สิงหาคม 2551

 
 
 
 
 
1
2
3
5
6
7
8
10
11
13
14
15
17
18
19
21
22
23
24
25
26
28
29
31
 
 
20 สิงหาคม 2551
All Blog
ตะคริว


ลักษณะทั่วไป
ตะคริว หมายถึง อาการกล้ามเนื้อเกร็งแข็งและปวดซึ่งจะเกิดขึ้นรวดเร็ว และมักจะเป็นอยู่เพียงไม่กี่นาที กล้ามเนื้อที่พบเป็นตะคริวได้บ่อย ได้แก่ กล้ามเนื้อน่องและต้นขา ตะคริวเป็นภาวะที่พบได้บ่อยมาก ซึ่งจะพบได้เป็นครั้ว คราวในคนเกือบทุกคน
อาการ
ผู้ป่วยอยู่ ๆ รู้สึกกล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่ง (เช่น น่อง หรือต้นขา) มีการแข็งตัวและปวดมากเอามือคลำดูจะรู้สึกแข็งเป็นก้อน ถ้าพยายามขยับเขยื้อนกล้ามเนื้อส่วนนั้นจะทำให้ยิ่งแข็งตัวและปวดมากขึ้นการ นวดและยืดกล้ามเนื้อส่วนนั้น จะช่วยให้ตะคริวหาย เร็วขึ้น ถ้าเป็นขณะนอนหลับ ผู้ป่วยอาจรู้สึกปวดจนสะดุ้งตื่นโดยทั่วไป จะเป็นอยู่เพียงไม่กี่นาทีก็หายได้เอง และไม่มีความผิดปกติอื่น ๆ เกิดร่วมด้วย เมื่อหายแล้วผู้ป่วยจะรู้สึกเป็นปกติทุกอย่าง
สิ่งตรวจพบ

กล้ามเนื้อเกร็งแข็ง

สาเหตุของตะคริว

* การขาดน้ำ จากการศึกษาพบว่าการขาดน้ำจะทำให้เกิดตะคริวและเป็นรุนแรง
* ภาวะเกลือแร่ไม่สมดุลโดยเฉพาะ sodium และ potassium ภาวะที่ทำให้เกลือแร่เสียสมดุลได้แก่ ท้องร่วง อาเจียน เสียเหงื่อ หรือรับประทานอาหารที่ไม่สมดุล
* กล้ามเนื้ออ่อนร้าหรือได้รับบาดเจ็บ เพื่อป้องกันการได้รับบาดเจ็บ
* แร่ธาตุเสียสมดุลโดยเฉพาะเกลือแคลเซียม แมกนีเซียม อาหารที่แร่ธาตุสองตัวไม่สมดุลจะทำให้เกิดตะคริว
* กล้ามเนื้อขาดการยืดหยุ่น กล้ามเนื้อที่ตึงจะเกิดตะคริวได้บ่อย
* กล้ามเนื้อที่อ่อนแรงหากต้องทำงานหนักจะเกิดตะคริวได้บ่อย
* กล้ามเนื้อขาดเลือด หากท่านออกกกำลังกายอย่างหนักโดยที่ไม่ได้ warm up จะทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อไม่พอจะเกิดตะคริว


การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

1. ขณะที่เป็นตะคริว ให้ทำการปฐมพยาบาล โดยใช้มือนวดกล้ามเนื้อที่เป็นตะคริว หรือยืดกล้ามเนื้อส่วนนั้นให้ตึง เช่น ถ้าเป็นตะคริวที่น่องให้เหยียดหัวเข่าตรง และดึงปลายเท้ากระดกเข้าหาเข่าให้มากที่สุด ถ้าเป็นตะคริว ที่ต้นขาให้เหยียดหัวเข่าตรง ยกเท้าขึ้นให้พ้นจากเตียงเล็กน้อยและกระดกปลายเท้าลงล่าง (ไปทางด้านตรงข้ามกับหัวเข่า)

2. ถ้าเป็นตะคริวขณะ เข้านอนตอนกลางคืนบ่อย ๆ (เช่น หญิงที่ตั้งครรภ์ คนสูงอายุ) ก่อนนอนควรดื่มนมให้มากขึ้นและยกขาสูง (ใช้หมอนรอง) จากเตียงประมาณ 10 ซม.(4 นิ้ว) ในหญิงตั้งครรภ์ อาจให้ยาเม็ดแคลเซียมแลกเทตกินวันละ 1-3 เม็ด

3. ถ้าเป็นตะคริวจาก การเสียเกลือโซเดียม (เช่น เกิดจากท้องเดิน อาเจียน เหงื่อออกมาก) ควรให้ดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ ถ้าดื่มไม่ได้ ควรให้น้ำเกลือนอร์มัลซาไลน์ทางหลอดเลือดดำ

4. ถ้าเป็น ๆ หาย ๆ บ่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นขณะเดินนาน ๆ ควรแนะนำผู้ป่วยไปโรงพยาบาลเพื่อตรวจหาสาเหตุ อาจมีความผิดปกติเกี่ยวกับการไหลเวียนของเลือดที่ขา หรือมีภาวะหลอดเลือดแดงแข็งจากเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือโรคอื่น ๆในผู้สูงอายุที่เป็นตะคริวตอนกลางคืนเป็นประจำ ควรให้กินไดเฟนไฮดรามีน ขนาด 50 มกก่อนนอนอาจช่วยป้องกันไม่ให้เป็นตะคริวขณะเข้านอนได้

การดูแลตนเองเมื่อเป็นตะคริว

1. ยืดกล้ามเนื้อที่เป็นตะคริว เช่น ถ้าเป็นที่กล้ามเนื้อน่อง ให้เหยียดเข่าและกระดกปลายเท้าขึ้นหรือยืนกดปลายเท้ากับพื้น งดเขาและโน้มตัวไปข้างหน้า
2. ทาและคลึงเบาๆ ด้วยยาทาแก้ปวดหลังการยืดกล้ามเนื้อแล้ว
3. ประคบด้วยน้ำอุ่น โดยเฉพาะกล้ามเนื้อท้อง
4. ทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล
5. ปรึกษาแพทย์ถ้ามีอาการเกิดขึ้นบ่อย

การป้องกันตะคริว

1. ดื่มน้ำอย่างเพียงพอ อาจจะดื่มน้ำธรรมดาหรือน้ำแร่ก็ได้
2. ปรับกล้ามเนื้อโดยการบริหารให้กล้ามเนื้อแข็งแรงและมีความยืดหยุ่นสูงจะป้องกันตะคริว
3. รับประทานอาหารที่มีเกลือแรโปแทสเซียมสูง เช่นกล้วย ผลไม้ผัก
4. การออกกำลังกายจะทำให้กล้ามเนื้อและร่างกายแข็งแรง
5. ก่อนออกกำลังกายให้ warm up ทุกครั้ง
6. ขณะเกิดอาการตะคริวให้มีการยืดกล้ามเนื้อจะลดอาการปวด
7. ขณะเกิดตะคริวให้นวดกล้ามเนื้อซึ่งจะลดอาการปวด การนวดอย่างสม่ำเสมอจะช่วยลดอาการตะคริว

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

- วิกีพีเดีย

- bangkokhealth.com

- SiamHealth.net



Create Date : 20 สิงหาคม 2551
Last Update : 20 สิงหาคม 2551 7:51:44 น.
Counter : 1285 Pageviews.

2 comments
  
เป็นอะไรที่ใจเรามีความสุข มันก็คุ้มค่ากับชีวิตแล้วเนอะ

มาหาช้าไปหน่อย ขอบคุณนะคะที่แวะไปเยี่ยม

เป็นตะคริวตอนหลับนี่อย่างปวดเลย
โดย: ลั่นทมขาว วันที่: 21 สิงหาคม 2551 เวลา:14:13:45 น.
  
เป็นบ่อยเหมือนกัน ตอนนอนค่ัะ
โดย: redclick วันที่: 25 สิงหาคม 2551 เวลา:17:48:46 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

pimpagee
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]



Smile...Small...Smooth...Smart...

counter
สร้าง Playlist ของคุณได้ที่นี่
New Comments