Star Avenue Travel รับจองตั๋วเครื่องบิน +จองโรงแรมทั้งในและต่างประเทศ //รับทำประกันการเดินทาง //รับทำประกันภัยรถยนต์ พรบ ...
Group Blog
 
 
สิงหาคม 2551
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
23 สิงหาคม 2551
 
All Blogs
 
วิเคราะห์แบบพื้นฐาน: ข้อมูลอุตสาหกรรม

นอกจากการวิเคราะห์ข้อมูลเศรษฐกิจที่นักลงทุนควรทราบก่อนการตัดสินใจลงทุนในหุ้นสามัญแล้ว ข้อมูลสำคัญอีกประเภทหนึ่งที่นักลงทุนควรวิเคราะห์ คือข้อมูลระดับอุตสาหกรรมทั้งนี้เนื่องจาก อุตสาหกรรมแต่ละอุตสาหกรรมมีลักษณะโครงสร้าง และการดำเนินงานที่แตกต่างกัน ดังนั้นผลกระทบทางเศรษฐกิจที่จะกระทบต่ออุตสาหกรรมแต่ละอุตสาหกรรมย่อมไม่เท่ากัน

ตัวอย่างเช่น
ในกรณีที่เศรษฐกิจอยู่ในช่วงหดตัว เป็นช่วงที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มลดลง GDP เริ่มปรับตัวลดลง รายได้ของครัวเรือนเริ่มลดลง แต่อย่างไรก็ตามภาวะเศรษฐกิจแบบนี้อาจจะกระทบกับยอดขายของอุตสาหกรรมอาหาร หรืออุตสาหกรรมยาไม่มากนัก เนื่องจากสินค้าเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมที่จำหน่ายสินค้าฟุ่มเฟือย ซึ่งบริษัทที่ดำเนินธุรกิจเหล่านี้จะมียอดขายที่ลดลงมากกว่า หรือในกรณีอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก และการนำเข้า สินค้า หากอัตราแลกเปลี่ยนมีการเปลี่ยนแปลง อุตสาหกรรมเหล่านี้ก็จะได้รับผลกระทบมากกว่าอุตสาหกรรมที่ขาย หรือสั่งซื้อสินค้าภายในประเทศเพียงอย่างเดียว จากตัวอย่างทั้งสองทำให้เราทราบว่าผลกระทบทางเศรษฐกิจที่กระทบต่ออุตสาหกรรมแต่ละอุตสาหกรรมนั้นรุนแรงไม่เท่ากัน ดังนั้นนักลงทุนจึงจำเป็นที่จะต้องวิเคราะห์ข้อมูลในระดับอุตสาหกรรมด้วยเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุน

วงจรการขยายตัวของอุตสาหกรรม เป็นการพิจารณาวัฏจักรชีวิตของอุตสาหกรรมหนึ่งๆ โดยแบ่งออกเป็น 4 ช่วงคือ
1. ระยะเริ่มพัฒนา (Inititial Development Stage) เป็นระยะที่อุตสาหกรรมเพิ่งเริ่มก่อตั้ง และมีผู้ผลิตเพียงไม่กี่ราย ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ให้ลูกค้ายอมรับ และเป็นที่รู้จัก ในช่วงนี้ยอดขายของธุรกิจจะเติบโตค่อนข้างช้า และมีกำไรค่อนข้างต่ำ เนื่องจากเป็นช่วงที่ธุรกิจมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการวิจัยพัฒนา หรือการแนะนำสินค้าค่อนข้างมาก ซึ่งส่งผลให้โอกาสที่นักลงทุนจะได้รับผลตอบแทนในรูปของเงินปันผลจากการลงทุนในบริษัทเหล่านี้มีไม่มาก

2. ระยะเจริญเติบโต (Growth) ในระยะนี้สินค้าเริ่มเป็นที่ยอมรับของตลาด ยอดขาย และผลกำไรจะเพิ่มขึ้นในอัตราสูงขึ้น ทำให้เริ่มมีคู่แข่งขันเข้ามาในอุตสาหกรรมนี้มากขึ้น แต่ผลกำไรที่บริษัทได้รับจำนวนมากนั้นจะต้องนำไปลงทุนต่อเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าเพื่อรองรับการขยายตัวของตลาดที่มากขึ้น ซึ่งนักลงทุนที่ลงทุนในบริษัทเหล่านี้จะมีโอกาสได้รับผลตอบแทนในรูปของเงินปันผลมากขึ้น แต่จะได้รับในอัตราที่น้อยอยู่ เนื่องจากบริษัทจะต้องสำรองเงินบางส่วนเพื่อใช้ในการลงทุนต่อ

3. ระยะขยายตัว (Expansion) เป็นระยะที่อัตราการขยายตัวของยอดขายและกำไรยังเป็นไปในทางบวก แต่เป็นอัตราที่ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับระยะที่สอง เนื่องจากในระยะนี้มีจำนวนคู่แข่งขันเข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดที่มากขึ้น อุตสาหกรรมที่อยู่ในระยะนี้มีความสามารถที่จะจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นได้มากขึ้น

4. ระยะอิ่มตัว หรือเสื่อมถอย (Maturity or Decline) ระยะนี้เป็นระยะที่ความต้องการในสินค้าเริ่มถึงจุดอิ่มตัว ทำให้เริ่มมีบริษัทต่างๆออกจากอุตสาหกรรมนี้ไป ถ้าบริษัทที่ยังคงอยู่ไม่มีการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ หรือพัฒนากลยุทธ์ใหม่ๆ ก็จะทำให้เข้าสู่ระยะเสื่อมถอยในที่สุด
การวิเคราะห์อุตสาหกรรมจาก Five Forces Model เป็นแนวทางการวิเคราะห์สภาวะการแข่งขันในอุตสาหกรรม โดยพิจารณาจาก 5 ปัจจัยต่อไปนี้ร่วมกัน ได้แก่

1. การแข่งขันภายในอุตสาหกรรม เป็นการพิจารณาว่า ณ ปัจจุบันมีบริษัทที่แข่งขันอยู่ในอุตสาหกรรมนี้จำนวนกี่ราย ถ้ามีบริษัทจำนวนมากในอุตสาหกรรมแสดงให้เห็นถึงการแข่งขันที่รุนแรง ในขณะที่ ถ้ามีบริษัทจำนวนน้อยรายในอุตสาหกรรมก็แสดงให้เห็นว่าการแข่งขันในอุตสาหกรรมนั้นมีน้อย โดยปกติกำไรของบริษัทในอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันรุนแรงจะน้อยกว่าบริษัทในอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันไม่รุนแรง ดังนั้นโอกาสที่ผู้ถือหุ้นจะได้รับเงินปันผลจากการลงทุนในบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันรุนแรงจึงน้อยกว่าไปด้วย

2. อุปสรรคของคู่แข่งขันรายใหม่ นอกจากการพิจารณาถึงการแข่งขันในอุตสาหกรรมแล้ว เราจะต้องพิจารณาถึงคู่แข่งขันที่กำลังจะเข้ามาแข่งขันในอุตสาหกรรมนี้รายใหม่ๆ ด้วยว่าคู่แข่งขันรายใหม่จะสามารถเข้าสู่อุตสาหกรรมนี้ได้ยากง่ายเพียงใด เนื่องจากหากคู่แข่งขันรายใหม่สามารถเข้าสู่อุตสาหกรรมนี้ได้ง่าย ก็จะทำให้จำนวนคู่แข่งขันในอุตสาหกรรมนี้มีจำนวนมากขึ้น ซึ่งอาจจะนำไปสู่การตัดราคาสินค้าระหว่างกันส่งผลให้กำไรต่อหน่วยของบริษัทในอุตสาหกรรมนั้นๆ ลดลง และทำให้ผลตอบแทนในรูปเงินปันผลที่ผู้ถือหุ้นจะได้รับมีโอกาสลดลงไปด้วย

. อำนาจต่อรองของผู้ซื้อสินค้า หากอุตสาหกรรมใดผู้ซื้อมีอำนาจในการต่อรองราคาได้มากก็จะทำให้บริษัทในอุตสาหกรรมนั้นได้กำไรต่อหน่วยที่ลดลง ในทางตรงกันข้ามหากสินค้าใดที่ลูกค้าไม่มีอำนาจต่อรอง กล่าวคือเนื่องจากมีผู้ขายสินค้าชนิดนั้นในอุตสาหกรรมเพียงไม่กี่ราย ความสามารถในการกำหนดราคาสินค้าก็ขึ้นอยู่กับผู้ขายเป็นหลักกำไรของบริษัทเหล่านี้จะมีมาก และสามารถจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นมากขึ้นไปด้วย

4. อำนาจต่อรองของผู้ขายวัตถุดิบ หากอุตสาหกรรมใดมีผู้จัดจำหน่ายวัตถุดิบน้อยราย อำนาจในการต่อรองราคาก็จะตกอยู่กับผู้ขายวัตถุดิบ แต่ถ้ามีผู้จัดจำหน่ายวัตถุดิบมากราย อำนาจในการต่อรองราคาวัตถุดิบก็จะตกอยู่กับบริษัทนั้นๆ ซึ่งอำนาจในการต่อรองราคาวัตถุดิบจะส่งผลกระทบต่อราคาต้นทุนการผลิตของบริษัทนั่นเอง ดังนั้นบริษัทใดมีอำนาจในการต่อรองกับผู้ขายวัตถุดิบมาก ก็จะทำให้บริษัทนั้นมีต้นทุนในการผลิตที่ต่ำ และมีโอกาสในการได้รับกำไรที่มากขึ้น ดังนั้นผู้ถือหุ้นก็จะมีโอกาสที่จะได้รับเงินปันผลที่มากขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน ในทางตรงกันข้าม หากบริษัทใดมีอำนาจในการต่อรองกับผู้ขายวัตถุดิบน้อย ก็จะทำให้บริษัทนั้นมีต้นทุนในการผลิตที่สูงขึ้น ซึ่งส่งผลให้กำไรที่คาดว่าจะได้รับลดลง ดังนั้นโอกาสที่ผู้ถือหุ้นจะได้รับเงินปันผลก็ลดลงด้วยเช่นเดียวกัน

5. สินค้าทดแทน หากอุตสาหกรรมใดมีสินค้าที่สามารถใช้ทดแทนได้จำนวนมาก การแข่งขันในอุตสาหกรรมนั้นจะยิ่งรุนแรงขึ้น การแย่งส่วนตลาด และการแบ่งผลกำไรก็จะมีมากขึ้นตามมา เนื่องจากผู้บริโภค หรือลูกค้ามีทางเลือกมากขึ้นนั่นเอง ตัวอย่างเช่นในอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งประกอบด้วยเนื้อสัตว์ ผัก และผลไม้ต่างๆ ในช่วงเวลาที่มีข่าวไข้หวัดนก ผู้บริโภคอาจหันไปบริโภคเนื้อหมู อาหารทะเล หรือผักผลไม้ต่างๆ แทนการบริโภคเนื้อไก่ เป็นต้น ดังนั้นบริษัทในอุตสาหกรรมเหล่านี้จึงมักมีผลกำไรที่ต่ำ ซึ่งจะส่งผลให้การจ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้นลดลงไปด้วย

*อ้างอิงข้อมูลจาก //www.tsi-thailand.org
ที่มา blog คุณลีเปรม


Create Date : 23 สิงหาคม 2551
Last Update : 23 สิงหาคม 2551 16:50:23 น. 0 comments
Counter : 144 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

คุณแม่มือใหม่ เจ้าปัญหา
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




สองคน สองใจ กลายเป็นหนึ่งเดียว จำนวนผู้เข้าชมทั้งหมด เพื่อนที่กำลังชม Blog
Friends' blogs
[Add คุณแม่มือใหม่ เจ้าปัญหา's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.