โลกมีทางให้เดินเป็นพันพันทาง เราต่างใช้ปรัชญาแห่งชนชั้นของตน นำทางในการเดิน เราต่างเดินตาม ปรัชญาแห่งชนชั้นตน
 
กรกฏาคม 2551
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
13 กรกฏาคม 2551
 
 

ความรู้ของมนุษย์ได้มาจากไหน 2 วินิจฉัย แสงสว่างวัฒนะ

ความรู้ขั้นปฐมภูมิ คือ การรู้จักสิ่งแต่ละสิ่งเป็นอย่างๆไป (Category- แคท-อิโกริ) คนปัจจุบัน ก็กระทำอย่างเดียวกับคนในสมัยโบราณ ที่ใช้ เสียง แทนมโนภาพ และ มโนภาพ ก็แทน ของจริง นั้นอยู่นั่นเอง เพราะ ของจริง นั้นมิได้เข้าไปยัดอยู่ในหัวเรา มันเพียง สะท้อนจากสิ่งภายนอก แล้วปรากฏเป็น ภาพขึ้นในสมองของเรา เท่านั้น เราจึงเรียกมันว่า เพอะ-เซพท (Percept) คือ สิ่งที่รับทราบ

นี่ เกิดจากการทำงานของสมอง จนเกิดเป็น ภาพในสมอง ขึ้นมาเท่านั้นเอง

การสื่อความรู้ของมนุษย์ ก็เริ่มที่เขาชี้ไปยัง สิ่งที่ต้องการให้ลูกรู้ แล้วก็ เปล่งเสียงอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นแทนสิ่งนั้น เช่นชี้ไปที่พ่อหรือแม่ แล้วเปล่งเสียง พ่อ หรือ แม่ขึ้นมา แล้วลูกก็จำลักษณะที่ตรงกันของเสียงนั้น กับ สิ่งที่เสียงนั้นแทนอยู่ได้ นี่ก็คือมนุษย์โบราณ ค้นพบ การใช้ เสียง เป็น สื่อแทนภาพ แทน มโนภาพ นั่นเอง (ซึ่งมนุษย์ก็เพิ่งจะมี ภาษาพูด ก็ต่อเมื่อมนุษย์มีวิวัฒนาการมาถึง สมัยหินใหม่ตอนปลาย มานี้เอง)

ต่อมาแม้น้องไม่เห็นพ่อแม่ แต่เมื่อพี่เขา พูด ถึง พ่อแม่ มโนภาพของพ่อแม่ก็จะ ปรากฏขึ้นในสมองของเขา แล้วเขายังจำเสียงที่เปล่งขึ้นมาแทน ปรากฏการณ์ที่มี ได้อีก คือ ประเดี๋ยวพ่อแม่ก็จะกลับ ทำให้เขาหยุดร้องไห้ เพราะเขาเข้าใจว่า เสียงนั้น หมายถึง ปรากฏการณ์ของอะไร ในบทก่อน หากคุณอ่าน อย่างทำการสังเกต (Observation ออบเสอะเฝ-ฌัน) และ พิจารณา (Discrimination ดิซครีมิเน-ฌัน) ประกอบไป ก็จะเห็นความแตกต่างระหว่างมโนภาพ 2 ประเภท ที่เกิดขึ้นในสมองของคุณ หรือในสมองของเด็ก

เพื่อความเข้าใจอันกระจ่าง หากผมพูดถึงคำว่า มโนภาพ ผมจะหมายถึง ภาพที่เกิดขึ้นในสมอง ซึ่งอาจเป็น มโนภาพที่เกิดขึ้น ณ ขณะที่มีการรับรู้ ด้วยอวัยวะรับสัมผัสใดสัมผัสหนึ่ง หรืออาจเป็น มโนภาพที่เกิดจาก การนึกหรือการทวนระลึก ก็ได้ มโนภาพที่เกิดขึ้นทั้งสองแบบนี้ ภาษาปรัชญาทุกระบบจะใช้คำเรียกรวม และเหมือน ๆกัน คือ

มโนภาพ (ไอดี-อะ Idea) แต่ในวิชาจิตวิทยานั้น จะแยกเรียกต่างกัน ตาม ลักษณะอาการ และ เวลา กล่าวคือ จะเรียก มโนภาพที่เกิดขึ้น ณ ขณะที่มีกิริยากระทบระหว่างอวัยวะรับรู้กับวัตถุนอกกายนั้นว่า เพอะ-เซพท (Percept) สิ่งที่รับทราบ

แต่เมื่อพูดถึง มโนภาพที่เกิดจากการนึก แล้วจะเรียกว่า อีม-อิจ (Image) ซึ่งแปลว่า มโนภาพ เหมือนกัน จึงเห็นได้ว่า คำว่า มโนภาพ นี้ เป็นคำกว้าง ที่มีหลายนัย ปรัชญาระบบ เอสเอ็ม จึงได้ บัญญัติ คำขึ้นใหม่ เพื่อไม่ให้คำดิ้นได้เสียเลย

หากเป็น มโนภาพ ที่เกิดจากการมี ผัสสะ คือ มีกิริยากระทบ ระหว่างอวัยวะรับสัมผัสใดสัมผัสหนึ่ง กับวัตถุใดวัตถุหนึ่ง แล้วเกิดความรู้สึก (Sensation เซ็นเซ-ฌัน) สะท้อนเป็นมโนภาพขึ้นในสมอง ของผู้กำลังใช้ผัสสะอยู่นั้น และ ที่ทางจิตวิทยาเรียกว่า เพอะ-เซพท คือ สิ่งที่รับทราบ นั้น ปรัชญาระบบเอสเอ็ม บัญญัติเรียกมโนภาพนี้ว่า

มโนภาพแห่งความตรึงตรา (Idea Of Impression ไอดี-อะ อ็อฝ อิมพเรฌ-อัน) คำว่า ความตรึงตรา (Impression) นี้ นักปรัชญาชื่อ เดวิดฮิวม์ ก็ใช้มาก่อน

มโนภาพชนิดนี้จะแจ่มชัดเท่าคุณภาพที่ดีของอวัยวะรับรู้ของผู้ที่กำลังมีความตรึงตรา คือ เป็นมโนภาพที่เกิดขึ้นในปัจจุบันกาล และ เกิดขึ้นต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลา ณ ขณะที่มีผัสสะ (Sensation เซ็นเซ-ฌัน มีกิริยากระทบ มีความรู้สึก) ต่อสิ่งนั้นๆอยู่

เช่นกรณีของเด็กที่ เห็น พ่อแม่ แล้วชี้ที่ตัวของพ่อแม่พร้อมกับได้ยินเสียง เปล่งออกมา (พูด) ของพ่อแม่ว่า นี่พ่อ นี่แม่ ภาพในสมอง (มโนภาพ อาจเป็นภาพของ รูป เสียง กลิ่น รส) ที่สะท้อนขึ้นในขณะที่แกได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้รสนั้น ย่อมแจ่มชัด

นี่, เพราะเป็นมโนภาพแห่งความตรึงตรา เป็นภาพในปัจจุบันกาล แล้วแกก็ จดจำเสียง ที่เทียบกับมโนภาพอันเป็นภาพที่สะท้อนขึ้นจากของจริงขณะนั้นได้ ต่อมาภายหลังเมื่อพี่ของแก พูดว่าประเดี๋ยวพ่อแม่ก็จะกลับมา มโนภาพของพ่อแม่ก็ปรากฏ ขึ้นในห้วงนึกของแก แต่ก็เป็นมโนภาพที่ไม่แจ่มชัดเหมือนกับมโนภาพในขณะมีผัสสะ ภาพในสมองอย่างนี้ในทางวิชาจิตวิทยาก็เรียกว่า อีม-อิจ (IMAGE) ซึ่งก็แปลว่ามโนภาพเหมือนกัน ปรัชญาเอสเอ็มจึง บัญญัติ เรียกใหม่ว่า มโนภาพแห่งจินตนาการ (Idea Of Impression ไอดี-อะ อ็อฝ อิมพเรฌ-อัน อันถือว่า เป็นภาพที่ปรากฏซ้ำขึ้นใน สมอง เนื่องมาจากการทวนระลึก นึก คิด หรือจินตนาการ จากความทรงจำนั่นเอง
คนเราเมื่อมีผัสสะต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ เช่น หากว่า ตาของผู้นั้น กำลังมองดูข้าวเหนียวกับมะม่วงอกร่องในจาน หรือทุเรียนหมอนทอง พร้อมกับตักเข้าปากแล้วเคี้ยว เขาย่อมเห็น และ รู้สึกประทับใจมันอย่างชัดแจ้ง ทั้งสีสรรค์ กลิ่น และรส

เราจึงเห็นว่า Impression (อิมพเรฌ-อัน) คำนี้ เหมาะจะแทนปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสมองในลักษณะดังกล่าว ก็เพราะนอกจากจะแสดงการปรากฏของ รูปลักษณะภายนอกแล้ว ยังปรากฏ คุณสมบัติ ของสิ่งนั้น ๆ ควบคู่ติดตามมาด้วยพร้อม ๆ กัน อันทำให้เกิด ความประทับใจ เป็นความ ชัง ชอบ หรือ วางเฉย ต่อ สิ่งที่รับทราบ นั้นๆด้วย

ซึ่งจะช่วย พิมพ์รอยแห่งความทรงจำทิ้งไว้ในสมอง ได้ชัดเจน และ ยาวนาน ที่จะทำให้เกิดเป็น มโนภาพซ้ำของเดิม ขึ้นมาได้ใหม่ไม่หลงลืม เมื่อมี การนึก หรือเมื่อมี การทวนระลึก (Recollection เรค็อลเลค-ฌัน และ สมองยิ่งดี ภาพยิ่งคมชัด)

จะเห็นว่าปัจจัยสำคัญของการรับรู้-การเรียนรู้ ความรู้ของมนุษย์นั้น นอกจากผู้เรียนรู้จะต้องมีอวัยวะรับสัมผัสที่ดี(ไม่พิการ)แล้วยังต้องมีคุณภาพของสมองทั้งใน ส่วนที่รับสัมผัส และในส่วนที่เก็บความทรงจำ รวมทั้งส่วนเสาะเลือก เมื่อคิดที่ดีด้วย

นั่นก็หมายความว่า ความทรงจำ เป็นหัวใจของการเรียนรู้นั่นเอง ปัญหาจึงไปอยู่ที่ เนื้อหาของความรู้ ที่เรียนรู้ หรือรับรู้นั้น เนื้อหามันเป็นเท็จ หรือ เป็นสัจธรรม

ยิ่งนึกคิดความทรงจำถึงคู่เหตุคู่ผลวิทยาศาสตร์ที่เคยได้รับรู้มาให้ปรากฏเป็นมโนภาพตามการเสาะเลือกได้เร็วเท่าใด การตัดสินใจต่อปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า ก็ยิ่งถูกแก้ได้รวดเร็วขึ้นตามนั้น ดังนั้น ที่กล่าวว่า คนนั้นคนนี้มีความสามารถคิดหาเหตุผลได้ดีนั้นแท้จริงแล้ว เขาเพียงเป็น นักจำ คู่เหตุคู่ผลในเรื่องนั้นๆได้แม่นยำเท่านั้น เพราะถ้า ไม่เคยรับรู้สิ่งนั้นมาก่อน แล้วจำไว้ จะคิดจนหัวแตกอย่างไรเขาก็คิดไม่ออก

ผมจึงอ่อนใจที่นักการศึกษาของสยามในปัจจุบัน ไม่สอนให้เด็กท่องจำ เด็ก จำนวนไม่น้อยจึงโง่ลง ๆ แล้วก็เติบโตขึ้นกลายเป็นผู้ใหญ่ที่งี่เง่า ให้เห็นอย่างมากมาย อยู่ในทุกวันนี้ จึงนึกไม่ออกว่าจะช่วยกันรักษาชาติ (แผ่นดิน) ให้คงอยู่ได้อย่างไร
ความมหัศจรรย์ของสมองทางช่อง 11 เป็นสารคดีที่ยอดเยี่ยมมาก ผมคิดว่า โรงเรียนควรเอามาให้นักเรียนได้ศึกษา ช่อง 11 ทุกวันนี้มีดีเยอะเลย (สำหรับหลัก สูตรของเอสเอ็มแล้ว เราเริ่มต้นด้วยเรื่อง ความสำคัญของสมอง ก่อนเรื่องอื่น ๆ)


จากหนังสือทางเลือกใหม่ของชีวิตฯ พิมพ์ครั้งที่ 4




 

Create Date : 13 กรกฎาคม 2551
2 comments
Last Update : 13 กรกฎาคม 2551 18:04:34 น.
Counter : 1316 Pageviews.

 

ผมมีสารคดี ความมหัศจรรย์ของสมอง หากโรงเรียนใดต้องการขอมาจะ Copy ส่งไปให้

 

โดย: ลุงกฤช (ลุงกฤช ) 4 กรกฎาคม 2553 10:31:41 น.  

 

ดีมาก

มีปรา~โยด

 

โดย: อีแก่ IP: 203.144.193.165 4 กรกฎาคม 2553 15:26:15 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

 

ลุงกฤช
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 8 คน [?]




อดีต : พ่อค้า ผู้รับเหมาก่อสร้าง

ปัจจุบัน : อาจารย์พิเศษสอนปรัชญาเป็นประจำแก่สถาบันของรัฐแห่งหนึ่ง สอนพิเศษนักศึกษาปริญญาตรีและโทมหาลัยมหิดล

คืนกำไรให้ชีวิตหลังจากการทำงานหนักมาเกือบตลอดชีวิต ขับรถไปฮันนี่มูนต่างจังหวัดบ้าง ไปสอนต่างจังหวัดบ้าง มีความสุขกับศรีภรรยาที่อยู่กันมาเกือบ 50 ปี
เธอดูแลเราเหมือนลูก เพราะลูกๆต่างก็มีครอบครัวแยกย้ายไปทำมาหากินกันดีๆทุกคนแล้ว เราเลยอยู่กันสามพ่อแม่ลูก(คนสุดท้อง)ซึงไม่ยอมมีผัว เพื่อดูแลพ่อแม่ กับหมาอีก 8 ตัว บางวันก็ไปสอนบ้าง บางวันก็เข้ามาในบล๊อกบ้างเพื่อเอางานที่เรียนรู้มา มาคืนให้แก่สังคม ดังที่เห็นๆกันแล้ว งานส่วนใหญ่ที่คัดลอกมาให้อ่านกันเป็นงานเขียนของท่านอาจารย์สมัคร บุราวาศ และทรรศนะส่วนตัว
อยากให้คนสนใจเรื่องปรัชญา เพราะตัวเองนั้นมีความสุขอยู่ได้ทุกวันนี้ก็เพราะมีปรัชญาชี้นำการดำเนินชีวิต มีความรู้ในการปฏิบัติทำมาหากิน ภายหลังหยุดชีวิตการทำมาหากินแล้วก็ยังมีสมบัติทีมากกว่าเบี้ยบำนาญของราชการ

แม้ไม่รวย แต่ก็ไม่จน จึงอยากให้เป็นตัวอย่างแก่คนรุ่นใหม่ที่ไม่มีทุนเข้ามหาลัยได้ดูเป็นแบบอย่างบ้าง เพราะชีวิตผมเริ่มต้นจากสูญ ไม่มีมรดกจากพ่อแม่

บทความซึ่งจะนำลงตอนละประมาณหนึ่งอาทิตย์ ถ้าใครไม่สนใจอ่านจะลบทิ้ง

บทความตอนใดที่ไม่มีผู้สนใจอ่าน(ไม่ให้ความเห็น)
จะลบออกเร็วกว่านั้น
อยากบอกอยากถามก็ขอให้เขียน เรามาแลกเปลี่ยนวิถีทรรศน์ของกันและกัน เพื่อเดินทางร่วมกันฉันท์สหาย
[Add ลุงกฤช's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com