โลกมีทางให้เดินเป็นพันพันทาง เราต่างใช้ปรัชญาแห่งชนชั้นของตน นำทางในการเดิน เราต่างเดินตาม ปรัชญาแห่งชนชั้นตน
 
กรกฏาคม 2551
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
10 กรกฏาคม 2551
 
 

ปรัชญาวิจารณ์ 2

9. ปรัชญาวิจารณ์
9.5 เอสเอ็ม. เทียบกับปรัชญาของอิมมานูเอล ค้านท์

นักปรัชญาชาวเยอรมันชื่อ อิมมานูเอง ค้านท์(Immanuel Kant) ค.ศ. 1724-ค.ศ.1804, ได้เขียนบทวิจารณ์ปรัชญาระบบที่เกิดก่อนๆไว้ เช่นทวินิยมของเดส์การตส์ สสารนิยมของฮอบบส์ , มโนภาพนิยมของบาร์คลี่ย์และไลบ์นิซย์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งปรากฎการณ์นิยิมของฮิวม์ หนังสือที่เขาแสดงบทวิจารณ์นี้มีชื่อว่า The Critique of Pure Reason ความคิดในหนังสือเล่มนี้แทรกซึมจิตใจนักคิดชาวยุโปปในคริสต์ศตวรรษ ที่ 19 มาก และแนวปรัชญาของค้านท์นั้นเป็นการถอยจากทฤษฎีสสารนิยมและมโนภาพนิยมไปสู่หลักปรัชญาของสามัญชน แต่ก็มีความคิดก้าวจากมติของสามัญชนไปในแนวทางของจิตนิยมด้วย ดังจะเห็นได้ดังต่อไปนี้

ค้านท์,ทำการโต้คำสอนของฮิวม์อย่างรุนแรงตรงที่ฮิวม์สอนว่า เหตุกับผลไม่เกี่ยวข้องกันอันทำให้เรารู้ผลจากเหตุไม่ได้ ฮิวม์สอนว่า,เราเพียงจำได้ว่าผลอย่างนี้เกิดจากเหตุยอ่างนั้นเท่านั้น ค้านท์ยอมรับเชื่อตามฮิวม์ในมติที่ว่า เราจะรู้ผลจากการคิดไปจากเหตุและรู้เหตจากากรคิดไปจากผลไม่ได้ และเรารู้ได้ก็โดยเคยสังเกตเห็นทั้งคู่เหตุและผลมาก่อนแล้ว แต่เขาอ้างว่า นี่,ไม่ได้หมายความว่า เหตุ,ไม่เกี่ยวข้องกับผล ตรงกันข้ามทีเดียว ค้านท์ว่า เหตุ,,ย่อมเกี่ยวข้องกับผลด้วยความจำเป็น และนั่นคือการถือเอาของมนุษย์ว่าเป็นเช่นนี้ เพราะคำว่าเหตุกับผลนั้นเป็นคำที่เกิดคู่กันมา คือย่อมเกิดพร้อมกันในเวลาบัญญัติคำ นี่เนื่องจากการเห็นเหตุและผลเกี่ยวข้องกันอยู่นั่นเอง เหตุและผลเป็นเพียงระบบรวมอย่างหนึ่งซึ่งคนเรามองแยกเป็นสองอย่างไป โดยการมองทีละขณะ เขาจึงยืนยันว่า สิ่งที่มีทุกอย่าง,ต้องเป็นผลของเหตุและเป็นเหตุของผลอย่างใดอย่างหนึ่ง และเป็นธรรมดาที่คนเราจะคิดไปในทำนองนี้

ค้านท์ได้นำคำสอนเรื่องเหตุ,ผลของเขาไปอธิบายการรับรู้ และกล่าวว่าการรับรู้ของคนเรานั้นเป็นความตรึงตราใน สี กลิ่น รส ฯลฯ อันเนื่องมาจากเหตุ เขาว่าเหตุดังกล่าวคือการมีสิ่งโดยตัวเอง (Things in Themselves) ในสรรพสิ่งทั้งปวง เขาสอนว่า ความตรึงตราในสี กลิ่น รสที่เรียกว่า , คุณภาพนั้น เรารู้ได้ทางผัสสะ ส่วน,สิ่งโดยตัวเอง,นั้นเป็นสิ่งที่รู้ไม่ได้ (Unknown) เพราะค้านท์เองก็สอนว่า เราได้ความรู้มาทางผัสสะ ในทำนองเดยวกัน เรารู้ตัวตนได้ก็เท่าที่รู้สึกอยู่ (Empirical Self) เพราะเรามีความตรึงตราเป็นความดีใจ เสียใจ มีความรู้สึกหิว ปวดท้อง ฯลฯ เขาว่าความตรึงตรานี้ต้องมีเหตุคือ การมีตัวตนที่แท้, (Real Self) แต่ค้านท์ ก็กลับสอนว่า ตัวตนที่แท้ (Real Self) ก็ไม่ใช่สิ่งที่เราจะรู้ได้อีก เพราะมันไม่มีลักษณะที่จะให้เรารู้ได้ทางผัสสะ

สำหรับสิ่งโดยตัวเอง (Things in Themselves) และตัวตนที่แท้ (Real Self) นั้น ค้านท์สอนว่า มันเป็นสิ่งซึ่งไม่เปลี่ยนแปลง คือความรู้สึกประเภทเพทนาการอันเป็นอาการภายนอกของตัวตนที่แท้,ที่ไม่รู้เปลี่ยน แปลง สามัญชนมักเชื่อกันอย่างนี้ และก็น่าขอบใจค้านท์ที่ย้ำอธิบายปรัชญาสามัญชนตรงแง่นี้ให้ละเอียดออกไป

ความผิดพลาดของค้านท์อยตรงหลักคิดที่ว่า มีสิ่งซึ่งอยู่กับที่และไม่เปลี่ยนแปลง การยึดมั่นเช่นนี้ช่วยเสริมให้เกิดการสมมติสิ่งโดยตัวเอง และตัวตนที่ไม่รู้เปลี่ยนแปลง ,คือตัวตนที่แท้ ขึ้นมา

เอสเอ็ม. แน่ใจว่า สิ่งโดยตัวเอง (Things in Themselves) หามีไม่ จะมีก็แต่สิ่งซึ่งเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด คือมันเป็นสิ่งที่จะเป็นอื่นก็ไม่ใช่ และจะเป็นตัวเองก็ไม่เชิง ตัวตนก็เป็นตัวตนที่เกี่ยวข้องกันเอง และเกี่ยวข้องกับสิ่งนอกกายด้วย สรรพสิ่งและตัวตนเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับคุณภาพของมัน หรือลักษณะภายนอกเท่าที่ปรากฏของมัน

ถ้าถือว่า , มี,สิ่งอันเป็นเอกในตัว และไม่รู้เปลี่ยนแปลง แล้วเห็ฯการเปลี่ยนแปลงของลักษณะภายนอกเกิดขึ้น เราก็อาจคิดไปได้ว่า สิ่งโดยตัวเองหรือตัวตนที่แท้,นั้น มีอยู่ต่างหากจากลักษณะภายนอกเท่าที่ปรากฏ
แต่ถ้าถือตามข้อเท็จนจริงที่ว่า มีสิ่งอันเปลี่ยนแปลง ซึ่งเกี่ยวกันกันหมด และเห็นการเปลี่ยนแปลงของลักษณะภายนอกของมัน เราก็จะไม่พูดเรื่องสิ่งหรือตัวตนนั้น รวมเป็นสิ่งเดียวกับสิ่งหรือตัวตนนั้น และเปลี่ยนแปลงไปตรงกับสิ่งหรือตัวตนนั้นทุกประการ นี่,คือคำสอนของเอสเอ็ม.นั่นเอง

สามัญชนผู้ทำงานผลิตสิ่งต่างๆเพื่อกินเพื่อใช้นั้น ย่อมไม่ใคร่มีเวลานั่งคิดปรัชญา เขาจะไม่คิดถึงสิ่งโดยตัวเองเลย เพราะโดยความจัดเจนอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน พวกเขารู้จักแต่สิ่งสำหรับเรากินเราใช้ และเขาจะสนใจอยู่เรื่องเท่านั้น ฉะนั้นปรัชญาเอสเอ็ม.ซึ่งเป็นปรัชญาของสามัญชนที่ก้าวหน้า ก็มุ่งศึกษาสิ่งสำหรับเรากินเราใช้เหมือนกัน และจะเลิกพิจารณาสิ่งโดยตัวเองอย่างเด็ดขาด เพราะนอกจากมันจะไม่มีอยู่ทางวิทยาศาสตร์แล้วยังหาประโยชน์อะไรไม่ได้แก่มวลมนุษย์ด้วย

คำสนอของค้านท์อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญคือเรื่องคาทีกอรี (Category) หรือประเภทของความเกี่ยวข้อง เขากล่าวว่าวัตถุทุกชิ้นนั้น นอกจากแสดงลักษณะภายนอกอันรุ้ได้ทางผัสสะแล้ว ยังแสดงความเกี่ยวข้องกับสิ่งอื่น
อีกด้วย และความเกี่ยวข้องนี้ในชั้นแรกเขาว่า ไม่ใช่สิ่งที่รู้ได้ทางผัสสะมันเป็นกรอบโครง (Form) ของความคิด (Thought) ที่เรานำไปสวมใส่ให้แก่วัตถุภายนอก กรอบโครงอย่างหนึ่งคืออวกาศ (Space) และกาล(Time) และกรอบโคงอีกอย่างหนึ่งคือคาทีกอรีอันได้แก่คาทีกอรีแห่งผลรวม คาทีกอรีแห่งการเป็นเหตุและผล คาทีกอรีแห่งการเกี่ยวข้องกลับกัน และคาทีกอรีแห่งการเปรียบเทียบ ด้วยประการฉะนี้ เขาจึงเอนเอียงไปในทางที่ถือว่า โลกภายนอกนั้นไม่ได้เป็นตัวของตัวเอง ดังที่ปรากฏต่อเรา มันเป็นสิ่งโดยตัวเองก็แต่ เมื่อได้ลบเอาลักษณะภายนอก อวกาศ กาล และคาทีกอรีออกแล้ว ซึ่งเมื่อเป็นดังนี้จึงเป็นสิ่งที่เรารู้ไม่ได้

ปรัชญาเอสเอ็ม. ถือว่า อวกาศและกาล ไม่ใช่สิ่งที่แยกออกได้จาก,สสาร,ที่เคลื่อนไหวเพราะสสารซึ่งเคลื่อนไหว ได้รวมเอาอวกาศและกาลไว้ในตัวแล้ว อีกทั้งสสารซึ่งเกี่ยวข้องกันหมดเป็นหนึ่งเดียว ก็รวมเอาคีกอรีหรือประเภทของความเกี่ยวไว้ด้วย ความเกี่ยวข้องมีในสรรพสิ่ง เพราะไม่มีสรรพสิ่งใดเป็นเอก โดดเดี่ยวและไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งใด ฉะนั้นจึงหาใช่โครงครอบแห่งความคิดไม่ แต่หากเป็นความจริงภายนอกซึ่งเรารู้มาจากการสังเกตทางผัสสะเช่นเดียวกัน ตรงกันข้ามทีเดียว การมองแบบตัดตอนสิ่งที่เกี่ยวข้องกัน ให้เห็นเป็นแต่ละสิ่งนี้แหละเป็นโครงครอบดังกล่าว หาใช่เป็นความจริงไม่ ฉะนั้นสสารวัตถุจึงไม่มีลักษณะอะไร อันมีความคิดเข้าช่วยประกอบเลย ลักษณะของมันย่อมเป็นสิ่งที่มีอยู่เอง โดยปราศจากการช่วยเหลือของความคิดโดยแท้ลักษณะที่เห็นเป็นน่าชังหรือน่าชมเท่านั้นจึงจะกล่าวได้ว่ามีความคิดเข้าประกอบด้วย

นักปรัชญาค้านท์ในการปฏิเสธสิ่งโดยตัวเองว่าเรารู้ไม่ได้ และในการปฏิเสธตัวตนที่แท้ว่ารู้ไม่ได้ด้วยนั้น ก็ปฏิเสธพระผู้เป็นเจ้า(God) ฐานรู้ไม่ได้เหมือนกัน แต่ปรัชญาเอสเอ็ม.ปฏิเสธการมีอยู่ของสิ่งเหล่านี้เด็ดขาดไปเลย,ตามพุทธศาสนา ค้านท์กลับกระทำในทางตรงกันข้าม กล่าวคือเขาได้นำข้อเท็จจริงทางความคิดมาพิสูจน์ความมี,ของสิ่งเหล่านี้อีก คือเขากล่าวว่า มีความรู้สึกนึกคิดอยู่อย่างหนึ่ง,เป็นธรรมพิชาน (Moral Conciousness) นี่,คือจริยพันธะ (Moral Obligation) หรือความผูกพันทางศีลธรรม เขายืนยันว่าจริยพันธะนี้เป็นปรากฎการณ์อันเป็นเอกในตัว ไม่ได้เกิดจากสิ่งภายนอกแต่อย่างใด มันเป็นความรู้สึกซึ่งเกิดมีขึ้นมาเอง มันเป็นพลังขับดันให้คนเรากรุทำการอันจะเป็นการผ่อนคลายความรู้สึกเช่นนั้น ถ้ารับเชื่อกันอย่างนี้ก็หมายความว่า ต้องมีเหตุแห่งความผูกพันทางศีลธรรม และเหตุนี้ค้านท์ก็ว่า คือการมีสังคมแห่งบรรดาตัวตนที่แท้ (Society of Real Selver) ที่เป็นตัวตนมีธรรม (Moral Selves) และตัวตนของคนเราเป็นสมาชิกในสังคมนี้อยู่โดยอัตโนมัติ ฉะนั้น,ความผูกพันในศีลธรรมจึงเป็นพิชาน (Conciousness) ในตัวตนที่แท้ ตัวตนที่แท้จึงเป็นสิ่งที่เรารู้ได้ไป และสังคมแห่งตัวตนที่มีธรรมเช่นนี้จะเป็นการพิสูจน์ว่ามีสิ่งอันเป็น
พระเจ้าด้วย

จุดเริ่มคิดของค้านท์ในข้อนี้อยู่ที่จริยพันธะ ค้านท์กล่าวว่ามันเป็นข้อเท็จจริงทางความคิด อันมิได้เกิดจากเหตุภายนอก แต่เกิดจากเหตุภายใน คือการมีตัวตนในธรรม หรือตัวตนที่แท้ ทีจริงแล้ว,ความผูกพันทางศีลธรรมมีในคนบางคน ในบางขณะเท่านั้น จึงไม่ควรนำมาเป็นข้อเท็จจริงทางความคิดชนิดยืดเยื้อตลอดไปเลย และความผูกพันทางศีลธรรมนั้นแม้จะมีชั่วขณะก็มีเหตุจากภายนอก กล่าวคือผู้สำนึกคุณย่อมทราบว่าตน, ถูกทำบุญคุณให้โดยผู้อื่นมาก่อนแล้ว อีกประการหนึ่งความสำนึกคุณบางทีเกิดขึ้นได้ในเมื่อธรรมชาติที่เคยแร้นแค้น กลับอำนวยผลให้อย่างอุดมสมบูรณ์เพราะการเปลี่ยนแปลงทางลมฟ้าอากาศ และก็เกิดจากการเปรียบเทียบกับผลประโยชน์ที่ได้รับจากคนด้วยกันนั่นเอง คนเรารู้สึกบุญคุณของธรรมชาติเพราะเหตุนี้ แทนที่จะไปมัวนึกถึงตัวตนที่แท้ (Real Selves) หรือตัวตนมีธรรม (Moral Selves) อะไร อันเป็นการอนุมานทางความคิด ที่ไม่มีวันพิสูจน์ให้เห็นจริงได้ ปรัชญญาเอสเอ็ม.สอนให้เราทราบว่า สิ่งที่ควรนึกถึงเพื่อตอบแทนบุญคุณ คือผู้ทำการผลิตของกินของใช้ให้แก่เรา และเรียกร้องในฐานะที่เราเป็นสมาชิกแห่งสังคมผู้ผลิตนี้ ให้ตอบแทนโดยการร่วมช่วยในการผลิต ให้เกิดการเบาแรงและเวลาว่างสำหรับการพักผ่อนหย่อมใจขึ้น นี่,จะเป็นการทำเพื่อผู้อื่นและเพื่อตัวเราเองด้วย และจะเป็นจริงขึ้นมาได้ก็ด้วยมีการปฏิบัติเป็นการพิสูจน์

9.ปรัชญาวิจารณ์
9.6 เอสเอ็ม. เทียบกับปรัชญาประเภทมโนภาพนิยม
หรือจิตนิยม, (Idealism)

ปรัชญาประเภทมโนภาพนิยมนั้นมีกำเนิดมาตั้งแต่โบราณกาล ในเมื่อขณะนั้น อนารยชนถือลัทธิวิญญาณนิยมกันอยู่ และพากันเชื่อว่าวิญญาณหรือจิต เป็นสิ่งอมฤตซึ่งจะคงมีอยู่หลังจากร่างกายได้ดับสูญแล้ว

ปรัชญาของฮิวม์ซึ่งเชื่อว่า ไม่มีตัวตนที่เป็นจิต ไม่มีสสาร คงมีแต่ความตรึงตราและมโนภาพนั้นเป็นมโนภาพนิยม (Idealism) อันแท้จริง ความจริงคำอังกฤษที่ถูกต้องควรจะเป็น Ideaism เพราะได้จากคำว่า Idea คือมโนภาพ ลัทธิของฮิวม์จะเป็นจิตนิยมไม่ได้เลย เพราะเขาไม่เชื่อว่ามีจิต อีกประการหนึ่ง Ideal แปลว่า อุดมคติ อันเป็นจุดหมายปลายทาง Idealism ควรจะแปลว่าลัทธินิยมสิ่งอันเป็นอุดมคติแต่ก็ปรากฏว่าไม่มีคำตามนัยนี้อย่างไรก็ดี คำว่า Idealism ได้ถูกใช้แทน Ideaism เสียแล้ว จึง
เป็นอันว่า Idealism ถูกใช้แทน Ideaism เสียแล้ว จึงเป็นอันว่า Idealism
ถูกใช้แทนคำว่ามโนภาพนิยมหรือจิตนิยมต่อมา

ในเบื้องบุพพกาลซึ่งปรัชญาประเภทมโนภาพนิยมหรือจิตนิยมมีอยู่ในจิตของมนุษย์ ปรัชญาประเภทสสารนิยมก็ได้มีอยู่ในจิตกึ่งสำนึก, (Sub-Conciour Mind) พร้อมๆกันด้วยแล้ว ทั้งนี้เพราะมนุษย์โบราณต้องแตะต้องกับโลกภายนอกในความเป็นอยู่ของเขาอยู่ตลอดเวลา

ประวัติศาสตร์ของปรัชญาจึงเป็นประวัติศาสตร์แห่งการปรากฏสลับกันไปกันมา ของความคิดแบบมโนภาพกับสสารนิยม ซึ่งในการนี้ความนึกคิดแบบสสารนิยมมักจะเกิดทีหลัง โดยเป็นการก้าวหน้าทางความคิดจากมโนภาพนิยมเก่าไปอีกขั้นหนึ่ง เป็นการปรากฎของหลักปรัชญาสสารนิยมในจิตกึ่งสำนึกออกมาเป็นสำนึกคิดภายนอก ทั้งนี้
เพราะเหตุการณ์ของโลกเป็นเหตุล่อ เรื่องนี้เราจะกล่าวถึงในภายหลัง/259

มนุษย์โบราณมีหลักญาณวิทยาประจำตัวมาอย่างแน่นหนาแล้วว่า มีผลต้องมีเหตุ และมีเหตุต้องมีผล เมื่อเขาเห็นปรากฎการณ์ธรรมชาติ อันให้ความตรึงตราอย่างรุนแรง เช่นฟ้าผ่า ภูเขาไฟระเบิด พายุใหญ่ แผ่นดินไหว เขาย่อมคิดหาต้นเหตุของปรากฎการณ์เหล่านี้ เนื่องจากในสมัยนั้นวิทยาศาสตร์ยังไม่เกิด และยังไม่มีการทดลองที่ควรเรียกได้ว่าเป็นการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วยมนุษย์เริ่มสังเกตเห็นความเป็นต้นเหตุของมนุษย์ด้วยกันเอง อันเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดผลเช่นการลงโทษมนุษย์ด้วยกัน และการล่าสัตว์ จึงคิดคืบไปว่าผลในธรรมชาติ,ก็เกิดจากมนุษย์ด้วยและเมื่อเขาตรองดูว่า มนุษย์คืออะไรแล้ว เขาก็พบคำตอบในความคิดของเขาเองว่า,เป็นจิต,เขาจึงเชื่อว่า,ในตัวมนุษย์มีจิตหรือวิญญาณแฝงอยู่ ซึ่งจิตหรือวิญญาณนี้เป็นสิ่งอมตะ,อันจะคงเหลือ อยู่เมื่อร่างกายตายไปแล้ว มนุษย์โบราณจึงทำการบูชาวิญญาณบรรพบุรุษ และอธิบายว่าวิญญาณเหล่านี้เอง เป็นเหตุแห่งปรากฏการณ์ของธรรมชาติ

ต่อมาภายหลังเมื่อมนุษย์คิดว่า ตัวเขาด้อยกว่าปรากฏการณ์ธรรม ชาติ ด้วยได้รับภัยจากนั้นจึงคิดไปว่าจิตหรือวิญญาณ ดังกล่าวเป็นสิ่งอยู่เหนือเขา และฉะนั้นจึงเกิดการแสดงความภักดีต่อวิญญาณเหล่านั้นขึ้น ทั้งนี้โดยการแสดงความเกรงกลัวและยกย่อง เทพเจ้า,จึงเกิดมีขึ้นตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

จากเทพเจ้าหลายองค์,ไปสู่ลัทธิเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดองค์เดียว แล้วก็เกิดองค์กรของนักศาสนา และการสืบต่อศาสนา ครั้งแล้วป้อมปราการแห่งจิตนิยมก็เกิดขึ้น เพราะว่าศรัทธาในเทพเจ้าหรือพระผู้เป็นเจ้า ก็คือศรัทธาในการมีจิตเป็นอมฤต เป็นนิรันดรนั่นเอง

หลักปรัชญาที่ที่มีจิต,เป็นสิ่งนิรันดร ประกอบเข้ากับการเห็นความ
คงทนถาวรของภูเขา ลำน้ำ ทำให้เกิดหลักคิดในเรื่องหยุดนิ่งอยู่กับที่ และการคงกระพันชาตรี (Immutabilty) ขึ้น และก็ดูเหมือนว่าการคงทนของธรรมชาตินอกกาย ประกอบกับการกลัวตายนี่เอง ที่ทำให้มนุษย์คิดเรื่องจิตเป็นสิ่งนิรันดรขึ้นมา นี่,เป็นผลของการมองธรรมชาติในระยะเวลาสั้น มันเป็นความบกพร่องซึ่งปรัชญาโบราณนำมายึดถือเป็นความแท้จริงขึ้น ฉะนั้นปรัชญาล้าสมัยจึงพยายามใฝ่หาสิ่งที่มี,อันคงทนถาวรชั่นกาลนิรันดร และก็พบมัน,ในความคิด,มโนภาพ,ไม่ใช่ในความเป็นจริงนั้น เป็นสิ่งสมบูรณ์หรือเทพเจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์

นอกจากนี้แล้วมนุษย์โบราณ ซึ่งมีจิตนิยมเป็นพื้นฐานแห่งความนึกคิด ยังเชื่อว่ามโนภาพถูกนึกขึ้นมาจากความว่างเปล่าของห้วงนึก ฉะนั้นมนุษย์โบราณจึงเชื่อว่า มีการเกิดของสรรพสิ่งโดยฉับพลัน จากความสูญมาเป็นความมี โดยไม่ผ่านพัฒนาการหรือวิวัฒนาการแต่อย่างใด นี่,คือการเนรมิตแบบผู้วิเศษนั่นเองและเพราะเชื่อกันอย่างนี้ ไสยศาสตร์จึงเกิดขึ้นสนองความปรารถนาของมนุษย์ ในอันที่จะช่วยเนรมิตสิ่งที่ต้องการขึ้นมาจากความว่างเปล่าโดยฉับพลัน และเนื่องจากมโนภาพในห้วงนึก,อาจถูก
ทำให้หายไปได้โดยฉับพลันด้วยการคิด มนุษย์โบราณจึงเชื่อว่าสรรพสิ่งอาจถูกเนรมิตให้สูญเป็นความว่างเปล่าไปได้โดยฉับพลันเหมือนกัน และไสยศาสตร์ก็รับใช้ในเรื่องนี้ด้วย มนุษญ์โบราณจึงเชื่อโดยมีหลักคิดอย่างผิดๆว่า มีสิ่งซึ่งคงทนถาวร ไม่รู้เปลี่ยนแปลง และมีสิ่งซึ่งเกิดมาโดยฉับพลันจากความว่างเปล่า และก็มีสิ่งซึ่งดับไปสู่ความว่างเปล่าโดยฉับพลันเหมือนกัน

ความคิดอย่างนี้แม้ในขณะนี้,ผู้ที่ไม่ได้รับการศึกษา คือมหาชนส่วนใหญ่ของโลกก็เชื่ออย่างนี้ด้วย เพราะนี่,เป็นหลักปรัชญาอีกข้อหนึ่งของสามัญชน
อาศัยที่คุ้นเคยใกล้ชิดอยู่กับจิตของตัวเอง มนุษย์โบราณได้ยึดข้อเท็จจริงอันเกิดจากการคิดขึ้นในจิตใจ มาเป็นโลกทรรศน์ เขาสังเกตว่าจิต,นึกมโนภาพขึ้นมาได้ และทำให้หายไปก็ได้ ทั้งนี้ด้วยความฉับพลัน เนื่องจากมโนภาพที่ถูกนึกขึ้นนี้คล้ายกับสิ่งที่เห็นนอกกาย เพราะได้มาจากการเห็นสิ่งนั้นมาแล้ว มนุษย์โบราณเลยคิดว่า สิ่งนอกกายก็เหมือนกับมโนภาพ คือเป็นมโนภาพ และเนื่องจากจิตเนรมิตมโนภาพขึ้นมาได้ เขาก็ย่อมคิดว่า สิ่งนอกกายก็เป็นสิ่งหรือเป็นมโนภาพ,ซึ่งจิตเนรมิตขึ้นมาเหมือนกัน เพียงแต่ว่านั่น,ไม่ใช่จิตของเขา หากเป็นจิตของผู้ที่ยิ่งใหญ่กว่าเขาเท่านั้น ทั้งนี้เพราะมโนภาพที่เขาคิดขึ้นมานั้นยังมีจำนวนมากอย่างไม่เท่ากับสิ่งต่างๆที่มีอยู่ในธรรรมชิต

ตามหลักคิด,อันเป็นทฤษฎีที่ได้จากากรสังเกตมโนภาพในความคิดเช่นนี้ การเปลี่ยนแปลงจึงพลอยถูกเข้าใจว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงโดยฉับพลันไป โดยสิ่งที่เปลี่ยนดับสูญไปโดยฉับพลันก่อน แล้วสิ่งใหม่เกิดขึ้นมาแทนโดยฉับพลันเหมือนกัน นี่ก็เป็นไปอย่างเดียวกับการเปลี่ยนมโนภาพในความคิดและได้จากการสังเกตเช่นนั้นด้วย

มนุษย์โบราณจึงไม่เข้าใจว่า การเปลี่ยนแปลงนั้นมีพัฒนาการเป็นประวัติศาสตร์ และฉะนั้นเขา,จึงไม่มีปรัชญาซึ่งแสดงประวัติศาสตร์ของสรรพสิ่ง เรื่องการเป็นเหตุเป็นผลก็เหมือนกันได้ถูกเข้าใจไปในทำนอง่วา เหตุบังคับผลให้เป็นไปโดยฉับพลันด้วย

หลักปรัชญามโนภาพนิยมของคนโบราณ จึงคล้ายกับหลักที่พึงได้จากการสังเกตภาพถ่ายในฟิล์มภาพยนตร์ ซึ่งทำเรื่องทั้งเรื่องอันรวมประวัติศาสตร์ยืดยาวไว้ภายในเวลาอันจำกัด กล่าวคือเป็นภาพถ่ายสิ่งๆหนึ่งในเวลาอันจำกัด ซึ่งจะไม่แสดงว่ามีการเปลี่ยนแปลงอะไรเลย สิ่งใดเกิดมาก็ถ่ายเฉพาะรูปเมื่อมันเกิดแล้ว สิ่งใดดับสูญไปก็ถ่ายภาพเมื่อไม่มี
อะไรเหลือแล้ว เวลาถ่ายภาพเรื่องเหตุบังคับผล ก็ถ่ายให้เห็นเหตุ และก็มีภาพผลเกิดขึ้นแทนโดยฉับพลัน

เมื่อความจิรงย่อมไม่ใช่ภาพที่ถูกถ่ายมา หลักคิดที่สังเกตจากภาพถ่ายจึงใช้ไม่ได้ ไม่ใช่หลักของความจริง และฉะนั้นหลักคิดที่ถอดออกจากมโนภาพจึงใช้ไม่ได้ เพราะไม่ใช่หลักของความจริง หลักมโนภาพนิยมจึงไม่ใช่หลักวิทยาศาสตร์อันตรงกับความจริงในโลกภายนอก อันเคลื่อนไหวเกี่ยวข้องและเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นหนึ่งเดียว

อย่างไรก็ตามเราก็จำต้องทราบว่า หลักจิตนิยมของคนโบราณนั้นแทรกซึมอยู่ในจิตใจของคนส่วนใหญ่ในปัจจุบันนี้อยู่ และคอยที่จะดัดแปลงหลักวิทยาศาสตร์อยู่ทุกขณะ เช่นนักเคมีที่สังเกตว่าพอเป่าอากาสออกจากปากลงไปในน้ำปูนใส น้ำปูนใสก็จะขุ่นทันทีนั้น เขาย่อมมีพื้นฐานทางความคิดเช่นนี้มาจากการเนรมิตมโนภาพขึ้นโดยฉับพลันในจิตใจซึ่งผิด, เพราะว่าน้ำปูนใสกินเวลาในการแปรธาตุกับคาร์บอนไดออก ไซด์แล้วเกิดขุ่น เพราะแคลเซี่ยมคาร์บอเนตขึ้นมา นักปฏิวัติกิจการ,ที่ไม่เข้าใจว่า,ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีพัฒนาการแห่งการเกิด โดยไม่เกิดฉับพลันจะผิดหวัง,เมื่อเห็นกิจการหลังปฏิวัติไม่เปลี่ยนแปลงรูปไปดังที่ต้องการ โดยฉับพลัน ทั้งนี้,เพราะย่อมไม่มีการฉับพลันในการเปลี่ยนแปลงใดๆเลย คงมีแต่การพัฒนาทางปริมาณอย่างค่อยเป็นค่อยไป แล้วผ่านจุดก้าวกระโดดทางคุณภาพใหม่ 2 – 3 ครั้งในประวัติศาสตร์แห่งการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเท่านั้น และการคิดผิดเช่นนั้น,ย่อมเนื่องมาจากหลักคิดแห่งจิตนิยม กล่าวคือการยึดถือพฤติกรรมทางความคิดมาครอบความเป็นไปของโลกภายนอกนั่นเอง

ที่กล่าวมาแล้วเป็นมโนภาพนิยมหรือจิตนิยมในระยะแรก ซึ่งเกิดจากความเข้าใจต่อโลกของมนุษย์โบราณ และก็เป็นปรัชญาจิตนิยมของ
สามัญชนบางคนในปัจจุบันด้วย ก่อนที่จะกล่าวต่อไปถึงจิตนิยมในสมัยต่อมา เราควรทำความเข้าใจบางอย่างเสียก่อน
มโนภาพนิยม(Idealism) มี 2 ประการคือ

ประการที่ 1 ถือว่า,มโนภาพหรือความตรึงตรามีอยู่ได้เอง (Objective Idealism) หรือมิฉะนั้นก็เป็นมโนภาพของพระเจ้า เป็นมโนภาพซึ่งมีอยู่นอกจิตใจของเรา

ประการที่2 ถือว่า,มโนภาพเป็นสิ่งที่คนเราเนรมิตขึ้นด้วยความปรารถนาของจิตของตนเอง (Subjective Idealism) มโนภาพอย่างนี้ กลายเป็นลัทธิอัตตนิยมอย่างรุนแรง (Solipsim) ไป

ฉะนั้นมโนภาพนิยมหรือจิตนิยมสามัญ จึงเป็นประเภทที่เชื่อในความมีอยู่นอกจิตใจ (Objective) นอกจากนี้แล้ว ยังมีการเชื่อว่า มโนภาพเกิดขึ้นเอง โดยไม่อาศัยจิตอีก เช่นที่ปรากฏในคำสอนของฮูว์ม นี่เป็นลัทธิมโนภาพนิยมอันแท้จริง แต่คำสอนส่วนมากมีว่าจิต,เป็นเจ้าของมโนภาพ เป็นผู้มีมโนภาพ ฉะนั้นมโนภาพจึงขาดความสำคัญไป เพราะความเชื่อถือมุ่งไปอยู่ที่จิต ซึ่งเป็นเหตุแห่งมโนภาพ

ปรัชญาที่เชื่อในความเป็นใหญ่ของจิต หรือจิตนิยมนี้ ก็ถูกเรียกว่า (Idealism) เหมือนกัน เราจึงนิยมใช้คำว่ามโนภาพนิยมหรือจิตนิยมในตำหรับของปรัชญาเอสเอ็ม. ทั้งนี้เพื่อกันการเข้าใจผิดอันอาจเกิดขึ้นได้ และเนื่องจากลัทธิมโนภาพนิยมจริงๆมีแต่ของเดฝิดฮูว์ม นักปรัชญาชาว สก๊อตคนเดียวเท่านั้น เราจึงใช้คำจิตนิยม (Idealiam) โดยทั่วไป




 

Create Date : 10 กรกฎาคม 2551
2 comments
Last Update : 10 กรกฎาคม 2551 18:47:48 น.
Counter : 1962 Pageviews.

 

ขอบคุณมากครับ เป็นประโยชน์โดยแท้ ช่วยในการเรียนมากจริง ๆ ครับ

 

โดย: ธง IP: 58.9.192.35 30 ธันวาคม 2551 11:29:06 น.  

 

ได้ประโยชน์มาก

 

โดย: 52225011 IP: 125.25.145.67 3 กรกฎาคม 2552 15:33:27 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

 

ลุงกฤช
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 8 คน [?]




อดีต : พ่อค้า ผู้รับเหมาก่อสร้าง

ปัจจุบัน : อาจารย์พิเศษสอนปรัชญาเป็นประจำแก่สถาบันของรัฐแห่งหนึ่ง สอนพิเศษนักศึกษาปริญญาตรีและโทมหาลัยมหิดล

คืนกำไรให้ชีวิตหลังจากการทำงานหนักมาเกือบตลอดชีวิต ขับรถไปฮันนี่มูนต่างจังหวัดบ้าง ไปสอนต่างจังหวัดบ้าง มีความสุขกับศรีภรรยาที่อยู่กันมาเกือบ 50 ปี
เธอดูแลเราเหมือนลูก เพราะลูกๆต่างก็มีครอบครัวแยกย้ายไปทำมาหากินกันดีๆทุกคนแล้ว เราเลยอยู่กันสามพ่อแม่ลูก(คนสุดท้อง)ซึงไม่ยอมมีผัว เพื่อดูแลพ่อแม่ กับหมาอีก 8 ตัว บางวันก็ไปสอนบ้าง บางวันก็เข้ามาในบล๊อกบ้างเพื่อเอางานที่เรียนรู้มา มาคืนให้แก่สังคม ดังที่เห็นๆกันแล้ว งานส่วนใหญ่ที่คัดลอกมาให้อ่านกันเป็นงานเขียนของท่านอาจารย์สมัคร บุราวาศ และทรรศนะส่วนตัว
อยากให้คนสนใจเรื่องปรัชญา เพราะตัวเองนั้นมีความสุขอยู่ได้ทุกวันนี้ก็เพราะมีปรัชญาชี้นำการดำเนินชีวิต มีความรู้ในการปฏิบัติทำมาหากิน ภายหลังหยุดชีวิตการทำมาหากินแล้วก็ยังมีสมบัติทีมากกว่าเบี้ยบำนาญของราชการ

แม้ไม่รวย แต่ก็ไม่จน จึงอยากให้เป็นตัวอย่างแก่คนรุ่นใหม่ที่ไม่มีทุนเข้ามหาลัยได้ดูเป็นแบบอย่างบ้าง เพราะชีวิตผมเริ่มต้นจากสูญ ไม่มีมรดกจากพ่อแม่

บทความซึ่งจะนำลงตอนละประมาณหนึ่งอาทิตย์ ถ้าใครไม่สนใจอ่านจะลบทิ้ง

บทความตอนใดที่ไม่มีผู้สนใจอ่าน(ไม่ให้ความเห็น)
จะลบออกเร็วกว่านั้น
อยากบอกอยากถามก็ขอให้เขียน เรามาแลกเปลี่ยนวิถีทรรศน์ของกันและกัน เพื่อเดินทางร่วมกันฉันท์สหาย
[Add ลุงกฤช's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com