คู่มือ Happy Tax ประหยัดภาษีอย่างมีสุข

ตอนที่ 1 ทำความรู้จัก “ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา”

     

        “ต้องมีเงินได้เท่าไรจึงจะเสียภาษี” หรือ “ต้องเสียภาษีเท่าไร คำนวนอย่างไร” มักเป็นคำถามที่พบเสมอสำหรับวัยเริ่มต้นทำงาน ขณะเดียวกัน หลายท่านอาจมีคำถามคาใจว่า “การขอคืนภาษีอย่างไร” หรือ “มีเงินได้ที่มิใช่เงินเดือน ต้องเสีภาษีอย่างไร ลดหย่อนอะไรได้บ้าง” เมื่อเราทุกคนที่มีเงินได้ต้องใช้ชีวิตร่วมกับภาษี จึงจำเป็นอย่างยิ่งในการทำความเข้าใจ ทั้งในส่วนของหลักการเบื้องต้นไปจนถึงกลยุทธ์ในการวางแผนภาษีสำหรับอาชีพต่างๆ เพื่อให้สามารถบริหารจัดการภาษีสำหรับบอาชีพต่างๆเพื่อให้สามารถบริหารจัดการภาษีที่เกิดขึ้นเป็นค่าใช้จ่ายประจำทุกปีได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

   

       “ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา” จึงเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ควรให้ความสำคัญอย่างมากเรียกได้ว่า เป็นหนึ่งในหน้าที่ความรับผิดชอบสำหรับประชาชนผู้มีเงินได้ทุกคน แต่ด้วยข้อความต่างๆ ที่อ้างดิงตามตัวบทกฏหมาย พร้อมรายละเอียดปลีกย่อยมากมาย จึงไม่น่าแปลกใจที่หลายคนมักรู้สึกว่า การพูดคุยเรื่องภาษี เหมือนเป็นการคุยต่างภาษา มาเริ่มลองทำความรู้จักกับภาษีกันด้วยคำถามแรก คือ “ใครบ้างที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา” คำตอบตามนิยามแล้วหมายถึง ผู้มีเงินได้ที่เกิดขึ้นในระหว่างปีที่ผ่านมา โดยมีสถานะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้

1.   บุคคลธรรมดา

2. ห้างหุ้นส่วนสามัญ/คณะบุคคล

3.  ผู้ถึงแก่ความตาย

4.  กองมรดก

        

          จะเห็นว่า ไม่เพียงแต่บุคคลธรรมดาที่เข้าข่ายเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ แต่ยังหมายรวมไปถึงห้างหุ้นส่วนสามัญ/คณะบุคคล ผู้ถึงแก่ความตาย และกองมรดกอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เข้าข่ายเป็นผู้มีเงินได้นี้จะมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ก็ต่อเมื่อมีเงินได้ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำตามที่กฏหมายกำหนด ดังนี้

 

1.  บุคคลธรรมดา หากเป็นมนุษย์เงินเดือนที่มีรายได้ประจำเป็นเงินเดือน ค่าจ้าง (ตามมาตรา 40(1)) และยังไม่มีคู่สมรส ต้องมีเงินได้มากกว่า 50,000 บาท แต่ถ้ามีคู่สมรสแล้ว ต้องมีเงินนได้รวมกันมากกว่า 100,000 บาทขึ้นไป สำหรับผู้ประกอบกิจการส่วนตัวหรือมีเงินได้ประเภทอื่นที่ไม่ใช่เกิดจากการจ้างแรงงาน หากยังไม่มีคู่สมรส ต้องมีเงินได้มากกว่า 30,000 บาท แต่ถ้ามีคู่สมรสแล้วต้องมีเงินได้รวมกันมากกว่า 60,000 บาทขึ้นไป

 

2. ห้างหุ้นส่วนสามัญ/คณะบุคคล ที่มิใช่นิติบุคคล มีหน้าที่ต้องยื่นแบบฯ หากมีเงินได้มากกว่า 30,000 บาทขึ้นไป ทั้งห้างหุ้นส่วนสามัญและคณะบุคคลนี้ นับเป็นหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษตามกฏหมายกำหนด จัดตั้งโดยบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงกันเข้าเพื่อกระทำกิจการร่วมกัน แต่ต่างกันตรงที่ห้างหุ้นสวนสามัญนั้นมีวัตถุประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แก่กิจการที่ทำนั้น ส่วนคณะบุคคลไม่มีวัตถุประสงค์จะแบ่งปันกำไรที่ได้จากกิจการที่ทำนั้น นอกจากนี้ ยังมีสิทธิในการคำนวนหักค่าใช้จ่ายสำหรับเงินได้เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา สำหรับการหักค่าลดหย่อน คณะบุคคลสามรถหักค่าลดหย่อนตามจำนวนบุคคลในคณะบุคคล ซึ่งต้องเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย โดยหักคนละ 30,000 บาท แต่รวมกันไม่เกิน 60,000 บาท แต่ไม่สามารถหักค่าลดหย่อนประเภทอื่นที่บุคคลธรรมดามีสิทธิได้ อย่างเช่น การหักลดหย่อยคู่สมรส การหักลดหย่อนบุตร หรือค่าเบี้ยประกันชีวิต เป็นต้น

 

3.  ผู้ถึงแก่ความตาย แม้จะเสียชีวิตไปแล้ว ตามกฏหมายให้ถือว่า ยังเป็นผู้มีภาระหน้าที่ที่ต้องเสียภาษีเงินได้อยู่ อย่างไรก็ตาม หน้าที่เสียภาษีนี้มีเฉพาะในปีที่ถึงแก่ความตายเพียงปีเดียวเท่านั้น โดยทายาทหรือผู้จัดการมรดกหรือผู้ครอบครองทรัพย์มรดกเป็นผู้มีหน้าที่ยื่นแบบฯ

 

4.  กองมรดก เมื่อผู้มีเงินได้เสียชีวิตไปแล้ว มีกองมรดกของที่ยังไม่แบ่งและมีเงินได้ทั้งปีมากกว่า 30,000 บาทขึ้นไป ในปีภาษีถัดจากการเสียชีวิต ทายาทหรือผู้จัดการมรดกมีหน้าที่ยื่นแบบฯ ในนามกองมรดกของผู้เสียชีวิต โดยทั่วไป การยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทำปีละ 1 ครั้ง ผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องยื่นแบบฯ เพื่อเสียภาษีภายในเดือนมกราคมถึงมีนาคมของปีถัดไป

         อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้มีเงินได้บางประเภท เช่น การให้เช่าทรัพย์สิน เงินได้จากวิชาชีพอิสระ เงินได้จากการรับเหมา หรือเงินได้จากธุรกิจการพาณิชย์ เป็นต้น กฏหมายกำหนดให้ยื่นแบบฯ เพื่อเสียภาษีตอนครี่งปีสำหรับรายได้ที่เกิดขึ้นใรช่วงครึ่งปีแรก ภายในเดือนกันยายนของปีนั้นก่อนการยื่นภาษีประจำปีตามปกติ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีที่ต้องชำระ แทนที่จะชำระทั้งหมดในคราวเดียว




Create Date : 26 กันยายน 2555
Last Update : 26 กันยายน 2555 0:38:19 น.
Counter : 1778 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ไส้เดือนดิน
Location :
กรุงเทพ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



Group Blog
กันยายน 2555

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
27
28
29
30