มิถุนายน 2561

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
🍉 วิธีเขียน ผลงาน-ชำนาญการ ยังไง ให้ชนะใจกรรมการ
❀- -❀- -❀- -❀- -❀- -- -- -
How to เขียนผลงาน (เลื่อนขั้น) ยังไงให้ชนะใจกรรมการ
(แพทค่อยๆเขียน และอัพเดทไปเรื่อยๆ ตามประสบการณ์ที่เจอจริงๆ) by ช่อเพชร ขาวเมืองน้อย 

423  เมื่อ...ถึงเวลาที่ต้องส่งผลงาน
แต่ยังไม่มีไอเดียไปเขียนงานเลย
พอดีไปฟังรุ่นพี่แนะนำมา เลยเก็บข้อมูลมาเขียนมาเล่าต่อ
เผื่อใช้ประโยชน์กันได้ตามนี้เลยจ้า
เด่วค่อยๆ พิมพ์บรรยายให้นะคะ
20 #
วิธีการเขียนผลงาน
เพื่อขอรับการประเมิน เพื่อเลื่อนขึ้นแต่งตั้ง
ให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น (ระดับชำนาญการ)

23 เมื่ออยู่ในสายงานราชการ
มาครบ 4 ปี (สำหรับ ป.โท) / 6 ปี (สำหรับ ป.ตรี)
ก็จะถึงเวลาที่ต้องส่งผลงานกันแล้ว
เพื่อเลื่อนขั้น เลื่อนยศ เลื่อนตำแหน่ง
จึงเป็นที่มาให้ต้องเขียน "
ผลงานทางวิชาการ"
เพื่อสะท้อนว่า เรามีองค์ความรู้และประสบการณ์อะไรบ้าง
ที่ได้เคยสั่งสมมา ได้ทำมากน้อยขนาดไหน

9 อันนี้ ไปได้ความรู้และ
เทคนิคการเขียนมาจาก (พี่โอ๋ กจ.) ณัฐผลิน อ่ำโต
ขออนุญาต ใส่ชื่อเต็ม
เพื่อเป็นเกียรติ และให้เครดิตแก่นาง
แต่ก่อน นางอยู่ กจ.
(กองการเจ้าหน้าที่ คือ HR นั่นแหล่ะ)
คลุกคลีกับวงการนี้มานาน
แต่ตอนนี้ นางไปอยู่ ภาค 7 แล้ว

แต่นางดีมาก ตามมาอ่านงานของน้องๆ
ให้คำแนะนำที่ดี ใส่ใจทุกรายละเอียด
จึงเป็นที่มาว่า ทำไมเราถึง เชื่อใจพี่เค้า
และเอาข้อมูล ประสบการณ์ของแพทเอง
รวมกับ คำแนะนำของ พี่โอ๋ กจ.
แนวทางของท่านนิยม และกรรมการสุดน่ารักอย่างป๋าสุคิด
มาผนวกรวมไว้ในบล็อกนี้
การเขียนผลงานให้ออกมาชนะใจกรรมนั้น
มันก็ไม่ได้เขียนง่ายอย่างที่เราๆเข้าใจกัน
(ของแพทแก้มาน่าจะ 30 ครั้ง)

การได้เรียนรู้จากประสบการณ์ จากรุ่นพี่ ผชช และกรรมการ 
ผู้ที่ดู/อ่านงานมานับไม่ถ้วน เลยรู้ว่าควรเขียนอย่างไรดี
ให้ผลงานเราผ่านและเข้าตากรรมการ
เนื้อหาดี มีความสอดคล้อง ตรงจุด ตรงประเด็น
แพทเลยขอถือโอกาสนี้ กล่าวขอบคุณ
4ผชช.สุคิด ลั่นซ้าย
พี่โอ๋ ณัฐผลิน อ่ำโต หรือ (พี่โอ๋ กจ.)
ผอ.ทิพย์ พี่นวล พี่หมอ พี่พัต และรุ่นพี่ท่านอื่นๆที่ช่วยแนะนำ
เป็นอย่างสูงมา ณ ที่นี้
ขอให้ผลบุญที่พี่ๆได้สร้าง และช่วยเหลือน้อง
จงกลับไปหารุ่นพี่ล้านเท่า พันทวี ด้วยเถิอด สาธุ
11การเตรียมตัว เตรียมยังไงดีล่ะ เคว้งงงงงง
ช่าย หลายๆ คน ก็คงสับสนในชีวิต ว่าจะมีชีวิตต่อไปได้ยังไงดี
ท่ามกลางพายุที่โหมกระหน่ำ เข้ามาในชีวิต (ขนาดนั้นเลย)
งานในหน้าตักตัวเองก็มีเยอะแล้ว งานราช งานหลวง
งานบุญ งานแต่ง สาระพัด ยังต้องมาเจองานเขียนวิชาการอี๊ก
ไม่ชอบงานเขียนเลย เขียนไม่เป็น ทำไงดี 
(อันนี้เราเข้าใจดี - ดีมากเลยแหล่ะ) ทำใจค่ะ
แต่ก็ต้องผ่านมันไปให้ได้ จะเอาเงินเพิ่มมั้ยยยยถามใจตัวดู555

ตัวแพทไม่มีใครแนะนำ ไม่มี Guide Book ไม่มีอะไรเลย
ก็เลยเข้าใจคนอื่นๆ ถึงความกังวลนี้
ก็ดิ้นรนหาข้อมูลเอง ถามคนนู้น คนนี้แล้วจดๆไว้
จึงเป็นที่มาของการเขียนบล็อกนี้ขึ้นมา


ขั้นแรก ใจเย็นๆ เตรียมใจ เตรียมกาย
เมื่อมีหนังสือจาก กจ. ส่งมา ให้คุณส่งผลงาน
เราก็ร่างชื่อ หัวข้อผลงาน ที่เราเคยสร้างสมไว้ในอดีต
ลองนั่นลิสต์รายการมาสิ๊ว่า เราเคยทำงานอะไรไปบ้าง
ค่อยๆ จดๆออกมาก่อน
(เหมือนการทำบุญแหล่ะ ทำไรได้อย่างงั้น ทำมากเขียนได้มาก)

เพราะฉะนั้น ถ้ายังมีเวลาก็จงใช้ 4 ปี ก่อนหน้าที่จะประเมินให้ดีๆ
คุยกับหัวหน้าว่าจะมอบหมายงานอะไรให้เรา "อย่างเป็นทางการ"
กจ. ก็จะให้เราใส่ชื่อผลงานส่งไปให้กรรมการพิจารณาก่อน
เราก็เลือกๆ และไปคุยกับหัวน้าว่า ชื่อนี้โอเคมั้ยแล้วค่อยส่งไป

เมื่อ กจ. บอกว่า ชื่อโครงร่างผลงานคุณผ่านแล้วนะ
กจ.ก็จะให้เวลาทำรายงานนี้ ถึง 4 เดือนเชียว
โดยจะให้ส่งผ่าน ทุกต้นเดือน ให้โอกาสส่งได้ 4 ครั้ง ต่อเดือน
เมื่อเราทำโครงร่างเสร็จ เราก็ส่งให้ ผอ.ส่วน ผอ.กอง จนไปถึง กจ.ในท้ายสุด


ขั้นต่อมา ของออฟฟิศเราดีอย่าง คือ มี Advisor Service
ท่านจะได้รับมอบหมายให้มาช่วยดูผลงานของเรา
บางคนเขียนหลุดโลก ออกนอกกรอบไปเยอะ
ท่านผู้เชี่ยวชาญและผู้ชำนาญการเหล่านี้ก็จะมา
ช่วยทำให้ผลงานเราอยู่กะร่องกะรอย คอยแนะนำ ชี้แนะ (เหมือนอาจารย์ที่ปรึกษา)
ตั้งแต่ วิธีคิด วิธีตั้งชื่อผลงานอย่างไรให้น่าสนใจและดูเป็นจริง
จนกระทั้ง งานโอเค และสามารถส่งผลงานให้กรรมการพิจารณาได้ค่ะ

การเตรียมตัวก่อนไปพบ Advisor
คิดย้อนไปถึงตอนสมัยเรียน.. ก่อนที่จะเข้าไปพบอาจารย์ที่คณะ
เราก็ต้องทำการบ้าน ศึกษางาน/โครงการ/ผลงาน เราก่อน
เพื่อที่เวลาไปพบท่าน จะได้มีเรื่องคุยกันในเชิงวิชาการ
ไม่ใช่เดินไปตัวเปล่าเล่าเปื่อยนะจ๊ะ


การนำเสนอผลงานแพทจะถูกเขียนออกมาเป็น Mind Map
ก็ถือเขียนติดมือไปด้วย นำเสนอผลงานเรา
เป็นการซ้อมการนำเสนอผลงานเราด้วย อ้อ จดๆด้วยนะว่า
วันนี้เรากะแอ๊ดไว้เซ้อคุยกันเรื่อยอะไรกันบ้าง
จดด้วยว่าเขาให้แก้ตรงไหน (เป็นหลักฐาน)
ที่แพทบอกแก้กันมา 30 ครั้ง ก็ตรงนี้นี่แหล่ะ
แพทเริ่มเขียนผลงานเร็วด้วย เตรียมตัวดีๆ
เริ่มวางแผนการเขียนงานก่อนที่ กจ. จะแจ้งหลายปี

ตอนแรกแพทดูส่วนงาน [รง.] ป้องกันในกลุ่มแรงงาน 2 ปี
แล้วดันโดนย้ายงาน มาดูงาน [ทล.] พัฒนาทางเลือก
แบบงงๆ เลยสับสนว่าจะเขียนงานยังไงดี
(ถ้าเปลี่ยนสายงาน/ตำแหน่ง ก็ต้องเขียนเกื้อกูล)

ดังนั้น งานที่แพทเขียนก็จะมาเน้นที่งานพัฒนาทางเลือก
เพราะกฎเขาบอกว่าต้องเสนอผลงานในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา 
เราต้องเกาะงานให้แน่นจดทุกงาน คุยกับรุ่นพี่ว่า
เราจะทำแนวนี้ดีมั้ย มีขั้นตอนยังไงบ้าง ใช้เวลาเท่าไหร่
จดให้หมด ต้องขยันจดหน่อย


สิ่งที่ต้องเตรียมถือติดตัวไปด้วยระหว่างการไปพบ Advisor
(ละเอียดไปไหมนี่ แต่มันดีต่อใจ 555 เราเข้าพบ ผชช ทีก็ 2-3 ชั่วโมงอัพ ถ้าเราป่วยก็เตรียมตัวดีๆ)
1. กระดาษเปล่า กระดาษ Reuse ก็ได้ เอาไปสัก 5-6 แผ่น
ของแพทเองชื่นชอบการจดแบบ Mind Map มากกก เพลินดี และไม่หลับด้วยเวลาฟัง ตัว แอ็ด/Advisor เองก็มีกำลังใจที่จะอธิบาย
เห็นถึงความตั้งใจจริงของเรา เขาจะเห็นว่าในสมองเรากำลังคิดอะไร
เข้าใจถูกไหม เข้าใจตรงกันรึเปล่า

https://www.youtube.com/watch?v=X7j_Gb5fah8&t=407s
👆🏼 เป็นYoutube วิธีการเขียน Mind Map ค่ะ

2. ปากกาสีๆ Hight Light สีอะไรก็ขนไปด้วย
สีสันช่วยให้เราไม่ง่วง/ไม่เบลอมาก สมองของเรา
สามารถรับข้อมูลได้ประมาณ 50 นาที
หลังจากนั้นก็จะเบลอๆ งงๆ ชีวิตเหมือนหลงทางกลางป่า

สี ก็พอจะช่วยเป็นเครื่องนำทาง ให้เราหลุดพ้นออกมาได้
เพราะการไปพบ Advisor ครั้งนึ่งนั้น
ใช้เวลาเกือบ 6-7 ชั่วโมงเลยล่ะน้า เตรียมตัวดีๆ อ่ะ
สิ่งต่อไปที่ควรพกไปด้วย คือ

3. กระติกน้ำ ลูกอม ขนมห่อเล็กๆ หรือถือติดมือ
ไปเผื่อ Advisor ด้วยก็ได้นะ เขาจะได้มีพลังงานมาพูดมาสอนเรา
สมองต้องการน้ำค่ะ ถ้าเหนื่อยๆแล้วจิบน้ำเปล่า
ก็ช่วยให้สมองสดชื่นขึ้น เซลล์สมองจะได้ไม่เหี่ยวแห้งสะก่อน
อ่อ พกยาดมได้ด้วยก็ดีค่ะ ไว้ดึงสติให้กลับมาค่ะ

4. กระดาษทิชชู เผื่อร้อนรนทนไม่ไหว น้ำมูกน้ำตาไหล ฟูมฟาย
แอร๊ย ถ้าคิดว่าแข็งแรงพอก็ไม่ต้องพกไปก็ได้ แห่ะๆ
นั่งคุยกันนานๆ มันก็เกิดอาการเหมือนกัน ไอ/จามบ้าง
น้ำลายไหลยืด น้ำลายฟูมปาก 555 อันนี้พูดจริงๆนะ

5. เครื่องอัดเสียง และถ่านสำรอง แต่ต้องถามท่านก่อนนะว่า
สามารถอัดเสียงได้ไหม เพราะแต่ละท่านก็มี style
การทำงานที่ไม่เหมือนกันค่ะ การอัดเสียง ก็เป็นการช่วยเตือน/Remind ความจำในครั้งที่เราได้คุยกันได้
ไว้เก็บตกประเด็นให้ครอบคลุม เพราะท่านก็พูดแล้ว แนะนำแล้ว
ถ้าไม่เอามาปรับใช้ เพราะช่วงนั้น สติหลุดไปก็ไม่โอเคชิมิล่ะ

เครื่องอัดเสียง พกติดตัว เอาไปเปิดฟังตอนออกกำลังกาย
ต่อทำกับข้าว ตอนเล่นแมวก็ได้ เปิดฟังหลายๆรอบ
จะได้ซึมเข้าสมอง อันนี้ยกเครดิตให้
พี่หนูดี อัจฉริยะ สร้างได้ เทคนิคของพี่เค้าดีมากเลย ติดตามพี่หนูดีได้นะคะ
มีเทคนิคการเรียนดีเพียบเลยค่ะ ตามเว็บข้างล่างนี้เลย

เทคนิค วิธีจำ www.youtube.com/watch?v=6TrQjWozFQk
เทคนิค ไม่วอกแวก www.youtube.com/watch?v=jSeb3rZNXoI&t=28s

6. อย่าลืมการนัดหมายครั้งต่อไป นัดหมายกันให้ดีๆ
เพราะเวลาเป็นของหายากมาก แล้วไปให้ตรงเวลาด้วย
แนะนำว่าก่อนการพบ Advisor ควรส่งงานที่เป็น Paper
ให้ท่านดูก่อนล่วงหน้าที่จะพบกันใหม่ในคราวหน้า
ควรส่งล่วงหน้าสัก 1 อาทิตย์ให้ท่านมีเวลาได้ดู/ได้อ่านงานเรา ขอที่อยู่ท่านไว้ แพทเองอ่ะส่งเปเปอร์ทางไปรษณีย์ แนบพร้อ Mind map ที่แก้ไขแล้วตามคำแนะนำท่าน

เมื่อถึงวันนัดครั้งถัดไป จะได้อธิบายได้ถึงแก่นเลย ใจเขาใจเรา
ถ้าถืองานมาให้อ่านกันหน้างานสดๆเลย มันก็ต้องใช้เวลานาน
ต้องใช้จินตนาการที่จะเข้าถึงผลงานเรา เพราะ Advisor
ไม่ได้อ่านงานของเราแค่คนเดียว ถูกไหม เขาก็ต้องมโนไปเองก่อนว่า เราเขียนงานอะไรอยู่นะ มานั่งใจในเรา คิดแทนเรา

ดังนั้น การส่ง paper เราให้ท่านก่อน จึงเป็นสิ่งที่ช่วยให้
ท่านทำงานได้สะดวกขึ้น และไม่แนะนำให้ส่งเป็นไฟล์งานนะ
เพราะแน่นอนว่า Advisor ผู้ผ่านงานมาอย่างยาวนาน
คงไม่สะดวกมาเปิดอ่านในมือถือ แบบเด็กๆ แบบเรา
ส่ง Paper ดีสุด ท่านสามารถขีดเขียน หรือ
เพิ่มเติมประเด็นข้อมูลให้เราได้จ่ะ


หลังจากพบ แอ็ด / Advisor แล้ว
หลังจากพายุข้อมูลโหมกระหน่ำแล้ว ดึกๆ ก็มานั่งทบทวนก่อนนอน เอาเสียงที่อัดมาลอเปิดฟังดู
กลับบ้านอาบน้ำเย็นๆ เปิดแอร์ฉ่ำๆ นอนให้สบายใจ
9

เอกสารส่ง กจ. มีทั้งหมด 6 หัวข้อ
ซึ่งในเอกสารส่วนที่ 1-3 นั้น เราขอไม่กล่าวถึงนะ
เพราะจะเป็นเอกสารเกี่ยวกับ ตัวบุคคล ประสบการณ์การอบรม
การทำงาน เงิน และอีกจิปาถะเอกสารข้างล่าง เป็นเรื่องส่วนบุคคล

วันนี้แพทจะมาเริ่มที่...

284 เอกสารหมายเลข 4
ผลงานที่เป็นผลการดำเนินงานที่ผ่านมา 

PART 1 ใบนี้แพทเขียนมาตั้งกะ 11 มิ.ย. 2561
โดยท่านนิยมเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเขียนงานและเป็นกรรมการด้วย



Part 2

หลักในการเขียนก็จะอยู่ภายใต้ 10 หัวข้อ
ที่จะกล่าวมีดังต่อไปนี้

3 1. ชื่อผลงาน : V + OBJ.
หมายถึง ทำอะไรกับใคร (กิริยา +กรรม)
นั่นหล่ะวิธีการตั้งชื่อ ไม่ต้องตั้งชื่อที่ดูสวยงาม
เวอร์วังอลังการนักหรอก กรรมการเขาดูที่
ทำอะไร เพื่ออะไร แล้วได้ผลอะไร ให้ระบุให้ชัดเจนเลย
เช่น ประสาน/สนับสนุน/ติดตาม งาน.. งานอะไรก็ว่าไป

** ถ้าเราใช้คำโตๆ กว้างๆ มันมองไม่เห็นภาพ
ตย.เช่น "
ขับเคลื่อนงาน"... "อำนวยการ"...
นั่นมันสำหรับระดับ ผอ.ส่วน/ผอ.กองนู๊นนน
ที่จะสามารถขับเคลื่อนงานชิ้นใหญ่ๆ โตๆ ได้
เราเป็นปฏิบัติการ ก็ใช้
คำกิริยา ที่สื่อว่าเราทำอะไรไปเลย ตรงๆ

 
 271 1.1 ที่มา :
เป็นท่อนที่ให้ "
เขียนถึงปัญหาตัวเอง " ท่องไว้
ไม่ใช่ปัญหาขององค์กรนะ ปัญหาของชั้นเอง/ตัวเราเอง
ว่าทำไม ชั้นต้องมาเขียนรายงานตัวนี้
  163 ทำรายงานตัวนี้ขึ้นมาทำไม
เพราะมันเป็นยังไง ทำไมถึงทำเรื่องนี้
เช่น เพราะเจ้าหน้าที่ไม่มีความรู้เรื่อง.... จึงมีโปรเจค... เพื่อให้ จนท. มีความรู้อะไรทำนองนี้
  163 ทำแล้วใครได้อะไร ยังไง
เช่น ทำแล้วได้ออกมาเป็นคู่มือ
ทำแล้วประชาชนจะรู้ถึงขั้นตอนวิธีการทำะไรบ้าง
  163 เอาไปใช้ประโยชน์อะไรต่อได้ : จนท สามารถทำตามขั้นตอนได้
หน่วยงานใดเอาไปใช้ต่อยอดได้ : หน่วยงานภาคี เช่น กทม. สสส. สามารถเอาความรู้นี้ไปทำ...

การเขียนจะแบ่งเป็นท่อนๆ เป็นพารากราฟ
เหมือนแฮมเบอร์เกอร์
(วนเข้ามาเรื่องกินจนได้นะแพทตี้ 555)
ให้ทำเป็น
Hamburger Model
โดยจะเเบ่งเป็น 4 ย่อหน้า (เบอร์เกอร์ 4 ชั้น) คือ
   163 ย่อหน้าแรก : ให้กล่าวถึงภาพรวม ภูมิหลัง ความสำพันธ์ระหว่าง--งานเรา กับ ปัญหา--ที่มานั่นแหล่ะว่าทำไมเราต้องทำเรื่องนี้ (อดีต)
ให้เขียนให้ถึงจุดไคลแม๊กซ์ แก่นของงานวิชาการเล่มนี้
ยิงประเด็นให้ตรงๆ เช่น แพทตี้ออกงานวิชาการเล่มนี้
เพื่อสอนให้ จนท. ทอดไข่เป็น เพื่อแจกจ่ายให้กับประชาชนอย่างถูกสุขลักษณะ เป็นต้น
   163 ย่อหน้า 2 : ให้ชี้ประเด็นให้เห็นถึงสภาพปัญหา และ
การแก้ไขปัญหาในห้วงที่ผ่านมา (ปัจจุบัน/อดีตที่เพิ่งผ่านมา)
เช่น เดิมปัญหา คือ ทอดไข่ไม่สุกทั่วกัน ประชาชนกินไปแล้วท้องเสีย (สมมุตินะ) ทอดไงก็ไม่สุก
   163 ย่อหน้า 3 : ให้กล่าวถึง แนวทางในการแก้ไขปัญหา (อนาคต) ดังนั้นเราจึงมีแนวทางการทอดไข่ที่สุกทั่วถึง รวดเร็ว และประหยัด โดย การใช้ไฟแรงๆในช่วงแรก หลังจากนั้นเบาไฟ เป็นต้น
   163 ย่อหน้า 4 : บทบาทของผู้รับการประเมิน
ว่า เราได้ทำอะไรไป มีข้อมูลไหม (จะยกเมฆ แอบอ้างมา..ไม่ด้าย)
ว่าเราทำอย่างไรกับปัญหานี้ แก้ยังไง บอกเป็นขั้นตอน
นึก 5W1H ท่องให้ขึ้นใจ What Where When Why How Who ยกตัวอย่าง เช่น
114 เรา(ใคร)...ทำไร What... กับใคร Who...
อย่างไร How...บอกขั้นตอน...When เมื่อไหร่
เพื่ออะไร Why...บอกวัตถุประสงค์...
เช่น (สมมุตินะ น่าจะเห็นภาพ ไม่อยากเอาผลงานจริงมาแปะ เด่วกลายเป็นว่าสร้างกรอบให้น้องๆยึดติดจะคิดงานตัวเองไม่ออก)

114 ยกตัวอย่าง 
แพทตี้...ทำไร : ทอดไข่...
ให้ใคร : ชุมชนแออัดชาวบ้านเขตหลักสี่ ที่เดือดร้อนน้ำท่วม

อย่างไร (บอกขั้นตอน)
ขั้นที่ 1 แพทตี้ไปตีไก่ เพื่อแย่งไข่
ขั้นที่ 2 แพทตี้เอาไข่ไปล้างทำความสะอาด
ขั้นที่ 3 แพทตี้ตั้งกระทะใส่น้ำมัน
ขั้นที่ 4 แพทตี้ตอกไข่ลงไปในกระทะ. ช้ำฟแรงช่วงแรก แล้วรอให้สุก ตักใส่กล่องแจก ปชช

 
271 1.2 วัตถุประสงค์ :
- "
วปส." ต้องสอดคล้องกับ "ชื่อเรื่อง"
- ไม่ควรเกิน 2-3 วัตถุประสงค์ ยิ่งมาก วปส. ยิ่งสับสน
- วปส. ต้องชัดเจน ทำอะไร เพื่ออะไร

เพื่ออะไร (บอกวัตถุประสงค์) : แพทตี้สอนทอดไข่ให้เจ้าหน้าที่
เพื่อนำไปช่วยเหลือชาวบ้าน หากทอดผิดวิธี ทำให้ไข่ไม่สุก ชาวบ้านท้องเสีย ... อันนี้สมมุติให้เข้าใจง่ายๆนะ

 
32. ระยะเวลาดำเนินการ :
เริ่มต้นเดือนอะไร ปีอะไร - สิ้นสุดเดือนอะไร ปีอะไร
เริ่มต้น เดือนสิงหาคม 2561 - สิงหาคม 2562
การเขียนขอทำชำนาญการ ควรใช้เวลาในการทำผลงาน
เป็นระยะเวลา 1 ปี ถ้าเพิ่งจะมาเริ่มรับตำแหน่งใหม่
ทำงานในองค์กรนั้นๆ ไม่ถึงปี
มันก็ไม่น่าจะมีผลงานที่เห็นได้เป็นรูปธรรม
เขาถึงได้กำหนดให้ เด็กที่จบ ป.ตรี ต้องทำงานมาครบ 6 ปี
และ ป.โท 4 ปี คือ มีวุฒิภาวะพอที่จะเรียนรู้งาน

หลายคนมาถามแพทว่าควรเรียนต่อโท
เพื่อใช้ในการประกอบการพิจารณา Up วุฒิดีไหม
จะได้ทำ ชก.ไวๆ แค่ 4 ปีก็ได้ทำแล้ว
แพทว่าไม่ค่อยเห็นด้วยในจุดนี้นะ
อยากให้น้องๆเรียน ป.โท เพราะว่าอยากหาความรู้ในด้านนั้นจริงๆ
ถ้าเรียนเพื่ออัพวุฒิ มันไม่ค่อยจะคุ้มค่า และไม่ตรงจุดเท่าไหร่ อันนี้แล้วแต่นะ

ลองคำนวณค่าใช้จ่ายในการเรียนดูว่าคุ้มไหม
ไหนจะค่าศึกษาดูงาน ค่าเทอม ค่าเดินทาง
เพราะใช้เวลาเรียนก็ 2 ปีแล้ว ทำ ชก. ป.ตรีก็ 6 ปี
ถ้าเรียนเพราะอยากรู้ และสนับสนุนในหน้าที่การงานก็จัดไป
อันนี้ความคิดเห็นส่วนตัวนะแค่แนะนำตามประสบการณ์ที่เคยเจอมา
เข้าใจตรงกันล่ะน่ะ นอกเรื่องซะไกลเลย แห่ะๆ

 
33. ความรู้และแนวคิดทางวิชาการ :
Review Literature เหมือนทำ IS /วิทยานิพนธ์ ป.โทเลย
เป็นการหา "
แนวคิด" ที่เกี่ยวข้องที่เอามาใช้กับงานเรา
อันนี้ --
ห้ามลอกแนวคิดคนอื่นมานะ--
ให้ใช้คำที่เราคิดขึ้นมาเอง
อ่านแล้ว 160 "
สังเคราะห์"163 ขึ้นมาเอง ว่าใช้มิติใด ใช้ยังไง
ยก ตย.
หลักการในการบริหารงาน ก็คงหนีไม่พ้น
- ทฤษฎี PDCA ของคุณเดมมิ่ง
- ทฤษฎี PosdCorb
- ทฤษฎีความต้องการ ก็ต้อง Maslow 5 ปัจจัยพื้นฐาน เป็นต้น

166 ถึงแม้ว่าเราจะไม่ใช่ต้นไม้ที่จะสังเคราะห์แสงเองได้
แต่เราต้องหัดสังเคราะห์ข้อมูล (Synthesis) การเขียนงานวิชาการได้
ต้องใช้เทคนิคการสังเคราะห์ข้อมูลเข้ามาร่วมด้วยในท่อนนี้
เป็นการอ่าน (อ่านเอาเรื่อง) แล้วสกัดเอาองค์ความรู้ที่หลากหลาย
มาใช้กับผลงานของเรา
165 ต่างจากการวิเคราะห์นะ
การวิเคราะห์ คือ การแยกแยะความคิด
เพื่อให้เห็นองค์ประกอบ เห็นความสัมพันธ์ ความเชื่อมโยง
165 ส่วน
การสังเคราะห์ คือ การนำผลสองอย่าง หรือ
ความคิดสองอย่าง มารวมเป็น 1 ความคิดของเราเอง
เกิดเป็นความรู้ใหม่ ความคิดใหม่ในแบบฉบับของเราเอง
เนี่ยะเเหล่ะ เขาเรียกว่า
รีวิวลิเธอร์เรเชอร์
(เหมือน รีวิวสินค้าอะไรประมาณนั้น ว่า
สินค้า A นี้ดียังไง ใช้แล้วผิวขาวออร่า
สินค้า B ใช้แล้ว หน้าเด้ง
ดังนั้น ถ้าเราเอาสินค้า A+B จะทำให้หน้าเราขาวเด้ง นี่ล่ะ รีวิว

172 แต่ๆๆ ก็
อย่าลืมใส่เชิงอรรถ หรือ Foot Note ให้ถูกต้องด้วย
การใส่เชิงอรรถ คือไร ภาษาวัยรุ่นเขาเรียกว่า
เป็นการให้เครดิตคนคิดเขาหน่อย
เด่วนี้อะไรก็มีลิขสิทธิ์ จดสิทธิบัตร Copy Right!
การเขียนงานก็เช่นเดียวกัน เหมือนคนที่จะเอาข้อมูลจากเนต
ไปเผยแพร่ข้างนอกก็ควรจะแปะลิงค์ หรือ
ควรกล่าวชื่อ/ที่มา แปะในผลงาน เพื่อให้เกียรติกันด้วย 

วิธีการเขียนสามารถไปดู
วิธีการเขียนเชิงอรรถ แบบทูราเบี้ยน
จาก ม.ธรรมศาสตร์ได้ อ่ะ แปะไว้ให้ กดดูได้เลยจ้า

www.tep.engr.tu.ac.th/download/150410154529_306chapter4-Turabian-page67-148.pdf

34. สรุปสาระสำคัญ และ ขั้นตอนการดำเนินการ
271 4.1 สรุปสาระ :
ให้สรุปสาระสำคัญที่เชื่อมโยงประเด็น และเนื้อหาทั้งหมด
ให้ตรงประเด็น ชัดเจน กระชับ
ประธาน+กริยา+กรรม เขียนเหมือนสรุปให้ผู้บริหาร เหมือนในหนังเลย
   156 ต้นเรื่อง เป็นไง = เป็นหนังสงคราม หรือหนังความรัก
   156
กลางเรื่อง เป็นไง = เขาไปเจอกันได้ไง รักกันไง
   156
สุดท้าย เป็นไง = เขาจะตายไหม นางเอกจากโลกนี้รึเปล่า 
อันนี้ ท่านนิยม ท่านยกตัวอย่างมาซะเห็นภาพเลย

 
 271 4.2 ขั้นตอนการดำเนินการ :
เขียนจากประสบการณ์ว่าเราทำงานชิ้นนี้ออกมาได้ยังไง
กระบวนการทำงาน ขั้นตอนการทำงาน
ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร กลุ่มเป้าหมายใด ทำทำไม งปม.เท่าไหร่ 
  332 ให้เขียน Work Flow แผนผัง
ว่าเราทำอะไร อย่างไร โดยมีช่วงเวลาในแต่ละขั้นตอน ระบุเอาไว้
ยกตัวอย่างเช่น
  
156 ขั้นเตรียมการ : ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร กลุ่มเป้าหมายใด ทำทำไม งปม.เท่าไหร่
   156 ขั้นดำเนินการ : ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร กลุ่มเป้าหมายใด ทำทำไม งปม.เท่าไหร่
    156 ขั้นติดตามผล : ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร กลุ่มเป้าหมายใด ทำทำไม งปม.เท่าไหร่
** ไม่ควรเกิน 1 หน้านะ
ส่วน #วิธีการทำงาน ให้ใส่ในภาคผนวก

 
  332 นำแผนผังมาแตกเป็นรายละเอียดเขียนบรรยาย
ให้วิเคราะห์ แยกแยะ ออกเป็นประเด็นว่าเราทำไรไป ให้ชัดเจน
เป็น V+Obj เช่น ประสานการดำเนินงาน สนับสนุนการดำเนินงาน ติดตามผลการดำเนินงาน... ให้เห็นเป็นรูปธรรม
โดยนำความรู้ทางวิชาการที่เราไปหามา จากการรีวิวลิเธอร์เรเชอร์
จากข้อ 3 มาใช้ประกอบการเขียนในรายละเอียดให้เชื่อมโยงกัน

 
35. ผู้ร่วมดำเนินการ :
บางงานเราทำเองคนเดียวไม่ได้
งานมันอาจสเกลจะใหญ่มาก ใช้กำลังคนเยอะ
เลยต้องมีผู้ร่วมกระทำ ก็ให้เครดิตเขาหน่อยนะ
โดยการ ใส่ชื่อ..นามสกุล.. ผู้ร่วมงาน
สัดส่วนที่ทำงานนี้ร่วมกะเขา ให้แบ่งตามขั้นตอน
ถ้าเราทำหมดในขั้นตอนนั้น ก็เขียนไปว่าเราทำ 100 %

แต่ในเนื้องานเราควรต้องทำมากกว่าผู้ร่วมกระทำ สัก80% กำลังสวย

 
36. สัดส่วนของงานที่ผู้เสนอเป็นผู้ปฏิบัติ :
ก็จะเป็นตาราง ว่าแต่ละขั้นตอน
เราทำอะไรไป เขียนแตกเป็นร้อยละ
อันนี้ไม่ยากไปดูตัวอย่างจากรุ่นพี่ได้

 
37. ผลสำเร็จของงาน :
271 7.1 เชิงปริมาณ :
มาก-น้อย เพียงใด เป็นตัวเลข
เช่น สามารถทอดไข่ จำนวน 100 ฟองได้ในเวลา 60 นาที 58.9 วินาที
สามารถแจกจ่ายไข่ทอดให้กับประชาชนได้จำนวน 380.5 หลังคาเรือน 
271 7.2 เชิงคุณภาพ :
ใช้ได้ดี/ไม่ดี แม่/พอใช้ได้ มีประสิทธิภาพไหม
โดยต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และชื่อผลงาน
เช่น ประชาชนเกิดความพึงพอใจในไข่ทอด ประชาชนกินแล้วไม่ท้องเสีย มาตรงตามความต้องการ 

 
38. การนำไปใช้ประโยชน์ :
ต้องสอดคล้องกับ วัตถุประสงค์ และ ชื่อผลงาน
ใครเอาไปใช้ประโยชน์
เอาไปใช้อย่างไร เมื่อไหร่ เอาไปใช้ที่ไหน
เช่น เจ้าหน้าที่สามารถนำเทคนิควิธีการทอดไข่นี้ไปแจกจ่ายในชุมชนได้อย่างถูกสุขลักษณะ แและครบตามความต้องการของประชาชน

 
39. ความยุ่งยากในการดำเนินการ/ปัญหา/อุปสรรค :
ต้องสอดคล้องกับ วัตถุประสงค์ และ ชื่อผลงาน
แต่ไม่ใช่ไปด่า/ไปว่าองค์กรเค้าล่ะ
เช่น ไม่มีงบนั่นสิ งานเลยไม่โอเค
แต่ๆๆๆ เราต้องเขียนในเชิงบริหาร
ว่าให้งานมันเดินภายใต้งบที่มี อยู่อย่างจำกัดได้ยังไง
เราอาจจะใช้ SWOT วิเคราะห์ก็ได้ เช่น

 
271 9.1 ความยุ่งยากในการดำเนินการ :
มันยุ่งยากยังไง 166 ปัญหาที่เกิดจากตัวเราเอง ปัญหาภายใน
จุดอ่อนจุดแข็ง ปัญหาจากตัวเราเอง เช่น สุขภาพ
เพื่อนร่วมงาน ไม่ให้ความร่วมมือ
หรืองานมันชุก อะไรๆก็ถาโถมเข้ามา ทำไม่ทัน
271 9.2 ปัญหาและอุปสรรค :
166 ปัญหาจากภายนอก อะไรที่เราควบคุมไม่ได้
เช่น ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมไม่เป็นใจ
โอกาสและอุปสรรคจากภายนอก นโยบายของรัฐ

 
310. ข้อเสนอแนะ :
ต้องสอดคล้องกับ วัตถุประสงค์ และ ชื่อผลงาน
อยากบอกไรกับหัวหน้าเรา
271 10.1 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย :
นโยบายของควรจะเป็นยังไง ผบ เราจะได้เห็นและนำไปพิจารณาแก้ไข
271 10.2 ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติ :
ในเชิงการทำงานควรทำยังไงดี แนะนำว่าควรทำยังไง

เย้ เสร็จไปแล้ว 1 ขั้นดีใจมั้ย

 
285- - 285- - 285 - - 285- - 285- - 285 - -285- - 285- - 285 - -

284  เอกสารหมายเลข 5
ข้อเสนอ แนวคิดเพื่อการพัฒนางาน
31. ชื่อเรื่อง :
เป็นชื่อเรื่องที่สื่อว่าเราจะทำอะไรในอนาคต

 
32. หลักการเเละเหตุผล :
เขียน 4 ย่อหน้า ดังนี้
271 2.1 ย่อหน้าแรก
ให้กล่าวถึง สิ่งที่เราได้ทำในปัจจุบัน
271 2.2 ให้ระบุสาเหตุที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหา...ได้
271 2.3 ให้กล่าวถึง แนวทางที่จะทำในอนาคต
271 2.4 บทบาทของผู้ประเมิน

 
33.บทวิเคราะห์/แนวคิด กรอบการวิเคราะห์ :
ใช้ทฤษฎีอะไรก็เขียนไป โดยแยกเป็นข้อๆ


 
21นอกจากนี้แล้ว ก็ต้องจะดูเรื่องของ
102 อย่าลืม ตรวจคำถูกคำผิด ด้วยเส้
130 การย่อหน้า ให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์
130 Foot Note/เชิงอรรถ ยาวเลย หัวข้อนี้
ลองไปดูตัวอย่างวิธีการเขียนเชิงอรรถของ มธ. มาดูประกอบ
เช่น ถ้าจะให้ credit เอามาจากเว็ปไซต์แล้ว URL
มันย๊าวยาวจนใส่ในเชิงอรรถไม่ได้
แนะนำเข้า เว็ปนี้จ่ะ มันจะช่วยตัดให้สั้นลงได้เยอะเลย

หวังว่าคงจะช่วยให้เกิดไอเดียได้บ้างนะ
ขออานิสงค์ผลบุญนี้ ที่ได้ช่วยเหลือคนอื่นๆ
ให้ผ่านพ้นปัญหา จงกลับมาส่งเสริม และสนับสนุนให้เรา
ได้เจอแต่สิ่งที่ดีๆ ในชีวิตต่อจากนี้ด้วยเถิอดดด สาธุ
ผลบุญจะได้หนุนนำ เพื่อเป็นวิทยาทาน สาธุ

ขอให้โชคดีนะทุกคน ที่ได้มีโอกาสเข้ามาอ่านงานชิ้นนี้
ด้วยรักและหวังดี

แพทตี้ 26 สิงหาคม 2562


 




Create Date : 09 มิถุนายน 2561
Last Update : 23 มีนาคม 2565 11:14:36 น.
Counter : 2753 Pageviews.

2 comments
  

สู้ๆ นะทุกคน
โดย: แพทตี้ (PinkyPrettyPatty ) วันที่: 7 สิงหาคม 2564 เวลา:15:48:50 น.
  
Смотреть фильм онлайн в хорошем качестве HD - приятного просмотра..
Фильм видел фильм. Смотреть фильм онлайн в
хорошем качестве HD - приятного просмотра.
โดย: Alonzo IP: 178.158.51.144 วันที่: 1 มิถุนายน 2565 เวลา:16:27:39 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

PinkyPrettyPatty
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



◕‿-。

\(o`з´o)/



◕‿-。
== สวัสดีชาวโลกทั้ง 3 โลก แพทตี้เอง ==
ตอนนี้พยายามจะเขียนภาษาอังกฤษนะ
มีอะไรก็แนะนำก็บอกกันได้
ชอบทำกิจกรรม ท่องเที่ยว ถ่ายรูปไปเรื่อยเปื่อย
ถ้ามีที่ไหนดีๆ เจ๋ง ก็บอกได้จะตามไปดู
ถ้าเขียนอะไรผิดพลาดหรือพาดพิงสิ่งใดก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ค่ะ
จะดีมากถ้าช่วยเขียนคอมเมนทต์เป็นกำลังใจให้ซี่เขียนต่อจะได้รู้ว่าอย่างน้อยก็ยังมีคนสนใจอ่านบล็อกของเราบ้าง อิอิ

Hello Friends,
I try to write my blog in English and also in Thai.
If I wrote something wrong can make any comment to me it would be very appreciated! to cheer me up to write it and share my experience more and more.

Have a nice day!
Cheers

Patty