Group Blog
 
 
ตุลาคม 2552
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
2 ตุลาคม 2552
 
All Blogs
 

การวิเคราะห์การเมือง

การวิเคราะห์การเมือง


วิวัฒนการของการวิเคราะห์การเมือง เมื่อพิจารณาในเชิงประวัติศาสตร์ แบ่งออกเป็น 4 สมัย กว้างๆ คือ
1. ยุคคลาสสิก Classic Period
ยุคนครรัฐกรีก ถึง ยุคกลางของยุโรป
2. ยุคสมัยใหม่ Modernize Period
ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15-20
3. ยุคพฤติกรรมศาสตร์ Behavioral Period
ต้นศริสต์ศตวรรษที่ 20 ถึง หลังสงครามโลกครั้งที่ 2
4. ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์ Post Behavioralism
ราวๆปี คศ.1975 เป็นต้นมา

ลักษณะสำคัญของการวิเคราะห์การเมือง
คือ การทำความเข้าใจ การแสวงหาความรู้ หรือองค์ความรู้ ในประเด็นทางการเมือง หรือปรากฏการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้น
- การเลือกวิเคราะห์
- วิธีการในการวิเคราะห์
- ยุทธวิธีในการวิเคราะห์
- ข้อโต้แย้งในการวิเคราะห์
- มิติของการวิเคราะห์
- จารีตปฏิบัติในการวิเคราะห์
- กระบวนการในการวิเคราะห์
- ขอบเขตของการวิเคราะห์
- เทคนิดของการวิเคราะห์
- จริยธรรมในการวิเคราะห์

1. การวิเคราะห์การเมืองแนวคลาสสิก Classical Analysis

มีมาตั้งแต่นครรัฐกรีกโบราณ ซึ่งเป็นปรัชญาการเมืองในยุคนั้น โดยเฉพาะงานเขียนเรื่อง "รัฐในอุดมคติ" ของ เพลโต และเรื่อง "การเมือง" ของ อริสโตเติล วึ่งเน้นเรื่อง จริยธรรม จนมาถึงอาณาจักรโรมัน เน้นเรื่อง "กฏหมาย"
ต่อมาคริสตจักรรุ่งเรืองในยุคกลางของยุโรป การวิเคราะห์การเมืองก็จะมีลักษณะ สัมพันธ์กับความเชื่อทางศาสนา หรือ ความสัมพันธ์กับรัฐของพระผู้เป็นเจ้า
หลักสำคัญของการวิเคราะห์การเมืองยุคคลาสสิก
1.พิจารณาในสิ่งที่ควรจะเป็น ไม่ใช่สิ่งที่เป็นจริง เป้นการวิเคราะห์เชิงอุดมคติ มากกว่าความเป็นจริง
2.เป็นการแสวงหาปทัสถาน และค่านิยมทางการเมือง ซึ่งขึ้นอยู่กับความสนใจของนักปรัชญาการเมือง หรือผู้วิเคราะห์การเมืองแต่ละคนในแต่ละยุคสมัย
3.เน้นความสนใจอยู่บนพื้นฐานค่านิยม มากกว่าความเป็นจริงทั่วไปของพื้นฐานเชิงประจักษ์ เพื่อใช้เป็นระเบียบแบบแผนในการสร้างทฤษฎี
4.มักเกิดคำถามว่า "ทำไม" ซึ่งก็คือ
การแสวงหาคุณลักษณะที่ดี และพึงปรารถนาตามพื้นฐานค่านิยมของนักปรัชญา หรือผู้วิเคราะห์ โดยยึดพิ้นฐานจากข้ออ้างอิงทั่วไป มาใช้เป็นวิธีวิเคราะห์ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
"การวิเคราะห์เชิงปรัชญา/วิเคราะห์เชิงปทัสถาน และเชิงนิรนัย"

2. การวิเคราะห์การเมืองสมัยใหม่ Modernism


เกิดขึ้นในยุโรป ราวคศ.16-17 เป็นการวิเคราะห์การเมืองเชิงปรัชญาสมัยใหม่ เพราะมีแนวทางและวิธีการหลายอย่างคล้ายตลึง หรือเป็นแบบเดียวกันกับการวิเคราะห์การเมืองแนวคลาสสิก
เริ่มจาก
- งานเขียนของ มาเคียเวลลี่ เป็นการวิเคราะห์เกี่ยวกับรัฐ
- ณอง โบแดง คนแรกที่ริเริ่มใช้คำว่า " อำนาจอธิปไตย "
เน้น การวิเคราะห์ในสิ่งที่เป็นจริงทางการเมือง วิเคราะห์กระบวนการทางการเมือง รวมทั้งวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์ และเรื่องของ " อำนาจ "
หลักและวิธีในการวิเคราะห์
1.วิเคราะห์เกี่ยวกับ รัฐ และ อำนาจ เน้นในทางปฏิบัติมากขึ้นในลักษณะของรัฐสมัยใหม่ ที่ควรจะเป็น
2.แยกเรื่อง จริยธรรม และ ศาสนา ออกจากการเมือง เน้นวิเคราะห์เรื่องอำนาจของผู้ปกครอง และรัฐ
3.สนใจในสิ่งที่เป็นจริงมากขึ้น คือวิเคราะห์การเมืองในโลกความเป็นจริง

3. การวิเคราะห์การเมืองแนวพฤติกรรมศาสตร์ Behavioral Analysis


เรียกอีกอย่างว่า " สำนักพฤติกรรมนิยม " เริ่มพัฒนาราว คศ.19 แนวทางการศึกษาตามหลักความชัดเจนนิยม ของ ออกัส อองท์ ปราชญ์ ชาวฝรั่งเศส ซึ่งประยุกต์ใช้วิธีการของศาสตร์ธรรมชาติ มาศึกษาเรื่องทางสังคม โดยวิเคราะห์จากการสังเกตตามหลักวิทยาศาสตร์
ในทางรัฐศาสตร์
คือนำเอาวิธีการทางวิทยาศาตร์มาศึกษาและวิเคราะห์การเมือง รวมทั้งพัฒนาองค์ความรู้เดิมของศาสตร์การเมือง
หลักสำคัญในการวิเคราะห์
1.วิเคราะห์เฉพาะพฤติกรรมที่เป็นจริงของผู้กระทำการทางการเมืองที่เป็น ปัจเจกบุคคล สถาบัน กลุ่ม
2.วิเคราะห์สิ่งที่เป็น ข้อเท็จจริง หรือ สิ่งที่เกิดขึ้นจริง
3.วิธีวิเคราะห์เป็นลักษณะทางวิทยาศาสตร์ ใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ และวัตถุวิสัย โดยปราศจากค่านิยมใดๆ
4.การรวบรวมข้อมูล และประมวลผล ใช้วิการทางสถิติ คณิตศาสตร์ และเชิงปริมาณ
5.ใช้การสังเกตการณ์เชิงวิทยาศาสตร์ ในการตรวสอบ รวบรวมข้อมูล

4. การวิเคราะห์การเมืองแนวหลังพฤติกรรมศาสตร์ Post-Behavioralism


เริ่มราวปี คศ. 1967 นักวิเคราะห์การเมืองจำนวนมาก วิเคราะห์ว่า
" แนวคิดพฤติกรรมนิยมศาสตร์ไม่สามารถพัฒนาการวิเคราะห์การเมืองให้เป็นวิทยาศาสตร์ได้โดยปราศจากค่านิยม "
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
1.รวมเอาวิธีการเชิงปทัสถาน และเชิงประจักษ์ เข้ามาสัมพันธ์กัน แต่ก็ยังมีการใช้ค่านิยมของผู้วิเคราะห์ และการประเมินข้อมูลที่เป็นจริง
2.ใช้ทั้งข้อมูลเชิงคุณภาพ ( นักจารีตนิยม )
และข้อมูลเชิงปริมาณ ( นักพฤติกรรมนิยม )
3.ใช้การวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์ เชิงสถาบัน รวมทั้งวิเคราะห์ มติมหาชน มาวิเคราะห์การเมือง

บรรณานุกรม


ดร.เสนีย์ คำสุข (2551) " การวิเคราะห์การเมืองและระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐศาสตร์ " ในประมวลสาระชุดวิชา 80702 หน่วยที่ 2 หน้าที่ 48-69 นนทบุรี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขารัฐศาสตร์





 

Create Date : 02 ตุลาคม 2552
2 comments
Last Update : 4 ตุลาคม 2552 14:26:25 น.
Counter : 3069 Pageviews.

 

ไพพ

 

โดย: ไพ IP: 202.29.22.242 5 กรกฎาคม 2553 10:53:43 น.  

 

วิเคราะห์ได้ดีนะเกือบจะละเอียดแล้ว

 

โดย: ชื่อไม่สำคัญ IP: 202.29.22.240 5 กรกฎาคม 2553 10:55:12 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


pitasanu
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Education is life long learning
การศึกษา เรียนรู้ได้ตลอดชีวิต
Friends' blogs
[Add pitasanu's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.