Group Blog
 
 
กุมภาพันธ์ 2550
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728 
 
25 กุมภาพันธ์ 2550
 
All Blogs
 
วันสงกรานต์ของไทย



ความหมายของ สงกรานต์"สงกรานต์" เป็นภาษาสันสกฤต แปลว่าผ่าน หรือเคลื่อนย้ายเข้าไป หมายถึงเวลาที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนจากราศีหนึ่งไปสู่อีกราศีหนึ่งทุกๆ เดือน ยกเว้นเมื่อย้ายจากราศีมีนสู่ราศีเมษ จะเรียกชื่อพิเศษว่า "มหาสงกรานต์" เพราะเป็นวันขึ้นปีใหม่ตามความเชื่อของอินเดียฝ่ายเหนือ ไทย รับคติความเชื่อเกี่ยวกับวันขึ้นปีใหม่นี้มาใช้เช่นกัน แต่จะเรียกว่า "สงกรานต์" เท่านั้น

สงกรานต์ : วันขึ้นปีใหม่

การกำหนดวันขึ้นปีใหม่แต่เดิมของไทยใช้วิธีนับทางจันทรคติ ดังนั้น แต่ละปีจะไม่ตรงกัน จนลุถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้กำหนดให้ วันที่ ๑ เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๓๒ และได้เปลี่ยนแปลงอีกครั้งหนึ่ง ในปี พ.ศ.๒๔๘๔ โดยกำหนดวันขึ้นปีใหม่ ตรงกับวันที่ ๑ มกราคม ตามหลักสากล

กำหนดวันสงกรานต์

กำหนดวันสงกรานต์มี ๓ วัน คือวันที่ ๑๓ - ๑๔ - ๑๕ เมษายน ของทุกปี มีชื่อเรียกว่า วันมหาสงกรานต์ วันเนา และวันเลิงศก ตามลำดับ ในแต่ละภูมิภาค มีชื่อเรียกวันดังกล่าวและมีพิธีกรรมแตกต่างกันตามคติความเชื่อของแต่ละท้องถิ่น

ตำนานสงกรานต์ของไทย



มีเรื่องเล่าว่า ท้าวกบิลพรหมซึ่งเป็นพระพรหมตนหนึ่ง ได้ลงมาทายปัญหา แก่ธรรมบาลกุมารว่า เวลาเช้า เที่ยง เย็น ราศีของมนุษย์อยู่ที่ใด โดยได้พนันเอาศีรษะ ของแต่ละฝ่ายเป็นเดิมพัน ธรรมบาลกุมาร สามารตอบปัญหาได้ ท้าวกบิลพรหมจึงต้องตัดศีรษะตนเองตามสัญญา แต่ศีรษะของท้าวกบิลพรหม มีฤทธิ์มา หากตั้งไว้บนแผ่นดินจะเกิดไฟไหม้ โยนขึ้นบนอากาศฝนจะแล้ง ทิ้งลงในมหาสมุทรน้ำจะแห้ง จึงให้เทพธิดาทั้ง ๗ เป็นผู้ดูแลรักษา เมื่อครบปีก็ทรงเทพพาหนะต่างๆ ผลัดกันเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหม ออกแห่รอบเขาพระสุเมรุ เรียกนางเทพธิดาที่ทำหน้าที่นี้ว่า นางสงกรานต์

คำทำนายวันสงกรานต์


เมื่อถึงวันสงกรานต์ คนไทยสมัยก่อนสนใจที่จะรู้ชื่อนางสงกรานต์ พาหนะทรง กำหนดวันมหาสงกรานต์ เพราะคนไทยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งจำเป็นต้องพึ่งพาน้ำฝนจากธรรมชาติ คำทำนายต่าง ๆ เป็นการเตรียมพร้อม ในการที่จะต้องเผชิญกับภาวะต่าง ๆ เกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ ผลิตผลและการทำมาหากินทั่วไป
บุญกิริยาในวันสงกรานต์
ในวันสงกรานต์ มีประเพณีที่นิยมถือปฏิบัติกัน ดังนี้
ก่อนวันสงกรานต์ เป็นวันทำความสะอาดบ้านเรือน ชำระล้างสถานที่ สิ่งของเครื่องใช้ ทุกอย่างให้สะอาดหมดจด เพื่อจะได้ต้อนรับปีใหม่ด้วยความแจ่มใสเบิกบานและ ตระเตรียมข้าวของไว้สำหรับทำบุญ
วันสงกรานต์ มีพิธีทำบุญตักบาตรก่อเจดีย์ทราย ปล่อยนกปล่อยปลา บังสุกุลอัฐิ สรงน้ำพระพุทธรูป สรงน้ำพระสงฆ์ รดน้ำผู้ใหญ่ การสาดน้ำ และการเล่นรื่นเริง

คุณค่าทางวัฒนธรรมในประเพณีสงกรานต์
คุณค่าประการที่ 1 ความรักความผูกพันในครอบครัว

คุณค่าประการที่ 2 ความเคารพกตัญญูต่อผู้ใหญ่และผู้มีพระคุณ

คุณค่าประการที่ 3 ความศรัทธาในการทำบุญให้ทาน

คุณค่าประการที่ 4 พิธีกรรมที่สง่างามสร้างความสัมพันธ์

คุณค่าประการที่ 5 สามัคคีคือพลังของชุมชน

คุณค่าประการที่ 6 ภาษาไทย : การสื่อความหมายที่ไพเราะ

คุณค่าประการที่ 7 การละเล่นและดนตรีพื้นบ้าน : ความสุข สุนทรียภาพ

สงกรานต์ในสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลง


ความงดงามของประเพณีสงกรานต์ อันประกอบด้วยคุณค่าทางวัฒนธรรมดังกล่าว เปรียบเสมือนสายใยความผูกพันแห่งอดีตกับปัจจุบัน เป็นสิ่งซึ่งแสดงถึงความเป็นไทยอย่างแท้จริง แต่กำลังจะถูกลบเลือนไปในสภาพปัจจุบัน กิจกรรมหลายอย่างได้ถูกยกเลิกไป สุนทรียภาพ อันเกิดจากภาษาและดนตรีได้เงียบหายไป เพลงร้องอันไพเราะที่เกิดจากภูมิปัญญาของตน ถูกแทนที่ด้วยบทเพลงสมัยใหม่ ความเอื้ออาทร ความห่วงใย และความปรารถนาดีที่จะให้ผู้อื่น มีความสุขโดยการประพรมน้ำ ถูกแทนที่ด้วยการขว้างปา กิริยาก้าวร้าวรุนแรง ไม่สนใจ ในความเจ็บปวดและอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้น พิธีกรรมอันเคยสง่างามถูกบีบรัดด้วยความรีบร้อนให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว
คงจะเป็นไปไม่ได้ที่เราจะเรียกร้องให้ทุกสิ่งทุกอย่างในอดีตกลับคืนมาสู่ยุคปัจจุบัน หากเพียงแต่เราจะเริ่มต้นด้วยการแบ่งปันความเอื้ออาทรให้กันและกัน พิเคราะห์ดูความงามของ ประเพณีสงกรานต์ที่แท้จริง และเลือกสรรนำมาปฏิบัติให้เหมาะกับยุคสมัยเท่ากับว่าเราเป็นผู้หนึ่ง ที่จรรโลงประเพณีสงกรานต์ ด้วยความหมายที่แท้จริงให้อยู่คู่กับสังคมไทยสืบต่อไป



Create Date : 25 กุมภาพันธ์ 2550
Last Update : 25 กุมภาพันธ์ 2550 15:50:23 น. 0 comments
Counter : 2146 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

penlove
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 16 คน [?]




Friends' blogs
[Add penlove's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.