poivang
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 10 คน [?]




Cursors scrollbar background bullet สีfont สีlink webpage ลบกรอบ ภาพcomment
Group Blog
 
<<
กันยายน 2551
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
19 กันยายน 2551
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add poivang's blog to your web]
Links
 

 

พลูคาวเป็นพืชสมุนไพร

ลักษณะทั่วไป พลูคาว (คาวตอง ชื่อเรียกทางภาคเหนือ)เป็นไม้เลื้อย ลำต้น มีข้อปล้อง เลื้อยทอดยอดตามผิวหน้าดิน แตกรากและกิ่งก้านตามข้อ ลำตันกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5-3.0 มิลลิเมตร

ใบ เป็นใบเดี่ยวรูปหัวใจมีขนาดกว้าง 3.5-5.0 เซนติเมตร ยาว 4-6 เซนติเมตร บริเวณโคนของก้านใบติดกับข้อ จะมีหูของก้านใบติดอยู่ 1 คู่ ใบมีกลิ่นคาวจัด

ดอก ออกเป็นช่อ ปลายยอดมีใบประดับสีขาว 4 ใบ รูปไข่กลับที่โคนช่อ
ผล กลมรี ปลายผลแยกเป็น 3 แฉก ผลติดกับก้านช่อ

เมล็ด ภายในกลมรี
การขยายพันธุ์ โดยการปักชำ และเพาะเมล็ด
นิเวศวิทยาและการแพร่กระจาย ขึ้นได้ดีในดินอุดมสมบูรณ์ สภาพกลางแจ้งและร่มรำไร

ประโยชน์ ทางอาหาร ยอด และใบ ใช้กินแกล้มกับลาบ โดยรับประทานสด มีกลิ่นฉุนและคาวคล้ายปลาช่อน ทางสมุนไพร ใบ มีสรรพคุณแก้กามโรค โรคทางเดินปัสสาวะ ทำให้น้ำเหลืองแห้ง แก้โรคผิวหนังทุกชนิดใบใช้ขับพยาธิ

คาวตองเป็นพืชสมุนไพรตระกูลเดียวกับพลู อยู่ในภาคเหนือของประเทศไทย คณะวิจัยทางการแพทย์ได้นำมาสกัดเป็นยาน้ำแล้วนำมาทดลองกับผู้ป่วยโรคมะเร็งใช้ดื่มบำรุงร่างกายควบคู่กับการรักษาของแพทย์โดยการฉายรังสีปรากฎว่าสามารถทำให้ผู้ป่วยมะเร็งหายจากโรคร้ายชนิดนี้ ได้รวดเร็วกว่าการรักษาแบบเดิม

จากการวิจัยนี้ได้ทราบถึงข้อเท็จจริงที่ว่าสีแดงภายได้ใบของคาวตองเป็นสารเฮลตีแบคทีเรียมีจุลลินทรี และแลคโตแบซิลัสสายพันธ์หนึ่งซึ่งไปกระตุ้นภมิคุ้มกันในร่างกายของมนุษย์ให้ทำงานดีขึ้น ไปหยุดกดการเจริญเติบโต และต้านทานเนื้องอกพร้อมไปขับสารพิษที่จะก่อให้เกิดมะเร็งออกจากร่างกาย นอกจากนี้ ยังสามารถบรรเทาอาการ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง -ต่ำ โรคภูมิแพ้ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง เส้นโลหิตตีบตัน โรคไมเกรนปวดศรีษะ ปวดตามกระดูกตามข้อต่าง ๆ ริดสีดวงทวาร ประจำเดือนมาไม่ปรกติ

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่เกี่ยวกับการรักษาแผลเปื่อยเรื้อรัง

1. ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย

สารสกัดส่วนเหนือดินด้วยน้ำ ออกฤทธิ์อย่างอ่อนต่อเชื้อ Staphylococcus aureus โดยมีค่า MIC เท่ากับ 140 มคก./มล. และต้านเชื้อ S. pyogenes โดยมีค่า MIC เท่ากับ 32 มคก./มล. (1) สารสกัดส่วนเหนือดินแห้งด้วยอัลกอฮอล์ (95%) สารสกัดน้ำร้อน ในขนาด 1% ต้านเชื้อ S. aureus (2) สารสกัดตำรับยาที่มีพลูคาวผสม ต้าน S. aureus (3) และส่วนสกัดด้วยน้ำร้อน (ไม่ระบุส่วนที่ใช้) มีผลต่อ S. aureus (2)

นอกจากนี้สารสกัดพลูคาวทั้งต้นด้วยน้ำร้อน ที่ความเข้มข้นมากกว่า 1600 มคก./มล. ไม่ต้านเชื้อ S. aureus, Streptococcus faecalis (4) เมื่อนำน้ำต้มของพลูคาวทั้งต้นมาทดสอบ พบว่าที่ความเข้มข้น 31.25 มก./มล. แสดงฤทธิ์อย่างอ่อนต่อ S. aureus, S. epidermidis (5) ส่วนน้ำมันหอมระเหย ในขนาด 50 มคก./มล. ในจานเพาะเชื้อ ไม่ต้านเชื้อ S. aureus 25923

(6) น้ำมันหอมระเหย ไม่ระบุขนาด ต้านเชื้อแบคทีเรียชนิดแกรมบวกหลายชนิด (7) และในขนาด 100 มคก./มล. พบว่าไม่ต้านเชื้อ S. aureus (8) และยังพบว่าสารสกัดทั้งต้นด้วยอัลกอฮอล์ (95%) ในขนาด 200 มก./มล. พบว่าต้านเชื้อ b-streptococcus group A S84 แต่ไม่ต้านเชื้อ S. aureus (9) สารสกัดเอทานอล (95%) (ไม่ระบุส่วนที่ใช้) ความเข้มข้น 10 มก./มล. ในจานเพาะเชื้อ แสดงฤทธิ์ไม่ต้านเชื้อ S. aureus (10)

2. ฤทธิ์ลดการอักเสบ

เมื่อฉีดสารสกัดน้ำร้อนของยาสมุนไพรที่มีพลูคาวเป็นส่วนผสมเข้าช่องท้องหนูขาว พบว่าลดการอักเสบจาก formalin หรือ cotton-pellet granuloma และมีการศึกษากับผู้ป่วยที่มีอาการตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันทั้ง 2 เพศ โดยการฉีดยาสมุนไพรตำรับนี้เข้ากล้ามเนื้อ 10 ราย หลอดเลือดดำ 74 ราย สามารถบรรเทาอาการอักเสบได้ (3)

เมื่อให้สารสกัดของตำรับยาซึ่งมีพลูคาวเป็นส่วนผสมแก่หนูขาว พบว่ามีฤทธิ์ลดการอักเสบในหนูที่เหนี่ยวนำด้วย adjuvant และในการทดสอบ granuloma pouch แต่ไม่แสดงฤทธิ์ลดการอักเสบในหนูที่ถูกทำให้อักเสบด้วย carrageenan และ mustard (11) และพบว่าเมื่อทาสารสกัดน้ำให้หนูขาวเพศผู้ในขนาด 20 มก./ตัว ไม่สามารถบรรเทาอาการอักเสบที่เกิดจาก carrageenan ได้ (12) แต่โลชั่นซึ่งมีสารสกัดพลูคาวผสมกับสารสกัดอื่น แสดงฤทธิ์ลดการอักเสบ และสมานแผลในหนูถีบจักร

(13) และมีการศึกษากระบวนการอักเสบ พบว่าสามารถยับยั้ง cyclooxygenase (COX-2), nitric oxide synthase (iNOS) ซึ่งทำให้อักเสบ พบว่าเมื่อทดสอบสารสกัดพลูคาวด้วยเมทานอล (100%) ความเข้มข้น 10 มคก./มล. ไม่แสดงฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ cyclooxygenase (COX-2) ในเซลล์ macrophages RAW264.7 ของหนูถีบจักร ที่ถูกเหนี่ยวนำด้วย lipopolysaccharide (LPS) แต่แสดงฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ nitric oxide synthase (iNOS) 13.2% (14)

3. ฤทธิ์ต้านการแพ้

การวิจัยฤทธิ์ต้านการหลั่งฮีสตามีนซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ พบว่าเมื่อให้สารสกัดส่วนเหนือดินด้วยน้ำร้อนแก่หนูขาว ในขนาด 25 มก. มีผลยับยั้ง concanavalin A ต่อ mast cell ในการหลั่งฮีสตามีน แต่ไม่มีผลยับยั้ง compound 48/80 (15) มีการศึกษาตำรับยาสมุนไพรที่มีพลูคาวเป็นส่วนผสมในเรื่องต้านการแพ้ พบว่าต้าน picryl-chloride และ passive cutaneous anaphyaxis ในหนูถีบจักร ต้าน masugi's nephritis แต่ไม่ต้าน immune-complex induced glomerulonephritis และ homologous passive cutaneous anaphylaxis ในหนูขาว (11) แต่ทดสอบการแพ้โดยการฉีดสารสกัดน้ำของตำรับยาที่มีพลูคาวเข้าช่องท้องหนูตะเภา ไม่พบอาการแพ้ (3)

4. ฤทธิ์สมานแผล

โลชั่นซึ่งมีสารสกัดพลูคาวผสมกับสารสกัดอื่น มีฤทธิ์สมานแผลในหนูถีบจักร (13)


หลักฐานความเป็นพิษและการทดสอบความเป็นพิษ
1. การทดสอบความเป็นพิษ

เมื่อให้สารสกัดส่วนเหนือดินด้วยน้ำทางสายยางแก่หนูถีบจักร ค่า LD50 เท่ากับ 0.75 ก./กก. (1)

2. ฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์

สารสกัดพลูคาวส่วนที่อยู่เหนือดินด้วยน้ำ สารสกัดเมทานอลในขนาด 100 มก./มล. (16) สารสกัดใบแห้งด้วยน้ำ (17) หรือสารสกัดน้ำร้อน (18) ในขนาด 40 มก./จานเพาะเชื้อ ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ใน Salmonella typhimurium TA98 และ TA100 แต่สารสกัดเมทานอล ออกฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์อย่างอ่อนใน Bacillus subtilis H-17 (Rec+) (16) และเมื่อฉีดสารสกัดใบแห้งด้วยน้ำ หรือสารสกัดน้ำร้อน ในขนาด 40 มก./จานเพาะเชื้อ เข้าช่องท้องหนูถีบจักร ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ (17, 18)

นอกจากนี้สารสกัดใบแห้งด้วยเมทานอล ในขนาด 50 มคล./แผ่น ไม่มีฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ใน Bacillus subtilis Nig-1125 His Met, Escherichia coli B/R-Wp2-Trp (19)

3. ฤทธิ์ต้านการเกิดมะเร็ง

สารสกัดทั้งต้นด้วยเมทานอล ในขนาด 10 มคก./มล. ต้านการก่อมะเร็งในเซลล์เพาะเลี้ยง (20) และสารสกัดอัลกอฮอล์ (95%) ในขนาด 100 มคก./มล. ออกฤทธิ์อย่างอ่อนยับยั้ง a-TNF ในเซลล์ Macrophage cell line raw 264.7 (21)

4. พิษต่อเซลล์

พบว่าน้ำมันหอมระเหย ค่า IC50 มากกว่า 59 ppm เป็นพิษอย่างอ่อนต่อเซลล์ Hela, cells-MDCK (22) สารสกัดส่วนเหนือดินด้วยเมทานอลและสารสกัดน้ำในขนาด 5% เป็นพิษอย่างอ่อนและแสดงฤทธิ์ไม่แน่นอนต่อเซลล์ CA-Ehrlich-ascites (23)

นอกจากนี้สารสกัดทั้งต้นด้วยเมทานอลไม่เป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง CA-A549, CA-colon-2 (IC50 มากกว่า 20 มคก./มล.) (24) และยังพบว่าสารสกัดทั้งต้นด้วยน้ำร้อนในขนาด 478.5, 526.2, 529.2, 593.4 และ 662.0 มคก./มล. ไม่เป็นพิษต่อเซลล์ P3-JHR1, LEUK-L1210, U937, LEUK-K562, Raji ตามลำดับ (25) สารสกัดส่วนเหนือดินด้วยน้ำร้อน ในขนาด 30 มคก./มล. เป็นพิษอย่างอ่อนต่อเซลล์ HE-1 แต่ในขนาด 500 มคก./มล. ไม่เป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง CA-JTC-26 (26)

สารอัลคาลอยด์ 6 ชนิดจากสารสกัดส่วนเหนือดินด้วยเมทานอล ได้แก่ aristolactam B, piperolactam A, aristolactam A, norcepharadione B, cepharadione B และ splendidine เป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง 5 ชนิด คือ A-549, SK-OV-3, SK-MEL-2, XF-498 และ HCT-15 (27) ยังพบว่าสารสกัดใบด้วยเมทานอล สารสกัดน้ำในขนาด 50, 500 และ 60 มคก./มล. เป็นพิษอย่างอ่อนต่อเซลล์มะเร็ง CA-9KB (28), CA-mammary-microalveolar และ Human-embryonic HE-1 ตามลำดับ (29)

จากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์พบว่า พลูคาวมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย แต่ฤทธิ์ลดการอักเสบขึ้นอยู่กับชนิดของสารสกัด และวิธีบริหารยา จึงควรมีการศึกษาเพิ่มเติม พัฒนาผลิตภัณฑ์และทดสอบทางคลินิกก่อน




 

Create Date : 19 กันยายน 2551
1 comments
Last Update : 19 กันยายน 2551 14:10:22 น.
Counter : 1904 Pageviews.

 

หวัดดีคร้าบ เอากำลังใจมาส่ง
ให้ยิ้มได้ทุกเช้าวันใหม่
วันต่อวันคับ
von mai - Da Endorphine

...จะแวะเที่ยวก่องกลับ อิๆๆๆ

 

โดย: พลังชีวิต 19 กันยายน 2551 14:04:54 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.