*
~
*
*
~
*
กลับมาที่เรื่องการหาหมอที่ดูไบ ที่นี่มีทั้งโรงพยาบาล และคลินิคให้บริการ สำหรับเราเอง มาอยู่ดูไบ จนถึงปัจจุบัน (25 กพ. - 7 มิ.ย. 2555) ป่วยถึง 2 ครั้ง 1. ช่วงต้นเดือนมีนาคม ช่วงนั้นอากาศหนาวมาก ยังปรับตัวไม่ได้ แต่สุดท้ายอาการก็หายไปเองใน 1 สัปดาห์จึงไม่มีปัญหาไม่ได้ไปหาหมอ และครั้งที่ 2 กลางเดือน พ.ค. 2555 ถือว่าหนักหน่อย เพราะเกือบ 2 สัปดาห์ก็ยังไม่มีวี่แววว่าจะดีขี้นซักที อาการมีแต่แย่ลงเรื่อยๆ จนบางวันไอมาก แล้วก็อาเจียน หลังจากนั้นมีเลือดไหลออกมาทางจมูก ช่วงนั้นทรมานมาก (บอกก่อนช่วงนั้นอากาศที่ดูไบเริ่มร้อนขึ้น อุณหภูมิเกือบ 45 องศา) วันนั้นเราเลยขอลาหยุด 1/2 วันเพราะไม่ไหวจริงๆ เราตัดสินใจไปหาหมอ ก่อนไปขอบอกก่อนว่า เมื่อเราทำงานกับบริษัท จะออกเอกสารและมีสวัสดิการเรื่องการรักษาพยาบาลให้ เค้าจะมี "Medical card" ให้กับพนักงานทุกคน เราก็ตรวจสอบสถานพยาบาลทั้งโรงพยาบาล และ คลินิคใดบ้างที่รับบัตรนี้ ซึ่งจะมีรายชื่อคลินิค โรงพยาบาล และร้านขายยา (อันนี้มีเยอะมาก) ตอนแรก ก็ไม่ค่อยเข้าใจทำไมถึงต้องมีรายชื่อร้านขายยาเยอะแยะไปหมด ตอนหลังมาถึงบางอ้อ... กำลังจะเล่าในตอนนี้ล่ะ
*
~
*
หลังจากรู้แล้วว่า เราจะไปหาหมอที่คลินิคใกล้กับที่พัก และ รับบัตรประกันที่เรามีอยู่ด้วย เมื่อเราไปถึง พนักงานก็จะถามหาถึงบัตร ว่าเรามีหรือไม่ แล้วก็ถามข้อมูลส่วนตัวนิดหน่อย "มาจากประเทศไหน" "ถามเบอร์มือถือ" "ถาม วัน/เดือน/ปีเกิด" หลังจากนั้นก็เข้าไปรอตามคิว ซึ่งห้องที่ให้รอถูกแบ่งเป็นห้องชาย และ หญิง ไม่ปะปนกัน อ่อ.. ลืมบอก นางพยาบาลมาจากต่างเชื้อชาติ มากๆ ขาวๆ ดำๆ .... นั่งคอยซักครู่ นางพยาบาลก็มาเรียกชื่อให้เข้าไปพบแพทย์ ตอนนั้นใจเต้นเหมือนกัน แอบกลัวและประหม่า เพราะเป็นครั้งแรก และมาคนเดียวด้วย เมื่อเข้าไปในห้องคุณหมอ บรรยากาศในห้อง ทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายขึ้น เพราะห้องกว้างขวาง สะอาดสะอ้าน ทาสีห้องด้วยสีขาว พร้อมทั้งเครื่องไม้เครื่องมือที่ทันสมัย คุณหมอมีโน้ตบุคอยู่บนโต๊ะด้วย... แล้วก็มาเล่าถึง คุณหมอคนแรกที่เข้าพบ เธอเป็นผู้หญิงร่างใหญ่โต ผิวดำคล้ำ ผมหยิกหยอย... เราแอบตกใจเล็กน้อย นี่คุณหมอจริงๆเหรอ.. แต่เมื่อเธอทักทาย "how are you today Miss....?" แต่เรายังไม่ทันได้ตอบ เธอกลับรีบหัวเราะกับคำถามของเธอ แล้วถามต่อทันทีถึงอาการเราว่าเป็นอย่างไร เมื่อเธอได้พูด กอปรกับมุขเล็กๆ ของเธอมันทำให้เธอดูเป็นคุณหมอที่ใจดีขึ้นมาทีเดียว พอซักถามอาการกันเสร็จ เธอบอกให้เรากลับมารอที่ห้องนั่งรออีกครั้ง เพราะต้องส่งต่อไปคุยกับคุณหมออีกคนหนึ่ง... โอ้วโหว แค่ไข้หวัด มาหาหมอที่คลินิค ต้องคุยกับหมอ 2 คนเลยเหรอเนี่ย.... ซักพักก็ถูกเรียกไปคุยกับหมออีกคน เพื่อวินิจฉัยโรคอย่างละเอียดยิบๆ จริงๆ เพราะเราคุยกับหมอนี้นานมาก เกือบ 45 นาที เห็นใจคนที่รอต่อจากเราเลย เพราะหมอคนนี้ ช่างเจรจาชะมัด ก็เลยไม่แน่ใจว่าเป็นนิสัยของหมอเมืองแขกหรือป่าวที่ต้องคุยกับคนไข้ อย่างนานมากๆ คุณหมอคนนี้เป็นคนอินเดีย เริ่มคุยกัน เราก็อธิบายอาการของโรคเรา พร้อมกับยื่นโน๊ต ที่เขียนศัพท์อังกฤษมาเรียบร้อย เพื่อความกระจ่างของอาการป่วยของเรา
*
~
*
หมอเอารูปร่างกายของคน พร้อมกับอธิบายถึงหลักของการเดินทางของอาหารจากช่องปากไปสู่ท้อง และกระเพาะอาหารได้อย่างไร และลงไปสู่ลำไส้ยังงัย และอธิบายกรณีของเราคือเป็นไข้ และไอแสดงว่าช่องทางเดินอาหารของเรามีบางส่วนที่เปิดบ้างทำให้อาหารบางส่วนไหลย้อนกลับขึ้นมาทำให้เกิดอาการไอ จาม หรืออาเจียน... หมอแนะนำต่อไปว่า ควรกินอาหารให้น้อยลงในมื้อเย็น และไม่ควรดื่มน้ำมากหลัง 6 โมงเย็นไปแล้ว (แปลกๆ เหมือนกัน) เราเลยถามเหตุผล และได้คำตอบว่า เนื่องจากอาหารที่เรากินเข้าไป จะย่อยเองภายใน 3 ชั่วโมง ควรจะนอน หลังกินอาหารเย็น 3 ชม. ไปแล้ว.... เรื่องการนอนก็ควรให้ช่วงอก และ หัวอยู่สูงกว่าช่องท้อง เพื่อป้องกันการใหลย้อนกลับของอาหาร และน้ำที่ตกค้าง กลับขึ้นมาเป็นน้ำมูก หรือ สเลดในช่วงตื่นนอนตอนเช้า มากไปกว่านั้น ยังแนะนำเรื่องอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงระหว่างที่ป่วย มี 9 อย่าง
(บางอย่างขัดแย้งจัง มันแตกต่างกับที่เคยได้ยินน่ะ ลองดูค่ะ)
*
~
*
ผักต่างๆ 3 รายการ
1. มะเขือเทศ
2. มะนาว
3. ใบสะระแหน่
อาหาร 3 รายการ
1. น้ำส้มสายชู
2. น้ำส้ม หรือ ผลส้ม
(อันนี้แปลกๆ ง่ะ เคยได้ยินแต่เวลาป่วยให้กินส้มเยอะๆ)
3. อาหารจำพวกทอด
เครื่องดื่ม 3 รายการ
1. ชา, กาแฟ
2. ช้อคโกแลต
3. น้ำอัดลม
*
~
*
ก่อนเราไปหาหมอเราก็ถามศัพท์เกี่ยวกับอาการของเราว่าภาษาอังกฤษเค้าเขียนว่าอย่างไร จะได้เข้าใจตรงกันไม่คลาดเคลื่อน ... อันนี้ต้องขอบคุณ คุณหมอเน๊ต รู้จักกันในเฟสบุ๊ค ที่ช่วยเหลือเรื่องคำศัพท์และคำแนะนำดีเกี่ยวกับการดูแลตัวเองช่วงที่ป่วย... มิตรภาพดีๆ ก็ยังมีเสมอผ่านเฟสบุคนะคะ
คัดจมูก ~ nasal congestion
แสบจมูก ~ a keen nose
น้ำมูกไหล ~ nasal discharge / runny nose
ไอแห้งๆ ~ a dry cough
มีเสมหะสีเขียวเข้ม ~ dark green phlegm
ระคายในคอ คันคอ ~ irritation in the throat
เจ็บคอ ~ sore throat
*
~
*
เรื่องถัดมาคือเรื่องการจ่ายยาตอนมาหาหมอที่คลินิค เราจะยังไม่ได้รับยาเลย ตอนแรกก็งงๆ ทำไมไม่มียา ทั้งๆ ที่หมอก็เขียนใบสั่งยาให้ พร้อมทั้งอธิบายว่ายาแต่ละตัวต้องกินอย่างไร เราจึงถามพจ้าหน้าที่ ได้ความว่าเราต้องไปรับยาตามใบสั่งยาของหมอที่ร้านขายยา.. เราไม่เคยรู้มาก่อนนะเนี่ย แล้วเราก็จ่ายเงินค่ารักษาตามวงเงินที่โชว์หน้าบัตร กรณีของเรา จ่ายสูงสุดไม่เกิน AED 50 ต่อครั้ง คือถ้ามากกว่านี้เราก็จะจ่ายแค่ AED 50 ล่ะ ราคานี้รวมไปถึงการจ่ายยาที่ร้านขายยาแล้วนะ ... หลังจากนั้นเราก็นำใบสั่งยาจากหมอไปที่ร้านขายยา แต่ควรสอบถามเค้าก่อนก็ดี ว่ารับบัตร นี้หรือไม่ เพราะว่าบางร้านจะไม่รับบัตร ซึ่งจะต้องจ่ายเงินเพิ่ม (ข้อมูลสถานพยาบาล โรงพยาบาล และร้านขายยาก็ดูจากเอกสารที่ได้รับมาพร้อมกับบัตรนั่นล่ะค่ะ) สำหรับค่ารักษาอาจจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับที่ เราจะทำของบริษัทอะไรนะคะ ของเราเอง บ. เราทำกับ Mednet ครอบคลุมสถานพยาบาลใน U.A.E. และประเทศในแถบ South East Asia countries เรามีบัตรแบบนี้ 2 ใบ เพราเราใช้ วีซ่าที่มีสามีเป็นสปอนเซอร์ DANAN บัตรอันนี้ครอบคลุมเรื่องการท้อง และคลอดบุตรด้วย บัตรที่ 2 เป็นสวัสดิการของ บ. ที่สามีเราทำงานอยู่
บัตรประกันสุขภาพ หน้าตาประมาณนี้ล่ะ
มีบัตรนี้ไว้ ยามที่อยู่เมืองแขก ช่วยให้อุ่นใจเวลาที่เจ็บไข้ได้ป่วยจ๊ะ
*
*
~
*
*
~
*
เรื่องราว.... จากประสบการณ์ของ "ยัยพรลี่"
แล้วจะมาเล่าเรื่องอื่นๆ ให้ฟังกันอีกนะคะ มีอีกหลายเรื่องที่รอเขียนลงบล็อก เพราะสำหรับเรา ทุกๆ อย่างที่เมืองแขก ดูเหมือนจะแปลกหู แปลกตา และสนุกเสียจริง...
ไม่รู้ว่าจะสนุก และ มันคนเดียวหรือเปล่า
แล้วเจอกันใหม่ที่เรื่องเล่า ตอนถัดไปจ้า
*
~
*
*
*