Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2554
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728 
 
25 กุมภาพันธ์ 2554
 
All Blogs
 

Fluorescent Lights and UV Exposure


วันนี้อยากจะเขียนอะไรเกี่ยวกับแสงไฟที่ใช้ในบ้านกันหน่อย เน้นไปที่หลอดฟลูออเรสเซนต์ละกัน ทั้งแบบหลอดยาว (fluorescent lamp, FL) และแบบที่เค้าเรียกกันว่าคอมแพคนะคะ (compact fluorescent lamp, CFL) หรือที่เราเรียกว่าหลอดประหยัดไฟ (หรือเปล่า?)



เคยมีหลายๆ คนสงสัยว่าแสงไฟพวกนี้ทำลายผิวหรือเปล่า ทำให้ดำหรือเปล่า ก่อนที่จะตอบคำถามนี้ เราจะเล่าคร่าวๆ ว่าหลอดไฟแบบนี้มันทำงานยังไง แล้วก็ดู spectrum ของแสงว่ามันเป็นแบบไหนกันอีกทีนะคะ



Inside the Fluorescent
หลายๆ คนคงเคยได้ยิน หรือเคยเรียนมาแล้วว่า หลอดไฟก็คือหลอดแก้ว ข้างในเป็นสูญญากาศ และเค้าก็ใส่ไอปรอท (Mercury, Hg) และกาซเฉื่อยอาร์กอน (Argon, Ar) ลงไปในนั้น จากนั้นเมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน จะทำให้ปรอทนี้เปล่งแสง UV ออกมา (จำไว้ว่าเรามอง UV ด้วยตาปล่าวไม่เห็นนะคะ) ด้านในของหลอดจะเคลือบด้วยสารเรืองแสง phosphor ... เมื่อรังสียูวีจากไอปรอท (ความยาวคลื่น 254 nm) ไปกระทบกับสารเรืองแสง ... สารเรืองแสงนี้จะดูดซับรังสียูวีไว้ แล้วก็เปล่งแสงออกมาอีกที แสงที่เปล่งออกมานี้จะอยู่ในช่วงความยาวคลื่นที่เรามองเห็น เราก็จะเห็นว่าหลอดไฟสว่างขึ้นมานั่นเอง





Rays
มาพูดถึงรังสีกันบ้างนะ แสงที่เราจะพูดถึงจะแบ่งเป็นช่วงความยาวคลื่น (wavelength) ที่ต่างกันออกไป ตามรูปเลยค่ะ



ช่วงอื่นๆ เราไม่ต้องพูดถึงก็แล้วกัน มาดูกันที่ช่วง (ultraviolet) UV และ visible light นะคะ ... ที่มนุษย์เรามองเห็นเป็นช่วงที่แคบมากๆ เมื่อเทียบกับคลื่นช่วงอื่นๆ ... รังสี UV จะอยู่เหนือแสงสีม่วงขึ้นไป ... เรามาดูเป็นตัวเลขกันดีกว่า

Ultraviolet

UVC = 100 nm–280 nm
ถึงแม้ว่ารังสียูวีซีจะถูกดูดซับด้วยอากาศได้ง่าย ทำให้ UVC จากดวงอาทิตย์ไม่ทะลุผ่านลงมาถึงบนพื้นโลก แต่อำนาจทำลายล้างสูง แสงพวกนี้มักจะถูกใช้ฆ่าเชื้อโรค

UVB = 280 nm–315 nm
รังสียูวีบีมีอำนาจทะลุทะลวงไม่สูงมาก ถูกดูดซับโดยของเหลวได้ง่าย เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ผิวหนังดำ ไหม้ แสบ เวลาผิวรับรังสียูวีบีนานๆ

UVA = 315 nm–400 nm
รังสียูวีเอมีอำนาจทะลวงสูง ทะลุผ่านผิวลงไปได้ เป็นตัวการของความแก่ ... ช่วง 345 nm ถึง 400 nm ใช้ทำพวก blacklight ช่วงความถี่นี้ จะใช้ทำ effect ที่ทำให้เรา glow หรือเรืองแสง

Visible Light

Violet = 400 nm–420 nm
Indigo = 420 nm–440 nm
Blue = 440 nm–490 nm
Green = 490 nm–570 nm
Yellow = 570 nm–585 nm
Orange = 585 nm–620 nm
Red = 620 nm–780 nm

มองง่ายๆ ก็คือ ถ้าเราเห็นแสงที่สีออกฟ้าๆ ม่วงๆ แสดงว่าอยู่ใกล้ UV มากกว่า ... ถ้าเราเอาแสงทุกสีผสมกัน สีที่ได้ออกมาคือแสงสีขาว



Ultraviolet Exposure
โอเค อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ก็คงจะรู้กันแล้วนะคะ ว่าหลอดไฟกับ UV เป็นยังไง ปรอทจะเปล่งรังสีที่ช่วง 254 nm (ช่วงของ UVC) ... จากนั้น phosphor จะดูดซับรังสียูวีซี แล้วเปล่งรังสีออกมาในช่วงคลื่นที่ยาวขึ้น (อาจจะรวมช่วง UVA บางส่วน ไปจึนถึง Visible Light) ขึ้นอยู่กับหลอดไฟแต่ละยี่ห้อ ... หลอดไฟที่แสงสีขาวมากๆ ก็จะเป็นช่วงที่สั้นกว่า (สั้นกว่าแปลว่าใกล้ UVA มากกว่า) แสงที่ออกเหลืองแดงๆ ก็จะอยู่ในช่วงที่ยาวว่า (ยาวกว่าแสดงว่าไกล UVA กว่า) ... ถึงแม้ว่าหลอดไฟจะถูกเคลือบไว้ อย่างที่เรารู้กันอยู่ว่าไม่มีอะไรในโลกนี้ที่ทำได้ 100% รวมไปถึงการเคลือบสารกรองรังสียูวีด้วยเช่นกัน



ทีนี้ก็ตอบได้กันเต็มปากเต็มคำนะคะว่า หลอดไฟที่ใช้ในบ้านมีรังสียูวีติดมาด้วยหรือเปล่า



Do I Need Sunscreen?
ทีนี้ก็ต้องถามต่อไปว่า ในเมื่อโอกาสที่รังสี UV จะเล็ดรอดออกมาเนี่ย มีแน่นอน แล้วเราจำเป็นต้องใช้กันแดดด้วยหรือเปล่า ... ถ้าให้เราตอบ เราก็คงจะตอบว่าไม่จำเป็น นอกจากว่าจะตากไฟ (ใช้คำว่าตากเลยนะคะ) นานๆ และใกล้ๆ มากจริงๆ แต่ในชีวิตประจำวันทั่วไป ไม่จำเป็นนะคะ เพราะรังสีที่ออกมาไม่ได้แรงมากขนาดนั้น ... หรือถ้าใครกังวลมาก จะลองหาหลอดไฟที่เค้าเคลือบสองชั้นดู น่าจะช่วยกรองรังสียูวีได้ดีกว่าชั้นเดียวค่ะ ... หรือบางคนอาจจะเลือกไฟที่แสงออกเหลืองๆ มากกว่าแสงขาวๆ นะคะ (เพราะแสงขาวๆ มันจะเป็น visible light ทั้งหมดทุกสี ตั้งแต่ ม่วง ไปจนถึง แดง รวมกันเป็นขาว) แสดงว่ามีแสงช่วงสีม่วง (ใกล้ UVA) รวมอยู่ด้วย ... ส่วนแสงออกเหลืองๆ ก็จะมีแสงในช่วงสีม่วง สีครามปนมาน้อยกว่า

มีการทดสอบว่าตากหลอดไฟ 8 ชั่วโมง เท่ากับตากแดด 1 นาที ... จริงค่ะ แต่เค้าการทดลองเป็นแบบ independent หรือเปล่า ทดสอบกับยี่ห้อไหนบ้าง ก็เป็นคำถามที่เราก็ตอบไม่ได้เหมือนกัน ... ทางที่ดี เราดูว่าที่มาที่ไปมันเป็นแบบไหน เหตุและผลของมันคืออะไร แล้วก็ตัดสินใจด้วยตัวเองค่ะ



การระมัดระวังตัวเองก็ไม่ใช่เรื่องเสียหาย แต่อย่าให้โอเว่อร์จำทำให้ชีวิตไม่มีความสุขไปค่ะ ... ถ้าคิดว่าหลอดไฟ อันไหนใช้แล้วรู้สึกว่าแสบตา แสงสว่าง (ขาว) จนเกินไป ใช้แล้วรู้สึกว่าตัวดำ หน้าดำ ก็เปลี่ยนซะค่ะ ไม่ใช่เรืองใหญ่ ... เราคงไม่กังวลไปขนาดที่ต้องทาครีมกันแดดตลอดเวลาค่ะ ... แต่ความเป็นไปได้ที่รังสียูวีจะเล็ดลอดออกมาก็มี เช่น บางทีอาจจะหลุด QC (quality control) ออกมาได้ค่ะ (ถ้าใครเคยเรียนเรื่อง six-sigma คงจะเข้าใจกันดี) ... อีกอย่าง ใช้ไปนานๆ ตัว phosphor ก็เสื่อมได้ค่ะ พอมันเสื่อมการดูดซับรังสีก็ทำได้แย่ลง รังสียูวีก็สามารถเล็ดรอดออกมาได้เช่นกัน

นี่รวมไปถึงพวกจอทีวี จอคอมพิวเตอร์ด้วยนะคะ (พวกจอพวกนี้มีหลักการณ์คล้ายๆ กัน) โอกาสที่รังสีปนออกมา เป็นไปได้ค่ะ มากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับจอแต่ละยี่ห้อ บางยี่ห้อ บางประเภท ก็แทบจะไม่มีเลย ... จะให้ดีก็ดูทีวีห่างๆ จอหน่อย ใครใช้จอยักษ์ก็นั่งไกลๆ หน่อยก็ดี ... ใครใช้คอมมากๆ นานๆ ติดต่อกันหลายๆ วัน แล้วหน้าดำ เป็นเรื่องไม่แปลกค่ะ ความเป็นไปได้ที่จอคอมนั้นหลุด QC ออกมา ก็เป็นไปได้ หรือตัว phosphor เสื่อมก็เป็นไปได้ค่ะ



Conclusion
ก็สรุปเลยละกันนะคะว่า

หลอดไฟชนิดต่างๆ ก่อนที่จะผ่านการกรอง (ดูดซับ) รังสีที่ถูกสร้างมาเป็นรังสี UV ... จริงค่ะ

ความเป็นไปได้ที่รังสียูวีเล็ดลอดตัวกรองออกมา ... เป็นไปได้ค่ะ

ควรทากันแดดเวลาอยู่ใต้แสงไฟหรือเปล่า ... คงไม่ต้องค่ะ ^_^



Environmental issues
ก่อนที่จะผ่านเรื่องนี้ไป ขอพูดถึงนิดนึงนะคะ เนื่องจากว่าข้างในหลอดไฟบรรจุไอปรอทไว้ และอย่างที่รู้กันดีว่า ปรอทอันตรายต่อสุขภาพคนเรามากแค่ไหน ... ดังนั้นจะทิ้งจะขว้างหลอดไฟ ก็อย่าไปทิ้งพร่ำเพรื่อนะคะ ทิ้งไว้ในขยะบ้านไม่ดีนะคะ เพราะเวลาหลอดไฟแตก และไม่ได้ถูกทิ้งในที่ที่เหมาะสม ปรอทพวกนี้มันกลับมาหาเรานะคะ ... นี่รวมไปถึงพวก batterries ด้วยนะคะ ทิ้งให้ถูกที่ถูกทางค่ะ



ปริมาณปรอทคร่าวๆ ของหลอดไฟแต่ละชนิดค่ะ

Fluorescent lamp (มีปริมาณปรอท 3-12 mg ไปจนถึง 10 - 50 mg)
Compact fluorescent lamp (มีปริมาณปรอท 1-25 mg)
Fluorescent U-tube (มีปริมาณปรอท 3-12 mg)
Fluomeric lamp (มีปริมาณปรอท 2 mg)

เราก็ไม่รู้เหมือนกันว่าใช้หลอดแบบประหยัดดีกว่า หรือใช้หลอดแบบธรรมดาดีกว่านะคะ (เพราะหลอดแบบดั้งเดิมมีปริมาณปรอทน้อย) ... เราก็ต้องชั่งระหว่างการประหยัดค่าไฟ (ต้นทุนการผลิตสูง เปลืองทรัพยากรโลก และทำลายสิ่งแวดล้อมมากกว่า) กับ ค่าไฟสูง (ต้นทุนการผลิตหลอดไฟต่ำ ทำลายสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า แต่ก็ต้องไปเปลืองทรัพยากรในการผลิตไฟฟ้าแทน) ... คิดไม่ตก

ฝากเรื่องนี้ไว้อ่านกันอีกนะคะ

ปล. ดูข่าว wikileaks ไม่รู้เมื่อไหร่จะจบๆ ซักที กัดไม่ปล่อยจริงๆ ... ท่าทางจะกลัวประความลับแตก เรื่องประเทศเล็กๆ ที่มีขนาดแผ่นดินเปล่าๆ เท่าแมวดิ้นตาย แต่มีเงินลงทุนโดยไม่ต้องเสียภาษีอย่างมหาศาล และก็เรื่องราวสนุกๆ ตื่นตาตื่นใจอีกมากมาย




 

Create Date : 25 กุมภาพันธ์ 2554
9 comments
Last Update : 25 กุมภาพันธ์ 2554 6:54:57 น.
Counter : 11551 Pageviews.

 

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ นะคะ vote

 

โดย: ดูดีในที่มืด 25 กุมภาพันธ์ 2554 4:39:02 น.  

 

เข้ามาโหวตให้อีก1 ฮับ

 

โดย: พ่อมดน้อย (LittleAthena ) 25 กุมภาพันธ์ 2554 6:04:27 น.  

 

นี่แหล่ะค่ะที่สาว ๆ ต้องการ ถกเถียงกันมานานเหลือเกิน ขอบคุณสำหรับความรู้ดี ๆ ค่ะ ^_^

 

โดย: แอ่น..แอ๊น@facebook (phukboong69 ) 25 กุมภาพันธ์ 2554 8:15:21 น.  

 

ละเอียด เข้าใจง่าย ทิ้งท้ายด้วยปมการเมืองและสิ่งแวดล้อม

สมกับเป็นคุณฟีบี้จริง ๆ ;D

 

โดย: PuPe_so_Sweet 25 กุมภาพันธ์ 2554 11:14:00 น.  

 

เข้าใจง่ายมากๆ เลยค่ะ ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ นะคะคุณฟีบี้

 

โดย: ~บุลภรณ์~ 26 กุมภาพันธ์ 2554 13:41:15 น.  

 

สวัสดีครับคุณฟีบี้ ผมเข้ามาอ่านบล๊อคแห่งนี้มาเป็นเวลาประมาณ 1 ปีแล้วครับ วันนี้เป็นครั้งแรกที่ขอแนะนำตัว และขอทำความรู้จักครับ ผมชื่อดิวครับ บล๊อคแห่งนี้เป็นแหล่งความรู้ที่ทำให้ผมได้พบกับวิธีดูแลผิว และทรรศนคติที่ถูกต้องในการเลือกใช้สกินแคร์ ขอบคุณคุณฟีบี้มากครับ ที่สละเวลามาให้ความรู้กับคนทั่วไป ให้เข้าใจได้อย่างง่ายดาย ถ้ามาเมืองไทยเมื่อไหร่ ขอเลี้ยงข้าวซักมื้อนะครับ

 

โดย: dew IP: 27.55.156.76 16 มีนาคม 2554 15:09:17 น.  

 

ขอบคุณมากค่ะ สำหรับความรู้ดี
อ่านบล๊อคคุณฟีบี้ทีไรได้ความรู้กลับไปทุกที

 

โดย: Celia 30 มีนาคม 2554 9:58:16 น.  

 

สวยน่ารักมากค่ะ บิ๊กอาย

 

โดย: bigeye2u (tewtor ) 12 เมษายน 2554 1:10:03 น.  

 

สวัสดีจ้ะ แว๊ะมาทักจ้าาา rassapoom rassapoom clinic รัสมิ์ภูมิ รัสมิ์ภูมิ คลินิก ตาสองชั้น ทำตาสองชั้น ศัลยกรรมตาสองชั้น ฟิลเลอร์สะโพก ฟิลเลอร์เสริมสะโพก ฉีดฟิลเลอร์สะโพก ฉีดฟิลเลอร์เสริมสะโพก Morpheus Morpheus Pro ยกกระชับผิว ฟิลเลอร์คาง โปรแกรมฟิลเลอร์คาง Exosome Exosome Plus Exosome Plus+ กระชับช่องคลอด ช่องคลอด Vaginal Vaginal Reju Skin Quality ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา ฟิลเลอร์ใต้ตา Ultracol ไหมน้ำ Allergan โบ Allergan ฉีดโบ Allergan Super Skin Laser ฝ้า กระ ฝ้า กระ จุดด่างดำ Picocare 450 Laser ร้อยไหม ร้อยไหมคืออะไร Lenisna JUVELOOK สารเติมเต็ม REVIVE BELOTERO REVIVE Rejuran Gouri คอลลาเจน กระตุ้นคอลลาเจน Juvederm Juvederm Volite New Juvederm Volite Radiesse Radiesse Filler Sculptra คอลลาเจน เสริมจมูก ศัลยกรรมเสริมจมูก ปลูกผม FUE ฟิลเลอร์ Filler ฉีดฟิลเลอร์ Thermage Thermage FLX ยกกระชับ ยกกระชับผิว Ulthera EMFACE ยกกระชับ ยกกระชับกล้ามเนื้อ ฉีดแฟต สลายไขมัน ฉีดแฟตสลายไขมัน CoolSculpting Elite CoolSculpting สลายไขมันด้วยความเย็น สลายไขมัน BodyTite ดูดไขมัน Emsculpt สร้างกล้ามเนื้อ ลดไขมัน สอนฉีดโปรแกรมฟิลเลอร์ สอนฉีดฟิลเลอร์ ฉีดฟิลเลอร์ ให้ใจ สุขภาพ

 

โดย: สมาชิกหมายเลข 5704427 23 ธันวาคม 2566 16:28:16 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Phoebe Buffay
Location :
ทุ่งหญ้า Canada

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 173 คน [?]




"It's Phoebe! That's, P as in Phoebe; H as in hoebe, O as in oebe; E as in ebe; B as in bebe; and E as in ... Ello there mate." Friends

There is no copyright here, unless otherwise specifically mentioned. If you find it useful, just take it. Thanks!

CHAT BOX



LAST UPDATES
LOSEING WEIGHT (BBC)
SKINCARE MINI SERIES
FAVORITES

Friends' blogs
[Add Phoebe Buffay's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.