โลกมีทางให้เดินเป็นพันพันทาง เราต่างใช้ปรัชญาแห่งชนชั้นของตน นำทางในการเดิน เราต่างเดินตาม ปรัชญาแห่งชนชั้นตน
 
กรกฏาคม 2553
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
20 กรกฏาคม 2553
 
 

วิชาปรัชญา คำนำ

ผมได้รับแผ่น CD นี้จากอาจารย์วินิจฉัยฯ
เพื่อให้นำมาเผยแพร่
ขอขอบพระคุณอาจารย์ครับ


วิชาปรัชญา
โดย
สมัคร บุราวาศ
Bsc (Hons., CL. I ), A .R.S.M
ราชบัณฑิตสาขาวิชา อภิปรัชญา
อาจารย์ปรัชญา ณ มหามกุฏราชวิทยาลัย
ผู้เขียน
พุทธปรัชญามองจากทรรศนะทางวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์ของภาษาไทย
ปัญญา, ปัญญาวิวัฒน์, องคุลิมาล
Preliminary Notes on The Geology and
Mineral Deposits of Thailand
ฯลฯ
และผู้แปลเรื่อง
ประวัติและการค้นพบของนักวิทยาศาสตร์คนสำคัญของโลก
กับ ประวัติและลัทธิของปวงปรัชญาเมธี



(1)

วิชาปรัชญา
สมัคร บุราวาศ




เลขมาตรฐานสากล
ประวัติการพิมพ์
แพร่พิทยา พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2511
แพร่พิทยา พิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2515
แพร่พิทยา พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2520
เคล็ดไทย พิมพ์ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2543
สถาบัน (ปรัชญา) เอสเอ็ม พิมพ์ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2548
จำนวน 2000 เล่ม



สำนักบริหารการพิมพ์
สถาบัน (ปรัชญา) เอสเอ็ม.
อนุสรณ์สถานสมัคร บุราวาศ
187/5 ถนนเพชรเกษม กม. 64 + 736 (เพชรเกษมซอย 2)
หมู่ 2 ชุมชนเทศบาลตำบลบ้านหมู่นอก ตำบลหนองดินแดง
อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม 73000
โทร., สาร’ (0) 3420 – 0273 โมบาย (08) 5127-9497
พิมพ์จากต้นฉบับ โดย ประภาวัฒน์ แสงสว่างวัฒนะ
ปรับปรุงและพิสูจน์อักษร โดย วินิจฉัย แสงสว่างวัฒนะ

จัดจำหน่ายโดย
XXXXXXX
กรุงเทพฯ

ราคา XXXX บาท

(2)

คำปรารภของผู้เขียน

ในการสอนวิชาปรัชญา ณ มหามกุฎราชวิทยาลัย ตั้งแต่ปี 2490 ถึง 2495 ผู้เขียนสังเกตได้ว่า บรรดานักศึกษาผู้เป็นภิกขุได้แสดงความสนใจต่อวิชานี้เป็นอันมาก ในการตรวจคำตอบในเวลาสอบไล่ ก็สังเกตได้อีกว่า นักศึกษาภิกขุที่เชี่ยวชาญในการตอบปัญหาในวิชานี้มีอยู่หลายองค์ทีเดียว
นี่เป็นกำลังใจให้ผู้เขียนขวนขวายในวิชานี้ต่อไปอีก ทั้งยังได้ทราบว่าหนังสือคำบรรยายวิชาปรัชญาของผู้เขียนซึ่งมหามกุฎวิทยาลัยจัดพิมพ์ขึ้นเผยแพร่นั้น ได้รับการต้อนรับจากประชาชนนอกวงการภิกษุสงฆ์เป็นอันมาก แสดงว่าชาวไทยได้เกิดความสำนึก ในความสำคัญของวิชาปรัชญาขึ้นมาแล้ว จึงทำให้เห็นว่าน่าจะจัดทำตำราวิชาปรัชญาขึ้นสักเล่มหนึ่ง สำหรับให้ผู้อ่านใช้เรียนและเก็บไว้ปรึกษาได้ด้วยตัวเอง ทั้งนี้ผู้เขียนมีความมุ่งหวังที่จะเห็นผู้อ่านได้ทราบถึงโลกทรรศน์ต่างๆของนักปรัชญา และสามารถตัดความงมงายของตนออกไป ให้สามารถมองโลกได้ถูกต้องตามความเป็นจริงและทำทางจากอวิชชาไปสู่ ปัญญา
เป็นที่น่าเสียดายที่วิชาปรัชญาไม่ได้ถูกเปิดสอนกันอย่างกว้างขวาง แต่ก็น่ายินดีที่วงการศาสนาไทยได้ไหวทันต่อความบกพร่องข้อนี้ และได้เปิดสอนวิชานี้ขึ้นก่อนตั้งแต่ปี 2490 เป็นต้นมา ในต่างประเทศวิชานี้มีสอนกันอย่างกว้างขวาง และประเทศที่เจริญถึงขีดสุด ได้ถือวิชานี้เป็นวิชาจำเป็นสำหรับการศึกษาของนักศึกษาชั้นอุดมทุกสาขา เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ง่ายว่าเหตุใดองค์การศาสนาจึงเห็นความจำเป็นที่จะให้การศึกษาทางปรัชญาแก่พระ ทั้งนี้เพราะศาสนากับปรัชญานั้นเกี่ยวเนื่องใกล้ชิดกันมา แต่ข้อนี้ก็ทำให้นักศึกษาสมัยปัจจุบันเข้าใจผิดไปเหมือนกันว่า ปรัชญาเป็นวิชาโบราณล้าสมัยแล้ว สมควรเรียนกันก็แต่ในหมู่บัณฑิตสูงๆบางคน และไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันและวิทยาศาสตร์-วิศวกรรม-และกิจการปัจจุบันดังที่เขาสนใจอยู่เลย นี่เป็นความเข้าใจผิดเป็นอันมาก และเป็นที่น่าเสียดายที่นักวิทยาศาสตร์ส่วนมาก ก็ยังขาดความรู้ทางปรัชญาและได้ทำการค้น คว้าทดลองไปอย่างปราศจากแนวทาง ทำให้ความรู้ของเขาถูกตัดออกจากสังคม เลยทำให้สังคมไม่ได้รับประโยชน์จากนักวิทยาศาสตร์เท่าที่พึงสมควร นักศึกษาใน ทางอื่นก็ดี นักเขียนและนักกฎหมายตลอดจนนักการเมืองก็ดี จะไม่สามารถทราบความคับแคบแห่งโลกทัศน์ของตนได้เลย-จนกว่าจะได้ศึกษาปรัชญาเป็นอย่างดีแล้ว
ปรัชญาในปัจจุบันจึงเป็นวิชาอันทันสมัย ซึ่งพึงเรียนรู้กันทั่วไป ปรัชญา ก่อให้เกิดสติปัญญาและความแจ่มใสสว่างไสวแห่งความคิดในความมืดมนอนธการ ได้ผู้มีชูดวงไฟอันเจิดจ้าเข้าไป แล้วแสงสว่างก็เกิดขึ้น ทำให้มองเห็นสรรพสิ่งอย่างชัดแจ้งและถนัดถนี่ ดวงไฟนั้นแล คือ วิชาปรัชญา!

สมัคร บุราวาศ
กรุงเทพฯ ประเทศไทย
9 กันยายน 2495

(3)

คำนำ พิมพ์ครั้งที่ ......

ผมต้องขอรับผิดว่า ในการพิมพ์ครั้งที่ 4 โดยสำนักพิมพ์เคล็ดไทยนั้น ผมมีเวลาน้อยในการตรวจสอบคำผิดและข้อความตกหล่นหรือผิดเพี้ยน จึงยังคงมีความบกพร่องปรากฏอยู่มาก คำอ่านภาษาต่างประเทศก็ยังให้ไว้ไม่ครบถ้วน ในฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5 นี้, น่าจะได้รับการแก้ไขเพิ่มเติมจนเชื่อว่ามีความสมบูรณ์ใกล้เคียงความมุ่งหมายของท่านอาจารย์ฯแล้ว คำอ่านภาษาต่างประเทศก็พยายามให้เสียงโดยใส่วรรณยุกต์ไว้เพื่อให้ออกสำเนียงตรงตามเชื้อชาติของนักปรัชญานั้นๆกำกับไว้แต่ละท่านแล้ว เพื่อที่ผู้ศึกษาแม้เพียงอ่านออกเขียนไทยได้หรือเรียนจบแค่ ป.4 ก็สามารถออกเสียงได้ใกล้เคียงและศึกษาวิชาปรัชญาเล่มนี้ได้ อันเป็นวัตถุประสงค์ของสถาบัน(ปรัชญา) เอสเอ็ม. ที่ต้องการจะแผ่ขยายความรู้นี้ไปสู่คนระดับรากหญ้าอย่างทั่วถึง
ในการตรวจคำผิด, นอกจากจะเป็นการทบทวนความรู้ให้กับตนเองแล้ว ยังทำให้ยิ่งตระหนักถึงความสำคัญของวิชานี้ ไม่เพียงเป็นวิชาเสริมความรู้ของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาเท่านั้น หากเป็นวิชาพื้นฐานของการเป็นมนุษย์ หรือกล่าวตรงๆก็คือเป็น คู่มือการเป็นคนเมือง (Citizen) ทีเดียว เพราะก่อนอื่นใดนั้น มนุษย์ทุกคน,เมื่อถึงวัยอันควร, จะต้องรู้ว่าแท้จริงเขาเป็นใคร เขามาจากไหน และมายืนอยู่บนแผ่นดิน ณ ปัจจุบันนั้น มันมีประวัติศาสตร์เป็นมาอย่างไร เป็นของใคร เป็นพื้นฐานก่อนที่เขาจะเรียนรู้ ความรู้ที่เป็นไปเพื่อการปฏิบัติ เพื่อการผลิต เพื่อการประกอบอาชีพของเขา เพื่อเขาจะอยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ ในระบบแห่งสังคมที่มีการวิวัฒน์มาเป็นประวัติศาสตร์บนแผ่นดินที่มีเจ้าของครอบครองจนหมดแล้ว และเขาเกิดมาในฐานะเป็นสมาชิกใหม่ที่มาอาศัยอยู่อย่างชั่วคราวด้วยประวัติศาสตร์ที่มีทั้งปากคาบช้อนทอง และมือที่กำกบกำเขียดอยู่ร่วมกันบนแผ่นดินที่คับแคบ (ด้วยกฎหมาย)
หนังสือวิชาปรัชญาเล่มนี้มีหกร้อยกว่าหน้า เมื่อเห็นชื่อและมองดูเป็นหนังสือเล่มโตจนรู้สึกเป็นที่น่ากลัวจะอ่านได้จบหรืออ่านเข้าใจได้ แต่ขอให้ท่านโปรดอย่าอ่านผ่านๆ ขอให้อ่านตั้งแต่หน้าแรกและอ่านทุกตัวอักษร โดยเริ่มแต่ต้น,ทนอ่านสักหนึ่งบท แล้วท่านจะพบว่า,หนังสือวิชาปรัชญาเล่มนี้ไม่เหมือนวิชาปรัชญาเล่มอื่น แต่มันเป็นอักษรร้อยแก้วที่จะถ่ายถอดภาษาอันซาบซึ้งยิ่งกว่าบทกวีร้อยกรองใดๆที่ท่านเคยอ่าน มีทั้งอรรถรสและอรรถประโยชน์อย่างที่ท่านจะไม่พบจากกวีและผู้รู้ใดๆมาก่อนเลย เป็นที่น่าอัศจรรย์ ท่านจะรู้สึกว่าไม่เสียทีที่ได้เกิดเป็นมนุษย์ มันเป็นคำเรียงร้อยที่รวมความสามารถของนัก ปรัชญาที่ใช้ภาษาเป็นสื่อของตรรกบัญญัติ อธิบายสิ่งที่เขาเชื่อว่ามีได้อย่างไพเราะที่สุดทั้งในเชิงโวหารและเหตุผล ซึ่งจะนำมาปรับใช้กับชีวิตในสังคมวัฒนธรรมเมืองศรีธนณชัย (Civilization) ในปัจจุบันได้อย่างมีคุณประโยชน์ และเท่าทันศรีธนณชัย (Civilian) ที่เป็นเจ้าของวัฒนธรรมเมืองอยู่ในปัจจุบันสมัย
สถาบัน (ปรัชญา) เอสเอ็ม. นั้น ก็คือสถาบันที่สถาปนาขึ้นมาเพื่อเผยแพร่ผลงานทางด้านปรัชญาของท่านอาจารย์ สมัคร บุราวาศ นั่นเอง คำว่า เอสเอ็ม. คือ 2 ตัวแรกชื่อของท่าน และสานุศิษย์เอสเอ็มจะเรียกปรัชญาของท่านคือปัญญานั้นว่า สมัคริส’ม (SMAKRISM) และถือตนเป็น สมัคริสท์ (SMAKRIST)

วินิฉัย แสงสว่างวัฒนะ
บรรณาธิการ

(6)


คำนำ
(ในการพิมพ์ครั้งที่ 1-3)

ในการศึกษาปรัชญานั้นในนานาประเทศ เขาถือกันว่าเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง เพราะประเทศที่ไร้ปรัชญาเป็นหลักเสียแล้ว ก็ย่อมคงความเป็นชาติอยู่ไม่ได้
เมืองไทยเรามีการศึกษาปรัชญาน้อยมาก แม้ปัญญาชนของชาติเป็นจำนวนมากก็ไม่รู้จักคุณค่าของปรัชญา การศึกษาของเราจึงไร้เป้าหมาย เด็กของชาติก็เลยกลาย เป็นเครื่องทดลองไปโดยไม่รู้ตัว ถ้าเราหันมาสนใจวิชาปรัชญาให้มากยิ่งขึ้น ความยุ่ง ยากในทางสังคมจะลดน้อยลง การฉ้อราษฎร์บังหลวงจะเบาบางลง เราจะได้เยาวชนที่ดีในปัจจุบัน และจะได้ผู้ ปกครองบ้านเมืองที่ดีในอนาคตอย่างแน่นอน
แพร่พิทยามีความเข้าใจในความสำคัญของวิชาปรัชญาเป็นอย่างดีจึงได้จัดพิมพ์ หนังสือประเภทนี้ตลอดมาแต่ไหนแต่ไร โดยเฉพาะวิชาปรัชญา ของสมัคร บุราวาศ เรื่องนี้ แพร่พิทยาก็ได้จัดพิมพ์มาสองแล้วเพื่อประโยชน์แก่การศึกษาของผู้ที่จะต้องศึกษาและผู้ที่สนใจทั่วไป

แพร่พิทยา

(7)

สารบัญ
บทที่ 1 แนวทางและสาขาต่างๆของวิชาปรัชญา 1
1.1 ความรู้ของสัตว์ได้จากการรับรู้ 3
1.2 ความรู้ของมนุษย์ได้มาจากการรับรู้ 6
1.3 แนวทางที่แท้จริงของปรัชญา 7
1.4 สาขาต่างๆของวิชาปรัชญา 9
1.5 ปรัชญากับวิทยาศาสตร์ 13
1.6 วิวัฒนาการของปรัชญา 15
1.6.1 สมัยเก็บของกินของใช้จากธรรมชาติ 17
1.6.2 สมัยมนุษย์รู้จักสัตว์เลี้ยง 17
1.6.3 สมัยมนุษย์รู้จักทำกสิกรรม 18
1.6.4 สมัยกำเนิดแห่งรัฐฐะ 18
1.6.5 สมัยวัฒนธรรมคนเมือง 19
1.6.6 การล่มแห่งอาณาจักรโรมัน 21
1.6.7 การค้นพบ และการบุกเบิกทวีปอเมริกา 23
1.7 ลัทธิต่าง ๆ ของปรัชญา 23
บทที่ 2 ปรัชญาประเภทวิญญาณนิยม 28
2.1 สมัยมนุษย์ถ้ำหินเก่า 30
2.2 ปรัชญาของมานุษย์สมัยหินเก่า 31
2.3 สมัยหินใหม่ ชุมชนบุพกาลตอนแรก 33
2.4 สมัยหินใหม่ตอนกลาง การค้นพบกสิกรรม 37
2.5 สมัยหินใหม่ตอนปลายสงครามระหว่างมนุษย์ 38
2.6 กำเนิดของรัฐฐะและระบบทาส 39
2.7 กำเนิดความยากเข็ญในโลก 42
บทที่ 3 สมัยพระเวทของอินเดีย 47
3.1 ชนชาติเลี้ยงสัตว์หรือพวกนอแม็ดส๎ 47
3.2 การล่มของวัฒนธรรมคนเมืองโบราณ 47
3.3 สมัยพระเวทของอินเดีย 50
3.4 ตำรับพระเวท 53
3.4.1 ฤคเวท 53
3.4.2 ยชุรเวท 55
3.4.3 อถรรพเวท 55
3.5 เทพเจ้าและรากษส 56
3.6 อริยะ และกำเนิดวัฒนธรรมเมืองและคนเมือง 57
3.7 ปรัชญาว่าด้วยสายเลือดและเชื้อชาติ 60
3.8 แหล่งกำเนิดมนุษยชาติและน้ำท่วมโลก 60
3.9 วิญญาณนิยม-จิตนิยมอย่างหนึ่ง 63
บทที่ 4 สมัยปัญญาทางปรัชญา 65
4.1 กำเนิดปรัชญาสสารนิยม 66
4.2 การแปรโฉมของปรัชญาวิญญาณนิยม 67

(8)

4.3 กำเนิดจริยธรรม 68
4.4 กำเนิดตรรกบัญญัติ 69
4.5 สมัยการบังเกิดปรัชญาในสมัยปัญญาทางปรัชญา 71
4.6 ปรัชญาการเมือง 72
บทที่ 5 ปรัชญาของอินเดีย 73
5.1 พระเวทในสมัยพุทธกาล 76
5.2 ปรัชญาอุปนิษัท 76
5.3 จริยศาสตร์ในพระเวทและอุปนิษัท 81
5.4 โยคะในอุปนิษัท 82
5.5 ปรัชญาซึ่งแยกออกจากอุปนิษัท 83
5.5.1 ลัทธิสางขยะ 84
5.5.2 ปรัชญาของมหาวีระในศาสนาชิน 85
5.5.3 ปรัชญาเวทานตะ 87
5.5.4 ปรัชญาของกฤษณะในภควคีตา 87
5.6 พุทธิส’มหรือปรัชญาเถรวาทะ 95
5.6.1 พุทธประวัติ 97
5.6.2 ปรัชญาเถรวาทะ 100
5.6.3 พุทธจริศาสตร์ 106
5.7 ปรัชญามหายานและนิกายเซน 113
5.7.1 ปรัชญามหายาน 114
5.7.2 พุทธศาสนานิกายเซ็นหรือฌาน 121
5.8 ลัทธิกรรมและเรื่องวรรณะในอินเดีย 122
5.9 ศาสนาฮินดูหรือลัทธิฮินดู 123
5.9.1 ศาสนาวิษณุ 124
5.9.1.1 มัตสยาวตาร 125
5.9.1.2 กูรมาวตาร 125
5.9.1.3 วราหาวตาร 125
5.9.1.4 นรสิงหาวตาร 125
5.9.1.5 วามณาวตาร 125
5.9.1.6 นรสิงหาวตาร 125
5.9.1.7 รามาวตาร 125
5.9.1.8 กฤษณาวตาร 125
5.9.1.9 พุทธาวตาร 125
5.9.1.10 กัลยาวตาร 126
5.9.2 ศาสนาศิวะ 126
บทที่ 6 ปรัชญาจีน 128
6.1 เล่าจื้อและลัทธิเต๋า 130
6.2 ปรัชญาขงจื้อ 133
บทที่ 7 ปรัชญาของกรีก 136
7.1 ปรัชญาวิญญาณนิยมของพวกกรีก 142

(9)

7.2 ปรัชญาสสารนิยมอย่างหยาบของพวกกรีก 144
7.3 เฮอราคลิตัสแห่งเอฟีซัส 147
7.4 ปรัชญาสสารนิยมของเดโมกรีตัส, ทฤษฎีปรมาณูสมัยโบราณ148
7.5 ปรัชญาของพวกนักตรรกโวหาร (Sophist ซอฟ-อิซท๎) 150
7.6 ปรัชญาของลัทธิซโท-อิค (Stoicism) 151
7.7 ซอกราตีสและนครแอธ-เอ็นส์ 152
7.8 พลาโต้และอะแคด-เอะมิ 157
7.9 อาริสโตเติ้ลและไลเซี่ยม 162
7.10 ปรัชญาสสารนิยมของเอปีกูรัส 168
7.11 ปรัชญาของคารุส ลูกรีเชียส 169
7.12 ดาราศาสตร์ของพวกกรีก 170
7.13 ทฤษฎีวิวัฒนาการของพวกกรีก 171
บทที่ 8 สมัยกลางของยุโรป 173
8.1 นักปรัชญามุสลิม 176
8.2 นักปรัชญายิว 177
8.3 นักปรัชญาจำพวกศาสตร์จารย์ (Scholastic) 177
8.4 ปรัชญาสัจนิยม และอัตถนิยม 180
8.5 ยุโรปออกจากสมัยมืดมน (เรอแนสซัง) 186
8.5.2 วิทยาศาสตร์เริ่มก่อรูป 187
8.5.3 ปรัชญาของโจร์ดาโน้ บรูโน้ 188
8.5.4 ปรัชญาการเมืองของแคมปาเน้ลล่า 189
8.5.5 ปรัชญาของฟรานซิส เบคอน 191
8.5.6 กษัตริยนิยมในยุโรป เผชิญหน้าประชาธิปไตย 193
บทที่ 9 ปรัชญาทวินิยมของ เรอเน เดส์การ์ตส์ 195
9.1 ชีวประประวัติของเดส์การ์ตส์ 197
9.2 มติทางปรัชญาทวินิยมของเดส์การ์ตส์ 200
9.3 การเริ่มคิดปรัชญา,การสงสัย 201
9.4 สิ่งซึ่งความสงสัย ยันว่ามีอยู่ คือตัวผู้สงสัยเอง 201
9.5 พระเจ้ามีอยู่จาการอนุมานไปจากความมีอยู่ของตัวเรา 202
9.5.1 สิ่งซึ่งเราแน่ใจเท่ากับตัวเองต้องมีอยู่ 202
9.5.2 คุณลักษณะต่างๆจะไม่สมบูรณ์ถ้าขาดพระเป็นเจ้า 203
9.5.3 ความแท้จริงอันจำกัดทุกชิ้นย่อมมาจากเหตุ 203
9.5.4 ต้องมีต้นเหตุที่ทำให้เรามีอยู่ 204
9.6 ผลของการมีพระเป็นเจ้า 205
9.6.1 การกินที่ 205
9.6.2 คุณภาพอย่างอื่นๆ 206
9.6.3 ตามผลการทดลอง 206
9.6.4 ความรู้สึกต่างๆ 206
9.7 สรุปคำสอนเดส์การ์ตส์ 206


(10)

บทที่ 10 สสารนิยม ของฮอบบ์ส์ 208
10.1 ชีวประวัติโธมัส ฮอบบ์ส์ 208
10.2 ปรัชญาสสารนิยมจักรกล 210
10.2.1 สภาพของวัตถุ 211
10.2.2 ว่าด้วยพิชาน 212
10.3 คำสอนว่าด้วยกาล 213
10.4 คำสอนว่าด้วยเพทนาการ 214
10.5 คำสอนว่าองค์การของมนุษย์ 214
บทที่ 11 สสารนิยมของบารุค เดอ สปิโนซ่า 215
11.1 ชีวประวัติของสปิโนซ่า 215
11.2 แนวความคิดของสปิโนซ่า 217
11.3 คำสอนว่าด้วยสารอย่างเดียวที่มีคือพระเป็นเจ้า 218
11.4 สารในรูปลักษณะต่างๆ 220
11.5 ส่วนต่างๆของสารและประเภทการแสดงตัวของมัน 221
11.6 รูปลักษณะของสารและความเกี่ยวข้อง 223
11.6.1 ความเกี่ยวข้องเชิงเป็นเหตุของพระเป็นเจ้า 223
11.7 การเป็นอิสระต่อกันและการบังเกิดคู่ขนานกันฯ 225
11.8 ข้อสรุปของคำสอน 225
11.9 ญาณวิทยาและจิตวิทยาของสปิโนซ่า 226
11.9.1 พิชานประเภทต่างและคุณค่า 227
11.9.2 พิชานประเภทตามเพทนาการ 227
11.9.3 จริยศาสตร์ 227
11.9.3.1 คนดีคือคนอยู่ใต้การนำของเหตุผล 228
11.9.3.2 ควรยับยั้งเพทนาการ 228
11.9.3.3 ชีวิตอิสรภาพคือชีวิตแห่งเหตุผล 229
บทที่ 12 ปรัชญาของจอห์น ล็อก 231
12.1 ชีวประวัติและผลงาน 234
12.2 ผลงานทางการเมือง 234
12.2.1 สิทธิในชีวิต-เสรีภาพและสิทธิในทรัพย์สิน 234
12.2.2 ผู้แข็งแรงข่มเหงผู้อ่อนแอ 234
12.2.3 การทำบริคณห์สัญญา 234
12.2.4 ยอมมอบอธิปไตย 234
12.2.5 สัญญาประชาคม 234
บทที่ 13 จิตนิยมหรือโมนาดดิส’มของไลบ๎นิซ 236
13.1 ชีวประวัติของไลบ๎นิซ 236
13.2 มนนิยม 238
13.2.1 เอกภพประกอบด้วยโมนาดส์ 239
13.2.2 พระเจ้าคือโมนาดส์ที่ยิ่งใหญ่ 240
13.3 โมนาดส์ซึ่งมีความจำกัด 240
13.3.2 ทุกโมนาดส์ย่อมมีกัมมันตภาพ 241

(11)

13.3.3 ทุกๆโมนาดส์ย่อมเกี่ยวข้องกัน 241
13.3.4 ทุกโมนาดส์เป็นหน่วยที่เชื่อมสมาน 241
13.3.5. ทุกๆโมนาดส์ย่อมแสดงความแท้จริง 242
13.3.6 ทุกโมนาดส์ถูกกำหนดโดยพระเป็นเจ้า 242
13.4 ประเภทของโมนาดส์ที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้น 243
13.4.1 โมนาดส์ที่ใช้เหตุผล 243
13.4.2 โมนาดส์ที่มีความรู้สึก 243
13.4.3 โมนาดส์สามัญ 243
บทที่ 14 ความคิดทางวิทยาศาสตร์ของไอแซคนิวตัน 245
14.1 ชีวประวัติของนิวตัน 246
14.2 กลศาสตร์ของท้องฟ้า 248
14.3 ทฤษฎีแสงสว่าง 251
บทที่ 15 โลกย่างเข้าสู่สมัยปัญญาทางวิทยาศาสตร์ 253
15.1 การปฏิวัติอุตสาหกรรมในอังกฤษ 254
15.2 การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 256
15.3 การปฏิวัติในอเมริกาและฝรั่งเศส 258
บทที่ 16 มโนภาพนิยมของเบอร์กลี่ย์ 261
16.1 ชีวประวัติ 262
16.2 ความแท้จริงคือตัวฉันและมโนภาพของฉัน 264
16.3 ประเภทของมโนภาพ 265
16.3.1 มโนภาพประเภทซึ่งมาให้เรารับรู้โดยตรง 265
16.3.2 ประเภทซึ่งเราคิดขึ้นตามแต่จะปรารถนา 265
16.3.3 สิ่งหมายรู้เกี่ยวกับจิต 265
16.3.4 สิ่งหมายรู้เกี่ยวกับความเกี่ยวข้อง 265
16.4 ปฏิเสธนิยม 266
16.4.1 สสารที่สังเกตได้มี 266
16.4.2 สสารที่อนุมานขึ้นย่อมไม่มีจริง 268
16.5 ความแท้จริงดังที่อนุมานได้ 270
16.5.1 เจตภูตอันไร้ของเขต 270
16.5.2 เจตภูตอื่นๆซึ่งถูกสร้างสรรค์ขึ้น 271
16.5.3 โลกแห่งธรรมชาติ 271
บทที่ 17 มโนภาพนิยม 274
17.1 ชีวประวัติ 274
17.2 ท่าทีปรัชญาของฮูว์ม 276
17.3 หลักคิดอันเป็นรากฐานของปรัชญามโนภาพนิยม 278
17.3.1 การได้มโนภาพ 278
17.3.2 คำสอนว่าด้วยธรรมชาติของเหตุและผล 279
17.3.3 ความคิดหรือทรรศนะเหตุและผลเกิดตามธรรมเนียม 280
17.4 อำนาจของการเป็นเหตุ คือการกำหนดของจิต 281
7.4.1 การปฏิเสธ 282

(12)

17.4.2 การคิดว่ามีอำนาจของเหตุ 282
17.4.2.1 จิตไม่มีอำนาจเหนือกาย 283
17.4.2.2 อำนาจของจิต 283
17.5 สิ่งนอกกายไม่เกี่ยวกับจิต 284
17.5.1 สิ่งนอกกายรู้ด้วยประสาทไม่ได้ 284
17.5.2 คำสอนที่ว่าสิ่งนอกกายรู้ไม่ได้ด้วยเหตุผล 285
17.5.3 วัตถุนอกกายมีอยู่ 285
17.6 เรื่องอัตตา 285
17.7 เรื่องพระเป็นเจ้า 285
บทที่ 18 ปรัชญาในสมัยปฏิวัติใหญ่ในฝรั่งเศส 288
18.1 ปรัชญาของฟอลแตร์ 288
18.2 ปรัชญาของลา เมตต์รี 290
18.3 ปรัชญาของรุซโซ 290
18.4 ปรัชญาสสารนิยมของเดนิส ดิดโรต์ 293
18.5 ปรัชญาสสารนิยมของเฮลวีเตียส 295
18.6 ปรัชญาสสารของโฮลบาค 296
18.7 ปรัชญาการเมืองของแซง ซีโมน 297
18.8 ปรัชญาของชาร์ล ฟูเรียร์ 300
บทที่ 19 ปรัชญาของค้านต์ 302
19.1 ชีวประวัติ 303
19.2 ท่าทีปรัชญาของค้านท์ 305
19.3 คำสอนของค้านต์ว่าด้วยวัตถุที่รู้ได้ 307
19.4 คำสอนเรื่องกาล 308
19.5 คำสอนของค้านต์เรื่องวัตถุปรากฏเป็นการกินที่และกินเว 311
19.5.1 แย้งฮูว์ม 311
19.5.2 แย้งวูล์ฟฟ์ 312
19.6. คำสอนเรื่องประเภท 313
19.6.1 ค้านต์แย้งฮูว์ม 313
19.7. ประเภทต่างๆ 315
19.7.1 ประเภทแห่งผลรวม 315
19.7.2 ประเภทแห่งระดับชั้น 315
19.7.3 ประเภทแห่งการเป็นเหตุผล 316
19.7.4 ประเภทของการเกี่ยวข้องกลับกัน 318
19.8 ประเภทเป็นอัตวิสัย 318
19.9 ความจำเป็นของประเภท 319
19.10 ตัวตนและวัตถุซึ่งเกี่ยวข้อง 320
19.11 ธรรมชาติของตัวตน 321
19.11.1 ตัวตนพิเศษ 321
19.11.2 ตัวตนประธาน 323
19.12 ปฏิเสธนิยมในกรณีความแท้จริงอันติมะ 323

(13)

19.12.1 รู้สิ่งโดยตัวเองไม่ได้ 323
19.12.2 รู้ตัวตนแท้ไม่ได้ 324
19.12.3 พระเจ้ารู้ไม่ได้ 325
19.12.3.1 บรรดาภูติย่อมเป็นผลรวม 325
19.12.3.2 เมื่อสิ่งอื่นมี ภูติย่อมมี 325
19.12.3.3 ต้องมีต้นเหตุแห่งความสูงส่ง 325
19.13 การแก้ปฏิเสธ 327
19.13.1 สมมติฐานแห่งนูมินะ (Noumena) 327
19.13.2 ค้านต์ยอมรับว่าเราอาจรู้ตัวตนที่แท้ 328
19.14 จริยศาสตร์ (Ethics เอธ-อิคซ๎) ของค้านต์ 328
19.14.1 ผูกพันธ์ในใจ 329
19.14.2 จริยพันธะ 329
19.14.3 จริยพันธะไม่อาจอธิบายได้ 329
19.14.4 จริยพันธะแสดงออกซึ่งตัวตนสำนึกธรรม 329
19.15 สังคมตัวตนอมตะ 330
19.16 การมีอยู่ของพระเป็นเจ้า 333
บทที่ 20 ปรัชญาในคริสต์ศตวรรษที่ 19 337
วิทยาศาสตร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 338
เทคนิคในคริสต์ศตววรรษที่ 19 348
20.3 สังคมในคริสต์ศตวรรษที่ 19 351
บทที่ 21 จิตนิยมทางอัตวิสัย 356
ชีวประวัติฟิคเต้ 356
ท่าทีปรัชญาฟิคเต้ 359
21.3 แก่นปรัชญาของฟิตเต้ 359
21.4 ปรัชญาอันแพร่หลายของฟิคเต้ 361
21.4.1 ปรัชญานิยัตินิยมทางวิทยาศาสตร์ 361
21.4.2 ระยะที่ 2 ของความคิดทางปรัชญา 363
21.4.3 ระยะที่ 3 ของความคิดทางปรัชญา 364
21.5 เทคนิคปรัชญา 365
21.5.1 เอกภพ 365
21.5.2 ความแท้จริงสัมบูรณ์ 365
21.6 ธรรมชาติของความแท้จริงอันติมะ 365
21.6.1 ความแท้จริงอันติมะ 365
21.6.2 ความแท้จริงอันติมะตัวฉันอันไม่เป็นบุคคล 369
บทที่ 22 ปรัชญาจิตนิยมทางภววิสัย ของเช็ลลิง 372
22.1 ชีวประวัติ 373
22.2 ส่วนประกอบของเอกภพ 375
22.2.1 ตัวตนอันสัมบูรณ์คือเอกภาพ (Unity) 376
22.2.2 ตัวตนอันสัมบูรณ์คืออภาวะ 376
22.2.3 สารหมายถึงความแท้จริงอภาวะ 377

(14)

22.2.4 ความสัมบูรณ์ของตัวฉันอันเป็นอภาวะ 377
22.3 สิ่งสัมบูรณ์คือธรรมชาติ 379
22.4 สิ่งสัมบูรณ์คือสิ่งซึ่งเป็นสิ่งเดียวกับตัวเอง 382
บทที่ 23 เจตนนิยม (Voluntarism) 386
23.1 ชีวประวัติโชเป็นเฮาเอ้อร์ 386
23.2 ท่าทีปรัชญาเจตนิยม 388
23.3 โลกแห่งปรากฏการณ์ 389
23.4 เจตจำนงแท้จริงอันติมะ 393
23.4.1 ความแท้จริงอันติมะมีสภาพเป็นเจตจำนง 393
23.4.2 ข้อสมมุติ 394
23.4.3 เจตจำนง 395
23.4.4 โลกเป็นโลกชั่วร้าย 397
บทที่ 24 วิลเฮล์ม ฟรีดริค เฮเก็ล 400
24.1 ชีวประวัติ 401
24.2 ท่าทีปรัชญาของเฮเก็ล 404
24.3 ความแท้จริงอันติมะ 405
24.4 ตรรกวิทยาวิภาษวิธี 411
24.5 ความแท้จริงอันติมะคือสิ่งหนึ่งอย่างสัมบูรณ์ 411
24.5.1 ความแท้จริงอันจำกัดทุกชิ้น 411
24.5.2 ความแท้จริงอันจำกัดทุกชิ้นย่อมต้องพึ่งพากัน 414
24.6 ความแท้จริงอันติมะไม่ใช่ประมวลฯ 416
24.6.1 ความแท้จริงอันติมะไม่ใช่กลุ่มรวม 418
24.6.2 ความแท้จริงอันติมะไม่ใช่ระบบอันครบถ้วน 418
24.7 ความแท้จริงเป็นเจตภูติ 422
24.7.1 ความแท้จริงอันติมะเป็นสิ่งเดียวกับธรรมชาติ 423
24.7.2 ความแท้จริงอันติมะมีลักษณะคล้ายโลกกายภาพ 425
24.8 พัฒนาการสิ่งสัมบูรณ์ 428
24.8.1 กลไกของพัฒนาการ 428
24.8.2 พัฒนาการของมโนภาพสัมบูรณ์ 430
24.9 จริยศาสตร์ 434
บทที่ 25 สสารนิยมในคริสต์ศตวรรษที่ 19 437
25.1 ปรัชญาสสารนิยมของลุดวิก ฟอยเยอร์บาค 438
ปรัชญาปฏิฐานนิยมของออกุสต์ ก็องต์ 440
ปรัชญาจิตนิยมของเฟคเน่อ 442
25.4 ปรัชญาสสารนิยมในเยอรมนี 443
25.5 ปรัชญาวิวัฒนนิยม-ของสเป็นเซ่อร์ 445
25.6 ชาร์ล ดาร์วิน 447
25.6.1 สัมพรรคภาพ 451
25.6.2 อวัยวะคงเหลืออยู่ 452
25.6.3 โครงสร้าง 452

(15)

25.6.4 ซากโบราณ 452
25.6.5 อำนาจของสิ่งแวดล้อม 453
25.7 ปรัชญาสสารนิยมวิภาษวิธีในเยอรมนี 457
25.7.1 ปรัชญาสสารนิยมของไดท๎ซ๎เก็น 458
25.7.2 ปรัชญาสสารนิยมของฟรีดริค เองเง็ลส์ 459
25.8 ปรัชญาจิตนิยมโต้สสารนิยมวิภาษวิธี 468
25.8.1 ปรัชญาเจตนนิยมนิตซ๎เช่ 468
25.8.2 ลัทธิวิพากษ์พิชานนิยมของอาวีนาเรียส 470
25.8.3 ลัทธิวิพากษ์พิชานนิยมของเอิร์สมาค 470
25.9 นักสสารนิยมเยอรมันปลายคริสต์ศตวรรษ 19 471
25.9.1 ปรัชญาสสารนิยมของอูเยน ดูห์ริง 472
25.9.2 ปรัชญาสสารนิยมของโปล ลาฟร้าร์ก 472
บทที่ 26 วิทยาศาสตร์และเหตุการณ์ในคริสต์ศตวรรษ 20 474
26.1 สังคมมนุษย์ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 475
26.2 วิทยาศาสตร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 478
26.3 การก้าวหน้าทางเทคนิคในคริสต์ศตวรรษที่ 20 485
บทที่ 27 ทฤษฎีแห่งความสัมพันธ์, ทฤษฎีสัมพัทธ์ 487
27.1 ชีวประวัติของอัลเบิร์ต ไอน์ส๎ไตน๎ 487
27.2 ใจความของทฤษฎีสัมพัทธ์ 490
27.3 ความถ่วง 495
27.4 นักฟิสิกส์เข้าหาลัทธิจิตนิยม 497
27.5 ลัทธิพลังงานนิยม 499
27.6 ชีวิตนิยม 501
27.7 ลัทธิโฮลิส’ม (Holism) 504
สสารนิยมทางชีววิทยา 506
ปรัชญาวิวัฒนาการโดยอุบัติ 508
27.10 ปรัชญาอินทรียนิยมของไว้ท๎เฮด 511
27.11 ซิกมันฟรอยด๎ 514
27.12 พัฟลอฟ 515
บทที่ 28 ปรัชญาสัจนิยม-ปรัชญาปฏิบัตินิยม 517
ปรัชญาปฏิบัตินิยม 518
28.1.1 จอนห์ดิวอี้ 518
28.1.2 การหักล้างลัทธิสัจนิยม 519
28.1.3 การหักล้างลัทธิสมบูรณ์นิยม 520
28.1.4 ปรัชญาปฏิบัตินิยมของเจมส๎ 521
28.1.5 ลัทธิความคิดเป็นเครื่องมือ 524
28.2 การหักล้าง 526
28.2.1 ปรัชญาสัจนิยมของคริสต์ศตวรรษที่ 20 528
28.2.2 คำสอนเกี่ยวกับปรัชญาสัจนิยม 531
28.2.3 การหักล้างปรัชญาจิตนิยม 533

16

28.2.4 การหักล้างศิษย์ของเบอร์กลี่ย์ 535
บทที่ 29 นักจิตนิยมโต้ฝ่ายหักล้าง 537
29.1 นักจิตนิยมโต้ฝ่ายหักล้าง 538
29.1.1 นักปรัชญาจิตนิยมแก้ข้อกล่าวหา 1 538
29.1.2 นักปรัชญาจิตนิยมแก้ข้อกล่าวหา 2 538
29.1.3 นักปรัชญาจิตนิยมแก้ข้อกล่าวหา 3 541
29.1.4 นักปรัชญาจิตนิยมแก้ข้อกล่าวหา 4 542
29.2 นักปรัชญาจิตนิยมสมัยปัจจุบัน 542
29.2.1 ปรัชญาบุคคลนิยม 543
29.2.2 ปรัชญาจิตนิยมสองประเภท 545
29.2.3 ปรัชญาจิตนิยมพิจารณาร่างกายมนุษย์ 549
29.2.4 ปรัชญาจิตนิยม 552
บทที่ 30 การหักล้างลัทธิสัมบูรณนิยม 553
30.1 ปรัชญาว่าด้วยความเปลี่ยนแปลง 554
30.2 การหักล้างพหุนิยม 559
30.3 การโต้ตอบ 560
30.4 การหักล้างลัทธิสัมบูรณนิยม 563
บทที่ 31 ลัทธิสัมบูรณนิยมทางอภิปรัชญา 566
31.1 ข้อแย้ง 566
31.2 การหลีกลัทธิอัตนิยมอย่างแรง 566
31.3 การโต้แย้งฝ่ายวิจารณ์ 567
31.4 การโต้กลับ 572
31.5 ปัญหาเรื่องความดีงาม 573
31.6 สิ่งสัมบูรณ์และพระเป็นเจ้า 575
31.7 ตัวตนจำกัด 576
31.8 ตัวตนจำกัด 577
31.9 ตัวตนจำกัดฐานเป็นอิสระ 578
31.10 ตัวตนจำกัดฐานเป็นอมตะ 582
31.11 ปรัชญาปัจจุบันนี้ 584
หนังสือที่ใช้ปรึกษาประกอบการเขียน 585
คำศัพท์ในเล่มและศัพท์ปรัชญา 586-614




17

ภาพประกอบเรื่อง
บทที่/หน้า เรื่อง ภาพจากหนังสือ/หน้า
1/ แนวทางและสาขาต่างๆของวิชาปรัชญา
2/ ปรัชญาประเภทวิญญาณนิยม/ปรัชญาก่อนประวัติศาสตร์
3/ สมัยพระเวท
4/ สมัยปัญญาทางปรัชญา
5/ ปรัชญาของอินเดีย
6/ ปรัชญาของจีน
7/ ปรัชญาของกรีก
8/ สมัยกลางของยุโรป
9/ ปรัชญาทวินิยมของเดส์การ์ตส์
10/ ปรัชญาสสารนิยมของฮอบบ์ส์
11/ ปรัชญาสสารนิยมของสปิโนซ่า
12/ ปรัชญาการเมืองของจอห์น ล็อก
13/ ปรัชญาจิตนิยมหรือมนนิยมของไล้บนิซ
14/ ความคิดทางวิทยาศาสตร์ของนิวตัน
15/ โลกย่างสู่สมัยปัญญาทางวิทยาศาสตร์-การปฏิวัติในฝรั่งเศส
16/ ปรัชญามโนภาพนิยมของเบอร์กลี่ย์
17/ ปรัชญาปรากฏการณ์นิยมของฮูว์ม
18/ ปรัชญาในสมัยปฏิวัติฝรั่งเศส
19/ ปรัชญาของค้านต์
20/ ปรัชญาในคริสต์ศตวรรษที่ 19
21/ ปรัชญาจิตนิยมทางอัตวิสัยของฟิคเต้
22/ ปรัชญาจิตนิยมทางภววิสัยของเช็ลลิง
23/ ปรัชญาเจตนนิยมของโชเป็นเอาเอ้อร์
24/ ปรัชญาสัมบูรณนิยมของเฮเก้ล
25/ ปรัชญาสสารนิยมเผชิญจิตนิยมในคริสต์ศตวรรษ 19
26/ วิทยาศาสตร์และเหตุการณ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 20
27/ ทฤษฎีแห่งความสัมพันธ์-ปรัชญาที่เกิดตามมา
28/ ปรัชญาสัจนิยม/ปฏิบัตินิยม
29/ นักปรัชญาจิตนิยมโต้ฝ่ายหักล้างและจิตนิยมในปัจจุบัน
30/ การหักล้างลัทธิสัมบูรณนิยมทางอภิปรัชญา
31/ ลัทธิสัมบูรณนิยมทางอภิปรัชญาในปัจจุบัน

บทที่ 1
แนวทางและสาขาของวิชาปรัชญา




ปรัชญา (ปรัดยา) ซึ่งแปลจากคำ Philosophy (ฟิลอซ-โอะฟิ่) นั้น ต้นกำเนิดเบื้องสุดมาจากคำ Philosophia (ฟิลอซ-โอะเฟีย) ในภาษากรีก แปลว่า ความรักในปัญญา ในสมัยวัฒนธรรมคนเมืองโบราณ (The Anceint Civilization Culture ฑิ เอน-เฌ็นท๎ ซิฝิไลเส-ฌั่น คัล-เชอ) ของกรีกและอินเดียนั้น คงมี ปัญญาอยู่เพียง 2 ชนิด คือ ปัญญาทางศาสนา (Religious Wisdom ริลีจ-อัซ วิส-ดั้ม) กับ ปัญญาทางปรัชญา (Philosophical Wisdom ฟิโละซอฟ-อิแค็ล วิส-ดั้ม) ปัญญาทางศาสนาได้แก่พิธีการและความรู้ในยันตรกรรม กับความรู้เกี่ยวกับเทพเจ้า ปัญญาอื่นใดนอกจากนั้น ยกเว้นเทคนิคในหัตถกรรมและกสิกรรมแล้ว ก็เป็นความรู้ประเภทปรัชญาทั้งสิ้น นักปรัชญาในสมัยกรีกกับอินเดีย ก็คือผู้รักความรู้ประเภทนี้ ในปรัชญาประเภทนี้ ก็ย่อมมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์แรกคลอดแทรกแซงอยู่ด้วยบ้าง
ต่อมาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ได้เจริญก้าวหน้าไป และมุ่งศึกษาในสิ่งปลีกย่อยมากขึ้น วิชาวิทยาศาสตร์จึงแยกตัวออกจากปรัชญา ทำให้ปรัชญามีความโดดเดี่ยวเด่นชัดมากขึ้น ปรัชญาจึงกลายเป็นวิทยาการสำหรับค้นหา

2 วิชาปรัชญา สมัคร บุราวาศ

ความแท้จริงอันติมะ (Ultimate Reality อัล-ทิมิท ริแอล-อิทิ่) แต่เพียงอย่างเดียวไป แรงผลักดันในการนี้ก็คือ ศรัทธาแรงกล้าในศาสนา กล่าวคือ ปรัชญาในระยะนี้เป็นปรัชญาซึ่งพยายามอธิบายเหตุผลของความเชื่อมั่นในความมีอยู่จริงของพระเป็นเจ้าหรือจิตบริสุทธิ์หรือนิพพาน อันถือกันว่าเป็นความแท้จริง ที่สิ้นสุดแล้ว (อันติมะ Ultimate Reality) คือไม่มีอะไรจริงยิ่งกว่านี้

ปรัชญาอันเป็นการค้นหาความแท้จริงอันติมะนี้ คงมีมากระทั่งถึงปัจจุบัน แต่ความแท้จริง (Reality ริแอล-อิทิ่) ที่ค้นหา, ถูกกล่าวว่าเป็นสสารบ้าง เป็นจิตบ้าง เป็นพระเป็นเจ้าบ้าง นักฟิสิกส์บางคนกล่าวว่า ความแท้จริงเป็นพลังงาน บางคนว่า, เป็นกาล–อวกาศ (Space - Time สเพซ–ไทม๎) บางคนเรียกความแท้จริงว่า เหตุการณ์ (Event อิ-เฟนท๎) ซึ่งเป็นประมวลของกาลและอวกาศ อย่างไรก็ตามก็คงได้ความว่า ปรัชญา คือวิทยาการที่พยายามค้นหาว่าอะไรเป็นความแท้จริงอันติมะอยู่นั่นเอง คำว่า อันติมะ มีรากศัพท์มาจากคำ Ultimate (อัล-ทิมิท) ซึ่งแปลเป็นไทยสามัญได้ว่า ที่สิ้นสุด คือหมายความว่า ไม่สามารถจะค้นหาต่อไปได้อีก ไม่ว่าจะค้นหาด้วยวิธีใด
นักศาสนาค้นหาความแท้อันติมะนี้ไว้เพื่อแสดงความภักดี โดยถือว่าการรู้จักพระเป็นเจ้าที่แท้จริงเป็นกุศลอันยิ่งใหญ่ และเป็นปัญญาอันล้ำเลิศ หรือมิฉะนั้นก็เชื่อว่าการรู้จักจิตบริสุทธิ์หรือนิพพาน จะทำให้มนุษย์เรามุ่งปฏิบัติตนเข้าหาความแท้จริงดังกล่าวนั้นได้ถูกต้อง ส่วนนักปรัชญาที่ให้คำตอบว่า ความแท้จริงอันติมะ คือ สสาร (Matter แมท-เทอะ) หรือพลังงาน (Energy เอ็น-โอะจิ่) หรือ เหตุการณ์ (Event อิ-เฟนท๎) หรือ จิต (Mind ไมนด๎) โดยไม่มุ่งไปถึงจุดหมายปลายทางอย่างอื่นใดนั้น ย่อมได้ชื่อว่าค้นหาความแท้จริงเฉยๆ

อย่างไรก็ดี, การศึกษาปรัชญามากมายหลายสาขา การวิจารณ์ปรัชญาเหล่านี้ และการศึกษาอย่างถี่ถ้วนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ในขณะที่ปรัชญาถูกคิดขึ้น ทำให้เราได้ความรู้อันเป็นวิทยาศาสตร์ของการคิดปรัชญา กล่าวคือทำให้เราทราบว่า นักปรัชญานั้นๆหาได้คิดปรัชญาขึ้นจากความว่างเปล่าไม่ หากคิดขึ้นจากความตระหนักในจิต อันเกิดจากสิ่งแวดล้อมเป็นต้นเหตุ สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไปอย่างไร หลักในปรัชญา

1.1 ความรู้ของสัตว์ได้จากการรับรู้ 3

ก็เปลี่ยนไปตามนั้น ไม่มีนักปรัชญาสักคนเดียวที่เป็นนักคิดอิสระ (Free Thinker ฟรี ธิงค-เออะ) จากสิ่งแวดล้อม
การวาดภาพนักปรัชญานั่งอยู่ในที่มืดๆ กำลังครุ่นคิดอย่างหนักนั้น อาจทำให้เข้าใจผิดไปว่า ความคิดของเขาได้จากการสร้างสรรค์ (Creation คริเอ-ฌั่น) ขึ้นในจิต (Mind ไมนด๎) ของเขาเอง ผู้ไม่คุ้นกับวิทยาศาสตร์ของปรัชญา (The Science of Philosophy ฑิ ไซ-เอ็นซ๎ อ็อฝ ฟิลอซ-โอะฟิ่) คงยังอาจคิดสร้างมโนภาพพระฤๅษีแห่งอดีต นั่งขัดสมาธิเข้าฌานอยู่ใต้ต้นไม้อันสงัดเงียบในป่า แล้วคิดปรัชญาขึ้นมาจากความว่างเปล่า หรือมิฉะนั้นก็อาจคิดว่า พระเวทหรือวิทยาการอันศักดิ์สิทธิ์ลอยเคลื่อนเข้ามาอยู่ในจิตของท่าน เอง ทำให้เกิดความรู้ขึ้นในจิต หรือพระเป็นเจ้าซึ่งฤๅษีผู้อ้างว่ามีญาณพิเศษเข้าถึงได้ เป็นเหตุทำให้เกิดความรู้ขึ้นมา, อย่างนี้ก็มีอ้างอิงกันไว้เหมือนกัน
พระเวทดังกล่าวนี้บางทีก็ถือว่าเป็นญาณพิเศษ (Intuition อินทิวอีฌ-อั้น) ซึ่งมีนักปรัชญาบางคนอ้างว่าเป็นสิ่งรู้ไม่ได้ และไม่อาจเข้าใจได้ว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร ญาณพิเศษอย่างนี้บางคนก็ว่ามีแม้ในสัตว์ มันจึงอาจดำเนินชีวิตได้โดยปลอดภัย เช่นนกบางอย่างบินในถ้ำมืดๆได้ ปลาแซลมอนหรือกระพงแดงสามารถรู้ได้ก่อนว่าจะมีน้ำจืดไหลบ่ามาตามน้ำเมื่อใด แล้วหนีออกไปหาน้ำเค็มในทะเลเสียก่อน
ความคิดเห็นเกี่ยวกับกำเนิดของความรู้นี้ บัดนี้วิทยาศาสตร์ให้คำตอบแก่เราแล้วว่า ความรู้เบื้องต้นสุดได้จาก, การรับรู้ (Cognition ค็อกนิฌ-อั้น) ทางประสาทสัมผัส ความรู้เบื้องต่อๆมา, ได้จากการเล่าเรียน อันเป็นความรู้จากทางสัญลักษณ์ ซึ่งก็ต้องอาศัยการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสอีกเช่น กัน หาได้มาด้วยวิธีเข้าฌานดังกล่าวข้างต้นนั้นไม่

1.1 ความรู้ของสัตว์ได้จากการรับรู้

วิทยาศาสตร์ทางจิตวิทยา (The Science of Psychology ฑิ ไซ-เอ็นซ๎ อ็อฝ ไซค้อล-โอะจิ่) และวิทยาศาสตร์ทางสังคมวิทยา (The Science of Sociology ฑิ ไซ-เอ็นซ๎ อ็อฝ โซฌิอ้อล-โอะจิ่) ในปัจจุบัน ประกอบกับวิทยาศาสตร์ทางชีววิทยา (The Science of Biology ฑิ ไซ-เอ็นซ อ็อฝ ไบอ้อล-โอะจิ่) และ วิทยาศาสตร์ทางธรณีวิทยา (The Science of Geology ฑิไซ-เอ็นซ๎ อ็อฝ จิอ้อล-โอะจิ่) ให้ความรู้แก่เราว่า

4 วิชาปรัชญา สมัคร บุราวาศ

แรกทีเดียว, ชีวิตเซลล์เดียว, ซึ่งเป็นชีวิตดั้งเดิมที่สุดในโลกและประวัติศาสตร์โลกนั้น ยังไม่มีจิต คงมีแต่การรับรู้ขั้นต่ำสุด คือ การรับรู้ทางกายสัมผัสทางเดียวก่อน ข้อนี้ต้องนับว่าสิ่ง มีชีวิตยังไม่มีความรู้อะไร ฉะนั้นการที่พุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทะกล่าวว่าดั้งเดิมมีแต่อวิชชาหรือความไม่รู้ จึงตรงกับวิทยาศาสตร์สมัยใหม่อย่างอัศจรรย์ทีเดียว

การวิวัฒน์ของชีวิต (Evolution เอโฝะลยู-ฌั่น) ต่อมา ดังที่ชาร์ลส๎ ดาร์วิน (Charles Darwin) อธิบายไว้ใน ต้นกำเนิดสรรพชีวิต (The Origin of Species ฑิ ออ-ริจิน อ็อฝ สพี-ฌิส) ในปี ค.ศ.1859 นั้นแสดงให้เห็นว่ามีการเกิดอวัยวะรับสัมผัสใหม่ๆจากร่างกายเดิมของสัตว์ เช่นตา หู ลิ้น จมูก และสมอง. สมอง,ซึ่งมีหน้าที่เริ่มสมบูรณ์นั้นเราพบแต่ในสัตว์มีกระดูกสันหลังจำพวกปลา ส่วนในหอย, แมลง หรือไส้ เดือนนั้น สมอง,มีลักษณะแค่ปมประสาท ฉะนั้น,เนื่องจากเราถือว่าสมอง,อันเป็นสสาร,เป็นอวัยวะประมวลการรับรู้โลกภายนอก,เป็นแหล่งบังเกิดปรากฏการณ์ทั้งปวงทางจิต เราจึงอาจกล่าวได้ว่า จิตเกิดขึ้นในปลาก่อน กล่าวคือ มันเป็นจิตที่พอจะเรียกได้ว่าเป็นจิตอย่างสมบูรณ์,ในปลา ทั้งนี้เพราะมีการแสดงความรักต่อคู่ผัวตัวเมียและลูกเป็นครั้งแรกในระยะเวลาอันยาวนานแห่งการอุบัติขึ้นของชีวิต เมื่อประมาณ 395 ล้านปีมาแล้วในยุคดีโวเนี่ยน อันเป็นยุคที่ 4 ของมหายุคพาลีโอโซอิค ซึ่งมีปลาถือกำเนิดขึ้นมา และมีการวิวัฒน์ของชีวิตต่อมาอย่างยาวนานถึง 105 ล้านปีจนถึงปัจจุบัน

ในห้วงเวลาแห่งการวิวัฒน์ (การแปรเปลี่ยน) ของร่างกายนี้ อวัยวะรับสัมผัสใหม่ๆก็ได้บังเกิดขึ้นคู่คี่ไปกับอวัยวะส่วนอื่นของร่างกายด้วย จึงทำให้เกิดสัตว์พันธุ์ใหม่ๆขึ้นจากสัตว์พันธุ์เก่า สัตว์เรียนรู้สิ่งนอกกายจากการหาอาหาร ไล่จับศัตรู หนีศัตรู หรือสืบพันธุ์ การต่อสู้ดิ้นรนเพื่อมีชีวิตอยู่ด้วยวิธีลองกระทำ ทำให้อวัยวะเปลี่ยนจากเดิมเป็นอวัยวะอย่างใหม่ขึ้น เป็นเครื่องมืออย่างใหม่เพื่อใช้ในการยังชีวิต จึงอาจกล่าวว่า สัตว์ได้ความรู้มาจากความจัดเจน แต่ฝากความรู้นี้ไว้ในอวัยวะ, อันเป็นเครื่องมือในกายของตน หาได้ฝากไว้ในความทรงจำในสมองไม่ ฉะนั้นความรู้นี้จึงถ่ายทอดไปถึงลูกหลานทางพันธุกรรมได้โดยผ่านอวัยวะอย่างใหม่นั้น ความรู้ที่ผ่านมาทางนี้เรียกว่า สัญชาตญาณ (Instinct อีน-ซทิ้งท๎) สัญชาตญาณ (สันชาดตะยาน) ก็คือความรู้ในการใช้เครื่องมือ,อันเป็นส่วน

1.1 ความรู้ของสัตว์ได้จากการรับรู้ 5

ของร่างกายเพื่อการยังชีพนั่นเอง และรู้ได้จากการลองใช้อวัยวะนั้นดู แล้วหาความจัดเจนบวกเข้าไปอีกในภายหลัง สัตว์เช่นค้างคาวหรือนกบาง อย่างที่บินในถ้ำมืดๆได้ ขณะบินก็ส่งเสียงร้องอัน มีความถี่สูงออกมาประหนึ่งคลื่นสะท้อนกลับ (โซน่าร์ Sonar)ของเรือดำน้ำสมัยใหม่ มันใช้หูรับคลื่นที่สะท้อนจากผนังถ้ำ จากการนี้,ก็สามารถคำนวณ รู้ระยะทางห่างจากผนังถ้ำได้ มันจึงหลบหลีกไม่ให้ชนถ้ำในความมืดได้ นี่ก็คือสัญชาตญาณอันเกิดจากการลองเข้าถ้ำของต้นตระกูลของมัน และเกิดจาก การที่ลูกหลานรุ่นใหม่ๆลองใช้อวัยวะ, ที่ต้นตระกูลของมันสร้างขึ้นไว้ในร่าง กายนั้น, ส่งโซน่าร์ดูนั่นเอง เรื่องนี้หากนักวิทยาศาสตร์เมื่อสัก 20 ปีมาแล้วให้ความเห็น เขาก็อาจกล่าวโดยความไม่รู้ในเรื่องโซน่าร์ว่า ค้าง คาวมีวุฒิปัญญาหรือมีญาณพิเศษ (Intuition อินทิวอิฌ-อัน) ที่แท้แล้วญาณพิเศษในสัตว์ก็คือสัญชาตญาณ อันเป็นเครื่องมือในกายที่มนุษย์เรายังเรียนรู้ไม่ถึงนั่นเอง
มนุษย์นั้นดาร์วินอ้างว่าวิวัฒน์ (Evolve อิโวลฝ) มาจากจำพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (Mammal แมมแม็ล) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมวิวัฒน์มาจากจำพวกสัตว์เลื้อยคลาน (Reptile เรพ-ทิล) สัตว์เลื้อยคลานวิวัฒน์มาจากจำพวกสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ (Amphibian แอ็มฟีบ-เอี้ยน) เช่นกบ ซึ่งมีปลาเป็นต้นตระกูลขั้นต่ำสุด ฉะนั้นเราจึงเห็นการเพิ่มพูนขึ้นของความรู้จากของปลามาเป็นของแมมแม็ล และความรู้นี้ก็อยู่ที่การใช้อวัยวะอย่างใหม่ในสัตว์พันธุ์ใหม่ซึ่งวิวัฒน์มาจากสัตว์พันธุ์เก่านั่นเอง

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมต้นตระกูลของสัตว์จำพวกลิง มีความจำเป็น ต้องขึ้นต้นไม้หนีศัตรู จึงหัดใช้เท้าหน้า เท้าหน้าเลยกลายเป็นมือไป การห้อยโหนโยนตัวด้วยมือ ทำให้กระดูกสันหลังและกระดูกขายืดตรง จึงเกิดต้นตระกูลลิงขึ้น ซึ่งเดินได้ด้วยเท้าหลังทั้งสอง แล้วต้นตระกูลลิงนี้ต่อมาโดยการฝ่าฟันอุปสรรคในการหาอาหารฯลฯ ก็กลายเป็นลิง (Monkey มัง-คิ) พวกหนึ่ง และลิงไม่มีหาง, วานร (Ape เอพ) อีกพวกหนึ่งไป การหัดใช้มือนี้ยังนำไปยังการเจริญขึ้นของตาและสมอง การใช้มืออยู่เป็นนิจไม่เพียงทำให้สมองเจริญขึ้นอย่างเดียว ยังทำให้มือนั้นเองเจริญขึ้นด้วย และเหมาะสำหรับจับสิ่งต่างๆได้มั่นคงดีขึ้นด้วย ตรงนี้เองที่วานรก็วิวัฒน์แยกออกจากสัตว์ มันได้กลายเป็นมานุษย์วานรไป

6 วิชาปรัชญา สมัคร บุราวาศ
1.2 ความรู้ของมนุษย์ได้จากการรับรู้

สัตว์ซึ่งมีเครื่องมืออยู่ในกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมองนี้ แสดงให้เราเห็นว่าจิตของมันสามารถจำอะไรได้และสามารถมีมโนภาพได้แล้ว ดังจะเห็นได้ว่าเราอาจเลี้ยงสัตว์ให้เชื่องและสอนมันได้ ทั้งสังเกตได้ว่า สัตว์ที่มีสมองสองซีกทุกชนิด เช่นสุนัขก็ฝันได้ด้วย ขณะนี้จึงมีการศึกษาจิตวิทยาของสัตว์ (Animal Psychology แอน-อิแม็ล ไซคอล-โอะจิ่) กันอยู่ เราจึงเห็นว่า, คู่คี่กันไปกับการวิวัฒน์ (การกลายร่าง) ของพันธุ์สัตว์ ก็มีการวิวัฒน์ของสมองเกิด ขึ้น แล้วก็มีการวิวัฒน์ของจิตติดตามมา เมื่อการวิวัฒน์มาถึงมานุษย์วานร เราก็อาจกล่าวได้ว่าจิตมนุษย์ได้เกิดขึ้นแล้ว

ด้วยเครื่องมือแห่งการเรียนรู้อย่างใหม่ คือ ความทรงจำกับมโนภาพในสมอง ที่ยิ่งใหญ่กว่าของสัตว์ใดๆ สมัยแห่งปัญญา ก็เริ่มขึ้น ในการหาอาหาร,มนุษย์ได้ใช้มือเปล่าๆก่อน ต่อมาคงจะใช้กระบองไม้ในการต่อสู้กับสัตว์ใหญ่ๆ แล้วเขาก็พบประโยชน์ของหินเหล็กไฟ คงจากส่วนที่บางคมของมันบาดมือหรือเท้าของเขา การรู้จักทำขวานหิน ทำให้เขาสามารถหาอาหารได้สะดวกสบายยิ่งขึ้น ความรู้ในการหาอาหาร ทำกระบองไม้ กับขวานหินเหล็กไฟ เครื่องมือหิน (Stone Implement ซโทนอีม-พลิเม็นท๎) นี้ ปรากฏเฉพาะในมานุษย์วานรเท่านั้น ไม่ปรากฏในสัตว์ใดเลย มันเป็นความรู้ในการใช้เครื่องมือนอกกาย ฉะนั้นจึงไม่ใช่ความรู้ในการใช้เครื่อง มือในกายที่เรียกว่า สัญชาตญาณ (Instinct อีน-ซทิงท๎) แล้ว หากเป็นความรู้อย่างใหม่ที่พึงเรียกว่าปัญญา (Intellect อิน-เท็ลเล็คท๎) ความรู้อย่างใหม่นี้ไม่ได้อยู่ที่อวัยวะ หากอยู่ที่ความทรงจำ - ในสมอง

ปัญญามนุษย์ได้เกิดขึ้นแล้วเป็นครั้งแรกในมนุษย์ปฐมกาล(Primordial Man พไรเมอเดียล แม็น) เป็นความรู้ในการใช้เครื่องมือ คือใช้กระบองไม้และขวานหินเหล็กไฟอย่างหยาบๆอันเป็นเครื่องมือนอกกายประเภทแรกที่สุดของโลก ครั้นแล้วในหมู่มนุษย์ก็เกิดวิวัฒนาการทางปัญญาต่อไป ได้เกิดความรู้ในการเลี้ยงสัตว์ การกสิกรรม ศาสนา ปรัชญา แล้วก็ถึงวิทยาศาสตร์เรียงตามลำดับกันมา
เราจึงกล่าวสรุปว่า ปัญญา, หาได้เกิดขึ้นเองภายในจิต,จากสมาธิหลับตาเพ่งภายในนั่งคิดแบบโยคะกรรมแต่อย่างใดไม่ หากเกิดจากการลืมตารับรู้เหตุรับรู้ผลของโลกภายนอก ด้วยอวัยวะรับสัมผัสขณะที่มนุษย์ฝ่า

1.2 ความรู้ของของมนุษย์ได้จากการรับรู้ 7

ฟันอุปสรรคในการหาเลี้ยงชีวิต ไม่มีอุปสรรคปัญญาก็ไม่เกิด ไม่มีเหตุการณ์ทางความเป็นอยู่ของมนุษย์ ศาสนาและปรัชญาก็ไม่เกิด ฉะนั้นในวิชาปรัชญา, เราจึงจำ เป็นต้องศึกษาเหตุแห่งการเกิดของมันด้วย ด้วยประการฉะนี้ประวัติศาสตร์จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องศึกษาในวิชาปรัชญาผู้ประสงค์จะ ศึกษาหัวข้อทั้งสองนี้โดยละเอียดจะหาดูได้จากหนังสือชื่อ ปัญญาวิวัฒน์ ของผู้เขียนซึ่งจะแสดงถึง กำเนิดปัญญาโบราณและพัฒนาการแห่งปัญญาใหม่ ไว้อย่างละเอียดตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน




 

Create Date : 20 กรกฎาคม 2553
0 comments
Last Update : 20 กรกฎาคม 2553 14:12:47 น.
Counter : 8037 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

 

ลุงกฤช
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 8 คน [?]




อดีต : พ่อค้า ผู้รับเหมาก่อสร้าง

ปัจจุบัน : อาจารย์พิเศษสอนปรัชญาเป็นประจำแก่สถาบันของรัฐแห่งหนึ่ง สอนพิเศษนักศึกษาปริญญาตรีและโทมหาลัยมหิดล

คืนกำไรให้ชีวิตหลังจากการทำงานหนักมาเกือบตลอดชีวิต ขับรถไปฮันนี่มูนต่างจังหวัดบ้าง ไปสอนต่างจังหวัดบ้าง มีความสุขกับศรีภรรยาที่อยู่กันมาเกือบ 50 ปี
เธอดูแลเราเหมือนลูก เพราะลูกๆต่างก็มีครอบครัวแยกย้ายไปทำมาหากินกันดีๆทุกคนแล้ว เราเลยอยู่กันสามพ่อแม่ลูก(คนสุดท้อง)ซึงไม่ยอมมีผัว เพื่อดูแลพ่อแม่ กับหมาอีก 8 ตัว บางวันก็ไปสอนบ้าง บางวันก็เข้ามาในบล๊อกบ้างเพื่อเอางานที่เรียนรู้มา มาคืนให้แก่สังคม ดังที่เห็นๆกันแล้ว งานส่วนใหญ่ที่คัดลอกมาให้อ่านกันเป็นงานเขียนของท่านอาจารย์สมัคร บุราวาศ และทรรศนะส่วนตัว
อยากให้คนสนใจเรื่องปรัชญา เพราะตัวเองนั้นมีความสุขอยู่ได้ทุกวันนี้ก็เพราะมีปรัชญาชี้นำการดำเนินชีวิต มีความรู้ในการปฏิบัติทำมาหากิน ภายหลังหยุดชีวิตการทำมาหากินแล้วก็ยังมีสมบัติทีมากกว่าเบี้ยบำนาญของราชการ

แม้ไม่รวย แต่ก็ไม่จน จึงอยากให้เป็นตัวอย่างแก่คนรุ่นใหม่ที่ไม่มีทุนเข้ามหาลัยได้ดูเป็นแบบอย่างบ้าง เพราะชีวิตผมเริ่มต้นจากสูญ ไม่มีมรดกจากพ่อแม่

บทความซึ่งจะนำลงตอนละประมาณหนึ่งอาทิตย์ ถ้าใครไม่สนใจอ่านจะลบทิ้ง

บทความตอนใดที่ไม่มีผู้สนใจอ่าน(ไม่ให้ความเห็น)
จะลบออกเร็วกว่านั้น
อยากบอกอยากถามก็ขอให้เขียน เรามาแลกเปลี่ยนวิถีทรรศน์ของกันและกัน เพื่อเดินทางร่วมกันฉันท์สหาย
[Add ลุงกฤช's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com