Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2550
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
9 พฤศจิกายน 2550
 
All Blogs
 
สามก๊กฉบับคนกันเอง ภาคสอง : ความดีมีด่างพร้อย ความชั่วมีความเป็นมา

[หนังสือเล่มอื่น]




อันที่จริง ข้าพเจ้าเคยแนะนำสามก๊กฉบับคนกันเองไปแล้วครั้งหนึ่ง ในครั้งนั้นเป็น "ภาคหนึ่ง : ขุนเขาไม่เปลี่ยน สายน้ำไม่ขาด" ซึ่งเป็นการรวบรวมบทความของคุณเอื้อ อัญชลี แห่งคอลัมน์ "สามก๊กฉบับคนกันเอง" ที่ตีพิมพ์ในมติชนสุดสัปดาห์ตั้งแต่ตอนแรกถึงตอนที่ 46

"ภาคสอง : ความดีมีด่างพร้อย ความชั่วมีความเป็นมา" เล่มนี้รวบรวมบทความตั้งแต่ตอนที่ 47 (ในฉบับประจำวันที่ 15-21 กรกฎาคม 2548) จนถึงตอนที่ 120 (ในฉบับประจำวันที่ 29 ธันวาคม 2549 - 4 มกราคม 2550) รวม 74 ตอน

ข้าพเจ้าเริ่มอ่านคอลัมน์นี้ในมติชนสุดสัปดาห์ในปี 2549

ความน่าสนใจของสามก๊กฉบับคนกันเองนี้ อยู่ที่การขยายมิติการ "เล่า" ถึงเรื่องสามก๊ก ได้กว้างและไกล เกินกว่าเหตุการณ์ (รวมถึงตัวละคร) ที่อยู่ในยุคสามก๊ก ออกไปอย่างมาก (ซึ่งข้าพเจ้าได้เคยสาธยายไว้แล้วในคราวก่อน)

ทั้งนี้มิได้หมายความว่า สามก๊กฉบับคนกันเองนี้มีความละเอียดลึกซึ้ง มากไปกว่าสามก๊กฉบับมาตรฐานที่อ่านอ้างอิงกัน หากแต่ผู้เขียนสามารถหยิบยกแง่มุมต่าง ๆ ของเรื่องราว (หรือบุคคล) ซึ่งดูไม่น่าจะเกี่ยวข้องอันใดกับสามก๊กเลย มาเล่าให้อยู่ในอีกมิติหนึ่ง อันมีสามก๊กเป็นแกนกลาง แล้วบูรณาการออกมาในแบบฉบับ "คนกันเอง" โดยจะเน้นอารมณ์ความรู้สึก ตลอดถึงความสัมพันธ์ของตัวละคร มากกว่าจะเน้นกลยุทธที่มีอยู่อย่างดาษดื่นในเรื่องสามก๊ก

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกคนจะคุ้นเคยและชอบกับวิธีการดังกล่าว เพราะหลายตอน อ่านแล้วดูไม่คล้ายว่ากำลังอ่านงานเขียนเกี่ยวกับสามก๊กอยู่ อีกทั้งบทความบางตอน ยังพูดถึงแต่ตัวละครเด่น ๆ ในเรื่องอื่น โดยให้น้ำหนักกับสามก๊กไว้เป็นรองเท่านั้น

ในสมัยที่มติชนสุดสัปดาห์สามารถอ่านได้ออนไลน์เป็นบางคอลัมน์อยู่นั้น ก็มีผู้อ่านเข้ามาวิจารณ์ในทำนองว่า ผู้เขียนกำลังจะออกไปจากเรื่องราวของสามก๊กอยู่หรือไม่ เพราะสามก๊กฉบับคนกันเองหลายตอน กำลังเต็มไปด้วย ตัวละครจากบทประพันธ์ของ "กิมย้ง" ไม่ว่าจะเป็น ก้วยเจ๋ง เอี้ยคัง อึ้งย้ง เอี้ยก้วย เซียวเล่งนี่ง เตียบ่อกี้ เตี่ยเมี่ยง จิวจี้เยียก จากมังกรหยกทั้งสามภาคแล้ว เล่งฮู้ชง งักเล้งซัง ตงฟางปุกป้าย จากกระบี่เย้ยยุทธจักร (อันที่จริง ผู้เขียนได้กล่าวถึงแปดเทพอสูรมังกรฟ้า กับ อุ้ยเสี่ยวป้อ อีกด้วย)



ผู้เขียนเล่าว่า ผู้ที่แต่ง "นิยายเรื่องสามก๊ก" ซึ่งมีนามว่า หลอกว้านจง (หรือ ล่อกวนตง) นั้น มีชีวิตอยู่ในช่วงปลายราชวงศ์หยวน ต้นราชวงศ์หมิง ห่างจากสมัยสามก๊กประมาณ 1,000 ปี โอกาสที่เรื่องราวใน "นิยาย" นั้นจะถูกเจือปนด้วยค่านิยม และ เหตุการณ์ในสมัยปลายหยวนต้นหมิงจึงมีสูงมาก

แล้ว.. กิมย้งก็ยังแต่ง "ดาบมังกรหยก" ให้ "เตียบ่อกี้" เป็นน้องร่วมสาบานกับ "หลอกว้านจง" เสียอีก !!!

เป็นที่รู้กันว่ากิมย้งแต่งนิยายโดยอิงประวัติศาสตร์ค่อนข้างมาก (เว้นเรื่องกระบี่เย้ยยุทธจักร) ค่านิยมและเหตุการณ์ในสมัยของเตียบ่อกี้ (ซึ่งถูกกำหนดให้ร่วมสมัยกับหลอกว้านจง) จึงอาจมีส่วนร่วมกันกับ เรื่องราวบางตอนในนิยายสามก๊กได้

ข้าพเจ้าคิดว่า ผู้เขียนเองก็คงมองไปแบบนั้น การจะเข้าใจตัวละครในสามก๊ก (ในรูปแบบนิยาย) จึงอาจจะทำโดยอ้อม ได้โดยการอ่านมังกรหยก ทำให้บทความช่วงหนึ่ง ผู้เขียนเล่าสามก๊กฉบับคนกันเอง ผ่านการวิเคราะห์เรื่องราวในนิยายมังกรหยกแทน โดยหวังว่าจะทำให้ผู้อ่านเข้าใจวรรณกรรมทั้งสองเรื่องในสองยุคได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งต่อมา ผู้เขียนก็ลงลึกไปกับ "กิมย้ง" กับนิยายเรื่องอื่น ๆ ของเขา อย่างต่อเนื่องอยู่ช่วงหนึ่งเลยทีเดียว

บทความบางตอน ผู้เขียนสามารถโยงใยกลับมาให้กลมกลืนกับเหตุการณ์ในสามก๊กได้ แต่บางตอนก็ดูจะเข้ากันได้ไม่สนิทนัก แม้ว่าจะดูออกนอกเรื่องราวสามก๊กไปบ้าง แต่ตอนเหล่านั้นก็ให้แง่มุมที่แปลกใหม่ อบอุ่น งดงาม มีคุณค่า จากการตึความตัวละครต่าง ๆ ในมุมมองของผู้เขียนเอง

จากการที่ ผู้เขียนพยายามหาความเกี่ยวเนื่องกันระหว่าง หลอกว้านจง สภาพสังคมในยุคของเขา เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ (ที่ถูกอ้างอิงในเรื่องดาบมังกรหยก) และเรื่องราวที่ถูกแต่งเป็น "นิยายสามก๊ก" อยู่นั้น ผู้เขียนก็ได้มุมมองว่า เรื่องต่าง ๆ เหล่านี้เชื่อมโยงเป็นเหตุเป็นผลของกันและกันตามหลักอิทัปปัจจยตา

เพราะมีสิ่งนี้ สิ่งนั้นจึงมี แล้วสิ่งต่าง ๆ จึงเกิดขึ้น

ไม่มีสิ่งใดที่เกิดขึ้นเองแต่โดยลำพัง นิยายสามก๊กมีที่มา เรื่องอื่น ๆ ก็มีที่มา ตัวละครแต่ละตัวในวรรณกรรมแต่ละเรื่องก็มีที่มา ความคิด อุดมการณ์ อารมณ์ ความรู้สึก ความเข้มแข็ง ความอ่อนแอที่เกิดในจิตใจ ก็มีที่มา ล้วนแล้วแต่มีเหตุปัจจัยต่าง ๆ ปรุงแต่งด้วยกันทั้งสิ้น

และในภาคสอง ซึ่งมีชื่อว่า "ความดีมีด่างพร้อย ความชั่วมีความเป็นมา" ก็มีหลักการในทำนองแบบนี้เอง ซึ่งผู้เขียนได้อธิบายไว้ว่า

ชีวิตจริงไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบ ความดีมีบกพร่อง ความชั่วมีเงื่อนไข การไม่ยอมพูดถึงแง่ร้ายในบางเวลา ใช่ว่าโลกนี้จะมีแต่ความสว่างสดใส และการพูดถึงแต่แง่ร้ายก็ใช่ว่าโลกนี้จะเต็มไปด้วยความมืดมิด ไม่ว่าจะเผชิญแบบไหนมาก็ตาม การยอมรับความจริงไม่ควรโน้มเอียงไปข้างหนึ่งข้างใดมากเกินไป นั่นเองเป็นที่มาของชื่อภาคสอง "ความดีมีด่างพร้อย ความชั่วมีความเป็นมา"




หนังสือเล่มนี้คงจะไม่เหมาะสำหรับผู้ที่อยากจะอ่านสามก๊กในแบบวิเคราะห์ เพื่อที่จะตักตวงเอากลยุทธต่าง ๆ มาใช้ และก็อาจจะไม่เหมาะกับผู้ที่อยากจะอ่านแต่เรื่องราวในสามก๊กเท่านั้น หากแต่เหมาะกับผู้อ่านที่เปิดใจกว้าง พร้อมรับมุมมองและวิธีนำเสนอใหม่ ๆ เพื่อที่จะเข้าใจจิตใจตัวละครได้ดีขึ้น

ข้าพเจ้าก็ยังคงแนะนำเหมือนกับที่ได้เคยกล่าวไว้ใน "ภาคหนึ่ง" ว่า หนังสือเล่มนี้ อ่านแล้วรู้สึกอบอุ่น มีชีวิตชีวา เป็นกันเองกับผู้อ่าน และที่สำคัญคือ อ่านได้มากกว่าสามครั้งก็ยังสามารถคบหาเป็นสหายกันได้อยู่





สามก๊กฉบับคนกันเอง
ภาคสอง : ความดีมีด่างพร้อย ความชั่วมีความเป็นมา

เอื้อ อัญชลี : เขียน
สำนักพิมพ์มติชน
พิมพ์รวมเล่มครั้งแรก : สิงหาคม 2550
524 หน้า
ISBN 978-974-02-0000-0




[หนังสือเล่มอื่น]


Create Date : 09 พฤศจิกายน 2550
Last Update : 18 พฤศจิกายน 2550 22:08:58 น. 7 comments
Counter : 1891 Pageviews.

 
เป็นคอลัมน์ที่ผมชอบอ่านมาก ๆ เลยล่ะ

แม้ว่าระยะหลังดูจะเป็นการแต่งนิยายต่อยอดเองก็ตาม


โดย: I will see U in the next life. วันที่: 9 พฤศจิกายน 2550 เวลา:11:14:07 น.  

 
เล่มนี้ไม่ได้ซื้อครับ เพราะปกติก็ตามอ่านในมติชนรายสัปดาห์อยู่แล้ว

แต่ก็ทำให้อยากอ่านสามก๊กขึ้นมาจริงๆสักที เคยตั้งใจหลายครั้ง แต่ก็ยังไม่ได้อ่านสักที


โดย: ahiruno007 IP: 58.9.19.70 วันที่: 9 พฤศจิกายน 2550 เวลา:12:57:41 น.  

 


แวะมาเยี่ยมเยี่ยนกันครับ
Thailand International Balloon Festival 2007
คลิกที่รูป เพื่อตามมาเที่ยวด้วยกันครับ



โดย: มิสเตอร์ฮอง วันที่: 10 พฤศจิกายน 2550 เวลา:2:59:11 น.  

 
อ่านจริงๆจังๆก็ตอนรวมเล่มนี่ละ ชอบมุมมองนะ อ่านแล้วใจอาจจะกว้างขึ้นบ้าง


โดย: มึนดี IP: 222.123.220.172 วันที่: 10 พฤศจิกายน 2550 เวลา:11:04:13 น.  

 
อยากลองอ่านค่ะ ท่าทางจะอ่านง่ายกว่าเอาฉบับมาตรฐานมาอ่านนะคะ แต่ทำไมไม่รู้พอไปถึงร้านหนังสือแทบไม่เคยแวะไปมุมหนังสือมีสาระเลยค่ะ สงสัยคงต้องจดไว้ก่อน คราวหน้าแวะร้านหนังสือจะได้ไม่ลืม

ปล. ชอบคุณ Plin, :-p วิจารณ์หนังสือมากๆ เลยค่ะ


โดย: pocha_t วันที่: 17 พฤศจิกายน 2550 เวลา:0:58:01 น.  

 
เวปนี้ดีจริงมีแต่ความรู้ที่เราไม่รู้เลย


โดย: คนแก่ IP: 117.47.65.120 วันที่: 20 พฤศจิกายน 2550 เวลา:15:44:58 น.  

 
เพิ่งอ่านจบ ชอบมากที่สุด
ให้คะแนน ๑๐/๑๐ เลยแหละ


โดย: คนขับช้า วันที่: 31 ธันวาคม 2551 เวลา:6:50:00 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Plin, :-p
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]









Instagram






บันทึก ท่องเที่ยว เวียดนาม


e-mail : rethinker@hotmail.com


Friends' blogs
[Add Plin, :-p's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.