Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2549
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
28 พฤษภาคม 2549
 
All Blogs
 

สืบสานปณิธานพุทธทาส ๑๐๐ ปีชาติกาล ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๔๙

ไปแวะตอบมาที่
พุทธทาสและแนวคิดปฏิรูปในวงการพุทธศาสนา
ที่ blog ของคุณ ฮันโซ






ขอแบ่งปันประสพการณ์สักเล็กน้อยนะครับ

ผมเองรู้จักท่านพุทธทาสครั้งแรกก็ประมาณ ปี 2534 ตอนนั้นอายุประมาณ 13 อยู่ชั้น ม 3 ครับ หนังสือเล่มแรกที่ผมอ่านคือ "คู่มือมนุษย์"

เล่มต่อมาที่อ่านก็คือ คู่มือดูพระ ต่อมาก็ แก่นพุทธศาสตร์



หลังจากนี้มีอีกหลายเล่ม ตลอดชีวิต ม. ปลายของผม อ่านแต่หนังสือธรรมะ และ ปรัชญาเซน

ซึ่งผมก็มักจะแนะนำสหายที่พอจะสนิทกันว่า ถ้าใครไม่เคยอ่านหนังสือของท่านพุทธทาส ก็ขอให้อ่าน 3 เล่มนี้ ตามความเห็นแล้ว ก็ควรจะอ่าน คู่มือมนุษย์เป็นหนังสือเล่มแรก เพราะเนื้อหาเป็นพื้นฐานมากที่สุด



(Click เพื่ออ่าน "คู่มือมนุษย์")


ส่วน แก่นพุทธศาสตร์นั้น ลึกกว่า แต่ก็ไม่ยากจนเกินไป หนังสือเล่มนี้ได้รับรางวัลหนังสือยอดเยี่ยมด้วยนะครับ

"คู่มือดูพระ" ออกจะเป็นตำราที่ทำให้ เกิดความสั่นคลอนต่อพุทธศาสนาในบ้านเราได้มากที่สุดเล่มหนึ่ง ถ้าคนอ่าน อ่านแล้วคิดตามมาก ๆ หรือ ไม่คิดตามเลย (แล้วไปโวยวาย) อ่านชื่อหนังสือ นึกว่าจะสอนดูพระเครื่อง ที่ไหนได้... ไปการชี้ว่า ดิรัจฉานวิชาคืออะไร และอริยะสงฆ์ในอีกความหมายหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่ในเชิงอิทธิฤทธิ์นั้นเป็นอย่างไร และวินัยสงฆ์จริง ๆ แล้วมีอะไรบ้างที่ประชาชนควรรู้และเข้าใจ

นอกจาก "ตัวกู-ของกู", "โรคทางวิญญาณ", "ความว่าง", "สุญญตาธรรม" ที่สหายสิกขา ได้ยกมาแล้วว่า จะเป็นศัพท์ใหม่ ที่อาจจะได้ยินได้อ่านจากหนังสือท่านพุทธทาส



แต่ว่า มีอีก 2-3 คำนะครับ ซึ่งเกี่ยวข้องกัน และเป็นคำที่ classic มากที่จะยก credit ให้กับท่าน คือ "จิตว่าง" , "เอานิพพานเป็นอารมณ์" , และ "นิพพานชิมลาง" (เอ่อ คำสุดท้ายนี่ ผมไม่แน่ใจนะ แต่ใจความประมาณนั้น)

ขอพูดเรื่อง "นิพพานชิมลาง" ก่อน ท่านว่า ไม่ต้องรอชาติภพไหน ไม่ต้องตายก่อนถึงไปนิพพาน นิพพานเป็นสภาวะจิต ถ้าจิตสงบ นั่นก็ใกล้เคียง แต่มันยังไม่ใช่หรอกนะ ท่านบัญญัติว่า นิพพานชิมลาง คือแบบนี้น่ะ ให้รู้ว่าประมาณนี้ แต่ยังไม่ใช่ ดังนั้นอย่าเพิ่มติดและคิดไปว่าได้ถึงแล้ว เขาให้ชิมดูก่อน ให้ลองดูก่อนว่า จิตสงบ และ ว่างแล้ว สภาวะจิตนิพพานก็ประมาณนี้

"เอานิพพานเป็นอารมณ์" เนืองจาก มีข้อถกเถียงกันมากเกี่ยวกับ ไตรลักษณ์ ที่ว่า ทุกอย่างนั้น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ... สัพเพ ธัมมา นาลัง สุญญัง... แล้วนิพพานล่ะ อยู่ในกฎนี้ไหม เป็นอนัตตาไหม ซึ่งถกเถียงกันหลายสำนักบ้าง เอาว่าสรุปแล้ว นิพพานไม่ใช่อัตตาละกัน ก็ให้เอานิพพานเป็นอารมณ์ แล้วก็ไม่ต้องไปยึดติดนิพพานที่เอามาเป็นอารมณ์นั้น

ผมไม่ได้ศึกษาต่อว่า สุดท้ายแล้วท่านสรุปหรือไม่ ว่าประเด็นนี้ ตอบได้หรือไม่ มีคำตอบที่ดีกว่าบอกว่า ไม่ใช่อัตตาหรือไม่



"จิตว่าง" คำนี้เป็นคำที่ทำให้ท่านพุทธทาสถูกวิพากษ์วิจารณ์มากที่สุด มีคนหาว่าท่านเป็นบ้า ก็เพราะว่าคำนี้ (เอ่อ ผมไม่ได้คิดนะ) และเพราะว่าคำ ๆ นี้ จึงเป็นที่มาของเสวนาประวัติศาสตร์ ระหว่าง ท่านคึกฤทธิ์ ปราโมช และ ท่านพุทธทาสภิกขุ

เพราะท่านคึกฤทธิ์ ปฎิเสธเรื่องจิตว่างอย่างหัวชนฝา ถึงขนาดบอกว่า มีคนบ้าที่ไชยาที่เอาแต่บอกว่าจิตว่าง จนมีผู้ที่อยากเป็นสองปราชญ์ ระหว่าง ฝ่ายโลกียะ และฝ่ายโลกุตระ มานั่งถกประเด็นกัน



จึงมีหนังสือเล่มหนึ่งซึ่งบันทึกคำสนทนาเหล่านี้ไว้ ชื่อว่า "วิวาทะ" ซึ่งผมแนะนำให้อ่านเป็นเล่มหลัง ๆ เลย ถ้าคิดว่าพอจะเข้าใจแนวคิด สุญญตามาบ้างแล้ว จะได้ไม่คล้อยตามไปทาง ท่านคึกฤทธิ์ไปเสียหมด

(Click เพื่ออ่าน "วิวาทะ")


สำหรับผู้ที่เคยบวชเรียน หรือ ยังไม่เคยบวช มีหนังสืออีกเล่มของท่านพุทธทาสชื่อว่า "บวชทำไม" (ผมยังไม่ได้บวชนะครับ) ท่านพุทธทาสกล่าวว่า บวช มาจากคำว่า ปวช แปลว่า ไปให้พ้นจาก.... ซึ่งผมก็ไม่เคยได้ยินการแปลความแบบนี้มาก่อน



สำหรับภาพวาดในมหรสพทางวิญญาณนั้น มีจำลองให้ดูที่ "วัดอุโมงค์" ในจังหวัดเชียงใหม่ด้วยนะครับ (แต่ที่นี่จะเรียกว่า โรงภาพปริศนาธรรม)



โอ้ ตอนแรกว่าจะเขียนนิดเดียว พอดีมันมือไปหน่อย ผมไม่ได้อ่านหนังสือธรรมมะหลายปีแล้ว เพราะคนรุ่นผมไม่ค่อยอ่านกัน หาคนคุยด้วยไม่ได้

แม้ใน internet จะมีห้องคุยกันบ้าง แต่ก็คุยแบบรายละเอียดเช่น พระสูตร นั้น พระสูตรนี้ ราวกับจะสอบนักธรรมกัน หรือคุยไปคุยมา ก็ลงที่อภินิหาร หรือ ชาติภพแบบ ที่ชาวบ้านคุยกัน





โดย: Plin, :-p วันที่: 28 พฤษภาคม 2549 เวลา:11:19:05 น.




 

Create Date : 28 พฤษภาคม 2549
8 comments
Last Update : 14 ธันวาคม 2549 20:42:01 น.
Counter : 2728 Pageviews.

 

น่าสนใจมากที่เดียวครับ ขอบคุณครับ

 

โดย: THE Bank (THE Bank ) 28 พฤษภาคม 2549 13:50:47 น.  

 


น่าสน น่าสน มากๆครับ

 

โดย: หนุ่มร้อยปี (หนุ่มร้อยปี ) 28 พฤษภาคม 2549 14:24:38 น.  

 

น่าสนใจมากค่ะ save favoriteไว้เเล้วค่ะ
ชอบอ่านเเนวศาสนาเเละปรัชญาเหมือนกันค่ะ

 

โดย: โรส la vie en rose IP: 203.188.29.49 28 พฤษภาคม 2549 21:50:27 น.  

 

อายุยังไม่มาก แต่ศึกษาอย่างจริงจังแบบนี้ สมัยนี้หายากค่ะ
..ต้องหาหนังสือมาอ่านบ้างแล้วค่ะ มีหนังสือจิตว่างเป็นเล่มเล็กๆ ของท่านพุทธทาสอยู่ 1 เล่ม นานแล้วค่ะต้องไปหามาอ่านอีกที

 

โดย: เห็ดหอมฯ มาเยี่ยมค่ะ IP: 125.25.29.26 29 พฤษภาคม 2549 20:21:31 น.  

 

โหหหหหหหหห

อลังการจริงๆด้วยค่ะ

ตอนแรกกะจะมาเยี่ยมตามtrend เฉยๆ

แต่สงสัยต้อง........

ขอเป็น

แฟนนนนนนนนนนน....คลับ..........

ติดตามผลงานซะแระค่า..............

 

โดย: ผู้หญิงคนหนึ่ง IP: 203.185.141.5 29 พฤษภาคม 2549 21:10:27 น.  

 

สวัสดีครับคุณ "ผู้หญิงคนหนึ่ง" กับ คุณ "เห็ดหอม"
ตามมาจาก TCC หรือครับ

ขอบคุณครับ ถ้ายังไง แวะไปฟังเพลงก่อนได้นะครับ ช่วงนี้จะ up เฉพาะ section เพลง กับ "พูดตอบไปโดยไม่รู้ตัว" นะครับ

อืม ถ้ายังไงผมไม่แก้ข้อความข้างบนแล้ว พอดีข้อความข้างบนที่ว่าเป็น Mandala นี่ คุณสหายสิกขา หรือ สหายฮันโซ ได้แจ้งไว้ที่ blog ของเขาว่า



รูปที่สหายฮันโซเอามาลงนี่ ไม่ใช่รูป Mandala แต่เป็นรูป Bhavacakra ซึ่งแปลว่า Wheel of life หรือ Wheel of existence หรือ Wheel of rebirth หรือ Wheel of saṃsāra หรือ Wheel of suffering หรือ Wheel of transformation

ก็ต้องขออภัยด้วย (ก็จั่วไว้แล้วนะครับว่า พูดตอบไปโดยไม่รู้ตัว เพราะไม่ได้เตรียมตัวมาก่อน ข้อมูลบางส่วนก็เลยผิดพลาดไป ต้องขออภัยด้วยครับ)

ทีนี้รูป Mandala จริง ๆ แล้วหน้าตาเป็นแบบนี้ครับ


(รูปจาก Wikipedia)


Mandala เป็นภาษาสันสกฤตแปลว่า วงกลม ครับ (จาก wikipedia นะ เดี๋ยวจะหาว่าไม่มี reference)




Reference





 

โดย: Plin, :-p 29 พฤษภาคม 2549 21:47:55 น.  

 

เลิสมากค่ะ เสียดายยังไม่เจความหมายองblog เท่าไร

 

โดย: ไดโนเสาร์ IP: 58.147.32.190 30 พฤษภาคม 2549 17:50:09 น.  

 

ขออนุโมทนาค่ะ

 

โดย: ป่ามืด 13 มิถุนายน 2549 3:46:11 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Plin, :-p
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]









Instagram






บันทึก ท่องเที่ยว เวียดนาม


e-mail : rethinker@hotmail.com


Friends' blogs
[Add Plin, :-p's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.