Group Blog
 
 
กุมภาพันธ์ 2551
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
242526272829 
 
24 กุมภาพันธ์ 2551
 
All Blogs
 

หลักสูตรเภสัชศาสตร์ 5 ปี vs 6 ปี

นานนานจะได้ตั้งกระทู้เกี่ยวกับวิชาชีพตัวเอง แบบตอบๆกระทู้มาส่วนใหญ่ก็อยู่เฉลิมไทย จนบางคนคิดว่าต้องเป็นทางสายศิลป์ หรือเกี่ยวข้องกับพวกในวงการประมาณนี้แน่เลย ความจริงไม่ใช่ครับ เป็นเภสัชกร และบังเอิญมีประเด็นเกี่ยวกับวิชาชีพชวนให้ตั้งกระทู้ เลยมาตั้งกระทู้ในมาดเภสัชเสียที

คิดยังไงกับการที่สภาเภสัชกรรมประกาศว่าต่อไปจะรับรองหลักสูตรเภสัชเฉพาะที่ศึกษา 6 ปีครับ

ส่วนเนื้อหาในกระทู้

อยากทราบความคิดเห็นทั้งจากบุคคลทั่วไป และจากบุคคลในแวดวงวิชาชีพครับ

ที่มาคือ สภาเภสัชกรรมซึ่งจะเป็นผู้อนุมัติใบประกอบวิชาชีพให้แก่บัณฑิตเภสัชศาสตร์ นั่นหมายความว่าคนที่เรียนเภสัช นอกจากจะเรียนและสอบผ่านตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด ยังต้องผ่านการสอบใบประกอบวิชาชีพจากสภาเภสัชกรรม เพื่อจะสามารถปฏิบัติวิชาชีพเภสัชกรได้ ในปัจจุบันหลักสูตรเภสัชในไทยมี 2 กลุ่มใหญ่ๆคือหลักสูตร 5 ปี และหลักสูตร 6 ปี ซึ่งทั้งสองหลักสูตรนี้จะใช้การสอบเหมือนกัน เกณฑ์ผ่านเหมือนกัน และถ้าสอบผ่าน ก็จะได้ใบประกอบวิชาชีพเหมือนๆกัน

แต่ต่อมา สภาเภสัชกรรมได้กำหนดข้อบังคับว่าจะให้เฉพาะผู้ที่จบจากหลักสูตรเภสัช 6 ปีเท่านั้นจึงจะมีสิทธิ์เข้าสอบใบประกอบวิชาชีพ นั่นหมายความว่าหลักสูตร 5 ปี จะสูญพันธุ์ไป เพราะถึงจะมี ก็ได้แค่วุฒิปริญญา โดยไม่สามารถเป็นเภสัชกรได้ ทั้งที่แต่เดิม เภสัชก็เรียน 5 ปี และปฏิบัติหน้าที่มาโดยตลอด โดยหลักสูตร 6 ปีเพิ่งเกิดขึ้นมาในช่วงหลังนี้เท่านั้น

โดยทางสภาให้เหตุผลในการใช้ข้อบังคับนี้หลักๆคือ ไม่ต้องการให้เกิดการลักลั่น 2 มาตรฐาน หลักสูตร 6 ปี เป็นหลักสูตรที่อเมริกาใช้ และการที่นิสิตนักศึกษาเรียนหนักเกินไป จากการเรียน 5 ปี และทางสภาก็ค่อนข้างดึงดันว่าจะต้องประกาศใช้บังคับนี้ให้ได้ (ตั้งแต่นิสิตนักศึกษาที่เข้าเรียนตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นไป) แต่อย่างไรก็ตาม กรณีนี้ยังมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์กว้างขวาง ทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย โดยเฉพาะในหมู่เภสัชกร

ความเห็นส่วนตัว

ปัจจุบันนิสิตนักศึกษาเรียนหนักจริงครับ จำนวนหน่วยกิตเกินที่เขากำหนดไว้ทุกมหาวิทยาลัย แต่การเรียน 6 ปี ก็ไม่ได้แปลว่าจะเบากว่า 5 ปี เพราะหน่วยกิตของหลักสูตร 5 ปี จะอยู่ที่ประมาณ 185 หน่วยกิต ในขณะที่ 6 ปีจะอยู่ที่ประมาณ 230 หน่วยกิต ซึ่งตรงนี้น่าเห็นใจทั้งคนเรียน และทั้งวิชาชีพ เพราะการเรียนที่อัดอย่างเดียว ยากที่จะให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการเรียนการสอนอย่างเต็มที่ และถ้าจะว่าไปจริงๆมีหลายวิชาที่ over require หรือลึกเกินกว่าหลักสูตรปริญญาตรี (แต่พอดีเข้าทางและสาขาอาจารย์ผู้สอน) ซึ่งถ้าตัดไอ้พวกที่มันเกินๆได้ ส่วนตัวคิดว่าหน่วยกิตน่าจะลดลงได้ไม่ต่ำกว่า 20 หน่วยกิต

แต่ถ้าไม่มีใครคิดจะตัดเนื้อหาที่ไม่จำเป็นออก หลักสูตร 6 ปี ก็ดูจะเหมาะแก่การศึกษาปัจจุบันสำหรับหลักสูตร 5 ปี (นั่นคืออย่าไปเพิ่มอะไรอีกนะ) ส่วนพวก 6 ปี เปลี่ยนไปเรียนซัก 7 ปี ก็กำลังดี แต่ปัญหาที่จะตามมาคือ

1. หลักสูตร 6 ปีจะเน้นที่การบริบาลผู้ป่วยมากขึ้น ซึ่งเป็นการให้ความสำคัญกับทาง pharmaceutical science น้อยลง (ดูจากข้อกำหนดว่าหลักสูตร 6 ปีควรเป็นอย่างไรตามที่สภาประกาศ) นั่นคืองานพวกวิจัยและพัฒนา การผลิตยา การคิดค้นยา การควบคุมคุณภาพยา การตลาดยา จะลดความสำคัญ เพราะงานกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันว่าเรียนสัก 5 ปี ก็ได้เนื้อหาที่ครอบคลุม ครบถ้วนแล้ว บางคนอาจคิดว่า อ้าว แล้วเรียนนานขึ้น ไม่ครอบคลุมเหรอ ไม่ครับ เพราะเวลาที่เพิ่มขึ้นตามที่สภากำหนดหลักๆมาจากการฝึกงานกับผู้ป่วย ซึ่งคนที่เรียนทาง Pharm Sci เรียนครบถ้วนตั้งแต่ 5 ปีแล้ว ทำไมไม่ให้เขาไปทำงานเลย แต่ไปเพิ่มอะไรที่ไม่ได้มีความจำเป็นเข้ามา หรือแม้แต่การให้ไปฝึกงานบริษัท สถาบันวิจัยก็ได้ แต่จากเสียงสะท้อนที่ผ่านๆมา การฝึกงานทาง Pharm Sci ไม่ได้มีความจำเป็นเท่าทางบริบาลเภสัช โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับการทำงานจริงๆ แถมการทำงานจริงๆได้เงินเดือนอีกต่างหาก แล้วจะเสียเวลาทำไม

2 . เวลา 1 ปีที่เพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น จบมาทำงานช้าลง กระทบทั้งผู้เรียน และผู้ใช้บัณฑิต ทางผู้ใช้อาจโอเคถ้าเป็นงานที่ต้องใช้กับผู้ป่วย แต่งานบางอย่างที่ไม่ใช่ ผู้ใช้เภสัช ก็ต้องรับภาระกับเงินเดือนที่สูงขึ้น (ก็เรียนมากขึ้นนี่) สุดท้ายอาจต้องหันไปหาแรงงานอื่นๆที่ไม่ใช่เภสัช อาจทำงานได้ไม่ดีเท่า แต่จ้างถูกกว่า

3. นิสิตนักศึกษาที่เรียน 6 ปี อาจเสียโอกาสบางอย่าง เช่นการได้ทำงานช้าลง อายุงานน้อยลง (เมื่อเทียบกับเพื่อนรุ่นเดียวกันที่เรียน 5 ปี) เสียค่าเล่าเรียนมากขึ้นอีกปีนึง แม้แต่การเรียนต่อระดับป.โท หรือเอก ซึ่งปัจจุบันไม่ว่าจะจบ 5 หรือ 6 ปี ต้องมาเริ่มที่จุดเดียวกัน (แถมบางหลักสูตรที่ไม่จำเป็นต้องจบเภสัชถึงเรียนได้ ก็มีคนจบหลักสูตรปริญญาอื่นๆแค่ 4 ปีมาเรียนก็มีด้วยซ้ำ)

4. ในเมื่อสภาใช้การสอบเป็นตัวกำหนดการอนุมัติใบประกอบวิชาชีพอยู่แล้ว การเรียนห้าปีแล้วสอบได้ ก็แสดงว่าเขาผ่านข้อกำหนดของสภาแล้วไม่ใช่หรือ และจากการสอบที่ผ่านๆมา ก็ไม่มีหลักฐานตรงไหน แสดงว่าหลักสูตร 6 ปีสอบผ่านมากกว่าหลักสูตร 5 ปี

ส่วนตัวไม่ได้คัดค้านกับการมีหลักสูตร 6 ปี เพราะก็ยอมรับว่าถ้าต้องการเน้นบริบาลเภสัชกรรม เรียน 6 ปี ฝึกปฏิบัติมากขึ้น ก็ดูเหมาะสมดี แต่ที่ไม่เห็นด้วยคือการตัดเด็ดขาดว่าจะไม่มีหลักสูตร 5 ปีอีกต่อไป เพราะหลักสูตร 5 ปีก็มี เภสัชกรที่จบหลักสูตรนี้มากมายที่มีคุณภาพทั้งต่อสังคมและวิชาชีพ(ขออนุญาตอ้างชื่อ ภญ.กฤษณา ไกรสินธุ์ เป็นตัวอย่าง) การทำให้หลักสูตร 5 ปีสูญพันธุ์ก็เหมือนกับการตัดแขนตัดขาตัวเอง ลดความยืดหยุ่นในวิชาชีพตัวเอง และอาจส่งผลกระทบในระดับชาติด้วยซ้ำ (ถ้าไม่เน้นการผลิตอีกต่อไป ยาก็ต้องมาจากการนำเข้า มากขึ้น แล้วต้องเสียดุลอีกเท่าไร) เป็นยังนี้แล้ว จะให้นิ่งเงียบ และซ้ายหันขวาหันตามสภาสั่งโดยไม่ทำอะไรได้อย่างไร

จากคุณ : I'm wu




 

Create Date : 24 กุมภาพันธ์ 2551
52 comments
Last Update : 24 กุมภาพันธ์ 2551 23:01:46 น.
Counter : 12696 Pageviews.

 

ความคิดเห็นที่ 1

หน่วยกิตที่เพิ่มขึ้นมา คือวิชาประเภทไหนครับ หรือเป็นการฝึกงาน

จากคุณ : ชาเขียว - [ 14 ก.พ. 51 03:01:58 ]

----------------------------------------------
----------------------------------------------



ความคิดเห็นที่ 2

รู้แค่ว่าที่อเมริกาจบเภสัชศาสตร์ออกมา ได้วุฒิเทียบเท่ากับปริญญาโทเลยค่ะ เพราะน้องที่รู้จักกันเค้าเรียนอยู่และบอกมา

จากคุณ : ศรีธนา - [ 14 ก.พ. 51 07:21:05 ]

------------------------------------------------
------------------------------------------------



ความคิดเห็นที่ 3

อยากถามสภาฯกลับไปด้วยว่า
เรียน 5 ปี แต่สามารถเรียนเพิ่มเติม เทคคอร์สระยะสั้นๆได้ ดูแลผู้ป่วยได้ มันไม่ดีตรงไหน แล้วเรียน 6 ปี แต่ไม่ได้ทำงานตรงกับการบริบาลผู้ป่วย จะมีประโยชน์อะไร????
ไม่เข้าใจสภาเภสัชกรรมเหมือนกัน ว่าต้องการอะไรจากความคิดแนวนี้ แล้วเภสัชกรรุ่นเก่า ที่เรียนจบ 5 ปีมา จะมีความด้อยกว่าน้องที่เรียน 6 ปีหรือเปล่าเนี่ย????

จากคุณ : NuHring - [ 14 ก.พ. 51 07:47:28 ]

--------------------------------------------------
--------------------------------------------------



ความคิดเห็นที่ 4

ปัญหาการซื้อยาจากร้านขายยาเท่าที่ผมเห็น
1. คนจ่ายยาไม่ใช่เภสัชกร แต่เป็นอาตี๋ทั้งหลายนั่นเอง ที่เป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะจำนวนเภสัชกรมีไม่พอเพียงที่จะนั่งประจำทุกร้านได้ และถึงจะนั่งประจำได้ก็เถอะ ถ้าเป็นร้านที่ขายดี คนซื้อเดินขวักไขว่ไปหมด เภสัชกรคนเดียวจะทำทันได้ยังไง คนจ่ายยาก็ยังต้องเป็นอาตี๋อยู่นั่นเอง

2. ยาปลอม ร้านขายยาจะมีทั้งยาจริงและยาปลอมปะปนกันอยู่ แต่เขามีวิธีวางของเขานะ ให้รู้ว่าตรงไหนวางยาจริงยาปลอมไว้ แต่คนซื้อไม่รู้หรอก ที่เอายาปลอมมาขายด้วยก็เพราะต้นทุนมันถูกอ่ะ กำไรงาม เรื่องนี้จริงแท้แน่นอนครับ เพราะเพื่อนผมมันเป็นเจ้าของร้านขายยา เวลาจะซื้อยา ผมก็ซื้อจากร้านมันเท่านั้น แต่คนอื่นที่ไม่เข้ากรณีอย่างผมล่ะ!!

สำหรับทางแก้ ผมไม่รู้หรอกครับ เพียงบอกปัญหาที่เห็นให้ทราบเท่านั้น

จากคุณ : หนุ่มไทยไร้นาม - [ 14 ก.พ. 51 08:39:05 ]

----------------------------------------------------------
---------------------------------------------------------



ความคิดเห็นที่ 5

ผมว่าคนที่รู้ดีที่สุดก็คือคนที่เคยเรียนทั้งแบบ 5 ปี และ 6 ปีนะ

จากคุณ : sirnitfi - [ 14 ก.พ. 51 09:19:07 ]

------------------------------------------------------
------------------------------------------------------



ความคิดเห็นที่ 6

รู้จักแต่หลักสูตรเรียน 7 ปี

เรียนตรีวิทย์สุขภาพแล้วไปต่อตรีเภสัช โอนวิชาไปเรียนเพิ่มอีก 3 ปี เห็นคน
ข้างตัวเรียนแนวนี้กันจัง สงสัยเป็นเทรนใหม่ ทำไมไม่เรียนสายตรงไปเลย
มาเรียนอ้อมกันทำไมไม่รู้ - -"

จากคุณ : DEDETE - [ 14 ก.พ. 51 14:09:50 ]


 

โดย: I'm wu 24 กุมภาพันธ์ 2551 23:04:24 น.  

 

ความคิดเห็นที่ 7

ตอบคุณชาเขียว

ข้อบังคับของสภา กำหนดโครงสร้างหลักสูตรไว้ด้วย ว่าต้องประกอบด้วยการฝึกงานไม่ต่ำกว่า 2000 ชั่วโมง และปัจจุบันแต่ละหลักสูตรมีการฝึกงานอยู่แล้ว มากบ้างน้อยบ้าง และแต่ละสาขาวิชาย่อย ก็มีชั่วโมงฝึกงานไม่เท่ากัน อย่างปัจจุบัน หลักสูตร 5 ปีน่าจะมีการฝึกงานอยู่ที่ประมาณ 600 ชั่วโมง ซึ่งถ้าจะทำให้เข้าเกณฑ์ที่สภากำหนด จะต้องฝึกเพิ่มอีกประมาณ 1400 ชั่วโมง หรือ ถ้าคิดวันละ 8 ชั่วโมง คือ 175 วัน โดยไม่นับรวมเสาร์และอาทิตย์ นั่นหมายความว่าเวลาที่เพิ่มอีก 35 lสัปดาห์ จะเป็นการฝึกงานล้วนๆ ซึ่งทำให้มองเห็นปัญหาอีกอย่าง คือแหล่งฝึกงานที่มีคุณภาพจะเพียงพอที่จะรองรับนิสิตนักศึกษาที่จะฝึกงานหรือไม่ด้วย ในขณะที่การเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยปกติ ก็ไม่มีตรงไหนที่จะบอกว่าลดลงเลย

ตอบคุณศรีธนา

เภสัชที่อเมริกาเรียน 6 ปี ได้ Pharm D หรือ Doctor of Pharmacy ซึ่งหลักสูตร 6 ปีในไทยที่มีมา ก็เป็นแบบนี้เช่นกัน และมักมีคนพยายามทำให้คนอื่นเข้าใจ (หรือแม้แต่ผู้เรียนในหลักสูตรนี้ ก็ยังเข้าใจ)ว่ามันคือปริญญาโท เพราะถ้าบรรจุในหน่วยงานราชการ จะได้รับเงินเดือนและขั้นระดับเดียวกับปริญญาโท แต่ถ้าดูโดยเนื้อแท้แล้ว Pharm D คือปริญญาที่มุ่งเน้นในการฝึกปฏิบัติ และการทำงานร่วมกับบุคลากรสาขาอื่นๆ แต่ไม่ใช่การวิจัยและพัฒนา ซึ่งเป็นพื้นฐานที่ปริญญาตรีทางวิทยาศาสตร์พึงมี หรือถ้าจะมองในแง่การศึกษาต่อ ถ้าจบ Pharm D ส่วนใหญ่จะนิยมฝึกเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และได้วุฒิบัตรต่อไป (ซึ่งอาจได้ประกาศนีย์บัตร และมีผู้ทำเทียบเท่าให้ แต่ไม่ใช่ปริญญาโท เอก) แต่ถ้าต้องการเรียนต่อ และได้โท เอก จริงๆ ต้องมาเริ่มที่โทก่อน เหมือนผู้จบ 5 ปี ดังนั้น ผมจึงไม่คิดว่า Pharm D คือปริญญาโท (เหมือนกับหมอ ทันตะ สัตวแพทย์ ซึ่งเรียนหกปีเหมือนกัน ได้บรรจุในขั้นเงินเดือนปริญญาโทเหมือนกัน แต่ผมก็ถือว่าเป็นวุฒิป.ตรี) และถ้าจะให้เหมาะสม คนที่จบ Pharm D ถ้าจะเรียนต่อ ต้องเข้าใจ และยอมรับ ว่าควรไปในทางสายปฏิบัติ ผู้เชี่ยวชาญ เพราะถ้าจะเอาปริญญาโท เอก คุณต้องถอยหลังกลับมานิดนึง ก่อนจะเริ่มใหม่ ซึ่งเสียเวลาเฉยๆ

NuHring อยากถามเหมือนกันครับ แม้ว่าจะเดาคำตอบได้ ก็คือไม่ตอบอะไร

หนุ่มไทยไร้นาม ยอมรับครับว่าปัญหาที่คุณพูดมีจริง เป็นเรื่องจรรยาบรรณ และอาจเกิดได้ทั้งกับคนที่เรียน 5 ปี และ 6 ปี สภาควรจะเล่นตรงนี้ให้มากๆ มากกว่าเอาเวลาไปกำหนดว่าจะให้นักเรียนเรียน 5 หรือ 6 ปีดี

sirnifi คนที่เคยเรียนทั้งสองแบบมีไม่เท่าไรครับ ส่วนนึงคือคนที่จบตรี 5 ปีเมืองไทย แล้วไปต่อ Pharm D อเมริกา แต่ก็ต้องยอมรับว่าอเมริกาเขาพร้อมกว่าเรา ทั้งระบบ หลักสูตร แหล่งฝึก และบริบททางสังคมก็ต่างกันด้วย (เภสัชที่อเมริกา ไม่เน้นการผลิต วิจัย และพัฒนาครับ และงานพวกวิจัยและพัฒนา เขาก็ไม่จำเป็นต้องเป็นเภสัชทำ ดังนั้นคนทำงานด้านนี้ส่วนใหญ่คือคนที่จบทาง Sciences แล้วเรียนต่อโทเอก ด้านการผลิต วิจัยและพัฒนา แต่ประเทศไทย งานพวกนี้กฏหมายยังกำหนดว่าต้องเป็นเภสัชกรทำ และสภาไทยยังยืนยันว่าต้องเป็นเภสัชกรทำต่อไป แม้จะมีบางคนถามว่าถ้าสภาจะเน้นงานบริบาล งานพวกนี้เปิดกว้างให้สาขาอื่นๆทำได้ไหม คำตอบคือไม่ได้ อ้อ ความจริงไม่ใช่แค่สภา เภสัชกรทั่วๆไป อาจารย์ ก็เห็นพ้องต้องกันหมด หวงไว้ให้เภสัชทำเท่านั้น)

นอกจากนี้ตอนเปิด Pharm D แรกๆ เขาก็เคยมีแนวคิดให้เภสัชที่จบ 5 ปีมาต่อยอด แต่เอาไปเอามาก็ไม่ค่อยมีคนต่อเท่าไร เพราะไอ้ที่ทำๆงานกันอยู่ มันสะสมประสบการณ์ และอะไรต่ออะไรจนเกิน Pharm D ไปแล้ว ตอนนี้ก็เลยมีแต่พวกเข้า Pharm D ตั้งแต่ Admission เลยยากครับ ที่จะหาคนที่เคยผ่านทั้ง 2 หลักสูตรมาถามให้เห็นภาพชัดๆ

แก้ไขจำนวนชั่วโมงฝึกงาน หลังจากไปหาข้อมูลเพิ่มเติม
แก้ไขเมื่อ 14 ก.พ. 51 19:05:01

จากคุณ : I'm wu - [ 14 ก.พ. 51 14:27:42 ]

-------------------------------------------------
-------------------------------------------------




ความคิดเห็นที่ 8

มันเป็นความเฮงซวยของสภาวิชาชีพครับ ผมก็เบื่อสภาวิชาชีพของตัวเองเสียเหลือเกิน นอกจากจะกดขี่เพื่อนร่วมวิชาชีพแล้ว ทำอย่างอื่นกันไม่เป็นเลย รัฐบาลก็พยายามผลักดันให้มีในทุกวิชาชีพ

ตอนแรกๆ พวกเราก็ดีใจ ต่อไปจะได้มีคนเป็นปากเป็นเสียง ช่วยรักษาสิทธิประโยชน์ให้แก่วิชาชีพ แต่พอคลอดออกมา ปรากฏว่าเป็นกฏหมายทาสคอยกดขี่พวกเดียวกันเองเสียฉิบ


(อยากได้สภาวิชาชีพแบบแพทยสภา จะมีได้กับเขาไหมหน่อ?)

จากคุณ : กระเทืองแก่ (Mascagni) - [ 14 ก.พ. 51 14:54:34 ]

----------------------------------------------------
----------------------------------------------------



ความคิดเห็นที่ 9

ขอตอบในฐานะเภสัชกรร้านยานะคะ
อาจจะนอกเรื่องนิดนึง
เราไม่สนใจเรื่องห้าหรือหกปีหรอกนะคะ เพราะคิดว่ามีเรื่องอื่นที่สำคัญกว่า

เราสนใจแค่ว่า ที่เปิดๆๆ สอนกันเนี่ย มีคุณภาพไหม มีอะไรรับประกันคุณภาพ
แล้ว...
เมื่อไหร่การแขวนป้ายจะหมดไปจากเมืองไทยซักที
อีกข้อนะ เมื่อไหร่เภสัชกรจะมีบทบาทอย่างแท้จริงในระบบสาธารณสุข และเป็นที่ยอมรับของวิชาชีพอื่นๆ

จากคุณ : ลูกเป็ดขี้เกียจ - [ 14 ก.พ. 51 19:42:37 ]

---------------------------------------------------------
---------------------------------------------------------



ความคิดเห็นที่ 10

เรียนหกปี วิชาความรู้ที่ได้ก็ยังไม่ครบเลยค่ะ
บางอย่างก็หาไม่ได้จากห้องเรียนค่ะ

บางที่คำว่า ห้องเรียน ก็ไม่ได้จำกัดแค่ว่า
ต้องอยู่ในมหาวิทยาลัยเสมอไป....นะค่ะ

จากคุณ : หมูน้อยอ้วนกลม - [ 14 ก.พ. 51 23:08:11 ]


 

โดย: I'm wu 24 กุมภาพันธ์ 2551 23:05:59 น.  

 

ความคิดเห็นที่ 11

มาตอบแล้วกัน

ฐานะคนที่เรียน 6 ปีรุ่นแรกๆ

ผมตอบแบบนี้ไปรอบที่ร้อยแล้วครับว่า....

เรียนทำไม 6 ปี ถ้าคุณไม่สามารถแสดงบทบาทได้ ไม่ได้มีความจำเป็นอะไรเลยสักนิด

ตราบใดที่หลักสูตรอย่างที่หลายๆ ม.ทำอยู่ เช่นส่งออกเด็กเป็นดีเทลอย่างเดียว ให้ทำอย่างอื่นไม่เป็น รับแต่ภาคพิเศษ ภาคพิสดารอยู่ได้

ชาตินี้เรียน 10 ปีก็ไม่พัฒนาหรอกครับ

แต่ในทางตรงข้าม ถ้าอยากทำแบบนั้น 4 ปีพอไหม เป็น Pharmacy Technician จ่ายยาไม่ได้ เปิดร้านยาไม่ได้ เรียน pharmacology เป็นพื้นฐาน

อยากทำดีเทล ไปเลย ไม่ต้องมาเป็นเภสัชง่ายดี อยากเป็นเภสัชสาย Admin ก็ต่อยอดไปอีก 2 ปี

จะเป็น Pharm.Care Pharm.Techno ก็เรียนเพิ่ม 2 ปีนี้ แล้วคุณจึงสามารถสอบใบประกอบเฉพาะทางของแต่ละสาขาได้

4+2 คือคำตอบที่ผมอยากให้เป็นที่สุด

จากคุณ : Epinephrine - [ 15 ก.พ. 51 09:51:31 ]

------------------------------------------------------
------------------------------------------------------



ความคิดเห็นที่ 12

เห็นด้วกับ # 9 และ # 11 จ้ะ ตัวเองจบรุ่น 5 ปีรุ่นสุดท้าย ก่อนที่จะมีการเปิดรุ่น 6 ปี จิงๆแล้วมันไม่สำคัญหรอกว่าจะจบ 5 ปีหรือ 6 ปี ขอให้ออกมาทำงานอย่างเต็มที่เพื่อประชาชนก็แล้วกัน

ปล. เด็กเภสัชสมัยนี้ จบออกมาก็ไปเป็นดีเทลกันหมด รู้สึกไม่ดีเลยนะ มันเหมือนไม่ได้ใช้ความเป็นวิชาชีพอย่างเต็มที่อะค่ะ

จากคุณ : เจ้าแม่ร้านยา (ลูกพลับน้อย) - [ 15 ก.พ. 51 12:37:35 ]

---------------------------------------------------------
---------------------------------------------------------



ความคิดเห็นที่ 13

Pharm D , MD , DDS , DVM มันขึ้นต้นด้วย Doctor ในปริญญาทั้งหมดและครับ ในประเทศไทยแปลว่า เภสัชบริบาลศาสตรบัณฑิต แพทยศาสตรบัณฑิต ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต และ สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต ซึ่งก็คือปริญญาตรี เคยได้อ่านเอกสารอธิบายเรื่องนี้ว่า ที่มันเป็น doctor เพราะว่า เป็นปริญญาสูงสุดในสายวิชาชีพนั้นแล้วครับ

จากคุณ : A ARM (A ARM) - [ 15 ก.พ. 51 16:03:12 ]

-------------------------------------------------------
------------------------------------------------------



ความคิดเห็นที่ 14

กลับไปที่คณะเห็นน้องๆหลักสูตร 6 ปี แห่กันไปเป็นดีเทลกันซะหลายคนเลยทั้งๆที่เรียนบริบาลเภสัชกรรมแล้วมันน่าได้ทำอะไรที่สามารถเข้าไปใกล้ตัวผู้ป่วยได้มากกว่านี้ พอไปคุยก็บอกว่าฝกงานในรพ.เยอะแล้ว เบื่อแล้ว ก็ยังเกิดความขัดแย้งข้นในใจของตัวเองว่า เมื่อตอนชั้นจบเมื่อเกือบ 10 ปีก่อน ก็อารมณ์เดียวกันเลย แล้วเปิด 6 ปีเพื่ออะไรล่ะทีนี้ เรียนจบช้าไปอีกปีเพื่อเพิ่มความเสียโอกาสในการหางานทำเหรอ งง ค่ะ แล้วสิ่งที่รับรองในอนาคตมันคืออะไร ทำไมสภาเภสัชกรรมมีแนวคิดนี้ ทำเช่นนี้แล้วคิดว่าสามารถยกระดับเภสัชกรได้แน่หรือ

จากคุณ : winniegirl - [ 15 ก.พ. 51 21:45:23 ]

--------------------------------------------------------
--------------------------------------------------------




ความคิดเห็นที่ 15

เข้ามาถาม

เป็นดีเทล นี่คืออะไรหรอครับ

เห็นพวกเรียนเภสัชพูดกันเยอะ แต่ผมไม่เข้าใจว่าหมายถึงทำงานประเภทไหน

จากคุณ : ต้น (CLTB) - [ 16 ก.พ. 51 03:36:39 ]


 

โดย: I'm wu 24 กุมภาพันธ์ 2551 23:08:03 น.  

 

ความคิดเห็นที่ 16

ดิฉันขอมองอีกมุมน่ะค่ะ การที่เราจบมาแล้วไม่ได้ทำงานตรงกับสายที่เรียนมาไม่ได้เป็นเรื่องผิดอะไร แล้วแต่มุมมองขอแต่ละคน มีหลายคนดังในสังคมที่จบเภสัชแล้วไม่ได้ทำงานด้านเภสัชโดยตรง เช่น เจ้าของสยามพารากอน หรือว่า นักร้องดังคนหนึ่งของญี่ปุ่นจำชื่อไม่ได้ การที่คุณจบมาจาก ม.ไหนไม่ได้เป็นการการันตีว่าคุณจะประสบความสำเร็จในชีวิต เรียนเก่งแต่อ่อนต่อโลกก็แย่เหมือนกันนะคะ หรือเรียนเก่งแต่ทำงานร่วมกับคนอื่นไม่ได้มันก็ไม่ได้ช่วยอะไร ตราบใดที่คนในสังคมยังมีการแบ่งแยกระดับของเภสัชกร มีการกดขี่ เห็นแก่ความอาวุโส รุ่นพี่-รุ่นน้อง แต่ไม่เห็นถึงความสามารถ วิชาชีพเภสัชก็จะยังคงไม่พัฒนาต่อไปค่ะ

ก่อนที่จะยกระดับเภสัชด้วยการบังคับให้เรียน 6 ปี ก็ควรจะเปลี่ยนมุมมองของคนในวิชาชีพเดียวกันก่อน

ยอมรับมั้ยค่ะว่า ในวิชาชีพเดียวกันยังมีการดูถูกกัน แบ่งแยก ม.

ส่วนใครอยากทำดีเทล โรงพยาบาล หรือ โรงงาน หรือไปเป็นอะไร ก็สิทธิส่วนบุคคล

จากคุณ : bbettergal - [ 17 ก.พ. 51 16:32:46 ]

-----------------------------------------------------
-----------------------------------------------------



ความคิดเห็นที่ 17

เห็นด้วยกับ 6 ปีครับ โดยในปีที่ 5,6 ให้มีความเฉพาะทางมากขึ้น ตามที่เด็กเลือก และควรจะเทียบเท่า แพทย์

จากคุณ : P.Universe - [ 19 ก.พ. 51 13:34:55 A:61.7.128.131 X: ]

----------------------------------------------------
----------------------------------------------------


ความคิดเห็นที่ 18

ก่อนที่นายกสภาเภสัชฯ จะเสนอเรื่องเรียน 6 ปี น่าจะขอให้ท่านช่วยตามเรื่องที่ "พยาบาลจะขอเปิดร้านยา" ก่อนดีไหมค่ะ แต่ก่อนท่านทำระบบเอนทรานซ์ (ความเท่าเทียมกันอย่างเดียวที่มีอยู่สำหรับเยาวชนผู้รักการเรียน) พังมาทีนึงแล้ว พอย้ายจาก สกอ. มาเป็นนายกสภาเภสัชฯ ก็หาเรื่อง 6 ปี มาให้พี่น้องเภสัชปวดหัวเล่นอีกแล้ว ควรจะทำอะไรที่ปกป้องวิชาชีพบ้างเถอะ...ใครได้อ่านกระทู้นี้แล้วรู้จักท่านเป็นการส่วนตัว ช่วยกระซิบให้ท่านรู้ถึงความเดือดร้อนที่ท่านได้ทำขึ้นแบบไม่รู้ตัวบ้างเถอะ และขอให้นายกฯ เข้าไปดู website "//drugstore.addserver.co.th" หน่อย....วิชาชีพจะแย่แล้ว

จากคุณ : ก - [ 19 ก.พ. 51 13:45:06 A:202.28.27.4 X: ]

----------------------------------------------------------
----------------------------------------------------------



ความคิดเห็นที่ 19

เจ้าของกระทู้มาตอบ

ขอตอบคุณต้น ความเห็น 15 ก่อน ดีเทลก็คือผู้แทนยาครับ ถ้าภาษาชาวบ้านก็เซลล์แมนขายยา แต่มันมีอะไรมากกว่านั้น เพราะต้องอาศัยทั้งความรู้เชิงวิชาการ การตลาด ธุรกิจเข้าด้วยกัน ไม่ใช่การเดินดุ่ยๆเข้าไปยื่นรายการยา ความจริงผู้ทำหน้านี้นี้ถ้าเน้นเชิงวิชาการ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับยาใหม่ๆ เปรียบเทียบยาอื่นๆในกลุ่มใกล้ๆกัน อัพเดทความรู้ให้กับหมอ กับเภสัช อะไรทำนองนี้จะมีประโยชน์ต่อการสาธารณสุขมาก แต่ส่วนใหญ่มันมักจะมีเรื่องผลประโยชน์ เงิน คอมมิชชั่น หรือการเอื้อประโยชน์ให้บางคน เลยทำให้ภาพพจน์บางครั้งก็ดูไม่ดีนัก ไปจนถึงที่ว่าดีเทลไม่ต้องจบเภสัชมาก็ทำได้ และบริษัทส่วนใหญ่คัดเลือกจากบุคลิก มนุษยสัมพันธ์มากกว่าความสามารถเชิงวิชาการ บวกกับคนส่วนใหญ่ที่เป็นดีเทลมักมีเหตุผลว่าเงินดี งานสบาย คนที่มองดีเทลแบบเหยียดๆก็อาจมีบ้าง (แต่ไม่ใช่กับเจ้าของกระทู้นะ เพราะผมยังคิดว่าดีเทลเป็นแขนงหนึ่งที่จำเป็น และควรพัฒนาให้ดีขึ้นไปอีกได้) และถ้าให้ตรงประเด็นกระทู้นี้ ถ้าเรียน 6 ปี เพื่อเป็นดีเทลยา ไม่จำเป็นครับ (ความจริง 4 ปี อาจจะพอด้วยซ้ำ)

คุณ DEDETE เพิ่งเคยได้ยินเหมือนกัน กับหลักสูตร 7 ปีที่คุณว่า ถ้าผมเข้าใจไม่ผิด น่าจะเป็นการโอนย้ายข้ามคณะวิชามากกว่าหรือเปล่าครับ ซึ่งปกติไม่ว่าจะคณะไหนมันก็โอนข้ามคณะได้อยู่แล้ว ภายใต้เงื่อนไขคือ เกรดถึงที่กำหนด คณะที่จะโอนไปมีที่ว่าง และได้รับอนุมัติจากกรรมการคณะทั้งคณะเดิมและคณะใหม่ แต่ก็ต้องไปเรียนเหมือนกับเริ่มใหม่ ยกเว้นวิชาที่เทียบเท่ากันที่เคยเรียนมาแล้วอาจโอนมาได้เลย ซึ่งทำให้สุดท้ายต้องใช้เวลาเรียนนานขึ้น ไม่รู้ว่าเป็นกรณีนี้หรือเปล่า

คุณกระเทืองแก่ อนุญาตให้บ่นได้ครับ

คุณลูกเป็ดขี้เกียจ เจ้าแม่ร้านยา และ A ARM ขอบคุณสำหรับความเห็นครับ เห็นด้วยทุกประการ

คุณหมูน้อยอ้วนกลม ใช่เลยครับ วิทยาการมันไปข้างหน้าตลอด ไอ้ที่เรียนๆในมหาวิทยาลัยมันแค่ส่วนเล็กๆเท่านั้น การเรียนเพื่อให้เข้าใจหลักการ และสามารถต่อยอดได้เอง ปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงได้เอง น่าจะเป็นอะไรที่ถูกต้องที่สุด

คุณ Epinephine 4+1 หรือ 4+2 เป็นอีกแนวทางนึงที่เคยได้ยินคนพูดถึง แต่มันน่าจะมีปัญหาในทางปฏิบัติ เพราะแปลว่า 4 ปีปุ๊บ จะต้องอนุมัติปริญญาก่อน (เพื่อให้คนที่ไม่ต้องการใบประกอบวิชาชีพ คนที่ไม่ต้องการเป็นเภสัช จบตรีเพื่อไปทำงานได้ก่อน) แล้วเวลาที่เหลือคืออะไร เพราะจะว่าเป็นปริญญาโทก็ยังไม่เท่า (ทั้งที่ใช้เวลาเรียนเท่ากัน) จะให้ปริญญาตรีเภสัช ก็แปลว่าคนนั้นจะได้ปริญญาตรี 2 ใบโดยเรียน 5-6 ปีเหรอ (ใบแรกตอนจบ 4 ปี อีกใบคือ ภบ. ตอนจบ 5-6 ปี) ไม่ใช่น่า หรือถ้าจบ 4 ปีแล้ว คนหายไปครึ่งคลาสทำยังไง หรืออยู่กลับมาเรียนต่อพร้อมๆกันจนมหาวิทยาลัยรองรับไม่ได้ วางแผนไม่ได้ และที่สำคัญ คณะเภสัชหน้าที่หลักก็คือการผลิตเภสัชกร ถ้าผลิตแค่ 4 ปี ไม่เอาใบประกอบวิชาชีพ ไม่ได้ชื่อว่าเภสัชกร คณะไหนก็เปิดได้ และเกิดมีคนที่อื่นเปิดจริงๆ แล้วมาขอ +1, +2 ในคณะเภสัช คณะเภสัชนั้นจะยอมเหรอ คือไม่ได้เห็นแย้งอะไรมากนะครับ แต่ผมว่ามันยุ่งยากในทางปฏิบัติ

ที่ผมอยากเห็นจริงๆคือ 5+1 หรือ 6 โดยทั้งสองหลักสูตรได้ภบ. เหมือนกัน แต่คนที่จะเข้าสอบใบประกอบวิชาชีพได้ต้องเรียน 6 ปี หรือเป็น 5 ปีที่ทำงานแวดวงเภสัชกรรม(ในหน้าที่ที่ไม่ต้องใช้ใบประกอบ)ไม่ต่ำกว่า 1 ปี เช่นไปเป็นดีเทลปีนึง ไปขึ้นทะเบียนยาปีนึง ไปทำโรงงานปีนึง หรือแม้แต่เรียนต่อทางด้านเภสัชปีนึง เป็นต้น ก็จะสามารถเข้าสอบได้ และถ้าสอบผ่านก็ได้ใบประกอบวิชาชีพ ทำงานที่ใช้ใบประกอบวิชาชีพได้เต็มตัว อันนี้น่าจะลงตัวตามความเห็นส่วนตัวผม

คุณ winniegirl เสียดายเหมือนกันครับ เวลาเห็นคนเรียนจบมา(ไม่ว่าจะจบอะไร) แล้วไม่ได้ทำงานตามสาขาที่เรียน เข้าใจว่าบางคนมันก็จำเป็น แต่มันก็อดเสียดายไม่ได้ ต่อคุณ bbettergal เลยที่ว่าแต่ละคนมีสิทธิ์เลือก แต่ถ้าเขารู้ตัวเร็วกว่านี้ เลือกเร็วกว่านี้ตั้งแต่ตอนสอบเข้า มันก็คงดีทั้งกับตัวคนเรียน และสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เภสัชมันเป็นวิชาชีพ ถึงไม่ได้ทำงานเกี่ยวกับเภสัช ก็ยังสามารถนำหน้าชื่อว่าเภสัชกรได้โดยไม่ผิดอะไร แต่ถ้าจะทำงานในฐานะเภสัช แต่ในหน้าที่การงานที่แตกต่างกันออกไปนี่ เห็นด้วยครับ ว่าควรให้ทางเลือกที่หลากหลาย

คุณ P.Universe ถึงเรียน 6ปีเหมือนแพทย์ แต่คงยากที่จะเทียบเท่าแพทย์ (หรือแม้แต่ทันตะ ที่เขาบรรจุขั้นสูงกว่า 6 ปีเภสัช) เรื่องใหญ่ครับ ถ้าจะไปแข่งขันกับวิชาชีพอื่นๆทั้งที่วิชาชีพตัวเองก็ยังแข็งแรงไม่เท่าไรแบบนี้

คุณ ก นั่นซิครับ สภามาเล่นเรื่องบทบาทและจรรยาบรรณวิชาชีพเป็นหลักดีไหม

จากคุณ : I'm wu - [ 19 ก.พ. 51 15:59:23 ]

--------------------------------------------------------
--------------------------------------------------------



ความคิดเห็นที่ 20

เจ้าของกระทู้ ขยันตอบมากเลยค่ะ

ขอแสดงความเห็นร่วมนิดนึงค่ะ

ถ้า 4 ปีเป็น วิทยาศาสตรบัณฑิต
แล้ว + 1หรือ 2 ปีเป็นเภสัชศาสตรบัณฑิตตรงนี้เป็นไปได้ไหม

แล้วประเด็นเรื่อง 5 ปี จากนั้นปฏิบัติงาน 1 ปี สามารถสอบใบประกอบได้ก็น่าสนใจค่ะ แต่จะติดเรื่องชั่วโมงการฝึกงานที่สภาฯบังคับ 2,000 ชั่วโมงไหมคะ

ดูดูแล้ว สภาฯเธออกข้อบังคับมาชนิดไม่ให้กระดกกระเดี้ยไปทางไหนได้เลย

เรื่องเทียบเท่าแพทย์ เป็นเรื่องที่สงสัยมานานแล้วว่า เภสัชมีอะไรกับแพทย์เหรอ ถึงต้องไปเปรียบเทียบตัวเองกับแพทย์อยู่ตลอดเวลา จะดีกว่าไหมถ้าเราจะถามตัวเองว่าเราทำงานของเราดีที่สุดแล้วหรือยัง อย่าไปเทียบกับคนอื่น หรือแข่งกับคนอื่นดีไหมคะ แข่งกับตัวเราเองนี่แหละ ภูมิใจแล้ว

จากคุณ : งงมาก สภาฯกำลังทำอะไร - [ 20 ก.พ. 51 23:58:45 A:222.123.226.110 X: TicketID:006999 ]

--------------------------------------------------------
--------------------------------------------------------



ความคิดเห็นที่ 21

พอดีไม่ค่อยได้ตั้งกระทู้ครับ คุณงงมาก แล้วก็คิดว่าไม่เหนือบ่ากว่าแรงและมีประเด็นให้ตอบเรื่อยๆ เลยคิดจะตอบให้ครอบคลุม

เรื่อง 4 ปีแล้วเป็นวิทยาศาสตร์ก่อนแล้วค่อยต่อยอด ผมเห็นด้วยกรณีที่นักเรียนเข้ามาในหลักสูตร 5 หรือ 6 ปีก่อน แล้วถ้าเขามีทางไปที่ดีกว่า หรือไม่ได้ต้องการใบประกอบวิชาชีพ เช่นเป็นดีเทล หรือไปเรียนต่อ แล้วขอจบใน 4 ปี โดยได้ปริญญาวิทยาศาสตร์ ในขณะเดียวกันก็มีเส้นทางที่จะให้เขากลับมาต่อยอดจนครบข้อกำหนดที่จะเป็นเภสัช และเข้าสอบใบประกอบวิชาชีพ แต่ไม่เห็นด้วยกรณีที่รับเข้าเป็น 4 ปีตั้งแต่แรก แล้วค่อยให้ต่อยอดเพื่อเป็นเภสัช เหตุผลหลักๆคือถ้าปริญญาวิทยาศาสตร์จะเป็นปริญญาแรกของเขา ก็ควรมีตลาดงานรองรับที่ชัดเจน เพียงพอ ไม่ใช่จบตรีแล้วต้องต่อยอด ถึงทำงานได้ อีกทั้งคุณภาพของผู้เข้าเรียนต่ำลงแน่ๆ ทั้งในฐานะเป็นหลักสูตรใหม่ และได้เป็นวทบ. ไม่ใช่ภบ. ดังนั้นจึงไม่เห็นด้วยกับการให้ 4 ปีแรกเป็น entry-level

ยังไงก็ตาม ไอ้ทางเลือกที่เสนอๆกันนี้ ก็ไม่รู้ว่าสภาจะรับบ้างหรือเปล่า เพราะเคยได้ยินข่าวว่าบางสถาบันก็เสนอโมเดลที่แตกต่างกันออกไป แต่ก็ยังไม่รู้ว่าเป็นอย่างไร

เรื่องเทียบเท่าแพทย์ ปัจจุบันผมก็ไม่เห็นว่าการประกอบวิชาชีพเราจะด้อยกว่าตรงไหน เพียงแค่หน้าที่ ความรับผิดชอบ ความเชี่ยวชาญที่ต่างกัน แต่คนที่ยกประเด็นมา ผมคิดว่าเขาคงพูดถึงการบรรจุเป็นข้าราชการ หรือพนักงานของรัฐ ที่เภสัช 6 ปียังบรรจุในขั้นที่ต่ำกว่าแพทย์และทันตะ ทั้งที่ใช้เวลาเรียนเท่ากันมากกว่ามั้งครับ

จากคุณ : I'm wu - [ วันมาฆบูชา 12:21:34 ]


 

โดย: I'm wu 24 กุมภาพันธ์ 2551 23:10:47 น.  

 

การเรียน 5 หรือ 6 ปีไม่ใช่ประเด็นหลักหรอกค่ะ ก็หวังแต่ว่าสภาจะไม่พยายามออกมาบอกให้เภสัชที่จบ 5 ปี ต้องเรียนต่อเพื่อให้เทียบเท่า 6 ปี ไม่เช่นนั้นจะไม่ต่อใบอนุญาตให้(หากอนาคตต้องต่อใบอนุญาต) คนที่เลือกเรียนหลักสูตร 6 ปีก็ต้องรู้ตัวเองอยู่แล้วว่าต้องเรียน 6 ปี แต่อยากรู้ว่าคนที่เรียน 5 ปี จบมาแล้วปีนั้นสอบใบประกอบไม่ได้ แล้วปีต่อมาเค้ายกเลิกการออกใบประกอบให้คนที่จบหลักสูตร 5 ปี แล้วคนคนนั้นจะมีอนาคตเป็นอย่างไรคะ

เคยได้ยินว่าการที่เภสัชที่จบ 5 ปี จะ update ให้เทียบเท่าเภสัช 6 ปี ต้องไปเรียนต่ออีก 2 ปี ดูว่าไม่ยุติธรรมเอามากๆ สภาน่าจะหาวิธีเพิ่มพูนความรู้ให้กับเภสัชกรเพื่อให้เภสัชกรสามารถทำงานได้อย่างมีคุณภาพ ตามข้อมูลใหม่ๆทัน อย่างตัวเองเป็นเภสัช อยู่โรงพยาบาลชุมชนบ้านนอก การเพิ่มพูนความรู้ทำได้ยากเพราะว่าการอบรม ประชุมส่วนใหญ่อยู่ที่ส่วนกลาง แถมด้วยตั้งแต่มีการเก็บ CPE ค่าลงทะเบียนก็สูงขึ้นเรื่อยๆ จน ร.พ.จะไม่อนุญาตให้ไปอยู่แล้ว

อยากให้สภาทำหน้าที่อย่างเข้มแข็งเหมือนสภาวิชาชีพอื่น คิดถึงประโยชน์ส่วนรวมของเพื่อนร่วมวิชาชีพเป็นหลักค่ะ

 

โดย: babyaspirin 4 มีนาคม 2551 21:02:35 น.  

 

นั่นดิ เบื่อสภาเหมือนกัน คิดแต่ละอย่าง ไม่เห็นเหมือนสภาแพทย์รักพวกพ้อง ทำไรเค้าเอื้อให้แก่พวกพ้อง ของเราไม่ค่อยคิดถึงพวกพ้องเลย ทำร้ายกันเอง
งั้นตอนนี้อย่างเราเป็นเภสัชรุ่นเก่า 5 ปี คิดจะเรียนต่อ
เรียนอะไรต่อดี ระหว่าง PharmD หรือ ปริญญาโท
โดยส่วนตัวอ่านหลักสูตร PharmD ที่ให้เภสัชรุ่นเก่าเรียนเพิ่มอีก 2 ปี ค่อนข้างน่าสนใจน่าจะเอาไปใช้ในงานได้ดี กว่าแต่เมื่อจบมาไม่รู้ว่าศักดิ์หรือระดับมันดูครึ่งๆกลางๆ รึเปล่า ไม่รู้ว่าเสียเงิน&เวลา ซึ่งพอๆกับเรียนต่อ มันจะคุ้มค่ารึเปล่า

 

โดย: Olala IP: 124.120.246.17 9 มีนาคม 2551 0:22:40 น.  

 

เห็นด้วยกับข้อคิดเห็นที่ 16 ค่ะ ทำไมเค้าต้องมีการสอบใบประกอบโรคศิลป์ด้วยอ่ะ ทุกมหาลัยเรียนหนักเหมือนกัน กว่าจะจบได้ก้อไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลย และมีข่าวข้อสอบรั่วออกมาบ่อยๆ แล้วจะสอบไปทำไมล่ะคะ การสอบแค่นี้มันวัดกันไม่ได้จิงๆ อย่างการสอบ OSPE ให้เวลา 3 นาที ถ้าไม่รู้ข้อสอบมาก่อนไม่มีทางทำทันหรอกค่ะ

 

โดย: snoopy IP: 202.91.19.192 29 มีนาคม 2551 0:48:08 น.  

 

ไปประชุมของสมาคมเภสัชกรรมมาครับ แรกสุดโปรแกรมบอกว่าจะมีการคุยเรื่องหลักสูตรที่ควรจะเป็น แต่ปรากฏว่าโดนยกเลิกหัวข้อนี้เฉยเลย เสียความรู้สึกมากๆ เลยไปตั้งกระทู้ไว้ที่โทรโข่ง และก็อปมาลงในบล็อกอีกที

############
ลิงค์ต้นฉบับ //www.torakhong.org/kratoo.php?t=15599

############

จ่ายเงินลงทะเบียนประชุมกับเภสัชกรรมสมาคม ถึงเวลาจริงๆ ยกเลิกหัวข้อที่ตั้งใจเข้าร่วมเฉยเลย


เหตุเกิด ณ.วันประชุมใหญ่ประจำปีของเภสัชกรรมสมาคม เมื่อ 25-26 เมษายนที่ผ่านมาครับ

เอา background ก่อนประชุมก่อน ตอนนี้ในวิชาชีพเภสัช ประเด็นร้อนเรื่องหนึ่งคือการที่สภาเภสัชกรรมจะกำหนดรับรองเฉพาะหลักสูตร 6 ปีเท่านั้น ตั้งแต่นักศึกษาเข้าใหม่ปี 2552 เป็นต้นไป ซึ่งหมายความว่าทุกมหาวิทยาลัย ทุกหลักสูตรต้องปรับการเรียนการสอนของตัวเองเป็นหกปีทั้งหมด แม้ว่าแต่เดิมจะใช้เวลาแค่ 5 ปีก็ตาม ซึ่งก็ไม่ได้มีผู้เห็นด้วยทั้งหมด และยังมีผู้ต้องการให้มีการรับฟังเสียงเพื่อนร่วมวิชาชีพให้มาก และรอบด้านขึ้น จึงมีการหาเวทีที่จะพูดคุยเรื่องนี้อยู่เป็นเนืองๆ

(ลิงค์ไปบล็อกที่เคยมีการแสดงความเห็นเรื่องหลักสูตรไว้ https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=pong318&group=4)

ทีนี้พอมีการประชุมของเภสัชกรรมสมาคม จึงคิดว่าน่าจะเป็นโอกาสอันดีที่จะได้แลกเปลี่ยนความเห็น เนื่องจากมีเภสัชกรจากหลากหลายสาขาวิชาชีพมาประชุมร่วมกันมากมาย และทางสมาคมก็ได้บรรจุเรื่องหลักสูตรนี้เป็น 1 ใน 3 ของ symposium ในการประชุมครั้งนี้ ซึ่งก็ทำให้มีคนยอมจ่ายเงิน 2500 บาทเพื่อลงทะเบียนเข้าร่วมการประชุม เพราะ symposium นี้ รวมถึงตัวผมเองด้วย

แต่แล้วเริ่มมีเหตุการณ์แปลกๆตั้งแต่ช่วงเช้า เมื่อพิธีกรประกาศว่าจะยกเลิก symposium เรื่องหลักสูตร เนื่องจากมีผู้สนใจน้อย และให้ลงชื่อเพื่อจัดการประชุมภายหลังต่อไป ซึ่งคนที่ตั้งใจมาประชุมเรื่องหลักสูตรก็เริ่มร้องอ้าว ก็ตั้งใจจะมาประชุมเรื่องนี้ จ่ายค่าลงทะเบียนไปแล้ว ใช้วันลาที่ทำงาน และเดินทางมาจากต่างจังหวัด อยู่ๆยกเลิกหน้าตาเฉยได้ยังไง และยังเกิดความู้สึกว่าถูกหลอกยังไงก็ไม่รู้ และที่ร้ายที่สุด คือการถูกหลอกจากสมาคมที่เหมือนกับเป็นตัวแทนวิชาชีพของเราเองซะงั้น

1. พอจะรู้มาบ้างก่อนนี้ ว่าเภสัชกรรมสมาคมไม่อยากจัดเรื่องหลักสูตรเท่าไร เพราะกลัวขัดแย้งกับสภาเภสัชกรรม แต่มีสมาชิกขอให้บรรจุเรื่องนี้ แต่เมื่อบรรจุแล้ว ประชาสัมพันธ์แล้ว หน้าที่สมาคม ควรจัดการประชุมให้ลุล่วง แล้วเสร็จ ไม่ใช่อยู่ๆก็ยกเลิกโดยอ้างเหตุผลว่าคนน้อย ทั้งที่ความรู้สึกคนที่อยากเข้าร่วม เหมือนการยกเลิกเพื่อเอาใจสภามากกว่า

2. เหตุที่คนน้อย เพราะไม่มีการระบุให้เลือก symposium นี้ในใบสมัครครับ แต่มีประชาสัมพันธ์ในเวป ในเอกสารประกอบการประชุม ที่ไม่มี เพราะ symposium นี้ถูกบรรจุ หลังจากใบสมัครกระจายออกไปแล้ว แต่ถึงหัวข้อมาทีหลัง ถ้ามีการบรรจุ ก็ถือว่ามีการบรรจุ และอยู่ๆไปนับแค่ใบสมัครว่าคนสนใจน้อยกว่า symposium อื่นๆ (เพราะหัวข้ออื่นๆติ๊กเอา ว่าอยากเข้าอะไร แต่หัวข้อหลักสูตรไม่มีที่ติ๊ก และบางคนก็ใช้การเขียนหัวข้อเพิ่มเอง และเค้าก็นับแค่ตรงนั้น แล้วบอกว่าคนสนใจน้อย) มีคนเสนอว่าสมาคมควรตั้งโต๊ะหน้าห้องประชุม และให้ลงชื่อที่หน้าห้องอีกครั้งว่าสนใจหัวข้อใด แต่สมาคมปฏิเสธ

3. หน้าที่สมาคม ควรเป็นตัวแทนสมาชิก ตัวแทนวิชาชีพไม่ใช่เหรอครับ แล้วการที่มีสมาชิกเสนอให้บรรจุเรื่องนี้ สมาคมควรจะยินดี และรีบสนับสนุนด้วยซ้ำ ไม่ใช่มองว่าเป็นตัวปัญหา

4. การยกเลิก symposium นี้ แม้แต่วิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิที่จะร่วมอภิปรายยังไม่ทราบเลยว่าจะยกเลิก มาถึงที่ประชุมค่อยรู้ งงไปตามๆกัน

5. คนที่พยายามให้มีหัวข้อนี้ต่อไป ถูกมองว่าเป็นพวกก่อกวน สร้างปัญหา ทำไมล่ะครับ ในเมื่อมีในตารางประชุมอยู่แล้ว จ่ายค่าลงทะเบียนแล้ว เสียค่าเดินทางมาแล้ว แล้วอยากประชุม มันผิดตรงไหน ทำไมต้องกีดกันด้วย วิธีแก้ปัญหาของสมาคมคือให้ลงชื่อไว้ จะได้บรรจุในการประชุมครั้งหน้า ตกลงเลยต้องลงทะเบียนอีกครั้ง จ่ายเงินอีกครั้ง ลางานอีกครั้ง เดินทางมาอีกครั้งใช่หรือไม่

../ wu

 

โดย: wu IP: 202.12.97.117 28 เมษายน 2551 16:44:38 น.  

 

งงๆ


ถ้าจบ 5 ปี จะสอบใบประกอบวิชาชีพไม่ได้เหรอคะ


เเล้วคนที่เรียนจบ 5 ปีมาจะทำยังไงละคะ

 

โดย: อยากรู้ IP: 222.123.218.114 29 พฤษภาคม 2551 22:15:54 น.  

 

กำลังเข้าเรียนเภสัช 5ปี ในปี51พอดีเลยค่ะ แล้วอย่างนี้ถ้าเรียนไปๆก็ต้องย้ายพวก5ปีไป6ปีกันหมดเหรอคะ ไม่อย่างนั้นพวก5ปีเรียนไปก็ปล่าวประโยชน์สิ อีกอย่างถ้าเรียน6ปีไปแล้วเวลาจบและบรรจุทำงานมีขั้นการบรรจุต่ำกว่าพวกแพทย์กับทันตะมันก็ดูเหมือนไม่ยุติธรรมนะคะ แต่ละวิชาชีพมีความสำคัญเท่ากัน ไม่ว่าจะเป็นเภสัช เทคนิคการแพทย์หรือพยาบาลก็น่าจะได้รับการยอมรับเทียบเท่ากับแพทย์และทันตะนะคะ เพราะเราต่างทำหน้าที่ที่ต่างกันแต่ทุกคนทุกแขนงอาชีพก็ยังต้องพึ่งพากัน หากขาดวิชาชีพใดไปก็ไม่สามารถทำงานช่วยคนได้สมบูรณ์นะคะ
ไม่เข้าใจว่าสภาของแต่ละวิชาชีพทำไมไม่ร่วมมือกัน แต่ลืมไปว่าแม้แต่สภาของวิชาชีพเดียวกันยังขัดด้านผลประโยชน์กันเองเลย ไม่รักพวกพ้องวิชาชีพเดียวกัน ไม่ช่วยเหลือกัน มัวแต่อ้างเรื่องสีสถาบันที่จบมา(เรียกง่ายๆลำเอียง) ไม่ดูคนที่ความสามารถ ใช้วัยวุฒิมาตัดสินแทนคุณวุฒิ พวกที่เก่งแต่อายุน้อยก็ไม่ได้เลื่อนขั้นซักทีอย่างนี้มันจะพัฒนาประเทศได้อย่างไร

ขอนอกเรื่องอีกอย่างนะคะ กิจกรรมตอนอยู่ในมหาวิทยาลัยพวกห้องเชียร์แล้วมีพวกที่เรียกว่า วาร์คเกอร์ มายืนด่ารุ่นน้องแล้วมาทำดีทีหลัง น่าจะยกเลิกไปได้แล้วนะคะ เพราะมันเป็นการปลูกฝังในสิ่งที่ระดับสากลเค้าไม่ทำกันแล้ว มีคำว่ารุ่นพี่รุ่นน้องจริงแต่เวลาทำงานต้องดูที่ความสามารถไม่ใช่ว่าดูที่สีสถาบันหรือว่าความสัมพันธ์รุ่นพี่รุ่นน้อง หนูคนหนึ่งที่อยากปฏิวัติค่านิยมผิดๆนี่ซะที ( ถ้าพูดกันดีๆไม่ได้ต้องด่าใส่กัน คนเราความอดทนมันมีจำกัดใช่มั้ยค่ะ ใครจะไปรู้ว่าแค่ห้องเชียร์อาจจะเป็นห้องนองเลือดก็ได้ ) อยากฝากเรื่องนี้ไว้ให้พวกผู้บริหารสถาบันดูแลด้วย

 

โดย: RX*51 IP: 117.47.222.125 30 พฤษภาคม 2551 12:27:07 น.  

 

มาตอบคำถาม

สภาประกาศว่าจะให้เฉพาะคนที่จบหกปีสอบเท่านั้น ตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นไป นั่นหมายความว่าคนที่เรียน 5 ปีปัจจุบัน จะจบการศึกษาก่อนประกาศนี้จะถูกใช้บังคับจริงๆครับ (เพราะจะจบปี 2556) และถ้าสถาบันใดๆที่เปลี่ยนแปลงไม่ทันจริงๆ สามารถทำเรื่องให้สภายืดหยุ่นได้ 2 ครั้ง (หรือ 2 ปี) นั่นคือยังรับนักเรียนหลักสูตร 5 ปีได้ถึงปี 2553 ครับ ยกเว้นสถาบันใหม่ ถ้าเปิดต้อง 6 ปีเท่านั้น แต่เท่าที่ทราบ ตอนนี้ทุกสถาบันเริ่มเดินหน้าในส่วนหกปีหมดแล้ว แม้จะยังมีเสียงค้านอยู่บ้าง

ปัญหาคือคนที่เรียนหลักสูตร 5 ปี แต่จบช้าเป็นหลังปี 2557 ล่ะ ได้ยินข่าวว่าสภาจะยกผลประโยชน์ให้ โดยพิจารณาจากปีที่เข้าเป็นหลัก แต่ตรงนี้ได้ยินแต่คนพูด ยังไม่เห็นเอกสาร หรือหลักฐานใดๆนะครับ

 

โดย: wu (I'm wu ) 16 มิถุนายน 2551 0:15:58 น.  

 

ทำไมคณะเภสัชศาสตร์ไม่รับเด็กสายอาชีวะ ไม่ลองให้สอบแข่งกับสายวิทย์-คณิต ถ้าเกิดสอบแข่งขันสู้เขาไม่ได้ก็ไม่รับไม่เป็นไร อยากให้ลองให้โอกาสดูสักนิด อยากให้ลองให้โอกาสสายอาชีวะหรือเทียบเท่าได้เข้าสอบดูความสามารถของเด็กดู

 

โดย: นลัทพร ศรีขน ธุรกิจสถานพยาบาล และบริหารธุรกิจ พณิชยการสุโขทัย IP: 124.120.156.137 14 กรกฎาคม 2551 16:23:30 น.  

 

ผมไม่เห็นด้วยกับการที่จะเปลี่ยนหลักสูตรจาก 5 ปี เป็น 6ปี เพราะ ประเทศชาติยังคงต้องการเภสัชกรที่ทําหน้าที่วิจัยยา ผลิตยาใหม่ๆ ขึ้นมาในประเทศ การที่ทําเช่นนี้ เป็นการทําลายอนาคตของชาติที่กําลังจะพัฒนาให้ถอยหลังมากขึ้นกว่าเดิม เพราะแค่ในปัจจุบัน เราก็พากันเห่อแต่ยาที่มาจากต่างประเทศไปหมด โดยลืมนึกถึงยาที่เราผลิตจากภูมิปัญญาของคนไทยเราแท้ ๆ จริงอยู่ที่ยาต่างประเทศบางอย่างก็ดี แต่บางอย่างก็อาจจะรักษาไม่ได้ เท่ากับที่ประเทศของเราผลิตขึ้นมาเอง ผมอยากให้ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองให้ความสนใจในด้านนี้บ้าง

 

โดย: เด็กเภสัช 2551 IP: 202.28.51.71 27 กรกฎาคม 2551 18:22:34 น.  

 

หนูงงไปหมดแล้ว
หนูจะเข้าปี1ปี52ค่ะ
หนูไม่รู้จะเลือกเรียนหลักสูตรไหนดี
แล้วถ้าเรียนหลักสูตร5ปีจะเปิดร้านยาได้มั้ยค่ะ

 

โดย: เดะภูเก็ต IP: 118.173.75.209 2 กันยายน 2551 17:45:37 น.  

 

ตอบคุณ นลัทพร เด็กสายอาชีวะคงยากนิดนึงครับ เพราะโดยเนื้อหาวิชาคนที่เรียนเภสัชควรมีพื้นฐานวิทยาศาสตร์ค่อนข้างแน่นและแม่น แม้ว่าเด็กๆปัจจุบันยังไม่ค่อยแม่นเท่าสมัยก่อน แต่ถ้าจบมาทางวิทย์คณิต น่าจะต่อยอดได้ง่ายกว่า

คุณเด็กเภสัช ขอบคุณครับกับความเห็น

คุณเดะภูเก็ต ถ้าเข้าปี 52 คงต้องเรียนหลักสูตร 6 ปีครับ เพราะตอนนี้สภาจะให้หลักสูตร 5 ปีให้สอบใบประกอบวิชาชีพได้ถึงปี 56 เท่านั้น ซึ่งถ้าน้องเรียนหลักสูตร 5 ปี จะไปจบตอนปี 57 ซึ่งเค้าไม่อนุญาติให้เข้าสอบแล้ว อย่างไรก็ตาม สภายืดหยุ่นให้สถาบันที่ปรับหลักสูตรไม่ทัน ขออนุญาติเป็นกรณีพิเศษว่าเรียน 5 ปี แต่ยังสอบใบประกอบได้ต่อไปอีก 2 ปี ซึ่งถ้าน้องเรียนสถาบันที่ตั้งมานานพอควรแล้ว อาจขอได้ แต่สถาบันใหม่ๆ(ที่ยังไม่มีใครจบ) อาจไม่อนุญาติก็ได้ ดังนั้น กันเหนียว ตอนนี้เลือกเรียน 6 ปีก่อนดีกว่า ส่วนอนาคตค่อยดูว่าข้อบังคับนี้จะยาวนานแค่ไหน

ส่วนการเปิดร้านยา ถ้ามีใบประกอบวิชาชีพก็เปิดได้ครับ ดังนั้น ถ้าปีนี้(51) เรียนหลักสูตร 5 ปี ก็ยังมีสิทธิ์เข้าสอบใบประกอบได้ สอบได้ก็เปิดร้านได้ แต่ปีต่อไป จะไม่มีสิทธิ์เข้าสอบ ดังนั้นจึงไม่มีใบประกอบวิชาชีพเพื่อเปิดร้านสำหรับพวกจบ 5 ปีครับ

ข่าวล่าสุด คือตอนนี้ได้ข่าวว่ามหิดลมีจดหมายออกจากคณะอย่างเป็นทางการเพื่อให้สภาทบทวนข้องบังคับนี้ ซึ่งเป็นจดหมายทางการฉบับแรก (ก่อนหน้านี้มีจดหมายเป็นระยะๆ แต่ไม่ใช่หนังสือราชการ) ต้องลองดูว่าสภาจะว่ายังไง หรือไม่ว่าอะไรเลยก็ไม่รู้

 

โดย: wu IP: 125.26.147.43 8 กันยายน 2551 0:07:32 น.  

 

รับสมัครเภสัชกรหลายตำแหน่งที่
www.thaimedjobs.com

 

โดย: chanya IP: 125.24.197.118 11 กันยายน 2551 7:40:55 น.  

 

เรื่องของเรื่องก็คือสภาเภสัชกรรมกำลังจะพยายามทำให้เหมือนประเทศที่พัฒนาแล้ว ที่อเมริกาเขาเรียนเภลัชแบบ 4 ปีรับ B.Sc Pharmaceutical Science แล้วต่อปริญญโท หรือเอก เพื่อไปทำงานในสาขาเภสัชกรรมต่าง เช่นโรงงานยา ค้นคว้าวิจัย อาจารย์ ... ส่วน PharmD เป็นการเรียน 2+4 หรือ 3+3 แต่เน้นไปทำงานด้านบริบาล ร้านยา โรงพยาบาล พวกหลังนี้จบแล้วต้องไปสอบใบประกอบโรคศิลป จึงจะทำงานได้ในแต่ละรัฐ ถ้าข้ามรัฐอาจจะต้องสอบเพิ่มเติมทางด้านกฎหมายของแต่ละรัฐ ดังนั้นผู้เรียนต้องตัดสินใจตั้งแต่แรกเข้าเลยว่าจะไปแบบไหน ไม่มีการโอนย้าย ถ้าโอนย้ายก็ยากมากหรืออาจต้องไปนับหนึ่งใหม่เลย ทีนี้สภาเภสัช คงลืมไปว่าประเทศไทยกับอเมริกาหรือประเทศที่เจริญแล้วมันต่างกัน อุตสาหกรรมก็เป็นแค่ผู้ผลิต ค้นคว้าแทบไม่มี แม้แต่รัฐบาลก็ไม่ได้ให้งบมากมายหรือใส่ใจทำจริงๆ การจ่ายยาก็ไม่จำเป็นต้องใช้เภสัชกร หมอก็จ่ายได้เช่นกัน เราต้องไปแก้พื้นฐานก่อน ไม่ใช่ไปเรียนเมืองนอกมาก็มาจินตนาการว่าเราต้องไปเหมือนเขา ทั้งๆที่เรายังห่างไกลในแง่ Infrastucture กับเขามากๆ ...ตื่นได้แล้วสภาเภสัชกรรม

 

โดย: Pharmacist IP: 117.121.209.66 10 ตุลาคม 2551 10:09:55 น.  

 

เภสัช Pharm D หรือ Doctor of Pharmacy ซึ่งหลักสูตร 6 ปีตอนนี้วุฒิเท่าชาวบ้านแล้วครับ Doctor of Medicine
Doctor of Dentistry และ Doctor of Veterinary
กพ.รับรองเงินเดือนแล้ว สภาเภสัชกรรมก็บังคับให้มี6ปีแล้ว แล้วจะมาบ่นทำไมครับไม่มีประโยชน์มาช่วยกันคิดดีกว่าว่าจะทำไงให้เภสัชเป็นที่ยอมรับเพราะเราพัฒนาวุฒิมาถึงขั้นนี้แล้ว..ท่องในใจนะวุฒิน่ะไม่ใช่ ปีๆๆที่เรียน 5หรือ6ก็เท่ากันแต่ 6ปีชำนาญกว่าครับเพราะเพิ่มฝึกงานวุฒิที่ได้คุ้มครับผมว่าสภาทำถูกแล้วเดินทางมาถูกแล้วเพราะการพัฒนาต้องมาจากพื้นฐานก่อนนั่นก็คือวุฒิปริญญานี่หล่ะแล้วต่อไปคอยดูสภาก็จะมีการพัฒนาอย่างอื่นตามมาผมเชื่อมั่นในสภาเภสัชกรรมครับ..สู้ๆๆเขาเราใช่อื่นไกลเขียวมะกอกนี่แหล่ะเวลาด่ากันไป-มาก็ด่ากันเองน่ะหล่ะแล้วจะด่าทำไมไม่มีอะไรดีขึ้นหรอกมาคิดว่าทำไงให้เขายอมรับเราดีกว่าเช่น มุ่งมั่นพัฒนาความรู้เพื่อให้แพทย์เขายอมรับเราให้ได้เหมือน อาจารย์เก่งๆบางท่าน..เช่น อาจารย์เปิ้ล คณะบดีเภสัช มหิดล แพทย์ไม่กล้าแหยมกะแกอ่ะ (ยกตัวอย่างเท่านั้นอย่าคิดมากอีกหล่ะ

 

โดย: เขียวเดียวที่งอกงาม...มะกอกสวนเดียวกัน IP: 118.173.106.62 29 ตุลาคม 2551 21:28:41 น.  

 

เภสัช Pharm D หรือ Doctor of Pharmacy ซึ่งหลักสูตร 6 ปีตอนนี้วุฒิเท่าชาวบ้านแล้วครับ Doctor of Medicine
Doctor of Dentistry และ Doctor of Veterinary
กพ.รับรองเงินเดือนแล้ว สภาเภสัชกรรมก็บังคับให้มี6ปีแล้ว แล้วจะมาบ่นทำไมครับไม่มีประโยชน์มาช่วยกันคิดดีกว่าว่าจะทำไงให้เภสัชเป็นที่ยอมรับเพราะเราพัฒนาวุฒิมาถึงขั้นนี้แล้ว..ท่องในใจนะวุฒิน่ะไม่ใช่ ปีๆๆที่เรียน 5หรือ6ก็เท่ากันแต่ 6ปีชำนาญกว่าครับเพราะเพิ่มฝึกงานวุฒิที่ได้คุ้มครับผมว่าสภาทำถูกแล้วเดินทางมาถูกแล้วเพราะการพัฒนาต้องมาจากพื้นฐานก่อนนั่นก็คือวุฒิปริญญานี่หล่ะแล้วต่อไปคอยดูสภาก็จะมีการพัฒนาอย่างอื่นตามมาผมเชื่อมั่นในสภาเภสัชกรรมครับ..สู้ๆๆเขาเราใช่อื่นไกลเขียวมะกอกนี่แหล่ะเวลาด่ากันไป-มาก็ด่ากันเองน่ะหล่ะแล้วจะด่าทำไมไม่มีอะไรดีขึ้นหรอกมาคิดว่าทำไงให้เขายอมรับเราดีกว่าเช่น มุ่งมั่นพัฒนาความรู้เพื่อให้แพทย์เขายอมรับเราให้ได้เหมือน อาจารย์เก่งๆบางท่าน..เช่น อาจารย์เปิ้ล คณะบดีเภสัช มหิดล แพทย์ไม่กล้าแหยมกะแกอ่ะ (ยกตัวอย่างเท่านั้นอย่าคิดมากอีกหล่ะ)

 

โดย: Drugist IP: 118.173.106.62 29 ตุลาคม 2551 21:31:21 น.  

 

ถ้าไม่คิดนะว่า5หรือ6ปีแล้วได้วุฒิที่สูงขึ้นเทียบเท่าโท เน้นแค่เทียบเท่า แล้ววุฒิเท่ากะ แพทย์ ทันตะ และสัตวแพทย์ และตอนนี้ กพ.รับรองเงินเดือนแล้ว แล้วพวกเราเก่งๆๆแบบอาจารย์บางท่านชนิดที่เรียกว่าแพทย์ก็เห็นด้วยในเรื่องยาหรืให้เป็นที่ปรึกษาจริงๆๆในโรงบาลซึ่งเกิดจากเราเองใส่ใจทบทวนความรู้อยู่เสมอ แล้วไม่ มัวด่าสภาเภสัชกรรมแต่มาช่วยพัฒนากันไม่แตกแยกในวิชาชีพ
(สมมตินะทั้งหมด) ท่านที่อ่านอยู่ว่ามันจะดีขึ้นกว่าทุกวันนี้ไหมอ่ะครับ ผมเห็นขนาดไปประชุมวิชาการทุกวันนี้พวกเรายังแย่ง กิมมิกเหมือนจะคร่ากันอยู่เลย เหนื่อยไหมครับเภสัชกรไทย แล้วเมื่อไรจะให้เขายอมรับดีหล่ะ เหนื่อยเน๊อะ...สอบเข้าก็ยาก เรียนก็ยาก ขณะเรียนก็กั๊กข้อสอบกัน จบก็ยาก ยังต้องมาสอบวิชาชีพของสภาเภสัช จบแล้วหางานก็เริ่มยาก ทำงานก็เจอ แพทย์ กด พยาบาลด่า จพง เภสัชนินทา...งานก็เยอะ เห้อ..เภสัชกรไทยรักกันหน่อยได้ไหมครับนะ

 

โดย: เภสัชกรรมกร IP: 118.173.106.62 29 ตุลาคม 2551 21:42:15 น.  

 

ดีใจจัง มหิดล มี Pharm Dแล้ว เย!ขอให้คณะเราจงเจริญสาธุ

 

โดย: เด็กมหิดล IP: 118.173.106.62 29 ตุลาคม 2551 21:49:09 น.  

 

ผมสอบเภสัชที่มหาวิทยาลัย ที่เพิ่งเปิด อยากทราบว่าสภา รับรองไหมครับ
อยากทราบว่าทำไงถึงจะรู้

 

โดย: ปรด IP: 125.27.47.155 24 มกราคม 2552 19:26:46 น.  

 

ไม่แน่ใจข้อมูลนะครับ คุณปรด เท่าที่ทราบสภาจะรับรองเฉพาะสถาบันที่มีบัณฑิตจบแล้ว(ไม่แน่ใจว่าจะเริ่มพศ.อะไร) แต่จากนั้นมหาวิทยาลัยที่ยังไม่ถูกรับรองต้องมีการ accredit โดยสภาก่อน คือการมาตรวจสอบมาตรฐานต่างๆ เช่นจำนวนหน่วยกิต จำนวนอาจารย์ จำนวนเครื่องมือ จำนวนแหล่งฝึกงาน และอีกหลายๆอย่างว่าเป็นไปตามมาตรฐานหรือเปล่า ซึ่งความเห็นส่วนตัว มหาวิทยาลัยที่เพิ่งเปิด เช่นวลัยลักษณ์ พายัพ สยาม ไม่น่ามีปัญหาอะไร (อย่างน้อยมหาวิทยาลัยเหล่านี้ก็เป็นสมาชิกของศศภท. ซึ่งเป็นหน่วยงานของสภาที่ดูแลเรื่องเภสัชศาสตร์ศึกษา) แต่อีกที่คืออีสเทิร์นเอเชีย ผมก็ยังไม่รู้อนาคตเหมือนกัน ว่าแต่ว่าคุณ ปรด ไปสอบที่ไหนล่ะครับ

 

โดย: wu IP: 125.26.149.194 2 กุมภาพันธ์ 2552 23:26:13 น.  

 

น่าสงสารประเทศวิชาชีพเดียวกันแทนที่จะรักกันกัดกันอยู่ได้ อยากถามว่าจะกัดกันเพื่อ?

 

โดย: เซ็ง IP: 117.47.62.234 3 มีนาคม 2552 23:17:51 น.  

 

เซ็งเหมือนกันครับ

ส่วนตัวผมไม่ได้แบบจะต้อง 5 ปีอย่างเดียวหรือ 6 ปีอย่างเดียว เพราะมันมีบริบทที่แตกต่างกัน แล้วมันก็ต้องดูเนื้อหาแต่ละหลักสูตรด้วย ว่ามันควรจะ 5 หรือ 6 ปี

แต่ ณ.ปัจจุบัน

1. การที่จะดึงดันให้ยังมี 5 ปีต่อไป โดยพยายามถ่วงเวลาให้หลักสูตรออกมาไม่ได้ ไม่ยอมรับการแก้ไขปรับปรุงหลักสูตร เหมือนกับเป็นการแก้แค่กลางทางถึงปลายทาง ในขณะต้นทางคือสภาเขากำหนดว่ายังไงเขาก็เอา 6 ปี สงสารเด็กที่กำลังจะเข้าเรียนใหม่ ที่ไม่มีความชัดเจน และมักถูกแอบอ้างเป็นเครื่องมือของทุกฝ่าย (ทุกคนต่างอ้างว่าทำเพื่อนักศึกษา)

2. ถ้ายังต้องการหลักสูตร 5 ปีต่อไป มีใครพร้อมจะลดเนื้อหาในส่วนที่ตัวเองเกี่ยวข้องลงบ้างไหม ปัจจุบันเด็กเรียนหนักมาก กับเนื้อหาที่อัดเกินกว่าจะเหมาะสมสำหรับ 5 ปี ทั้งที่เป็นเนื้อหาที่ทั้งลึก ทั้งยาก และไม่ได้นำมาใช้ในการปฏิบัติวิชาชีพจริงๆ แต่ผู้สอนยังจะสอน และห้ามใครมาลดของฉัน ถ้ามีใครแสดงออกชัดเจนว่าจะลดเนื้อหา ลดหน่วยกิต ให้เหมาะสมกับ 5 ปีจริงๆ ผมจะเป็นคนหนึ่งที่สนับสนุน 5 ปีแบบไม่ลังเล แต่ปัจจุบัน ยังไม่เห็นใครเลย และไม่ต้องพูดถึงการลด บางสาขา บางวิชา ยังพยายามเพิ่มเนื้อหา เพิ่มหน่วยกิตตัวเองด้วยซ้ำ

 

โดย: wu IP: 125.26.146.17 4 มีนาคม 2552 1:04:33 น.  

 


พี่คะ
หนูอ่านแล้วงงไปหมดแล้วค่ะ
สรุปคือเค้าจะปรับหลักสูตรให้เหลือแต่ 6 ปีใช่มั้ยคะ
พอดีว่าหนูติดโควต้าหลักสูตร 5 ปีแล้ว
กะลังจะเรียนปี 52 เนี่ยอะค่ะ
หนูต้องทำยังไงอะคะ
งงจริงๆนะคะเนี่ย

 

โดย: เด็กใหม่ 52 IP: 118.174.157.167 8 มีนาคม 2552 15:35:40 น.  

 

น้องเด็กใหม่ ติดม.อะไรครับ เผื่อจะเช็คข้อมูลให้

ตอนนี้มหาวิทยาลัยที่เคยมีข้อมูลว่ามี 5 ปี หรือมีทั้ง 5 และ 6 ปี เริ่มประกาศว่าจะรับอย่างไรแล้ว อย่างม.ขอนแก่น ม.มหิดล ในปีนี้จะเหลือเฉพาะหลักสูตร 6 ปีเท่านั้น (ไม่ใช่มีทั้ง 5 และ 6 ปีอย่างข้อมูลที่ออกมาตอนแรกๆ) จะเหลือก็แค่สงขลา และเชียงใหม่ ที่จะมีทั้ง 2 หลักสูตร(5 ปี และ 6ปี) ควบกันในปีนี้

อ้อ ข้อมูลไม่เป็นทางการนะครับ ตามข่าว เช็คข่าวต่อกันเอง

 

โดย: wu IP: 125.26.140.83 10 มีนาคม 2552 0:56:27 น.  

 

พอดีติด มช. อ่าค่ะ
แหะ ๆๆ

ยังไงก้อขอบคุณมากนะคะ ^^

 

โดย: เด็กใหม่ 52 IP: 118.174.177.155 12 มีนาคม 2552 19:30:39 น.  

 

อยากทราบว่าในปี 52 นี้จะมีม.ไหนปรับเป็น 6 ปีบ้างค่ะ
ช่วยตอบด้วยนะคะขอบคุณค่ะ

 

โดย: เด็กรักเภสัช IP: 203.144.180.65 5 เมษายน 2552 22:08:14 น.  

 

งง มาก
เรียนแบบ5ปีจบมาแล้วถ้าไม่มีใบประกอบฯก็เปิดร้านไม่ได้
แล้วจะทำอะไรเมีอจบ
ถ้าเรียน6ปีแล้วแต่เรียนนานกว่า1ปีแถมยังฝึกในโรงพยาบาลทั้งหนัก เมื่อจบออกมาแล้วมันจะคุ้มกันใหม ถ้าหากเมื่อเราจบแล้วแต่ต้องทำงานในโรงพยาบาลเพียงอย่างเดียวแถมค่าเรียนเกินมา1ปีก็ไม่ใช่น้อยๆ
เลยอยากวอนท่านผู้รู้ช่วยตอบหน่อยว่า
5กับ6 มันต่างกันอย่างไร เลือกอันไหนดี

 

โดย: ผู้งงไม่รู้จะเลือกอะไรดีปี52 IP: 222.123.75.160 7 เมษายน 2552 15:32:56 น.  

 

เภสัชกร คอยช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยเป็นงานหลัก แต่คนส่วนใหญ่มักจะเห็นแกตัวเองเป็นหลัก ทำงานอะไรก็ได้ขอให้ได้ค่าตอบแทนที่สูง แล้วก็แห่ไปทำตรงนั้นกันหมด จนPhar Care เหลือน้อยเต็มทีแล้ว.....ถ้าเราเปลี่ยนความคิดเหล่านั้นได้ เภสัชกรไทยก็จะเป็นที่ยอมรับของคนในสังคมได้ เหมือน แพทย์ ทันตแพทย์...........ใช้ความเสียสละให้แก่ผู้อื่นใช่หาประโยชน์แกตนเอง

 

โดย: New Phaem D IP: 61.7.231.213 9 เมษายน 2552 19:02:35 น.  

 

เท่าที่ทราบนะครับ

ปี 52 นี้ ทุกที่จะมีหลักสูตร 6 ปีทั้งหมด ถ้าสนใจ 6 ปี ก็เลือกได้เลยว่าตัวเองเหมาะกับที่ไหน แต่ถ้าสนใจ 5 ปี จะยังมีเชียงใหม่กับสงขลา ที่เปิดรับควบทั้ง 5 ปี และ 6 ปี (มีที่อื่นอีกไหมเนี่ย ใครรู้บ้าง)

ถ้าเรียน 5 ปีมีสิทธิสอบใบประกอบวิชาชีพไหม ปัจจุบันมีครับ จนถึงรุ่นคนที่เข้าเรียนปี 53 คือปีหน้า แต่ทางมหาวิทยาลัยต้องยื่นเรื่องขออนุญาติกับสภาก่อน เพื่อให้นักศึกษาตัวเองเข้าสอบได้

ถ้าไม่มีใบประกอบวิชาชีพ จะทำอะไรได้บ้าง ทำได้ทุกอย่างครับ ที่ไม่ต้องใช้ใบประกอบ เพราะถ้าเรียนจบก็ยังได้ปริญญาตรี จะไปเรียนต่อ ไปอยู่บริษัทยา ไปทำวิจัย ไปสืบทอดกิจการทางบ้าน ไปขายตรง ไปสมัครAF ไปทำโรงงานในตำแหน่งต่างๆที่ไม่ใช้ใบประกอบก็ได้ (โรงงานกฏหมายกำหนดว่า 50 ทะเบียนยา ต่อ 1 ใบประกอบ ดังนั้นสมมุติโรงงานมี 100 ตำรับ จำเป็นต้องมีใบประกอบวิชาชีพ 2 ใบ แต่เขาอาจต้องการเภสัชเช่น 5 คน ดังนั้นอีก 3 คนอาจไม่ต้องมีใบประกอบก็ได้ แต่ก็อย่างว่า ถ้ามีคนมาสมัครเยอะ เขาก็น่าจะเลือกคนมีใบประกอบก่อน และอำนาจการต่อรองของคนมีใบประกอบก็น่าจะสูงกว่า)

แต่สิ่งที่จะทำไม่ได้ คือหน้าที่ตรงๆของเภสัชกรครับ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหน้าที่ที่มีผลต่อชีวิตและความปลอดภัยของประชาชน เช่น เปิดร้านขายยา เป็นเภสัชโรงพยาบาล เป็นเภสัชโรงงาน (ตามที่กฏหมายกำหนด) รับราชการตำแหน่งเภสัชกร หรืออื่นๆที่เป็นหน้าที่ที่ให้คนอาชีพอื่นมาทำแทนไม่ได้ ซึ่งมันก็คือหน้าที่ส่วนใหญ่ของเภสัช แล้วถ้ามาเรียนจบไปไม่เอาใบประกอบนี่ ความเห็นส่วนตัวผมว่าไปเรียนคณะอื่นๆเช่นบริหาร วิทยาศาสตร์ อะไรทำนองนี้ดีกว่า

อ้อ เรียน 6 ปี ฝึกงานในโรงพยาบาลมากขึ้น แต่ไม่ได้จำกัดว่าจบมาต้องอยู่ในโรงพยาบาลเท่านั้นนะครับ จะไปเปิดร้านเอง อยู่บริษัทยา อยู่โรงงาน อยู่ สสจ อยู่กรมวิทย์ อยู่รพ ทหาร อยู่อย องค์การเภสัชกรรมก็ได้

แต่ผมไม่ค่อยเห็นด้วยกับความเห็นข้างบนนิดนึงนะครับ งานเภสัชกว้างครับ ไม่ใช่เฉพาะการดูแลผู้ป่วย และการที่เภสัชกรจะเลือกงานที่ตรงความถนัด ให้ผลตอบแทนที่ดี และสามารถทำงานได้เต็มที่ ผมว่ามันก็ไม่ได้เสียหาย และถ้าจะว่าไปแล้ว เภสัชกรส่วนใหญ่ในปัจจุบันก็ทำงาน Pharm care กันอยู่แล้ว และงานก็พัฒนาได้ค่อนข้างเร็ว ชัดเจน กว่าเภสัชกรสาขาอื่นๆ การที่จะทำให้วิชาชีพเข้มแข็ง ผมกลับคิดว่าสาขาอื่นๆเสียอีกที่ต้องมาทบทวน พัฒนาให้เข้มแข็ง มั่นคง ได้รับการยอบรับ เหมือนกับที่ Pharm care ทำได้ อย่างสายอุตสาหกรรมตอนนี้ เป็นลูกเมียน้อยในวิชาชีพมากๆ หรือการตลาด ที่มักจะมีภาพพจน์เชิงลบในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ หรืองานวิจัยพัฒนา ที่ก้าวไปข้างหน้าไกลๆไม่ได้เสียที ทำอย่างไรจะให้สาขาเหล่านี้ได้รับการยอมรับ เข้มแข็ง ชัดเจน ซึ่งถ้าทำได้เมื่อไร ตอนนั้นแหละที่วิชาชีพจะเข้มแข็งจริงๆ

 

โดย: wu IP: 202.12.97.115 23 เมษายน 2552 13:35:37 น.  

 

ผลการสอบใบประกอบวิชาชีพปีนี้ออกมาแล้วครับ ลำดับนี้อาจไม่มีผลต่อการเลือกคณะของน้องๆเท่าไรในปัจจุบัน แต่ก็เป็นตัวบ่งชี้คุณภาพของมหาวิทยาลัยได้ระดับหนึ่ง

ดีใจกับคณะตัวเอง ที่ยังรักษาระดับเอาไว้ได้ แม้ปัจจัยเสี่ยงต่างๆในปีนี้จะเพิ่มมากเหลือเกิน (มีใครทายถูกไหมเนี่ยว่าผมมาจากมอไหน แต่คนอ่านบล็อกนี้บ่อยๆก็คงรู้แหละ)

ดีใจกับเภสัชกรใหม่ทุกคนที่ทำสำเร็จ

ส่วนที่ยังค้างอยู่ ก็สู้ต่อไป สักวันจะเป็นของเรา

ผลการสอบใบประกอบปี 52


อันดับ 1 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 97.3% (ผ่าน 143 ตก 4)
อันดับ 2 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 90.0% (ผ่าน 145 ตก 16)
อันดับ 3 มหาวิทยาลัยขอนแก่น 85.5% (ผ่าน 112 ตก 19)
อันดับ 4 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 83.7% (ผ่าน 41 ตก 8)
อันดับ 5 มหาวิทยาลัยมหิดล 80.6% (ผ่าน 83 ตก 20)
อันดับ 6 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 79.1% (ผ่าน 102 ตก 27)
อันดับ 7 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 77.3% (ผ่าน 75 ตก 22)
อันดับ 8 มหาวิทยาลัยนเรศวร (พะเยา) 72.7% (ผ่าน 32 ตก 12)
อันดับ 9 มหาวิทยาลัยนเรศวร (พิษณุโลก) 71.0% (ผ่าน 66 ตก 27)
อันดับ 10 มหาวิทยาลัยศิลปากร 69.7% (ผ่าน 90 ตก 40)
อันดับ 11 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 52.0% (ผ่าน 26 ตก 24)
อันดับ 12 มหาวิทยาลัยรังสิต 40.1% (ผ่าน 67 ตก 100)
อันดับ 13 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 30.2% (ผ่าน 51 ตก 118

คัดลอกมาจาก //www.dek-d.com/board/view.php?id=1307001

 

โดย: wu IP: 202.12.97.115 27 เมษายน 2552 17:07:00 น.  

 


หนูพึ่งมาเห็นกระทู้ของพี่(ช้าไปมั้ยน้า) คือหนูจะเข้าแอดปี 53 ค่ะ

หนูอยากเข้าเภสัชมาก ๆ เลยค่ะ แต่พออ่านความเห็นที่ผ่าน ๆ มาแล้ว หนูก็งงนิด ๆ ว่า รุ่นหนูเนี่ยจะเป็นเภสัช 6 ปีหมดใช่มั้ยคะ
แล้วก็เน้น Pharm care

แต่หนูสนใจเรื่องการวิจัยการผลิตอะไรพวกนั้นมากกว่าอะค่ะ (ถึงจะไม่ค่อยมีคนสนใจก็เถอะ^^) แล้วหนูจะต้องเรียน 6 ปีเลยหรอคะ อย่างนี้จะไม่เสียเวลาไปเปล่า ๆ หรอคะหรือว่าเนื้อหาเรื่องอุตสาหกรรมการผลิตก็ยังแ่น่นอยู่ หนูงงมากมายเลยอ่า เห็นคนพูดแต่ว่าเค้าเน้นเกี่ยวกับการร่วมงานกับหมอและพยาบาล แล้วพวกการผลิตล่ะคะเค้าจะเรียนกันยังไง

ยังไงถ้าพี่ว่างก็ช่วยตอบหนูได้นะคะ ขอบคุณมากๆเลยค่ะ ^^


 

โดย: อยากเรียนเภสัชค่ะ^^" IP: 124.122.152.244 18 พฤษภาคม 2552 22:09:36 น.  

 

ดีใจครับ ที่มีคนสนใจด้านการผลิต วิจัย พัฒนา เพราะส่วนตัวพี่ก็มาทางสายนี้ตลอด

สมัยเดิม เภสัชคือ product oriented ครับ คือเน้นพวกเรื่องการผลิตนี่แหละ และเป็นสาขาที่มีเฉพาะคนที่เรียนเภสัชได้เรียน แต่ต่อมาปัจจัยหลายๆอย่างทำให้เกิดข้อจำกัดด้านการผลิต เช่นโรงพยาบาลที่แทบจะไม่มีฝ่ายผลิตเหลือแล้ว เหลือแต่ผลิตน้ำเกลือ หรือโรงงานยาต่างประเทศที่ทะยอยปิดตัว เพราะผลิตในประเทศอื่น (เช่นเวียดนาม ฟิลิปปินส์) แล้วส่งเข้ามาขายในไทยต้นทุนถูกกว่า เหลือแต่โรงงานผลิตยาในประเทศ ซึ่งเน้นการผลิตจริงๆมากกว่าการวิจัยและพัฒนาตำรับใหม่ๆ (ยกเว้นโรงงานของรัฐ เช่นองค์การเภสัชกรรมที่ยังเน้นการวิจัย) ทำให้เทคโนโลยีด้านการผลิตของไทยเดินหน้าอย่างช้าๆ และตลาดแคบลงเรื่อยๆ

ในขณะเดียวกัน กระแส patient oriented เริ่มเข้ามามากขึ้น ก็คืองานบริบาลเภสัชกรรมที่น้องๆรู้จักนั่นเอง ซึ่งเขาจะเน้นที่การฝึกปฏิบัติในโรงพยาบาล หรือร้านยา และเน้นที่จะเอายาไปใช้กับผู้ป่วยอย่างไร มากกว่าทำอย่างไรให้ได้ยามาเหมือนเดิม คณะต่างๆจึงต้องมีการปรับตัว เช่นสอนเรื่อง product เพื่อให้เอาไปใช้ได้อย่างเหมาะสม ไม่ใช่เพื่อการผลิตเป็นเหมือนเดิม ซึ่งทำให้คนที่เรียนมา หรือทำงานด้าน product เหมือนถูกลดความสำคัญลง แต่ถ้าความความเห็นส่วนตัวของพี่จริงๆ มันก็ไม่ถึงกับถูกลดความสำคัญ แต่มันคือการปรับตัวให้เข้ากับสภาวะปัจจุบัน ซึ่งบางคนก็ยังรับไม่ค่อยได้

ถ้าชอบเรื่องการผลิตจริงๆ ใปท้ายๆแต่ละมหาวิทยาลัยคิดว่าน่าจะเป็นวิชาเลือก หรือวิชาเฉพาะทางที่ให้นักศึกษาเลือกได้ รวมถึงการฝึกงานที่อาจจะเลือกฝึกแหล่งฝึกที่เน้นการผลิต (แต่ว่ากันตรงๆ การฝึกงานที่เน้นการผลิตนักศึกษาได้เรียนรู้น้อยกว่าการฝึกทางผู้ป่วยค่อนข้างเยอะ เพราะงานมันจะซ้ำๆ แล้วบางอย่างเขาก็ไม่เปิดเผย) แต่อย่างไรก็ตาม ต้องเรียนหกปีเหมือนกันทั้งหมด เพราะใบประกอบวิชาชีพเรามีใบเดียว (ถึงจะเน้นการผลิต แต่จบไปจะเปิดร้านยา หรือไปอยู่โรงพยาบาลก็ทำได้ ถ้ามีใบประกอบ) ดังนั้น สภาจึงต้องการประกันคุณภาพว่าไม่ว่าจะจบสาขาไหน แต่ต้องมีความสามารถครบทุกด้านที่จำเป็น จึงตั้งเกณฑ์ไว้ที่ 6 ปี ที่ทางฝ่ายบริบาลเขาคิดว่าเหมาะสมกับการเรียนด้านบริบาล

แล้วถ้าเราอยากเน้นการผลิตจริงๆล่ะ แนะนำให้ลองมองหาหลักสูตรปริญญาโทต่อเนื่องที่เน้นการผลิต ปัจจุบันคนที่ทำงานผลิตส่วนใหญ่ มักเรียน 5 ปี และต่อโทอีก 2 ปีจึงใช้เวลาทั้งสิ้น 7 ปี (ความจริงเรียน 5 ปี ก็ทำงานได้ แต่หลายๆคนทั้งนักเรียน ทั้งผู้ว่าจ้างคิดว่าเรียนจบโทน่าจะทำงานได้ดีกว่า) ซึ่งในอนาคตน่าจะมีหลักสูตรด้านการผลิตป.โทที่ใช้เวลาเรียนเพียงปีเดียว ถ้าจบป.ตรีหลักสูตร 6 ปี นั่นคือให้เวลาทั้งหมด 7 ปีเหมือนเดิม และได้ทั้งป.ตรี (Pharm D) และป.โท แต่ทั้งนี้ อาจต้องดูวิชาที่เคยเรียนมาก่อนว่าเหมาะสมจะเรียนป.โทใน 1 ปีได้หรือไม่ เพราะโดยทั่วไป ป.โทจะเป็นหลักสูตร 2 ปี

ถ้ายังมีอะไรสงสัยก็ถามมาได้นะครับ

 

โดย: wu IP: 202.12.97.100 19 พฤษภาคม 2552 13:18:35 น.  

 


ขอบคุณค่ะ (พี่ตอบได้รวดเร็วทันใจมากเลย ^O^)

หนูยังสงสัยอีกว่า แล้วหนูเรียนจบไปจะมีงานทำด้านที่หนูชอบมั้ยคะเนี่ย (ง่ะ ก็พี่บอกว่าส่วนมากโรงงานยาจะไม่ค่อยมีแล้ว) แต่ถึงยังไงหนูก็อยากเรียนเภสัชอยู่ดี ^^" หนูจะพยายามติดเภสัชให้ได้เลย

ขอบคุณมากนะคะ

(ปล.พี่ชื่ออะไรหรอคะ วันหลังหนูจะมาเยี่ยมใหม่ หนูชอบกระทู้พี่มากเลยล่ะ^^)

 

โดย: อยากเรียนเภสัชค่ะ^^" IP: 124.122.80.241 19 พฤษภาคม 2552 20:42:16 น.  

 


อ๋อ พี่หมายความว่าจิง ๆ แล้วก็มีโรงงานผลิต วิจัยอะไรพวกนี้อยู่ แต่สาขานี้จะมีพัฒนาช้ากว่าสาขาอื่น ๆ ของเภสัชใช่มั้ยคะ (เอ่อ..หนูเข้าใจถูกมั้ย- -)^^"

 

โดย: อยากเรียนเภสัชค่ะ^^" IP: 124.122.80.241 19 พฤษภาคม 2552 21:00:11 น.  

 

แม่นแล้ว มันยังมีงานพวกนี้อยู่ เพียงแต่ตลาดมันไม่กว้าง และโตช้าเท่านั้น

โรงงานปัจจุบันในไทยจะเป็นแบบที่เขาเรียกว่า local made ซึ่งจะเน้นการผลิตเป็นหลัก การวิจัยพัฒนาก็เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการผลิต เช่นพัฒนาสูตร พัฒนาวิธีการผลิต ทดสอบความคงตัวของยา แต่จะไม่ใช่การคิดค้นยาใหม่ๆ (พูดง่ายๆคือไปซื้อตัวยาที่หมดสิทธิบัตรแล้ว มาตั้งสูตรตำรับ และผลิตออกขาย) แต่เวลาเรียนคนที่ชอบทางด้านนี้มักฝันไปถึงขนาดจะต้องคิดค้นพัฒนาตัวยาใหม่ๆได้ ซึ่งมันค่อนข้างเกินขีดความสามารถของโรงงานส่วนใหญ่ และลงทุนมหาศาล

ดังน้น การพัฒนาพวกออกแบบตัวยา ทดสอบฤทธิ์ยา ดัดแปลงโครงสร้าง ระบบนำส่งยาแบบนาโน หาสารสำคัญที่เป็นตัวออกฤทธิ์อะไรทำนองนี้ จึงมักพบแค่ในส่วนขององค์การเภสัชกรรม หรือตามมหาวิทยาลัยเท่านั้น และถ้าจะว่าจริงๆ เทคโนโลยีในไทยก็ยังตามหลังอีกหลายๆประเทศ ซึ่งถ้าสนใจพวกนี้ ก็ต้องเป็นระดับปริญญาโท ปริญญาเอก แต่พอเรียนจบจะไปทำงานในตลาดงานจริงๆ ก็ต้องลดระดับที่ตัวเองเรียนมา เพราะที่เรียนมักเยอะเกิน ก้าวหน้าเกินกว่าจะเอาไปใช้จริงๆได้ ยกเว้นจะไปเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย หรือไม่ก็ไปทำงานต่างประเทศเลย

 

โดย: wu IP: 125.26.139.110 20 พฤษภาคม 2552 1:19:12 น.  

 


ขอบคุณมาก ๆ เลยค่ะพี่ ^^" (ตอบได้เร็วทันใจมากมาย)

ไว้จะมาเยี่ยมใหม่นะคะ


 

โดย: อยากเรียนเภสัชค่ะ^^" IP: 124.122.152.238 20 พฤษภาคม 2552 19:32:37 น.  

 

ผมก็เพิ่งจบ 6 ปี มอ. ในปีนี้
ได้ยินหลักสูตร ปี 53 คร่าวๆแล้ว เด็กรุ่นใหม่ อ้วก แน่ๆครับ...

 

โดย: อามาคุสะ ริว IP: 118.173.128.84 21 พฤษภาคม 2552 20:16:41 น.  

 

ง่า่ พี่คามาคุสะ ริว ขู่กันเยย อิอิ Y^Y

หนูจะเข้าปี 53 พอดีเชียว 555

หนูจะพยายามเข้าเภสัชให้ได้เลยค่ะ

เป็นกำลังใจให้ด้วยนะคะ พี่ๆ

 

โดย: อยากเรียนเภสัชค่ะ^^" IP: 124.120.191.210 22 พฤษภาคม 2552 21:17:05 น.  

 

ฮาโหลลลล

พี่คะ มีใครอยู่อีกมั๊ยค่ะ

คือปีนี้หนูอยู่ ม.6 ค่ะ

สิ้นปีนี้หรือราวๆเดือนธันวาคม ก็จะมีการสอบเอนท์ตรงมอ. คือหนูอยากทราบว่าเค้าจะเปลี่ยนเป็น 6 ปีหมดไม๊ค่ะ
หรือยังเป็น 5ปี และ 6 ปี อยู่

ถ้ายังเป็น 5 ปี และ 6 ปีอยู่ หนูควรเลือก 6 ปีไว้ดีใช่มั๊ยค่ะ

และปี 53 รอบแอดมิชอ่าคะจะเปลี่ยนเป็นหลักสูตร 6 ปีหมดใช่มั๊ยคะ เริ่มปี53 รึป่าวคะ

และหนูอยากทราบว่า มีงานไหนที่ 5ปี ทำได้ แต่ 6 ปีทำไม่ได้ หรืองานไหนที่ 6 ปีทำได้ แต่ 5 ปีทำไม่ได้บ้างคะช่วยบอกหน่อยน่ะคะ

ขอบคุนอีกครั้งคะ จะรอคำตอบน่ะคะ


อ่อ แล้วถ้าเปลี่ยนเปน 6 ปีหมด โอกาสในการทำงานจะเป็นอย่างไรคะ ช่วยอธิบายด้วยน่ะค่ะสับสนจิงๆ

ขอบคุนล่วงหน้าคะพี่

ปล. อยากเอนท์ตรงให้ติดปีนี้ก่อนมากๆๆๆ พี่ช่วยแนะนำหน่อยค่ะทำอย่างไรดี


 

โดย: nutoon IP: 118.173.147.44 25 พฤษภาคม 2552 16:08:24 น.  

 

ตอบคุณ nutoon

ยังตอบไม่ได้จนถึงตอนรับสมัครจริงๆครับ ว่าจะยังเหลือ 5 ปี หรือไม่ แต่ถ้าเขาเหลือจริงๆ แล้วเราเลือกเข้าเรียน 5 ปีก็ไม่แปลกครับ ถ้ามหาวิทยาลัยรับเข้าเรียน เขาต้องมีแผน หรือทางหนีทีไล่เพื่อที่จะให้นักศึกษาเรียนจบ มีงานทำทุกที่อยู่แล้ว และถ้ารอบรับตรงมีทั้ง 5 และ 6 ปี รอบแอดมิชชั่น ก็น่าจะเป็นอย่างนั้นเหมือนกันครับ คงไม่แยกว่ารับตรง 5 ปี แอด 6 ปีอะไรทำนองนั้น

เรียนจบหกปีหรือห้าปี ทำงานได้เหมือนกันครับ เพราะตัวกำหนดการทำงานคือใบประกอบวิชาชีพ ซึ่งถึงปี 57 ไม่ว่าจะจบ 5 หรือ 6 ปีก็มีสิทธิสอบเหมือนกัน แล้วพอสอบได้ ก็ประกอบวิชาชีพเภสัชได้ ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาล ร้านยา การผลิต

แต่ถ้าสอบใบประกอบวิชาชีพไม่ผ่าน หรือไม่มีคุณสมบัติสอบใบประกอบวิชาชีพ (เช่นถ้าสภากำหนดต้อง 6 ปีถึงสอบได้เท่านั้น แต่เราเรียน 5 ปีมา) จะทำงานที่ไม่ต้องใช้ใบประกอบครับ เช่นผู้แทนยา งานวิจัย งานขึ้นทะเบียน ผู้ช่วยเภสัช อะไรทำนองนี้ (แต่งานพวกนี้ ผู้มีใบประกอบก็มีสิทธิทำได้เช่นกัน)

ข้อดีของพวก 5 ปีตอนนี้ที่พี่มองเห็นคือการจบเร็วกว่า ได้ทำงานเร็วกว่า ประหยัดกว่า และน่าจะดีกว่าในการเรียนต่อโท-เอก เพราะไม่ว่าจบ 5 หรือ 6 ปี เวลาเรียนต่อก็มักจะต้องเริ่มที่เดียวกัน โดยเฉพาะถ้าไม่ได้ต่อทางเภสัช หรือไปต่อต่างประเทศ สอบชิงทุนต่างๆเป็นต้น

โอกาสก้าวหน้า ถ้านับราชการเขาว่า 6 ปีดีกว่า ได้บรรจุตำแหน่งสูงกว่า ส่วนเอกชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งตามโรงพยาบาล เขาอยากรับหกปีมากกว่า แม้เงินเดือนไม่ต่างจาก 5 ปีนัก แต่โอกาสได้งานสูงกว่า

 

โดย: wu IP: 202.12.97.100 26 พฤษภาคม 2552 10:02:01 น.  

 

ขอบคุนคะพี่

 

โดย: nutoon IP: 118.173.172.41 29 พฤษภาคม 2552 19:07:00 น.  

 

อยากเรียนเภสัชค่ะ
กำลังจะต่อปี 53 แต่ไม่มั่นใจว่าจะเรียนแบบกี่ปีดี
เพราะจากที่อ่านในกระทู้แล้วรู้สึก งง มาก
จึงอยากให้พี่ๆ ช่วยแนะนำอะค่ะ

 

โดย: เพทาย IP: 125.26.211.140 14 สิงหาคม 2552 22:28:46 น.  

 

ผมพลาดไปแล้วหรือปล่าว

 

โดย: เภสัช 6 ปี ปี 1 IP: 192.168.9.104, 58.8.166.147 15 สิงหาคม 2552 17:16:38 น.  

 

สวัสดีค่ะ พี่ๆ
ไม่รู้ว่ามาช้าไปรึเปล่า

คือว่า หนูติดรับตรงเภสัช หลักสูตรเภสัชศาสตร์ แล้วอ่ึะึค่ะ
แต่เค้าเปลี่ยนเป็น 6 ปีหมดแล้ว

แล้วการเรียนของหลักสูตรหนูจะเพิ่มตรงส่วนไหนอ่าคะ
แล้วการทำงานจะแตกต่าง หรือเหมือนกันอย่างไรหรอคะ

วานผู้รู้ ตอบทีนะคะ สงสัยมาก
ขอบคุณค่ะ

 

โดย: rx psu IP: 222.123.179.122 8 เมษายน 2553 0:59:31 น.  

 

สวัสดีครับ พี่ๆทุกคน
ผมมีเรื่องสงสัยเกี่ยวกับหลักสูตรเภสัชศาสตร์ครับ
มหาลัยที่ผมได้โควต้าเค้ามี 2 สาขา ครับ
คือ สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ 6 ปี (หลักสูตรเดิม 5 ปี)
กับ สาขาการบริบาลทางเภสัชกรรม 6 ปี
ตัวผมเลือกเรียนสาขาเภสัชศาสตร์ 6 ปี ครับ
ผมอยากทราบว่าวุฒิที่ผมจะได้เมื่อเรียนจบคืออะไรครับ
เป็น Pharm D หรือเปล่าครับ
หรือว่าเป็น B.Pharm (เหมือนหลักสูตรเดิม)
แล้วเรื่องการทำงานของสองสาขานี้
จะมีความแตกต่างกันมากมั๊ยครับ
เช่น การทำงานด้านวิจัย การผลิต โรงพยาบาล ร้านขายยา
แต่ละสาขามีโอกาสทำงานอะไรได้บ้างครับ
ตอนนี้ผมกำลังสับสนมากครับ
วานพี่ๆผู้รู้ช่วยตอบทีนะครับ
ขอบคุณมากๆครับ



 

โดย: aun IP: 117.47.234.8 25 เมษายน 2553 11:04:53 น.  

 

หวัดดีค่ะพี่
หนูอยากเรียนเภสัชอ่ะค่ะ
ต้องเก่งวิชาอะไรบ้างค่ะ
แอดมาที่
ailada_ily@hotmail.com
นะค่ะ
ขอบคุณค่ะ

 

โดย: ไอลดา IP: 180.180.47.184 12 พฤษภาคม 2553 12:15:25 น.  

 


สวัสดีค่ะพี่ๆ

คือตอนนี้หนูอยู่ม.5ค่ะ

หนูอยากเรียนเภสัชมากเลย

พี่ๆช่วยแนะแนวแนวทาง

การเรียน หน่อยได้ไหมค่ะ

 

โดย: เจ้าหนูจำไม IP: 113.53.208.41 5 มิถุนายน 2553 20:13:50 น.  

 

เรียนเภสัชจะตกงานมั้ย
เห็นมีโรงพยาบาลนึงเภสัชก็ไม่กี่คน
แล้วก็มีหลายสถาบันมากที่เปิดสอน
ร้านขายยาก็เต็มไปหม๊ดด

 

โดย: อุ๊ก IP: 182.53.143.125 25 เมษายน 2554 22:52:07 น.  

 

เมื่อเป็น Pharm D. น่าจะเรียกเภสัชกรใหม่ว่า
เภสัชแพทย์ เหมือน แพทย์ ทันตแพทย์ สัตวแพทย์ สภาเภสัชน่าจะพิจารณา

 

โดย: คนนอกวงการ IP: 118.173.40.183 5 กรกฎาคม 2555 11:57:43 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


I'm wu
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add I'm wu's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.