Home ตั้งเวปนี้เป็นหน้าแรก

PIWAT
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 32 คน [?]




Online Users
     

Custom Search

วิทยุธรรมะออนไลน์ Free counter and web stats
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2551
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
8 พฤษภาคม 2551
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add PIWAT's blog to your web]
Links
 

 
CMS (Content Management System) คืออะไร


เมื่อเว็บไซต์ขององค์กรมีขนาดใหญ่
ก็เป็นเรื่องยาก ในการดูแลเนื้อหาบนเว็บไซต์

CMS (Content Management System) เป็นระบบที่นำเข้ามาช่วยในการจัดการเนื้อหาในเว็บไซต์ที่มีประสิทธิภาพมาก โดยความหมายของ Content Management System ของผู้พัฒนาหลายๆ ค่าย อาจมีโมเดลหรือความหมายไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับการออกแบบ แต่โดยภาพรวมสามารถแบ่งโมเดลหลัก ของ CMS ได้สองส่วน ได้แก่ CMA (Content Management Application) และ CDA (Content Delivery Application)

* CMA (Content Management Application)
CMA (Content Management Application) เป็นโปรแกรมในส่วนของการจัดการเนื้อหาทั้งหมด ซึ่งโดยปกติจะเป็นโปรแกรมแบบ Web Base Interface โดยในส่วนของ CMA นี้จะยอมให้ผู้ดูแลเว็บไซต์ที่สร้างและแก้ไขเนื้อหา ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในการใช้งานภาษา HTML เพื่อจัดการกับเว็บไซต์เลย การทำงานผ่าน CMA จะทำได้ทั้งการสร้าง แก้ไข ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล โดย CMA จะนำเนื้อหานั้นๆ เข้าไปเก็บไว้ในฐานข้อมูลของระบบ

* CDA (Content Delivery Application)
CDA (Content Delivery Application) เป็นส่วนประกอบที่มีความสำคัญ ซ้ำยังทำงานได้อย่างชาญฉลาด CDA จะทำหน้าที่นำเนื้อหาจากฐานข้อมูลมาแสดงทางเว็บไซต์ โดยมีการควบคุมและจัดการเนื้อหาบนเว็บไซต์ให้มีความทันสมัยอยู่ตลอดเวลา ดูแลจัดการรูปแบบของเอกสาร, การเลือกเทมเพลต, การจัดกลุ่มเนื้อหาสำหรับอินทราเน็ต/ เอ็กซ์ทราเน็ต/ อินเทอร์เน็ต, การกำหนดวันหมดอายุของเนื้อหา หรือแม้แต่การเปลี่ยนรูปแบบเอกสารให้อยู่ในรูปของสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น โบชัวร์ หรือ แคตาล็อก

CMS เป็นระบบที่ออกแบบให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยผ่านเวิร์กโฟลว์ ซึ่งการทำงานแบบเวิร์กโฟลว์จะพบเห็นได้ในระบบในระดับไฮเอนด์ทั่วไป เพราะมีประสิทธิภาพสูง และช่วยให้ข้อมูลมีความถูกต้องเสมอ โดยขั้นตอนในการปรับปรุง แก้ไข หรือสร้างเนื้อหาขึ้นมาใหม่ อาจมีเวิร์กโฟลว์ดังนี้

1. ผู้บริหารระดับสูงเห็นชอบให้มีการสร้างเนื้อหาขึ้นมาใหม่
2. ผู้พัฒนาหรือกลุ่มผู้พัฒนาสร้างเทมเพลต และโฟลเดอร์เพื่อรองรับ
3. ตรวจสอบความถูกต้อง
4. กระจายงานสู่กลุ่มพนักงาน
5. กลุ่มพนักงานสร้างเนื้อหาใหม่ หรือแก้ไขเนื้อหา
6. ผู้ดูแลเว็บไซต์อนุมัติ
7. รวบรวมข้อมูลนำขึ้นเว็บไซต์ได้ โดยงานในแต่ละส่วนของเวิร์กโฟลว์สามารถส่งต่อไปยังส่วนใดๆ ของเวิร์กโฟลว์ก็ได้

Content Management System ที่มีความฉลาดมากๆ จะยอมให้ผู้ดูแลสามารถปรับแต่งเวิร์กโฟลว์ของระบบได้ เพียงแค่ใช้เมาส์ลากแล้ววาง เพื่อปรับแต่งไดอะแกรมของเวิร์กโฟลว์ หรือกำหนดขั้นตอนของเวิร์กโฟลว์กับยูสเซอร์แต่ละรายได้ด้วย เช่น กลุ่มของผู้บริหารระดับสูงสามารถแจ้งข่าวกับพนักงานผ่านทางเว็บไซต์ของระบบอินทราเน็ตในองค์กรได้ทันที หรือการเพิ่มเติมข่าวสาร เนื้อหาจากยูสเซอร์บางราย ต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ดูแลระบบ หรือฝ่ายกฏหมายขององค์กรก่อนนำข่าวสารนั้นเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ (ในกรณีที่เป็นอินเทอร์เน็ต)

Content Management System ทำงานอย่างไร :

CMS ช่วยแบ่งโครงสร้างในการจัดการกับเนื้อหาบนเว็บไซต์ โดยแยกส่วนเนื้อหา ออกจากวิธีการแสดงผล ทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องแยกกันทำงานได้
การออกแบบเทมเพลต

ผู้ออกแบบจะเพียงสร้างเทมเพลตขึ้นมา เพื่อให้รูปแบบการแสดงผลของเว็บไซต์สอดคล้องกัน เมื่อต้องการเปลี่ยนแบบก็เพียงสร้างเทมเพลตใหม่ เพจใดที่ใช้เทมเพลตนี้ก็จะเปลี่ยนการแสดงผลตามด้วย นอกจากนี้ผู้ออกแบบยังสามารถออกแบบเทมเพลตสำหรับอุปกรณ์ต่างแพลตฟอร์ม เช่น เครื่องพีซี, พีดีเอ, โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น

การจัดทำเนื้อหา
ผู้ที่ทำหน้าที่แต่งเนื้อหา จะทำงานผ่านฟอร์มที่เป็นเว็บเบส ในการสร้างเนื้อหาใหม่ๆ หรืออิมพอร์ตไฟล์เอกสารเข้าสู่ระบบ โดยการกรอกข้อมูลลงในฟิลด์ต่างๆ ของแบบฟอร์ม เพื่อให้รายละเอียดว่าเนื้อหานี้เกี่ยวข้องกับอะไร เพื่อระบบจะได้นำไปจัดการต่อได้ถูก

เวิร์กโฟลว์
ระบบส่วนใหญ่จะให้คุณสามารถออกแบบลำดับขั้นในการทำงานหรือเวิร์กโฟลว์สำหรับส่วนประกอบต่างๆ ของเว็บไซต์ เช่น เนื้อหาจากแผนกต่างๆ จะต้องผ่านการตรวจสอบและอนุมัติจากใครบ้าง

ฐานข้อมูล
ส่วนประกอบต่างๆ ของเว็บไซต์จะถูกเก็บไว้ในฐานข้อมูล และมีแนวโน้มที่จะใช้ XML เพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทั่วถึงมากขึ้น

Personalization
ระบบ CMS อาจมีเครื่องมือประเภท Personalization มาให้ด้วย ทำให้สามารถสร้างเพจที่เหมาะสมกับลักษณะความสนใจของผู้ชมแต่ละคน

เอาขึ้นเว็บ
เนื้อหาเดียวกันสามารถจะปรากฏบนเพจต่างๆ ในเว็บไซต์ได้มากกว่าหนึ่งเพจ หรืออาจไปปรากฏในเว็บไซต์อื่นๆ ที่เป็นพันธมิตรกัน หรือปรากฏบนอุปกรณ์ แพลตฟอร์มอื่นๆ เช่น พีดีเอ

อ่านต่อทั้งหมด www.arip.co.th


Create Date : 08 พฤษภาคม 2551
Last Update : 8 พฤษภาคม 2551 22:55:23 น. 1 comments
Counter : 939 Pageviews.

 
Thank u


โดย: yut IP: 125.25.181.96 วันที่: 15 สิงหาคม 2551 เวลา:2:11:55 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.