลุกความคิดให้ตื่น



• เปลี่ยนความคิดได้ตามต้องการ


คือเมื่อต้องการคิดอย่างใดก็ให้คิดได้อย่างนั้น
ทิ้งความคิดอื่น ๆ หมด และเมื่อไม่ต้องการคิดอีกต่อไป
จะคิดเรื่องอื่นก็ให้เปลี่ยนได้ทันที และทิ้งเรื่องเก่าโดยไม่เอาเข้ามาพัวพัน
คือทำใจให้เป็นสมาธิอยู่ที่กิจเฉพาะหน้า
การเปลี่ยนความคิดเป็นเหตุให้ห้องสมองมีเวลาพักชั่วคราว
ทำให้สมองมีกำลังแข็งแรงขึ้น



• สงบใจได้แม้เมื่อตกอยู่ในอันตราย หรือประสบทุกข์


อย่าให้เสียใจหมดสติสะดุ้ง ดิ้นรนจนสิ้นปัญญาแก้ไข
เกิดความท้อถอยไม่ทำอะไรต่อไป
ความสงบไม่ตื่นเต้นเป็นเหตุให้เกิดปัญญาประกอบกิจให้สำเร็จได้สมหวัง
เราจะแก้ไขเหตุร้ายที่เกิดขึ้นแก่เราได้นั้นก็มีทางจะทำอยู่ ๒ ขั้น



๔.๑ ต้องสงบใจมิให้ตื่นเต้น
๔.๒ ต้องมีความมานะพยายาม



วิธีสงบใจที่ดีที่สุด หายใจยาวและลึก


• เปลี่ยนนิสัยความเคยชินของตัวจากร้ายเข้ามาหาดี
การขืนใจตัวเองชั่วขณะหนึ่งอาจเป็นผลดีแก่ตัวเองตลอดชีวิต
แต่การทำตามใจตัวขณะเดียวก็อาจเป็นผลถึงการทำลายชีวิตของเราได้เหมือนกัน

• ตรวจตราตัวของตัวเป็นครั้งคราวโดยสม่ำเสมอ
ให้ทราบว่ากำลังใจมั่นคงขึ้นหรือไม่
ฝ่ายกุศลเจริญขึ้นหรือไม่ ฝ่ายอกุศลลดน้อยเบาบางหมดสิ้นไปหรือไม่
ใจยังสะดุ้งดิ้นรนหวั่นไหวอยู่หรือไม่

• ป้องกันรักษาตัวด้วยจิตตานุภาพ
การสะดุ้งตกใจหรือเสียใจ ความกลัว เป็นเหตุให้เกิดโรคและโรคกำเริบ
และเป็นเหตุให้คนดี ๆ ตายได้ คนไข้ถ้าใจดีหายเร็ว
ความไม่กลัวตายรอดอันตรายได้มากกว่ากลัวตาย
ความพยายามและอดทนเป็นเหตุให้สำเร็จสมประสงค์



จิตตานุภาพบังคับผู้อื่น


จิตตานุภาพอย่างอ่อน
สามารถใช้สายตา น้ำเสียงและด้วยกระแสจิตประกอบคำพูด
ซึ่งจะเป็นเครื่องจูงใจคนให้เชื่อฟัง
ลักษณะไม่หวาดหวั่นครั่นคร้ามต่อใคร ๆ นั้น
ไม่ใช่ชีวิตหัวดื้อบึกบึนซึ่งไม่นับว่าเป็นจิตตานุภาพ
ต้องเป็นคนสุภาพสงบเสงี่ยม เคารพนบนอบต่อบุคคลที่ควรเคารพ

แต่ทว่าหัวใจของคนชนิดนั้นไม่หวาดหวั่นเกรงกลัวใคร
และสามารถแสดงให้เห็นว่าตัวเป็นมนุษย์คนหนึ่งอยู่ในโลก
และเป็นมนุษย์ที่รู้จักคิด รู้จักพูด รู้จักทำ
คนที่สามารถเป็นนายตนเอง ไม่ตกเป็นทาสของหัวใจคนอื่น
และสามารถดึงดูดหัวใจคนเข้ามาเชื่อฟังเกรงกลัวนั้น
ถ้าสังเกตให้ดีแล้วจะเห็นได้ว่ามีลักษณะ ๔ ประการ



• สายตาแข็ง มีอำนาจในตัว
• เสียงชัดแจ่มใส
• ท่าทางสงบเสงี่ยมและเป็นสง่า
• รู้จักวิธีชักจูงหัวใจคนให้หันมาเข้าในคลองความคิดของตัว


พยายามอ่านหนังสือหน้าหนึ่งโดยไม่กะพริบตาเลยทำให้สายตาแข็งได้
อ่านหนังสืออย่างช้า ๆ ให้ชัดถ้อยคำทุก ๆ ตัว
และให้ได้ระยะเสมอกันทำให้เสียงชัดแจ่มใส

เวลาพูด พยายามพูดให้เป็นจังหวะอย่าให้ช้าบ้างเร็วบ้างและให้ชัดถ้อยคำเสมอ
ไม่ให้อ้อมแอ้มหรือกลืนคำเสียครึ่งหนึ่ง เป็นการฝึกหัดให้เสียงชัดเจนแจ่มใส

บุคคลที่มีสง่า คือคนที่บังคับร่างกายให้อยู่ในอำนาจหัวใจได้เสมอ
มีท่าทางสงบเสงี่ยมเป็นสง่าไม่แสดงอาการโกรธ เกลียด
กลัว รัก ขมขื่น ตกใจ สะดุ้ง เศร้าโศก ให้ปรากฏ
ไม่ทำอิริยาบถเคลื่อนไหวอันใดโดยไม่จำเป็น
และโดยบอกความกำกับของใจ

มีหน้าตาแจ่มใส อิริยาบถสงบเสงี่ยมเป็นสง่าอยู่ทุกขณะ
การเคลื่อนไหวทุกอย่างทำด้วยความหนักแน่นมั่นคง
อย่าให้รวดเร็วจนเป็นการหลุกหลิก
หรือผึ่งผายจนเป็นการเย่อหยิ่ง หรืออ่อนเปียกจนเป็นการเกียจคร้าน
ในเวลายืนให้น้ำหนักตัวถ่วงอยู่ทั่วตัวเสมอ ไม่ให้ถ่วงแต่ส่วนใดส่วนหนึ่ง
รู้จักใช้วิธีชักจูงหัวใจคนให้หันเข้ามาในคลองความคิดของเรา



• หลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดมีสิ่งที่จะชักจูงให้เขาละทิ้งข้อแนะนำของเรา
• จูงใจเขาให้หันเข้ามาในทางที่เราต้องการทุกที



วิธีป้องกันตัวไม่ให้จิตตานุภาพของผู้อื่นบังคับเราได้


ให้ทำมโนคติให้เห็นประหนึ่งว่า
กระแสดวงจิตของเราแผ่ซ่านป้องกันอยู่รอบตัวเรา
จิตตานุภาพของผู้อื่นไม่สามารถจะเข้าถึงตัวเราได้

ให้ทำเวลาเข้านอนครั้งหนึ่ง
และขณะที่อยู่ใกล้บุคคลที่เราระแวงว่าเขาจะใช้จิตตานุภาพบังคับเรา



จิตตานุภาพบังคับเคราะห์กรรม


เครื่องมือที่จะชักนำเอาเคราะห์ดีเข้ามา คือ
ความพยายามเข้มแข็งไม่ท้อถอยหนักแน่นระมัดระวัง
เชื่อแน่ในความพากเพียรบากบั่นของตัว
มักจะเป็นคนเคราะห์ดีอยู่เสมอ และมีคุณสมบัติอย่างอื่นอีกคือ



ความมุ่งหมายและอย่าให้นึกถึงเคราะห์ร้าย


ตั้งความมุ่งหมายถึงผลอันใดในชีวิตไว้เท่านั้น
เพื่อให้ก้าวหน้ามุ่งตรงไปจนบรรลุสมประสงค์


ความมุ่งหมายจำต้องให้สูงไว้เสมอ เพื่อจะได้มีความพยายามอย่างสูงด้วย


แต่การก้าวไปสู่ที่มุ่งหมายนั้น ต้องก้าวอย่างระมัดระวังไม่ก้าวให้ผิด


“ ควรมีความปรารถนาให้สูงอยู่เสมอ แต่จะต้องระมัดระวังมิให้เดินพลาด ”


การไม่ยอมแพ้เคราะห์ร้าย เป็นเหตุให้เคราะห์ร้ายพ่ายแพ้เองเมื่อประสบเคราะห์


• จะต้องไม่ให้ใจเสีย เชื่อมั่นในความรู้ความสามารถของตัว รวบรวมกำลังให้พรั่งพร้อม
• ตั้งความมุ่งหมายให้ดีและตกลงแน่ว่าจะมุ่งไปทางไหน
• ใช้ความระมัดระวังให้มากขึ้น กุมสติให้มั่น


อย่างไรก็ดี จะปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรม
ทำการต่อสู้ดังกล่าวแล้วนั้นไม่ได้เป็นอันขาด


การต่อสู้กับเคราะห์


• จะต้องสงบใจ ไม่ตื่นเต้น ไว้ใจตัวและเชื่อแน่ว่า
เรามีจิตตานุภาพเป็นเครื่องมือรวมกำลังสติปัญญาของเราให้พรั่งพร้อม
เช่นเดียวกับนายเรือที่ไม่รู้จักเสียใจ รวบรวมกำลังเรือและกำลังคนให้บริบูรณ์

• ต้องยึดที่หมายให้แน่น กล่าวคือระลึกถึงผลที่เราต้องการบรรลุนั้นให้แน่วแน่ยิ่งขึ้น
เปรียบเสมือนนายเรือที่ตั้งเข็มทิศให้ตรง
และให้รู้แน่ว่าจะต้องการให้เรือบ่ายเบี่ยงไปทางไหน

• ใช้ความระมัดระวังให้มากยิ่งกว่าเมื่อก่อนจะเกิดเหตุร้ายอีกหลายเท่า
และความวินิจฉัยที่ถูกต้อง ทำทางปฏิบัติของเราเหมือนอย่างหางเสือเรือ
ที่จะช่วยให้เรือบ่ายเบี่ยงไปทางทิศที่ต้องการจะไป

• ไม่สามารถจะก้าวไปข้างหน้าได้ก็อย่าถอยหลัง ให้หยุดอยู่กับที่

• ให้รู้สึกว่าเคราะห์นั้นทำให้เราดีขึ้น
เป็นครูของเรา เป็นผู้เตือนเรา เป็นผู้ลวงใจเรา
อย่าเห็นว่าเคราะห์กรรมเป็นของเลว ไม่น่าปรารถนา
ควรคิดว่าเป็นของดีที่ทำให้เราเข้มแข็งมั่นคงขึ้น

ให้รู้สึกเสมอว่าเราเกิดมาเรียนทั้งเคราะห์ร้ายและเคราะห์ดี
เคราะห์เป็นบทเรียนของเรา ที่จะทำให้เราแจ้งโลกแล้วจะได้พ้นโลก
ดังนี้ จะไม่รู้จักเคราะห์ร้ายเลยในชีวิต




ที่มา : //www.dhammajak.net




Create Date : 30 สิงหาคม 2554
Last Update : 30 สิงหาคม 2554 15:09:58 น. 26 comments
Counter : 1776 Pageviews.

 


โดย: imagewing_zero วันที่: 30 สิงหาคม 2554 เวลา:15:29:20 น.  

 
การปฏิบัติของท่าน ชัดเจนที่สุด สำหรับผู้ต้องการไปสู่การหลุดพ้น


โดย: คนโต IP: 58.9.55.219 วันที่: 30 สิงหาคม 2554 เวลา:17:11:22 น.  

 
น ปเรสํ วิโลมานิ น ปเรสํ กตากตํ
อตฺตโน ว อเวกฺขเยฺย กตานิ อกตานิ จ

ไม่ควรใส่ใจคำแสลงหูของผู้อื่น ไม่ควรแส่มองธุระที่เขาทำและยังไม่ทำ
ควรตั้งใจตรวจตราหน้าที่ของตนนี่แหละ ทั้งที่ทำแล้ว และยังไม่ทำ

มีความสุขกับการทำหน้าที่ของตน ตลอดไป...นะคะ




โดย: พรหมญาณี วันที่: 31 สิงหาคม 2554 เวลา:10:30:51 น.  

 
ยถา น สกฺกา ปฐวี สมายํ
กาตุ มนุสฺเสน ตถา มนุสฺสา

แผ่นดินนี้ ไม่อาจทำให้เรียบเสมอกันทั้งหมดได้ ฉันใด
มนุษย์ทั้งหลายจะทำให้เหมือนกันหมดทุกคนก็ไม่ได้ ฉันนั้น




โดย: พรหมญาณี วันที่: 5 กันยายน 2554 เวลา:11:35:57 น.  

 
นานาทิฏฺฐิเก นานยิสฺสสิ เต

มนุษย์ทั้งหลายต่างความคิดต่างความเห็นกัน
ท่านจะกำหนดให้คิดเห็นเหมือนกันหมด เป็นไปไม่ได้

ขอให้ทุกวันเป็นวันที่ดี มีความสุข ตลอดไป...นะคะ




โดย: พรหมญาณี วันที่: 6 กันยายน 2554 เวลา:10:16:10 น.  

 
เยเนว เอโก ลภเต ปสํสํ เตเนว อญฺโญ ลภเต นินฺทิตารํ

เหตุอย่างหนึ่ง ทำให้คนหนึ่งได้รับการสรรเสริญ
เหตุอย่างเดียวกันนั้น ทำให้อีกคนหนึ่งได้รับการนินทา

มีความสุขในทุกวันดี ๆ ตลอดไป...นะคะ




โดย: พรหมญาณี วันที่: 7 กันยายน 2554 เวลา:11:13:58 น.  

 
ตเถเวกสฺส กลฺยาณํ ตเถเวกสฺส ปาปกํ
ตสฺมา สพฺพํ น กลฺยาณํ สพฺพํ วาปิ น ปาปกํ

สิ่งเดียวกันนั่นแหละ ดีสำหรับคนหนึ่ง แต่เสียสำหรับอีกคนหนึ่ง
เพราะฉะนั้น สิ่งใด ๆ มิใช่ว่าจะดีไปทั้งหมด และก็มิใช่จะเสียไปทั้งหมด

เลือกแต่สิ่งที่ดีและเหมาะสมกับตน ตลอดไป...นะคะ




โดย: พรหมญาณี วันที่: 9 กันยายน 2554 เวลา:9:59:55 น.  

 
อุกฺกเฐ สูรมิจฺฉนฺติ มนฺตีสุ อกุตูหลํ
ปิยญฺจ อนฺนปานมฺหิ อตฺเถ ชาเต จ ปณฺฑิตํ

เมื่อเกิดเหตุร้ายแรง ย่อมต้องการคนกล้าหาญ
เมื่อเกิดข่าวตื่นเต้น ย่อมต้องการคนหนักแน่น
เมื่อมีข้าวน้ำบริบูรณ์ ย่อมต้องการคนที่รัก
เมื่อเกิดเรื่องราวลึกซึ้ง ย่อมต้องการบัณฑิต

เป็นบัณฑิตที่กล้าหาญ หนักแน่น และเป็นที่รักของทุกคน ตลอดไป...นะคะ





โดย: พรหมญาณี วันที่: 12 กันยายน 2554 เวลา:10:57:56 น.  

 
อลโส คิหิ กามโภคี น สาธุ อสญฺญโต ปพฺพชิโต น สาธุ
ราชา น สาธุ อนิสมฺมการี โย ปญฺฑิโต โกธโน ตํ น สาธุ

คฤหัสถ์ชาวบ้าน เกียจคร้าน ไม่ดี บรรพชิตไม่สำรวม ไม่ดี
ผู้ครองแผ่นดิน ไม่ใคร่ครวญก่อนทำ ไม่ดี บัณฑิตมักโกรธ ไม่ดี

มีความสุขกับการเลือกเป็นแต่สิ่งที่ดี ตลอดไป...นะคะ




โดย: พรหมญาณี วันที่: 13 กันยายน 2554 เวลา:11:22:19 น.  

 
น มชฺเชถ ยสํ ปตฺโต.....ข้อหนึ่ง ได้ยศแล้วไม่พึงเมา
น พฺยาเธ ปตฺตสํสยํ......ข้อสอง ถึงมีเหตุอาจถึงแก่ชีวิต ไม่พึงใจเสีย
วายเมเถว กิจฺเจสุ........ข้อสาม พึงพยายามทำกิจทั้งหลายเรื่อยไป
สํวเร วิวรานิ จ.............ข้อสี่ พึงระวังตนมิให้มีช่องเสีย

ดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขด้วยธรรมทั้ง ๔ ประการ ตลอดไป...นะคะ




โดย: พรหมญาณี วันที่: 14 กันยายน 2554 เวลา:11:31:12 น.  

 
อ่านแล้วอิ่มเอมใจค่ะ
ไม่ได้ใช้นาฬิกาปลุกมานานแล้ว ก่อนนอนสวดมนต์ไหว้พระ แล้วตั้งจิตว่าจะตื่นนอนเวลาเท่านั้นเท่านี้ ก็ตื่นได้นะคะ


โดย: redclick วันที่: 15 กันยายน 2554 เวลา:4:28:45 น.  

 
โย จ วสฺสสตํ ชีเว กุสีโต หินวีริโย
เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย วิริยํ อารภโต ทฬฺหํ

ผู้ใดเกียจคร้าน หย่อนความเพียร ถึงจะมีชีวิตอยู่ได้ร้อยปี ก็ไม่ดีอะไร
ชีวิตของผู้เพียรพยายามจริงจังมั่นคง เพียงวันเดียว ยังประเสริฐกว่า

มีความสุขกับการเป็นผู้เพียรพยายาม ตลอดไป...นะคะ




โดย: พรหมญาณี วันที่: 15 กันยายน 2554 เวลา:10:30:23 น.  

 
น ชจฺจา โหติ พฺราหฺมโณ
กมฺมุนา วสโล โหติ

ใคร ๆ จะเป็นคนประเสริฐเพราะชาติกำเนิด ก็หาไม่
คนจะประเสริฐ ก็เพราะการกระทำ ความประพฤติ

คิดดี พูดดี ทำดี เป็นคนประเสริฐ ตลอดไป...นะคะ




โดย: พรหมญาณี วันที่: 16 กันยายน 2554 เวลา:10:08:30 น.  

 
มาเส มาเส สหสฺเสน โย ยเชถ สตํ สมํ
เอกญฺจ ภาวิตตฺตานํ มุหุตฺตมปิ ปูชเย
สา เยว ปูชนา เสยฺโย ยญฺเจ วสฺสสตํ หุตํ

ผู้ใดใช้ทรัพย์จำนวนพันประกอบพิธีบูชาทุกเดือนสม่ำเสมอ
ตลอดเวลาร้อยปี การบูชานั้นจะมีค่ามากมายอะไร
การยกย่องบูชาบุคคลที่อบรมตนแล้วคนหนึ่ง
แม้เพียงครู่เดียวก็ประเสริฐกว่า

ปฏิบัติทุกภารกิจอย่างมีความสุข ด้วยความมีสติ ตลอดไป...นะคะ




โดย: พรหมญาณี วันที่: 19 กันยายน 2554 เวลา:10:51:45 น.  

 
เอวเมว มนุสฺเสสุ ทหโร เจปิ ปญฺญวา
โส หิ ตตฺถ มหา โหติ เนว พาโล สรีรวา

ในหมู่มนุษย์นั้น ถึงแม้เป็นเด็ก ถ้ามีปัญญา ก็นับว่าเป็นผู้ใหญ่
แต่ถ้าโง่ ถึงร่างกายจะใหญ่โต ก็หาเป็นผู้ใหญ่ไม่

เป็นผู้ใหญ่ที่อุดมด้วยปัญญาดี ตลอดไป...นะคะ




โดย: พรหมญาณี วันที่: 20 กันยายน 2554 เวลา:12:46:44 น.  

 
โย พาโล มญฺญติ พาลฺยํ ปณฺฑิโต วาปิ เตน โส
พาโล จ ปณฺฑิตมานี ส เว พาโลติ วุจฺจติ

ผู้ใดเป็นพาล รู้ตัวว่าเป็นพาล ก็ยังนับว่าเป็นบัณฑิตได้บ้าง
ส่วนผู้ใดเป็นพาล แต่สำคัญตนว่าเป็นบัณฑิต ผู้นั้นแล เรียกว่าเป็นพาลแท้ ๆ

ก้าวเดินด้วยความภาคภูมิใจในความเป็นบัณฑิตแห่งตน ตลอดไป...นะคะ




โดย: พรหมญาณี วันที่: 21 กันยายน 2554 เวลา:10:30:07 น.  

 
Satu, kob khun ka.


โดย: CrackyDong วันที่: 21 กันยายน 2554 เวลา:20:54:09 น.  

 
สาธุ โข ปณฺฑิโต นาม น เตฺวว อติปณฺฑิโต
อันว่าบัณฑิตนั้นดีแน่ แต่ว่าบัณฑิตเลยเถิดไปก็ไม่ดี

มีความสุขกับการดำเนินชีวิตด้วยวิถีแห่งมัชฌิมา ตลอดไป...นะคะ





โดย: พรหมญาณี วันที่: 22 กันยายน 2554 เวลา:10:09:38 น.  

 
แวะมาทักทายค่ะ
ไม่ได้แวะมาซะนานเลย
สบายดีนะคะ


โดย: JinnyTent วันที่: 22 กันยายน 2554 เวลา:20:28:52 น.  

 
อุชฺฌตฺติพลา พาลา
นิชฺฌตฺติพลา ปณฺฑิตา

ขุมกำลังของคนพาล คือการจ้องหาโทษของคนอื่น
ขุมกำลังของบัณฑิต คือการไตร่ตรองโดยพินิจ

ไตร่ตรองทุกสิ่งด้วยความมีสติ ตลอดไป...นะคะ




โดย: พรหมญาณี วันที่: 23 กันยายน 2554 เวลา:10:45:47 น.  

 
เย็น...




โดย: ไกลเกินใจสายเกินแก้ วันที่: 26 กันยายน 2554 เวลา:5:42:18 น.  

 
นินฺททนฺติ ตุณฺหิมาสินํ นินฺทนฺติ พหุภาสินํ
มิตภาณิมฺปิ นินฺทนฺติ นตฺถิ โลเก อนินฺทิโต

คนนั่งนิ่ง เขาก็นินทา คนพูดมาก เขาก็นินทา
แม้แต่คนพูดพอประมาณ เขาก็นินทา
คนไม่ถูกนินทา ไม่มีในโลก

เลือกแต่สิ่งดี ที่สร้างสรรชีวิตให้เจริญรุ่งเรือง ตลอดไป...นะคะ




โดย: พรหมญาณี วันที่: 27 กันยายน 2554 เวลา:9:16:52 น.  

 
น จาหุ น จ ภวิสฺสติ น เจตรหิ วิชฺชติ
เอกนฺตํ นินฺทิโต โปโส เอกนฺตํ วา ปสํสิโต

คนที่ถูกนินทาอย่างเดียว หรือได้รับการสรรเสริญอย่างเดียว
ไม่เคยมีมาแล้ว จักไม่มีต่อไป ถึงในขณะนี้ก็ไม่มี

วางการสรรเสริญนินทาไว้ข้างทาง แล้วเดินต่อไปด้วยความมีสติมั่นคง ตลอดไป..นะคะ

Photobucket


โดย: พรหมญาณี วันที่: 28 กันยายน 2554 เวลา:10:18:43 น.  

 
ครหาว เสยฺโย วิญฺญูหิ ยญฺเจ พาลปฺปสํสนา
วิญญูชนตำหนิ ดีกว่าคนพาลสรรเสริญ

มีความสุขกับการเลือกรับแต่สิ่งที่ดี ตลอดไป...นะคะ




โดย: พรหมญาณี วันที่: 29 กันยายน 2554 เวลา:12:17:57 น.  

 
กลุ่มเพื่อน 5.63 โรงเรียนอุตรดิตถ์ ขอแสดงมุทิตาจิตถวายพระครูถาวรธรรมโกวิท (ถวิล) ธ. วัดพระแท่นศิลาอาสน์ จ.อุตรดิตถ์ เนื่องในโอกาสที่พระเดชพระคุณท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นที่ พระวินัยสาทร สย. ในวันเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 7 รอบพระชนมพรรษา วันที่ 5 ธันวาคม 2554


โดย: กลุ่มเพื่อน 5.63 อ.ต. IP: 118.172.169.62 วันที่: 11 ธันวาคม 2554 เวลา:12:36:42 น.  

 



สวัสดีปีใหม่ 2555
เริ่มต้นชีวิตด้วยความดี คิดดี พูดดี ทำดี ตลอดปีและตลอดไป ชีวีรุ่งเรืองสดใส
ภยันตรายใดไม่แผ้วพาน สุขกาย สุขใจ สุขภาพแข็งแรงตลอดไปค่ะ.

~*~ H a P P y. N e W Y e a R 2012 ~*~






โดย: พ่อระนาด วันที่: 2 มกราคม 2555 เวลา:14:02:49 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

พ่อระนาด
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




เพียรฝึกตนใฝ่รู้ หลักธรรม

จิตเพ่งคิดจดจำ บ่มไว้

หมายเพียรมุ่งตัดกรรม วัฏฏะ

หวังสละจิตสุดท้าย ดิ่งเข้านิพพาน..

Friends' blogs
[Add พ่อระนาด's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.