Home | ตั้งเวปเป็นหน้าแรก
คดี เบนนี่ เบห์นาม โมอาฟี Benny Benham Jantharakul จันทรกุล

Custom Search


ดูรายการคุยกับแพะจบไปแล้ว เค้าจะเป็นแพะจริงหรือเปล่ายังไม่มีใครรู้ แต่ยอมรับในความมุ่งมั่นเด็ดเดี่ยว ที่ต้องสู้คดีเพียงลำพังคนเดียว มาโดยตลอดตั้งแต่วันที่ถูกจับกุม คำกล่าวหาของโจทย์ และมีคนรู้เห็นว่าเค้ามาที่สถานที่นั้นๆ จริง แม้จะไม่ได้เห็นเหตุการณ์ขณะเกิดเหตุ ก็เป็นน้ำหนัก ทำให้เค้าถูกตัดสินจำคุก 22 ปี แต่ได้รับการลดโทษหลายๆ ครั้งจนเหลือจำคุกรวมแล้ว 9 ปี 8 เดือน "วันเกิด 10 ครั้ง" เบนนี่กล่าว

เค้าเฝ้าหาคำตอบว่าเค้ามาติดคุกเพราะอะไร จากความท้อแท้ที่จะฆ่าตัวตาย กลายมาเป็นแรงให้ลุกขึ้นสู้ เรียนภาษาไทย เรียนจนจบกฏหมายในคุก รวบรวมเอกสารหลักฐานต่างๆ เพื่อจะกลับมาสู้คดีอีกครั้งตั้งแต่ในคุก

พ้นโทษออกมา แทนที่จะกลับประเทศ กลับไปซื้อคอมพิวเตอร์มารวบรวมเอกสารหลักฐานต่างๆ อย่างเปินระบบ แล้วเดินหน้าขอความเป็นธรรม และฟ้องร้องผู้ที่เกี่ยวข้อง วันนี้เค้าก็ยังสู้อย่างโดดเดี่ยวเหมือนเคย คงมีแต่สื่อมวลชนที่เฝ้าตามข่าวเค้า และเรื่องราวของเค้าก็ได้ถูกซื้อลิขสิทธิ์เพื่อที่จะจัดทำหนังสือเรียบร้อยแล้ว

และเค้ายังเล่าอีกว่า ชีวิตการทำธุรกิจร้านอาหารในประเทศไทยของเค้า ก็ถูกเรียกเก็บส่วย แต่เค้าไม่ยอมจ่าย จนเป็นเหตุให้โดนกลั่นแกล้ง จนต้องเลิกกิจการ กลับประเทศเลยทีเดียว

ก่อนที่จะกลับมาประเทศไทยเพื่อที่จะขายทรัพย์สิน และประสบเหตุตกเป็นนักโทษตัองติดคุกดังกล่าว

เล่าคร่าวๆ นะครับ ผิดถูก ฟังมาในทีวีไม่ชัดเจนบ้าง ต้องขออภัยครับ ถ้าเป็นแพะจริง ขอให้ชนะคดี ตั้งแต่ในศาลไทยนะครับ ไม่ต้องไปถึงศาลโลก
แต่ถ้าศาลไม่รับรื้อคดีใหม่ ก็ขอให้ทำใจนะครับ ตามคำพูดของเบนนี่ที่ว่า "ความยุติธรรม กับความเป็นธรรม ต่างกัน" อย่างน้อยเราก็รู้ด้วยตัวเองครับว่าเราเป็นแพะหรือเปล่า ว่าเราทำผิดจริงหรือเปล่า



ข่าวสดรายวัน //www.khaosod.co.th
วันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7167

อิหร่านร้อง"มาร์ค"ทวงยุติธรรม
คดี เบนนี่ เบนาม โมอาฟี Benny Benham Jantharakul
ทวงยุติธรรม -นายเบห์นาม โมฟี่ นักธุรกิจเชื้อสายสวีเดน-อิหร่าน แต่งชุดนักโทษล่ามโซ่ตัวเองกับรั้วทำเนียบรัฐบาล ร้องเรียนรัฐบาลไทยตรวจสอบความไม่ยุติธรรมกรณีถูกกลั่นแกล้งให้ติดคุกนานเกือบ 10 ปี เมื่อวันที่ 13 ก.ค.

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 13 ก.ค.ที่ทำเนียบรัฐบาล นายเบห์นาม โมฟี่ หรือเบนนี ชาวอิหร่าน อายุ 41 ปี แต่งกายเลียนแบบชุดนักโทษพร้อมใส่โซ่ตรวนที่ขาทั้งสองข้าง ถือป้ายเขียนข้อความว่า ดับเบิ้ลสแตนด์ดาร์ด หรือสองมาตรฐาน เพื่อประท้วงที่กฎหมายไทยมี 2 มาตรฐานจนต้องถูกตัดสินคดีอย่างไม่เป็นธรรม เข้าร้องขอความเป็นธรรมกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และรัฐบาลไทย กรณีถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจบางนายสร้างพยานหลักฐานเท็จคดีร่วมกันปล้นเพชร รวมถึงข้อหาพาสปอร์ตปลอม ทั้งที่ไม่มีพยานหลักฐานชัดเจน จนถูกศาลตัดสิทธิ์จำคุก 22 ปี แต่ศาลพิจารณาลดโทษให้เหลือ 9 ปี 8 เดือน

นายเบนนี่กล่าวว่า ตนพ้นโทษออกมาเมื่อเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา จึงออกมาร้องขอความเป็นธรรม เพราะถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจบางคน สร้างพยานเท็จ จนต้องตกเป็นจำเลย และถูกคำสั่งห้ามเข้ามาภายในราชอาณาจักร ทั้งที่ตนประกอบธุรกิจในประเทศไทยอย่างถูกกฎหมาย ทั้งนี้ได้ยื่นอุทธรณ์ เนื่องจากมีหลักฐานใหม่ เพื่อให้ศาลพิจารณาให้ความเป็นธรรมและเยียวยาในสิ่งที่ถูกกระทำไปก่อนหน้านี้ หากตนไม่ได้การเหลียวแลจากคนในรัฐบาล จะเดินทางไปขอความเป็นธรรมและอดข้าวประท้วงที่หน้าองค์การสหประชาชาติต่อไป

สำหรับกรณีของนายเบห์นาม โมฟี่ หรือเบนนี เมื่อวันที่ 31 ส.ค. 2543 ผู้เสียหายเข้าแจ้งความกองปราบปราม ว่า ถูกนายโมฟี่ หรือเบนนี กรรโชกทรัพย์เครื่องเพชร ต่อมาวันที่ 14 ก.ย. ปีเดียวกันตำรวจกองปราบฯเข้าจับกุมนายเบนนีได้ที่ห้องพักย่านถ.สุขุมวิท กทม. ภายหลังสอบสวนได้ดำเนินคดีข้อหาร่วมกันปล้นทรัพย์ ซึ่งเป็นข้อหาที่ร้ายแรงกว่าคดีกรรโชกทรัพย์ ซึ่งนายเบนนีระบุว่าถูกตำรวจบางนายสร้างพยานหลักฐานเท็จ กระทั่งต้องได้รับโทษในอัตราที่สูง เมื่อพ้นโทษออกมาจึงเข้าร้องทุกข์กับนายอภิสิทธิ์ นายกฯ ที่ทำเนียบรัฐบาลในวันนี้



แฮรี่ นิโคไลดส์ : กล้วยที่แพงที่สุดในประเทศไทย
//www.nationsiam.com 12 June, 2009 02:56:00

ภายหลังได้รับพระราชทานอภัยโทษและเนรเทศออกจากประเทศไทย จากความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ แฮรี่ นิโคไลดส์ เขียนถึงบรรยากาศภายในคุกและกระบวนการยุติธรรมไทย ผ่านเรื่องราวของนักโทษคนหนึ่งที่เขาได้พบระหว่างที่อยู่ในเรือนจำคลอง เปรม พร้อมภาพแสดงความเป็นอยู่ในเรือนจำไทย

บุคคลที่แฮรี่อ้างอิงถึงคือ เบนาม โมอาฟี นักโทษชาวสวีเดน เชื้อสายอิหร่าน ซึ่งถูกตัดสินจำคุก 22 ปีด้วยข้อหากรรโชกทรัพย์ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคดีที่เกิดขึ้นยังเป็นเรื่องที่ต้องพิสูจน์ในชั้น อุทธรณ์ แต่ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสภาพที่นักโทษผู้นี้ได้พบเจอในคุกของไทย คือเรื่องราวที่แฮรี่ นำเสนอออกมาเป็นงานชิ้นแรกเกี่ยวกับประเทศไทยหลังจากเขาที่เขาถูกเนรเทศออก ไป

กรณีของ เบนาม โมอาฟี นักโทษเชื้อสายอิหร่าน-สวีดิช เป็นกรณีที่องค์กร “Fair Trial International” กำลังรณรงค์เพื่อให้เขาได้รับความยุติธรรมจากกระบวนการ ยุติธรรมไทย //www.fairtrials.net/index.php/cases/spotlight/benny_benham_jantharakul/

นายวรสิทธิ์ พิริยะวิบูลย์ ทนายความของเบนาม กล่าวกับประชาไทว่า เบนามพยายามเรียกร้องสิทธิของผู้ต้องขัง และดำเนินการฟ้องร้องต่อศาลปกครอง เนื่องจากการละเมิดกฎหมายของเจ้าหน้าที่เป็นจำนวน 169 คดีแล้ว

หมายเหตุ ประชาไท เซ็นเซอร์และตัดข้อความบางส่วน
แฮรี่ นิโคไลดส์ : กล้วยที่ราคาแพงที่สุดในประเทศไทย
แฮรี่ นิโคไลดส์
9 มิถุนายน 2009

ด้วยความพยายามอย่างที่สุดจากผู้คุม เบนาม โมอาฟี เชื้อสายอิหร่าน-สวิดิช ซึ่งเกิดในเตห์ราน ในปี 1968 ปฏิเสธที่จะตาย เขาถูกพิพากษาจำคุกในประเทศไทย 22 ปี ในความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ ปล้นทรัพย์และแบล็กเมล์ ซึ่งเป็นความผิดที่เขาไม่ได้กระทำ

หลัง 8 ปีของการถูกละเมิด การทารุณ ความหิว และการขังเดี่ยว ภาวะทุพโภชนาการ ความเจ็บป่วย และเงื่อนไขที่ผลักให้คนๆ หนึ่งต้องเสียจริต เบนาม หรือที่เพื่อนร่วมห้องขัง ในเรือนจำคลองเปรม รู้จักกันในนามว่า “เบนนี” ได้รับปริญญานิติศาสตร์บัณฑิตไทย และเรียนรู้การเล่นเครื่องดนตรีไทย เขายังได้ฟ้องร้องการละเมิดกฎหมายของผู้คุมและเจ้าหน้าที่ตำรวจและทนายความ กว่า 130 กรณี[1]

โดยรัฐบาลที่ถูกเปลี่ยนหลายครั้ง และโดยการรัฐประหาร เบนนีได้เรียนรู้มากมายเกี่ยวกับประเทศไทย อดีตผู้นำ ตลอดจนบุคคลแถวหน้าของพรรคการเมือง ก่อนลงเอยที่คุกเดียวกับเขา

เดือนนี้ เขายื่นคำร้องให้มีการพิจารณาคดีของเขาอีกครั้ง เป็นการแสวงหาโอกาสจากความคลุมเครือและไม่ชัดเจนของประมวลกฎหมายอาญาของไทย ซึ่งอนุญาตให้มีการพิจารณาคดีใหม่เพียง 1 ครั้งในรอบ 10 ปี

เบนนีเผชิญกับเรื่องเลวร้ายมามาก และไม่มีอะไรจะเสีย อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลไม่จัดการต่อกรณีของเขา เจ้าหน้าที่ในองค์กรตุลาการไทย เจ้าหน้าที่ระดับสูงที่อยู่ในกรุงเทพฯ คงถูกทำให้อับอายต่อหน้าประชาคมโลก

เบนนี โมอาฟี ถูกจับกุมโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจไทยในวันที่ 14 กันยายน ปี 2000 เขาถูกกล่าวหาว่า ทำร้ายร่างกาย ปล้น และลักพาตัวชาวซีเรียคนหนึ่งจากห้องพักของโรงแรมในกรุงเทพฯ ด้วยความพยายามที่จะช่วยเหลือครอบครัวชาวอิหร่าน 2 ครอบครัวจากการทะเลาะกับบุคคลที่ 3 ที่สุดแล้วเบนนีพบว่า ตัวเองถูกกล่าวหาว่า ใช้ปืน ปล้นและกรรโชกชาวซีเรีย

ตามคำให้การของชาวซีเรียผู้นั้น ศาลพบว่า เบนนีมีความผิดตามข้อกล่าวหา และยังผิดฐานครอบครองอาวุธปืน
น่าประหลาดว่า ชาวซีเรียผู้นั้นรอจนถึง 14 วันหลังการถูกละเมิดกว่าที่เขาจะไปร้องทุกข์ และยังใช้เวลานานกว่านั้นในการแก้ไขคำฟ้องเพื่อรวมเอาประเด็นอาวุธปืนเข้าไป ด้วย

ขณะนี้เบนนีอยู่ในคุกที่มีนบุรี ซึ่งเป็นเรือนจำที่ตั้งอยู่ในเขตรอบนอกกรุงเทพฯ เขาต้องใช้เวลามากกว่า 8 ปีอยู่ใน 6 เรือนจำ และ 17 แดนขัง เนื่องจากเขาถูกย้ายทุกครั้งที่เขาเปิดโปงเรื่องการคอร์รัปชั่น หรือการละเมิดที่เกิดขึ้นโดยระบบของเรือนจำ

เขารณรงค์เรียกร้องสิทธิและโอกาสให้แก่ผู้ต้องขังอื่นๆ ด้วย เขาเพิ่งจะท้าทายผู้อำนวยการเรือนจำเกี่ยวกับราคาที่สูงเกินปกติของกล้วยที่ ขายในเรือนจำ ซึ่งส่งผลให้เพื่อนผู้ต้องขังได้เห็นเขาถูกแยกไปคุมขังอยู่แดนที่เล็กกว่า และโดดเดี่ยวกว่าของเรือนจำมีนบุรีในทันที แต่เรื่องนี้ก็ไม่สามารถหยุดยั้งเบนนีจากความพยายามอย่างต่อเนื่องในการ เขียนจดหมายถึงเอ็นจีโอและองค์กรด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งเขาหวังว่าวันหนึ่งจะช่วยเขาได้

ซาบีน แซงเกอร์ หัวหน้าทีมกฎหมายขององค์กรเพื่อการพิจารณาคดีที่เป็นธรรมสากล (The Fair Trial International) ตั้งตาคอยข่าวสารจากเบนนี “จดหมาย ของเขาเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ได้อ่าน เขาเป็นคนที่มีความหวัง แม้แต่ในยามที่มืดมิด เจ้าความคิด มีความรู้ และไม่สามารถจะข่มขู่ได้ ขณะที่เขาจัดการเกี่ยวกับกรณีของตัวเอง เขาก็เปิดหูรับฟังเพื่อนร่วมคุก และยืนหยัดต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ของเรือนจำเพื่อเพื่อนของเขา

“ในช่วง 8 ปีครึ่งที่อยู่กับการพิจารณาคดีที่เป็นธรรมในต่างประเทศ ผมได้เห็นคนจำนวนมากได้รับโอกาส และได้แสดงความเข้มแข็งของตนเอง ศักดิ์ศรี และความน่าเห็นใจในช่วงเวลาที่ยากลำบาก เบนนีเป็นตัวอย่างที่ดีของบุคคลที่คุกทำให้ผู้นั้นกลายเป็นคนที่ดีขึ้น”

ขณะที่เบนนีได้แสดงความมีมนุษยธรรมและความเห็นอกเห็นใจแก่ผู้อื่น แต่สิ่งเดียวกันนั้นกลับไม่เกิดขึ้นจากรัฐบาลของเขาเอง เป็นเรื่องเศร้าที่ว่า สถานทูตสวีเดนได้แสดงความเห็นอกเห็นแต่เพียงเล็กน้อยต่อชะตากรรมของเขา ขณะที่ก็ไม่เคยเข้าฟังการพิจารณาคดีของเขาเลย

ลูเซีย ทริกเกอร์ ทนายความชาวสวีเดน ซึ่งใกล้ชิดกับบุคคลที่ดูแลกรณีของเบนนีอยู่กล่าวว่า ทางการสวีเดนพยายามให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่แก่เบนนี แต่การตัดสินใจที่สำคัญอยู่ที่ทางฝ่ายไทย สำหรับเบนนีแล้ว ดูเหมือนทางการไทยจะได้ตัดสินใจลงไปแล้ว และทางสวีเดนก็หลงลืมเขาไปแล้วเช่นกัน

เพื่อนร่วมคุกซึ่งต้องโทษประหารในคลองเปรมฯจำเบนนีได้ดี แม้ว่าจะเป็นการขัดต่ออนุสัญญาว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง ทว่าตรวนและโซ่ล่ามขา กลับเป็นสิ่งที่ถูกใช้ในการควบคุมและลงโทษนักโทษในคุกไทย แต่หลังจากการยื่นคำร้องต่อศาลปกครองสูงสุดในนามของนักโทษ เบนนีประสบความสำเร็จในการยกเลิกการใส่โซ่ตรวน

เบนนี ยังเป็นที่รู้จักดีของผู้พิพากษาในศาลอาญา เมื่อเขาถูกเรียกตัวไปศาล ตามธรรมเนียมปฏิบัติของท้องถิ่น เขาจะถูกสั่งให้ถอดรองเท้าและถุงเท้า และแม้ว่าจะถูกข่มขู่และคุกคามจากเจ้าหน้าที่ เขาก็ยังคงแข็งขืน แต่ท้ายที่สุดเขาก็ถูกใช้กำลังบังคับให้ถอดรองเท้าและถุงเท้าจนได้

หน้าบัลลังก์ของผู้พิพากษา เขาได้กล่าวร้องขอต่อศาลให้ยอมรับเขาในฐานะมนุษย์ ซึ่งผู้พิพากษาเห็นใจ และเขาได้รับการอนุญาตให้สวมถุงเท้าและรองเท้าได้ หลังจากเหตุการณ์นี้ ผู้ต้องขังจำนวนมากก็ได้ร้องขอเช่นเดียวกัน

เบนนีเป็นผู้โชคดีที่คดีของเขาได้เข้าสู่ชั้นอุทธรณ์ เขาระบุว่า ในระบบกฎหมายไทยนั้น คุณเป็นผู้กระทำผิดจนกว่าจะได้รับการพิสูจน์ว่าบริสุทธิ์ วันไต่สวน การพิจารณาคดีของเขาหยุดชะงักอย่างเนิ่นนาน และจบลงด้วยการเลื่อนพิจารณา จากรายงานสืบสวนที่เป็นอิสระขององค์กรการพิจารณาคดีที่เป็นธรรม ระบุว่า พบข้อพิรุธต่อกรณีของเขา

ความพยายามของเขาในการที่จะให้คดีของตนเองได้รับการพิจารณาก็ถูกทำให้ชะงัก ลง เพราะประจักษ์พยานที่สามารถจะให้การยืนยันได้ต่างเดินทางกลับประเทศอิหร่าน หลังจากที่เขาถูกกล่าวหาได้ไม่นาน นายวรสิทธิ์ พิริยะพิบูลย์ ทนายความชาวไทยที่ว่าความให้เบนนี (ผู้ซึ่งให้อุทิศตัวให้กับการเปิดเผยสิ่งที่เขาเชื่อว่าเป็นการตัดสินคดีที่ ผิดพลาดต่อผู้บริสุทธิ์)เพิ่งเดินทางไปยังเตห์ราน เพื่อทำคำให้การของประจักษ์พยาน

บันทึกคำให้การเหล่านี้ ในที่สุดได้รับรองโดยกระทรวงการต่างประเทศของอิหร่าน และยื่นพร้อมเอกสารอื่นๆ ในคำร้องขอพิจารณาคดีอีกครั้งในประเทศไทย

มันเป็นการเดินทางที่ยาวนานของเบนนี เขาได้เรียนรู้ระบบอย่างดี ในระบบนี้ คุณต้องจ่ายเงินในขั้นตอนต่างๆ ของกระบวนการยุติธรรม หากปราศจากเงิน ก็คือการพิพากษา และจะถูกส่งไปยังกรงขังลิง ซึ่งสามารถจ่ายให้กับผู้คุมเรือนจำได้ กล้วยที่ราคาแพงที่สุดในราชอาณาจักรไทย ก็คือกล้วยที่ขายอยู่ในคุก



แฮรี่ นิโคไลดส์ เป็นนักเขียนชาวออสเตรเลีย ซึ่งเคยถูกจำคุกในเรือนจำที่กรุงเทพฯ ตั้งแต่เดือนกันยายน 2008 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2009 ด้วยข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เขาได้พบเบนนี อาฟี ในคุก

หมายเหตุ
[1] ข้อมูลจำนวนคดีที่เบนามฟ้องศาลปกครองในบทความของแฮรี่ ระบุว่ามีจำนวน 130 คดี แต่จากการสอบถามจากทนายความขอเบนาม ระบุว่า ขณะนี้ มีจำนวนทั้งสิ้น 169 คดีแล้ว
[2] ที่มาของข่าว://www.eurekastreet.com.au/


Create Date : 06 สิงหาคม 2553
Last Update : 7 สิงหาคม 2553 13:01:09 น. 0 comments
Counter : 3832 Pageviews.

Polball
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 37 คน [?]








Online Since 16/09/2009
Custom Search
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2553
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
6 สิงหาคม 2553
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add Polball's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.