เปลี่ยนของเหลือใช้ให้เป็น “พลังงานชีวมวล”
 พลังงานที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ส่วนใหญ่แล้วมาจากพลังงานฟอสซิล ได้แก่ น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน ซึ่งเกิดจากการทับถมของซากพืชซากสัตว์ผ่านกาลเวลามานับล้านๆ ปี ต้องยอมรับว่าพลังงานเหล่านนี้ใช้แล้วหมดไป หากเรายังใช้อย่างไม่ประหยัดอีกไม่กี่ปีข้างหน้าก็อาจจะหมดลง ดังนั้นเราจึงพยายามพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตพลังงานทางเลือกและรณรงค์ให้เห็นความสำคัญของพลังงานทดแทนต่างๆ ซึ่งพลังงานหนึ่งที่หน้าสนใจและเหมาะสำหรับประเทศไทยก็คือ“พลังงานชีวมวล” (biomass) หรือพลังงานชีวภาพ เป็นพลังงานธรรมชาติจากมวลของพืชและสัตว์ เช่น วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรและอุตสาหกรรม เศษไม้ ขยะมูลฝอย มูลสัตว์ วัชพืช ฯลฯ โดยใช้กระบวนการแปลรูปชีวมวลไปเป็นพลังงานรูปแบบต่างๆ เพราะประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมที่สำคัญของโลก ร้อยละ 50 ของประชากรประกอบอาชีพเกษตรกรรม จากข้อมูลรายงานพลังงานทดแทนของประเทศไทยปี 2552 ของกรมพลังงานทดแทนและอนุรักษ์ ได้รวบรวมและประมาณวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ได้แก่ โรงงานอ้อย ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว   ถั่วลิสง ฝ้าย สับปะรด และก๊าซเหลือใช้จากกระบวนการผลิต พบว่าเรามีศักยภาพมากและมีความเป็นไปได้ในการผลิตพลังงานชีวมวลได้อย่างมีประสิทธิภาพ


แล้วข้อดีของพลังงานชีวมวลนั้นคืออะไร
-  พลังงานเชื้อเพลิงจากฟอสซิล (ปิโตเลียม ก๊าซ และถ่านหิน) เป็นเชื้อเพลิงที่ใช้แล้วหมดไป แต่พลังงานจากเชื้อเพลิงชีวมวลเป็นพลังงานหมุนเวียนที่สามารถฟื้นฟูหรือสร้างขึ้นใหม่ได้เรื่อยๆ
-  พลังงานชีวมวลมีผลกระทบต่อส่งแวดล้อมน้อยกว่าพลังงานจากฟอสซิล ไม่ก่อให้เกิดก๊าซที่เป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเชื้อเพลิงจากฟอสซิลก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ไนโตรเจนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาโลกร้อน
-  มีราคาถูกเมื่อเทียบกบน้ำมัน ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ
-  มีปริมาณมาก เพราะระเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม จึงมีต้นทุนในการผลิตไม่สูงมากนัก
-  พลังงานชีวมวลยงมีสถานะที่หลากหลาย ทั้งของแข็ง ของเหลว และก๊าซ จึงสะดวกและสามารถนำไปใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ต่างๆ ได้แก่

ของแข็ง เช่น ถ่านไม้ ขี้เลื่อย ฟางข้าว ซังข้าวโพด ชานอ้อย มูลสัตว์ เศษพืชอย่างแกลบข้าว ฝ้าย ถั่วลิสง นำไปอัดและอบ ทำเป็นก้อนเป็นเชื้อเพลิงเผาไหม้ ติดไฟง่ายให้ความร้อนสูง

ของเหลว  เกิดจากการหมักและกลั่น ได้แก่ แอลกอฮอล์ คือเอทานอลและเมทานอล น้ำมันจากพืชและสัตว์ เช่น น้ำมันพืชที่ใช้แล้ว ไขสัตว์ และไบโอดีเซลที่ผลิตจากน้ำมันพืช น้ำมันจากขยะน้ำมัน ซึ่งมีคุณลักษณะทางเคมีและกายภาพคล้ายคลึงกับปิโตรเลียม

ก๊าซชีวภาพ (Biogas) ส่วนใหญ่คือก๊าซมีเทนที่ได้จากการหมักมูลสัตว์หรือของเสียจากโรงเลี้ยงสัตว์ ก๊าซมีเทนสามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลงในครัวเรือน ในชนบทมีอยู่มากที่ผลิตเชื้อเพลิงแบบนี้ใช้ได้เอง

แม้ว่าพลังงานชีวมวลจะมีข้อดีมากมาย แต่ปัจจุบันทั่วโลกยังใช้ประโยชน์จากเชื้อเพลิงชีวภาพนี้เพียงร้อยละ 15 ของการใช้พลังงานทั้งหมดส่วนใหญ่อยู่ในประเทศพัฒนาแล้ว เช่น ยุโรปใช้เชื้อเพลิงชีวภาพในการผลิตไฟฟ้าและในภาคเกษตรกรรม ซึ่งในประเทศไทยมีโรงไฟฟ้าชีวมวลด้วยเช่นกัน แต่มีเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น

credit - vcharkarn.com/varticle/57061





Create Date : 24 พฤศจิกายน 2556
Last Update : 24 พฤศจิกายน 2556 21:05:26 น.
Counter : 272 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

blogmadog
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



พฤศจิกายน 2556

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
25
26
27
28
29
30
 
All Blog