poivang
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 10 คน [?]




Cursors scrollbar background bullet สีfont สีlink webpage ลบกรอบ ภาพcomment
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2551
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
4 กรกฏาคม 2551
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add poivang's blog to your web]
Links
 

 

สมุนไพรรักษาโรคมะเร็งกับงานวิจัย




ฤทธิ์ต้านมะเร็งของเห็ดหลินจือ

ญี่ปุ่นศึกษาพบว่า สารสกัดด้วยน้ำของเห็ดหลินจือมีผลทำให้หนูที่ทำให้เป็นมะเร็งมีอายุยาวขึ้น แต่การทดลองในหลอดทดลองสารสกัดเห็ดหลินจือด้วยน้ำไม่มีผลต่อเซลล์ และสารที่ออกฤทธิ์เป็นพวก polysaccharide และยังพบว่า สามารถลดพิษของยาพวกที่เป็นพิษต่อเซลล์ (cytotoxic) ด้วย
สรุปว่า เห็ดหลินจือมีผลช่วยชะลออาการของมะเร็งและยืดอายุผู้ป่วยได้ เป็นผลให้ชะลอการลุกลามของมะเร็ง และเพิ่มประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย


หญ้าปักกิ่ง

มีความปลอดภัยเพียงพอเมื่อใช้รักษาติดต่อกันนาน 3 เดือน กลุ่มสารที่แสดงฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็ง (direct cytotoxicity) เช่น เซลล์มะเร็งเต้านม และเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ แต่ฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งของหญ้าปักกิ่งค่อนข้างอ่อน

หญ้าปักกิ่งอาจป้องกันการเกิดมะเร็ง หญ้าปักกิ่งสามารถเหนี่ยวนำให้เกิดเอนไซม์ที่ย่อยสลายสารพิษ และลดการเกิดอนุมูลอิสระ ซึ่งจะช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งได้ หญ้าปักกิ่งมีฤทธิ์ต้านมะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งเต้านมของคน เมื่อทดลองในหลอดทดลอง


ชาเขียว

สารโพลีฟีนอลลิคที่เป็นสารสำคัญในใบชาเหล่านี้ มีบทบาทสำคัญในการป้องกันการเกิดมะเร็ง (anticarcinogenic) และ ต้านการก่อกลายพันธุ์ (antimutagenic)

สารที่มีฤทธิ์กระตุ้นเอนไซม์ cytochrome P-450 จึงช่วยลดปริมาณสารก่อมะเร็งและสารก่อการกลายพันธุ์ที่อาจแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกายพร้อมทั้งเร่งการกำจัดเมตาบอไลท์ซึ่งอาจเป็นสารก่อมะเร็ง และสารก่อกลายพันธุ์ไปด้วย ออกฤทธิ์โดยการจับสารก่อมะเร็งและสารก่อกลายพันธุ์ไว้ ไม่ให้สารเหล่านี้ไปก่อความเสียหายต่อเซลล์ที่อวัยวะต่างๆ ได้

มีรายงานว่าสารสกัดและสารสำคัญจากชามีฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ได้ไม่ว่าจะเป็นการกลายพันธุ์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดขึ้นโดยสารเคมี สาร aflatoxin จากรา หรือสารอื่นๆ ผลการทดลองยังพบว่าชาดำ ชาเขียว หรือชา Oolong ล้วนมีฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์เช่นเดียวกัน

น้ำชามีคุณสมบัติต้านมะเร็ง ทั้งการเกิดมะเร็งที่เหนี่ยวนำด้วยสารเคมี หรือมะเร็งที่เกิดจากการเหนี่ยวนำด้วยรังสี ซึ่งพบว่าสารโพลีฟีนอล โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารจำพวก catechins สารแทนนิน และยางจากต้นชา มีคุณสมบัติในการต้านมะเร็งเช่นเดียวกับน้ำชา

แม้ว่ารายงานการวิจัยที่ผ่านมาจะชี้ให้เห็นว่าใบชาและสารสำคัญที่ประกอบอยู่ในใบชามีคุณสมบัติที่ดีในการต้านการเกิดมะเร็ง แต่การบริโภคน้ำชาก็มีข้อเสียเช่นกัน คือ ทำให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้น้อยลง ฉะนั้นหากรักจะดื่มชาก็คงต้องรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กมากๆ เพื่อชดเชย ซึ่งอาหารเหล่านี้ได้แก่ มะเขือเทศ ผักสีเขียว ตับ เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีรายงานบางฉบับที่บ่งชี้ว่า การเกิดมะเร็งของหลอดอาหารอาจมีความสัมพันธ์กับการบริโภคชา เนื่องจากพบว่าคนที่นิยมรับประทานข้าวต้มที่ต้มผสมใบชามีอัตราการตายจากมะเร็งหลอดอาหารสูงกว่าปกติ มีความเป็นไปได้ว่าการต้มใบชาเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดข้อเสียนี้

ซึ่งกรรมวิธีในการชงชาโดยเฉพาะการชงชาแบบจีนนั้นจะใช้วิธีที่เรียกว่า ชงผ่าน คือการเทน้ำร้อนลงในกาน้ำชาใบเล็กๆ ที่มีใบชาบรรจุอยู่ ทิ้งไว้สักครู่แล้วจึงเทน้ำชาที่ได้ออกมาดื่มทั้งหมด จะเห็นได้ว่าการชงชาในลักษณะนี้ สารสำคัญในใบชาจะถูกสกัดด้วยน้ำร้อนในช่วงเวลาสั้นๆ เท่านั้น

ซึ่งนอกจากจะทำให้ได้น้ำชาที่มีความหอมน่าดื่มแล้ว ยังช่วยไม่ให้สารไม่พึงประสงค์บางชนิดถูกสกัดตามออกมาด้วย นอกจากนี้ยังมีข้อควรระวังอีกข้อหนึ่ง คือ ไม่ควรดื่มน้ำชาขณะร้อนจัด เพราะการรับประทานชาร้อนๆ ก็อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อเซลล์เยื่อบุภายในช่องปากและหลอดอาหาร อันอาจจะทำให้เกิดโรคอื่นๆ ตามมา


ลูกเดือย

สารสกัดลูกเดือยด้วยเมธานอล และ a-monolinolein ซึ่งแยกมาจากสารสกัดเมธานอล มีผลยับยั้งการกระตุ้น Epstein-Barr Virus early antigen ของสารที่ส่งเสริมการก่อมะเร็ง (tumor promoter) เช่น 12-o-tetradeca-noylphorbol-13-acetate (TPA) และมีผลยับยั้งการเกิดมะเร็งในหนูถีบจักร


ขมิ้นชัน

สามารถยับยั้งเซลล์มะเร็งมดลูกหนูแฮมสเตอร์ และเซลล์มะเร็งน้ำเหลือง และพบว่าตัวสำคัญในการออกฤทธิ์นี้คือ เคอร์คิวมิน (Curcumin) นั่นเอง และยังพบ ว่าลดการเติบโตของเนื้องอกในสัตว์ทดลองด้วย


โสม

ลดการกระจายตัวของมะเร็งปอดในหนู แต่ไม่ลดการเกิดมะเร็งในหนูเนื่องจาก 9,10-dimethyl-1,2-benzanthracene แต่ลดทั้งการเกิดและกระจายตัวของมะเร็งเนื่องจาก urethane นอกจากนี้ยังลดการเกิดมะเร็งในตับ และปอดเนื่องจาก อะฟาทอกซินบีหนึ่ง สารสกัดโสมด้วยน้ำและอัลกอฮอล์(67%) ไม่สามารถต้านการเกิดมะเร็งที่เต้านมหนู และในขนาดสูงๆ กลับเร่งการโตของก้อนเนื้องอก Singh ก็พบฤทธิ์ในการสร้างภูมิต้านทานของสารสกัดด้วยน้ำของโสม saponin ของโสมก็มีฤทธิ์สร้างภูมิต้านทานเช่นกัน Wang ได้พบว่าโสมกระตุ้นให้เกิดการกำจัดเซลล์มะเร็งโดยเม็ดโลหิตขาว


มะขามป้อม

สามารถยับยั้งการก่อกลายพันธุ์จากผลของโลหะนิเกิล อะลูมิเนียม หรือตะกั่วได้


ถั่วเหลือง

กลไกของถั่วเหลืองที่มีผลต้านการเกิดมะเร็ง อาจเนื่องมาจากการยับยั้งการสร้างหลอดเลือดใหม่ (neovascularization) และการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง โปรตีนถั่วเหลืองและ genistein มีผลยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ tyrosine kinase, topoisomerase I,II ซึ่งจำเป็นสำหรับการแบ่งเซลล์ ถั่วเหลืองทำให้ผนังเซลล์มีความคงตัว และลดการสร้าง lipid peroxidation ของเซลล์ตับ ผลเหล่านี้อาจเป็นกลไกที่ทำให้ถั่วเหลืองมีผลยับยั้งการเกิดมะเร็งตับ


กะหล่ำปลี

ผักกลุ่ม Cruciferous ที่รู้จักกันดีได้แก่ กะหล่ำปลี ดอกกะหล่ำ บรอคคอลี่ broussels sprouts ประกอบด้วย ascorbic acid a-tocopherol, b-carotene และวิตามิน A เช่นเดียวกับผักอื่นๆ ยังมีสารที่เชื่อว่ามีผลต่อการเกิดมะเร็งได้ พบว่า ITC ควบคุมการเจริญของเซลล์ในระยะก่อนเกิดมะเร็ง ป้องกันเซลล์นั้นเจริญเป็นเซลล์ที่สมบูรณ์

Indoles ให้ผลกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ทั้งระยะ 1 และระยะ 2 ได้เช่นกัน มีรายงานว่า I3C เพิ่ม 2-hydroxylation ของ estradiol ซึ่งเชื่อว่าเกี่ยวข้องกับการลดอัตราการเกิดมะเร็งเต้านม


กระเทียม

คนเป็นมะเร็งในกระเพาะอาหาร และในจำนวนผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหารเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นพวกที่รับประทานกระเทียมน้อยหรือไม่รับประทานเลย และพบว่าชาวจีนที่ไม่รับประทานกระเทียมมีโอกาสเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารมากกว่าผู้ที่กินกระเทียมในปริมาณมากอยู่เสมอถึง 1,000 เท่า

สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งจากคน และการทดลองยังชี้ให้เห็นว่าสามารถยับยั้งมะเร็งต่างๆ ในสัตว์ทดลอง ได้แก่ มะเร็งเต้านม กระเพาะปัสสาวะ ผิวหนัง ลำไส้ใหญ่ หลอดอาหาร กระเพาะอาหารและปอด ซึ่งกระบวนการออกฤทธิ์อาจเนื่องมาจากการยับยั้งการทำงานของสารก่อมะเร็ง เพิ่มอัตราการขับสารก่อมะเร็ง ป้องกันไม่ให้สารก่อมะเร็งจับกับ DNA เพิ่มประสิทธิภาพของเอนไซม์ที่ทำให้เกิดมะเร็ง หรือผ่านกระบวนการกระตุ้นภูมิต้านทาน ช่วยลดอาการข้างเคียงของยามะเร็ง










 

Create Date : 04 กรกฎาคม 2551
0 comments
Last Update : 4 กรกฎาคม 2551 12:20:41 น.
Counter : 2684 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.