ตรวจสุขภาพในวัยเฉียดหลักสี่
เรื่องมีอยู่ว่า บริษัทมีสวัสดิการให้พนักงานตรวจสุขภาพประจำปีทุกปี ซึ่งเราก็ไปตรวจมิได้ขาด ยกเว้นปีที่ท้อง (เพราะว่าผลเลือดมันจะไม่เหมือนคนปรกติ) ปีนี้ก็เช่นกัน เราก็ไปตรวจดังเช่นทุกปี ตรวจหลังกินเจได้ไม่ถึงสัปดาห์
ในราคา 6000 บาท ++ (ตรวจมะเร็งปากมดลูกเพิ่มพันกว่าบาท) โปรแกรมที่ตรวจก็คือ Standard C สำหรับหญิงสาวที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป
ผลที่ได้ทำเอาจิตตกเลย เอาเฉพาะอันที่ผิดปรกติเกินค่าที่กำหนดนะ
1. น้ำตาลในเลือดสูง 108 (ไม่เท่าไหร่ เพราะตัวเองมีความเสี่ยงเป็นเบาหวานอยู่แล้ว) 2. โคเลสเตอรอล 228 (ก็ยังไม่เท่าไหร่ เพราะตรวจมาตั้งแต่สาวๆ ก็ค่าประมาณเท่านี้แหละ) 3. BUN 21 (Spec. Max. 20) อันนี้ตกใจเลย เพราะที่เคยตรวจมา ได้ค่ากลางๆมาโดยตลอด 4. คลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปรกติเล็กน้อย (อันนี้ก็ค่อนข้างตกใจ) 5. นิ่วในไตด้านซ้าย 7 มม (ฮ้า ไปทำอะไรมาถึงเป็นนิ่วในไต) 6. ติ่งเนื้อขนาดเล็กที่ถุงน้ำดี 5 มม. (อะไรกั๊นนนน)
ทีนี้มาดูความหมายของ BUN BUN(Blood Urea Nitrogen) การตรวจค่าBUN เป็นการวัดปริมาณไนโตรเจนที่พบในกระแสเลือดโดยปกติร่างกายจะย่อยสลายโปรตีนที่ตับ (liver)และจะนำของเสียดังกล่าวนี้ไปกำจัดผ่านไต(renal) เพื่อออกเป็นปัสสาวะต่อไปซึ่งสารของเสียนี้เรียกว่า ยูเรีย (urea) ซึ่งส่วนประกอบของยูเรีย คือไนโตรเจนดังนั้นหากไตไม่สามารถกำจัดของเสีย หรือยูเรียได้จะทำให้พบปริมาณไนโตรเจนในเลือดมีปริมาณสูงขึ้นนอกจากนั้นหากร่างกายมีปริมาณไนโตรเจนสูงอาจเนื่องมาจาก การขาดน้ำมีภาวะโรคหัวใจล้มเหลว หรือได้รับอาหารที่มีปริมาณโปรตีนสูง เป็นต้น การตรวจBUN สำคัญอย่างไร การตรวจBUN สามารถคัดกรองตรวจวินิจฉัยภาวะความผิดปกติการทำงานของไต และตรวจติดตามในการรักษาภาวะโรคไตได้โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีอาการแสดงโรคไต ดังตารางที่ 1และผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคไต ดังตารางที่ 2นอกจากนั้นค่า BUN ยังสามารถใช้ตรวจติดตามปัญหาอื่นๆ เช่นภาวะขาดน้ำ (dehydration) เป็นต้น ตรวจบ่อยแค่ไหน ค่าBUN คนสุขภาพดี สามารถตรวจในการตรวจสุขภาพประจำปีได้ หรือในผู้ป่วยที่ต้องเข้าห้องฉุกเฉิน นอนโรงพยาบาลหรือตรวจการทำงานของไต ก่อนหรือระหว่างการได้รับยาบางชนิดหรือผู้ที่มีความเสี่ยงหรือมีอาการแสดงของโรคไตซึ่งขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ผู้รักษา ตารางที่ 1 อาการแสดงของภาวะไตทำงานผิดปกติ เช่นโดยทั่วไปอาการของภาวะไตเสื่อมนั้น ไม่จำเพาะเจาะจงนักหรือบางรายอาจจะไม่แสดงอาการของโรคก็เป็นได้ - ความรู้สึกขาดน้ำ (feeling dehydrated)
- เหนื่อยล้า อ่อนแรง (fatigue)
- หายใจถี่ๆ สั้นๆ (short of breath)
- อาการอื่นๆ ซึ่งไม่จำเพาะเจาะจง
ตารางที่ 2 ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคไต ดังนี้ - โรคเบาหวาน
- โรคความดันโลหิตสูง
- โรคหลอดเลือดหัวใจ เช่น ภาวะหัวใจล้มเหลว (heart failure), ภาวะหัวใจขาดเลือด(myocardial infraction)
- ภาวะอ้วน
- สูบบุหรี่
- ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคไต
- อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป
ค่าสูงผิดปกติ อาจเกิดจากดังนี้ - อาจเกิดจากการทำงานของไตผิดปกติอาจเกี่ยวข้องกับภาวะไตเสื่อมเฉียบพลัน หรือไตเสื่อมเรื้อรัง
- อาจเกิดจากภาวะหัวใจล้มเหลว หรือภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน(heart attack)
- อาจเกิดจากภาวะช๊อก
- อาจเกิดจากภาวะขาดน้ำ (dehydration) หรือการดื่มน้ำน้อยเกินไป
- อาจได้รับอาหารประเภทโปรตีนสูงมากเกินไป
- อาจเกิดจากการได้รับยาบางชนิด
- อาจเกิดการตกเลือดในทางเดินอาหาร (gastrointestinal bleeding)
- อาจออกกำลังกายหักโหมเกินไป
- ตับอ่อนอาจหลั่งเอนไซม์ย่อยอาหารบกพร่อง
การจัดการ - ให้พบแพทย์ เพื่อประเมินแนวทางการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
- งดหรือลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคไต จากตารางที่ 2
- ค้นหาความเป็นไปได้ที่อาจทำให้ค่า BUN สูง เช่น การดื่มน้ำน้อยเกินไปการรับประทานโปรตีนสูง เป็นต้น ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมพร้อมปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินต่อไป
- หากท่านมีโรคประจำตัวให้รักษาและติดตามโรคประจำตัวที่เป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดโรคไตให้เหมาะสม
- กรุณาแจ้งแพทย์หากท่านได้รับยา สมุนไพร หรือวิตามินใดๆอยู่เพื่อใช้ในการประเมินสาเหตุและแนวทางการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
ลิงค์นี่น่าสนใจอ่า วิเคราะห์ผลเลือดโดย นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
สาเหตุของการนิ่วในไต จนถึงปัจจุบันแพทย์ยังไม่ทราบว่านิ่วในไตมีสาเหตุจากอะไร ปัจจัยที่สำคัญได้แก่การที่มีปัสสาวะน้อย และหรือมีการขับสารหรือเกลือแร่ออกมามาก เกลือแร่ที่สำคัญคือแคลเซี่ยม เมื่อรวมกับ oxalate หรือ phosphate ทำให้เกิดนิ่ว นอกจากนั้นอาจจะเกิดจากกรดยูริกที่ขับออกมามาก มีอาหารบางชนิดที่ทำให้เหิดนิ่วในกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิดนิ่ว กลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิดนิ่วได้แก่ - ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นนิ่วในไต
- มีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
- เป็นโรคไต เช่น cystic disease of kidney
- มีโรค เช่น hyperparathyroidism ทำให้เกิดนิ่วได้บ่อย
- มีสาเหตุหรือโรคทางพันธุกรรมหลายชนิดที่ทำให้เกิดนิ่วในไต
- การขาดน้ำจากการดื่มน้ำไม่พอ หรือออกกำลังกายมากและรับน้ำไม่เพียงพอ
- การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
- การที่มีการอุดทางเดินปัสสวะ
- Cystinuria มีโปรตีน amino acid cystine ซึ่งไม่ละลายในปัสสาวะทำให้เกิดนิ่ว
- hyperoxaluria ร่างกายผลิตเกลือ oxalate ขับทางปัสสาวะมากไป
- Hypercalciuria เป็นโรคทางพันธุกรรมที่ร่างกายขับเกลือแคลเซี่ยมออกทางปัสสาวะมาไป
- hyperuricosuria มีการขับกรดยูริกในปัสสาวะมาเช่นผู้ป่วยที่เป็นโรคเก๊าท์ ได้รับวิตามินดีมากไป
- ยาบางชนิด เช่นยาขับปัสสวะ ยาแก้โรคกระเพาะที่มีเกลือแคลเซียมยารักษาโรคเอดส์บางชนิด
| สาเหตุของนิ่วในทางเดินปัสสาวะตามชนิดของนิ่ว การหาสาเหตุของนิ่วจะต้องนำนิ่วไปวิเคราะห์ว่าเป็นเกลือของสารอะไรรวมทั้งต้องนำปัสสาวะไปตรวจจึงจะทราบสาเหตุจะได้วางแผนการป้องกันและการรักษาชนิดของนิ่วที่พบบ่อยๆ 1. เกลือแคลเซียม Calcium stones (75%)ซึ่งพบว่าเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้ซึ่งมักจะรวมกับoxalate นิ่วชนิดนี้เห็นได้จาก x-ray - ต่อมพาราไทรอยด์ทำงานมากไป Hyperparathyroidism
- ผู้ป่วยที่มีการดูดซึมแคลเซี่ยมมากเกินไปอาจจะเกิดจากได้วิตามินดีมากเกินไป
- ผู้ป่วยที่มีการขับแคลเซี่ยมและฟอสเฟตมากเกินไป
- ผู้ป่วยที่ขับกรดยูริกในปัสสาวะมากไป
- ผู้ป่วยที่มีระดับแมกนีเซี่ยมในเลือดต่ำ
2. เกลือ Struvite (magnesium ammonium phosphate) Stones (15%)นิ่วชนิดนี้เห็นได้จาก x-ray ธรรมดานิ่วจะมีลักษณะเหมือนเขากวางstaghorn เกิดในผู้ป่วยที่มีทางเดินปัสสาวะอักเสบเรื้อรังเชื้อแบคทีเรียจะสลาย ureaให้เป็น ammonia ผู้ป่วยมักจะมีการติดเชื้อเรื้อรังการรักษาจะไม่หายหากไม่ได้เอานิ่วออกปัสสาวะจะเป็นด่างมักจะมีค่า pH>7 3. เกลือ Uric acid stones (6%) เกิดจากที่รับประทานอาหารที่มีpurine สูงได้แก่ เครื่องใน สัตว์ปีก เป็นต้นปัสสาวะจะเป็นกรดโดยมีค่า pH<5.5 นิ่วชนิดนี้ไม่สามารถเห็นได้จากx-ray ธรรมดา 4. เกลือ Cystine stones (2%)เกิดจากความผิดปกติของร่างกายในการดูดซึมสารCystine
เดี๋ยวมาโพสต์ใหม่ ยิ่งโพสต์ยิ่งจิตตก
Create Date : 05 พฤศจิกายน 2557 |
Last Update : 5 พฤศจิกายน 2557 16:47:00 น. |
|
1 comments
|
Counter : 1566 Pageviews. |
|
|
บทความลดน้ําหนักอ่านได้ที่นี่