poivang
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 10 คน [?]




Cursors scrollbar background bullet สีfont สีlink webpage ลบกรอบ ภาพcomment
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2550
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
1 กรกฏาคม 2550
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add poivang's blog to your web]
Links
 

 
การทำของน้อยให้มีผลมาก





การทำของน้อยให้มีผลมาก
จากหนังสือบนเส้นทางสีขาว ของคุณวศิน อินทรสระ

ปัญหาหนึ่งที่คนทั่วไปยังเข้าใจคลาดเคลื่อนอยู่ คือเรื่องการทำบุญกับการให้ทาน คนทั่วไปเข้าใจว่าการทำบุญคือการทำกับพระ ส่วนการให้ทานนั้นคือการให้แก่คนทั่วไปหรือให้แก่ขอทาน ความจริงเรื่องนี้ชาวบ้านมาแยกออกเอง ตามหลักศาสนาหาแยกอย่างนี้ไม่ ไม่ว่าให้แก่ใคร เรียกว่าทานทั้งหมด เพราะคำว่า “ทาน” แปลตรงตัวว่า “การให้”อยู่แล้ว และบุญก็เกิดจากการให้ไม่ว่าให้แก่ผู้ใด

เมื่อเราให้ด้วยจิตเมตตา สงเคราะห์ อนุเคราะห์ หรือบูชาคุณ ส่วนจะได้ผลบุญมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายอย่าง เช่นเจตนาของผู้ให้ คุณธรรมของผู้รับ ให้ในกาลที่เขาต้องการหรือขาดแคลน เป็นต้น

ส่วนการทำน้อยให้มีผลมากนั้น.................
เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับความฉลาดรอบคอบของผู้บำเพ็ญทาน คือเลือกให้แก่คนที่ควรให้ แก่กาลที่ควรให้ และด้วยเจตนาดีของตน และไทยธรรมคือของที่ให้นั้น ตรงตามความต้องการหรือสำเร็จประโยชน์แก่ผู้รับด้วยดี มิฉะนั้นจะให้ผลน้อยมาก เข้าทำนอง ให้แว่นแก่คนตาบอด ให้แหวนแก่คนมือด้วน ให้หวีแก่คนหัวล้าน บางคนสงเคราะห์ผู้อื่นด้วยความไม่เต็มใจ เขาก็รับการสงเคราะห์นั้นเหมือนกัน แต่ความสำนึกคุณมีน้อยเพราะผู้รับเขารู้เหมือนกันว่าผู้ทำ ทำอย่างเสียไม่ได้ไม่เต็มใจทำ

พูดถึงเรื่องการทำบุญกับพระก่อน ตำราทางพระพุทธศาสนาบอกเราว่า การทำบุญจะให้มีผลมากต้องประกอบด้วยสัมปทาคุณ ๔ประการ

สัมปทา๔ (ความถึงพร้อมแห่งองค์ประกอบ) ซึ่งจะทำให้ทานที่บริจาคแล้วมีผลยอดเยี่ยมคือ

๑.วัตถุสัมปทา ความพร้อมแห่งวัตถุ ในที่นี้หมายถึงผู้รับ (ปฏิคาหก) หรือทักขิไณยบุคคล เป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยคุณธรรม ท่านมีคุณธรรมสูงมากเท่าใดย่อมทำให้ทานที่บริจาคแล้วมีผลมากขึ้นเท่านั้น

๒.ปัจจัยสัมปทา ความพร้อมแห่งปัจจัย ในที่นี้หมายถึงสิ่งของ ทายกนำมาทำบุญ (ไทยธรรม) นั้นได้มาโดยทางบริสุทธิ์ ชอบธรรม

๓.เจตนาสัมปทา ความพร้อมแห่งเจตนา ในที่นี้หมายถึงมีเจตนาดี เจตนาเพื่อสงเคราะห์อนุเคราะห์ หรือบูชาคุณโดยบริสุทธิ์ใจ มิได้หวังลาภยศหรือชื่อเสียง มีเจตนาดีทั้ง๓กาล คือ ก่อนให้ กำลังให้ หลังจากให้ แล้วรักษาเจตนาอันเป็นกุศลไว้ นอกจากนี้ยังประกอบด้วยปัญญาในการให้ มิใช่ให้ด้วยความโง่เขลา

๔. คุณาติเรกสัมปทา ความพร้อมแห่งคุณพิเศษของปฏิคาหก คือผู้รับมีคุณพิเศษ ท่านระบุไว้ในตำราว่า ทักขิไณยบุคคลออกจากนิโรธสมาบัติใหม่ๆ ตำราทางพระพุทธศาสนาได้เล่าไว้หลายเรื่อง

เป็นต้นว่า พระสารีบุตรบ้าง พระมหากัสสปบ้าง ออกจากนิโรธสมาบัติใหม่ๆกำลังหิว ท่านพิจารณาหาคนที่ท่านควรจะไปโปรดในวันนั้น เพราะเมื่อท่านไปรับอาหารจากผู้ใดในวันนั้น เขาจะต้องได้สมบัติเป็นอันมาก ท่านจึงมักไปสงเคราะห์คนจนเพื่อให้เขาได้มีความสุขขึ้น

การทำบุญให้ทานเจาะจงบุคคล (ปาฏิบุคลิกทาน) ถ้าหวังอานิสงส์มากก็ควรเลือกให้คนที่ดีมีศีลธรรม หรือเป็นคนที่ควรได้รับการช่วยเหลือ ให้สิ่งที่จำเป็นแก่เขาในเวลาที่เขาต้องการ น้ำเพียงเล็กน้อยก็มีความหมายมากมายสำหรับคนที่กำลังหิวกระหาย เงินเพียงห้าบาทสิบบาทก็มีค่ามากสำหรับคนที่กำลังขัดสน ถ้อยคำปลอบประโลมใจเพียงเล็กน้อยมีคุณค่ามากสำหรับคนที่กำลังหว้าเหว่

การให้แก่สัตว์เดรัจฉานนั้น ถ้าให้ด้วยจิตเมตตาจริงๆ มิใช่เพราะเหตุอื่นแล้ว พระพุทธองค์ตรัสว่ามีผลมาก มีผลไพศาลเหมือนกัน

การทำบุญที่กล่าวมาข้างต้น มิได้หมายความว่าทำบุญเพื่อหวังผลตอบแทนแห่งบุญให้มาก แต่เป็นการทำบุญที่มีอานิสงส์มากถ้าเราเข้าใจ









Create Date : 01 กรกฎาคม 2550
Last Update : 5 สิงหาคม 2550 17:31:34 น. 0 comments
Counter : 465 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.