ธันวาคม 2555

 
 
 
 
 
 
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
26
27
28
29
30
31
 
 
❤งานประเพณีลอยกระทงในหมู่บ้าน❤

ตำนานวันเพ็ญ พุธ หรือทางเหนือจะเรียกว่า วันเป็งปุ๊ด

"เป็งปุ๊ด" หรือเพ็ญพุธ เป็นวันสำคัญวันหนึ่งในคติล้านนา ในรอบหนึ่งปีมีวันเพ็ญสิบสองครั้ง วันเพ็ญที่ตรงกับวันพุธมีเกือบสองครั้งในหนึ่งปีประเพณีเพ็ญพุธเกี่ยวข้องกับพระอรหันต์พระมหาอุปคุตเถระ

 ตำนานเล่าว่าท่านเป็นอรหันต์ปราบมารสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เป็นผู้มากมีฤทธิ์เดช

ในวันเพ็ญ พุธ ชาวล้านนาจะไปตักบาตรเพ็ญพุธหรือตักบาตรอุปคุตก็เรียก ตักกันแต่ดึกดื่นค่อนคืนโน่นเลยจ้ะ เพราะเชื่อกันว่าในวันนี้พระอุปคุตจะจำแลงตนเป็นเณรน้อยมาบิณฑบาตในค่ำคืน นี้ ใครได้ใส่บาตรพระอุปคุตจะมีโชคลาภ

ประวัติวัดอุปคุต มีตำนานเล่าสืบกันมาว่า ครั้งหนึ่งมีสามีภรรยาฐานะยากจนคู่หนึ่งตั้งบ้านอยู่นอกเมืองเชียงใหม่ ประกอบอาชีพทำนาและค้าขายเมื่อว่างจากทำนาก็นำเอาผลผลิตจากไร่เข้ามาขายในตัวเมือง เชียงใหม่

วันหนึ่งในฤดูหนาวอากาศหนาวเหน็บ สองสามีภรรยาตื่นแต่เช้าเดินทางเข้าตัวเมืองพร้อมกับสัมภาระสำหรับค้าขาย ระหว่างเดินฝ่าอากาศที่หนาวเย็นก็ได้พรรณนาปรับทุกข์ต่อกันถึงความทุกข์ยาก

ของครอบครัวตนเองที่ต้องตื่นแต่เช้าทำงานหนัก ซึ่งต่างจากครอบครัวของคนอื่นที่ยังนอนหลับสบาย หากไม่ทำเช่นนี้ก็ต้องอดอยากไม่มีจะกิน ทั้งสองต่างปลอบใจและให้กำลังใจซึ่งกันและกันและว่า "เราสองคนทำบุญมาน้อย ทำให้ด้อยวาสนา แม้จะทุกข์สาหัสอย่างไรก็จำเป็นต้องทน ต้องดิ้นรนต่อสู้ต่อไป"

สองสามีภรรยาปรับทุกข์กันเรื่อยมาจนข้ามแม่ น้ำปิงมาฝั่งตะวันตกเข้าถนนท่าแพ ขณะนั้นยังเป็นเวลาเช้ามืดและเป็นวันพระขึ้น ๑๕ ค่ำ พระจันทร์เต็มดวงสาดแสงสว่างไสวดูรื่นรมย์ทำให้ความเหนื่อยล้าของสามีภรรยา หายไปสิ้น

ขณะเพลิดเพลินกับบรรยากาศอยู่นั้น สายตาของทั้งคู่ก็เหลือบไปเห็นสามเณรน้อยรูปหนึ่งอุ้มบาตร ครองผ้าเป็นปริมณฑลตัดกับแสงจันทร์นวลส่อง เป็นภาพที่น่าทัศนาเป็นอย่างยิ่ง ยังความปิติซาบซ่านเข้าสู่หัวใจของทั้งสอง อีกทั้งบังเกิดศรัทธาในตัวสามเณรจึงได้แบ่งสิ่งของที่ตั้งใจนำไปขายยกขึ้น

อธิษฐานแล้วใส่ในบาตรของสามเณร หลังจากรับพรจากสามเณรแล้วชายผู้เป็นสามีนึกแปลกใจว่าสามเณรจากวัดใดกันอีก ทั้งออกบิณฑบาตแต่เช้าตรู่เพียงลำพังเช่นนี้ ฝ่ายสามีจึงเดินตามสามเณรไป

แต่เมื่อสามเณรเดินไปถึงชายป่าก็หายวับไปที่ต้นไทรต้นหนึ่ง สามีเห็นเช่นนั้นก็วิ่งกลับมาบอกกับภรรยาและต่างเก็บความสงสัยไว้ในใจ

นับ จากที่ได้นำสิ่งของใส่บาตรเป็นกุศลศรัทธากับเณรน้อยรูปนั้น นับแต่วันนั้นสองสามีภรรยาก็เจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับไม่ว่าจะประกอบอาชีพ อะไรก็ได้ผลกำไรงามฐานะร่ำรวยขึ้น

ต่อมาจึงทราบจากพระผู้เฒ่ารูปหนึ่งผู้ทรงอภิญญาญาณเคร่งครัดในศีลว่า การที่เจริญก้าวหน้าค้าขายร่ำรวยนั้นเนื่องจากอานิสงส์ที่ได้ตักบาตรกับ สามเณร ผู้ซึ่ง คือ พระปคุตมหาเถระที่เข้านิโรธสมาบัติอยู่ใต้สะดือทะเล ครั้นถึงวันพระขึ้น ๑๕ ค่ำ

ท่านจะแปลงเป็นสามเณรน้อย ออกบิณฑบาตแต่เช้าตรู่เพื่อโปรดสัตว์ บุคคลใดได้ตักบาตรท่านพระมหาอุปคุต ถือว่าเป็นบุคคลที่โชคดีทำให้เจริญรุ่งเรือง

สองสามีภรรยาได้ฟังก็ เกิดปิติศรัทธา จึงได้สร้างวัดขึ้นที่บริเวณที่พบสามเณรน้อย ชาวบ้านเมื่อทราบข่าวต่างมาร่วมอนุโมทนาและช่วยเหลือร่วมทำบุญ โดยตั้งชื่อวัดนี้ว่า "วัดพระอุปคุต" ต่อมาเปลี่ยนเป็นเรียกสั้นๆ ว่า "วัดอุปคุต" สืบมาจนถึงทุกวันนี้

และเพื่อเป็นการสืบทอดประเพณีสืบมา ทุกวันเพ็ญ พุธ ที่วัดอุปคุต จะมีการตักบาตร หลังเที่ยงคืน แต่ที่วัดในหมู่บ้านจะเปลี่ยนเป็นตอนตีสี่แทนค่ะ

เริ่มด้วยก่อนวันพระ ก็จะเตรียมตัวทำขนม และห่อนึ่งเพื่อไปใส่บาตรวันรุ่งนี้ วันนั้นได้ทำข้าวต้มกล้วยใส่ถั่วแดงและห่อนึ่งหัวปลี

ยายรวยนั่งห่อข้าวต้มค่ะ


เสร็จแล้วก็ทำให้แขกที่มาพักที่บ้านลองทาน ปรากฏว่าแขกชอบมาก สุกใหม่ๆ จะหอมกลิ่นใบตอง และยิ่งยายรวยคั้นน้ำใบเตยผสมเข้าเหนียว ยิ่งหอมมากขึ้นค่ะ

ตื่นแต่ตีสามเพื่อมาเตรียมของไปใส่บาตรตอนตีสี่ ชาวบ้านมาร่วมงานกันเยอะมากค่ะ แถวบ้านเขาจะเรียกใส่บาตร ก่อนกา ก่อนไก่ คือตักบาตรตอนเช้ามืด

ยายรวยก็ตื่นกันแต่เช้า เพราะต้องเตรียมอาหารและข้าวมาเลี้ยงชาวบ้านด้วยค่ะ

ตักบาตร ฟังธรรมเสร็จ ก็เลี้ยงข้าวชาวบ้านที่มาร่วมตักบาตร

ตอนกลางวันก็มีสาวๆมาเที่ยวที่บ้าน ไม่ว่างเพราะต้องทำอาหารเลี้ยงแขก ก็เลยให้น้องสาวไปรับ

เที่ยวกันก่อนแล้วค่อยแวะมาทานข้าว ทำกับข้าวหลายอย่าง มีแขกมาพักที่บ้านด้วย ไหนจะทั้งแขกตัวเอง ไหนจะแขกคุณแฟนอีก ก็เลยยุ่งๆ วันนั้นทำกับข้าว

ก็มีไข่พะโล้จากที่เลี้ยงชาวบ้านตักไว้บางส่วน ข้าวเหนียวมะม่วง ขนมจีนน้ำยาปลาแห้ง และน้ำเงี้ยว อยากให้แขกลองทานอาหารทางเหนือบ้างค่ะ

สาวๆถ่ายรูปร่วมกันก่อน

ทานข้าวเสร็จก็พากันไปเที่ยวน้ำพุร้อน

ส่งแขกกลับที่พัก ก็ต้องรีบกลับมาจุดประทีป หรือ ผางฝะตีป ซึ่ง 6 โมงเย็น พระสงฆ์จะสวดมนต์ออกทางเครื่องกระจายเสียงในหมู่บ้าน และชาวบ้านแต่ละบ้านก็จะเริ่มจุดประทีป เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา

คุณป้าก็มาช่วยจุด ร่วมงานประเพณีแบบล้านนา ซึ่งแขกทั้งสองประทับใจมากค่ะ

ที่จริงวันก่อนได้ทำขนมปังกระทงไว้ก่อนแล้วค่ะ อยากจะทำเป็นใบตองและสอนพวกฝรั่งหัดทำเหมือนกัน แต่ดูแล้วตัวเองไม่มีเวลาพอแน่เลย ก็ต้องทำเป็นขนมปัง ซึ่งคิดว่าเป็นอาหารปลาไปด้วย

จากนั้นก็ชวนกันไปลอยกระทง ซึ่งจัดทุกปีที่ในวัดค่ะ

มีกิจกรรมหลายๆอย่างเช่น มวยทะเล

ในสนามที่โรงเรียนก็จะจัดให้เป็นสนามปล่อยโคมลอยค่ะ เป็นความเชื่อว่าการปล่อยโคมลอยเป็นการปล่อยเคราะห์กรรมสิ่งที่ไม่ดีงามให้ลอยออกไปจากชีวิต และปล่อยให้ลอยขึ้นไปบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์


มีชาวบ้านมาร่วมงานกันเยอะเลยค่ะ


ฝรั่งก็อยากปล่อยมั้ง

ขึ้นแล้ว

มีเวทีให้ร้องเพลงคาราโอเกะการกุศล เพลงละ 10 บาท รายได้เข้าวัด

เสร็จจากงานลอยกระทงที่หมู่บ้าน อีกวันก็เป็นงานลอยกระทงของตำบลมีกิจกรรมให้แต่ละหมู่บ้านเข้าร่วมสนุกค่ะ ในตำบลจะมีทั้งหมด 11 หมู่บ้าน

มีการประกวดสาวงาม ซึ่งปีนี้เด็กสาวในหมู่บ้านคว้ารางวัลชนะเลิศมาครองค่ะ

มีประกวดกระทง โดยแต่ละหมู่บ้านจะส่งหมู่บ้านละ หนึ่งกระทงค่ะ ซึ่งปีนี้ก็ได้รางวัลชนะเลิศอีกค่ะ

แต่ละหมู่บ้านทำสวยๆทั้งนั้นเลย

มีการประกวดสาวประเภทสอง น่าเสียดายที่เด็กในหมู่บ้านชวดรางวัล เพราะคณะกรรมการเปิดทั่วไป กลัวว่าถ้ารับแค่เด็กในตำบลจะไม่มีคนมาสมัครเยอะ ที่จริงน้องเขาก็สวย คนขวามือค่ะ

ทันได้ถ่ายแค่สองคน เพราะอีกเวที มีประกวดร้องเพลง และเด็กๆในคณะรำวงก็ไปเป็นแดนเซอร์ให้ค่ะ ปีนี้ได้รางวัลรองชนะเลิศมาค่ะ

ปีนี้หมู่บ้านกวาดเกือบทุกรางวัล ยกเว้นสาวประเภทสองค่ะ

 

 




Create Date : 01 ธันวาคม 2555
Last Update : 1 ธันวาคม 2555 14:55:04 น.
Counter : 1891 Pageviews.

0 comments

Lisa ssp
Location :
เชียงใหม่  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 52 คน [?]



จำหน่ายกระเป๋าผ้าฝ้าย,ผ้าทอพื้นเมือง ปลีกและส่ง ราคาไม่แพงค่ะ แวะชมสินค้าได้ที่ 199bypenna.blogspot.com www.facebook.com/199bypenna