พฤศจิกายน 2559

 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
19
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
20 พฤศจิกายน 2559
ถึงนิพพาน
โจทย์ "คุณวางแผนพัฒนาตัวเองอย่างไรบ้าง "

ปฏิบัติธรรม
ทำสมาธิให้ได้ฌาน
เจริญในฌาน
ให้ได้ฌาน1-8
ให้เห็นอริยสัจ4
ให้เห็นโพธิปัฏขิยธรรม37
ให้เห็นปฏิจสมุธบาท
ทำมิโรธสมาบัติ
ถึงนิพพาน
ในภพนี้ หมดชาติ



Create Date : 20 พฤศจิกายน 2559
Last Update : 20 พฤศจิกายน 2559 9:12:20 น.
Counter : 682 Pageviews.

12 comments
  
ไม่ค่อยได้นั่งสมาธิคงไม่ได้ฌาน
เอาแต่เดินจงกรมค่ะ
โดย: นาฬิกาสีชมพู วันที่: 20 พฤศจิกายน 2559 เวลา:19:35:43 น.
  
คนโง่ยังต้องยึดทุกข์อยู่ พระอริยะไม่ยึดทุกข์

คนโง่ยังต้องศึกษาทุกข์อยู่ พระอริยะไม่ต้องศึกษาทุกข์

คนโง่ไม่เห็นทุกข์ พระอริยะเห็นทุกข์

คนโง่เกลียดทุกข์ พระอริยะไม่เกลียดทุกข์

คนโง่ยังต้องยึดทุกข์อยู่ พระอริยะไม่ยึดทุกข์

คนโง่ยังต้องศึกษาทุกข์อยู่ พระอริยะไม่ต้องศึกษาทุกข์

คนโง่ไม่เห็นทุกข์ พระอริยะเห็นทุกข์

คนโง่เกลียดทุกข์ พระอริยะไม่เกลียดทุกข์

คนโง่ไม่พ้นทุกข์ พระอริยะพ้นทุกข์
โดย: คนโง่ไม่พ้นทุกข์ (สมาชิกหมายเลข 3481473 ) วันที่: 21 พฤศจิกายน 2559 เวลา:18:42:58 น.
  
ในทางธรรมปฏิบัติ ท่านจึงสอนหลัก “สมดุล” เอาไว้โดยเตือนว่า

สมาธิต้องเข้าคู่กับความเพียร

ศรัทธาต้องเข้าคู่กับปัญญา

และสมาธิ ความเพียร ศรัทธา ปัญญา ต้องอยู่ในสายตาของ “สติ”

เพราะ “สติ” คือตัวจัดปรับให้องค์ธรรมทุกข้อเกิด“ดุลยภาพ”

ศรัทธามากไปก็กลายเป็นงมงาย

ปัญญามากไปก็กลายเป็นหยิ่งทะนง หลงตัว หยาบกระด้าง อหังการ

เพียรมากไปก็กลายเป็นเคร่งเครียด ฟุ้งซ่าน

สมาธิมากไปก็กลายเป็นดำดิ่งนิ่งลึก ติดอยู่ในความสุขจากความสงบ

ต่อเมื่อองค์ธรรมทุกข้อถูกปรับให้พอดีโดยมีสติเป็นพี่เลี้ยงดุลยภาพทางกาย ทางจิต ทางปัญญาจึงจะเกิดขึ้น และนั่นก็คือจุดเริ่มของการรู้แจ้งเห็นจริงในสัจธรรมหรือต้นทางของมรรคผลนิพพาน
โดย: “สมดุล” (สมาชิกหมายเลข 3481473 ) วันที่: 25 พฤศจิกายน 2559 เวลา:20:19:51 น.
  
การทำสมาธิให้ยึดในขันธ์5 อย่าไปติด อย่าไปนึกละ
ยึดไว้เพื่อเป็นพื้นฐานในการ ปฏิบัติ วิปัสสนา
จิตไปนึกละในขันธ์5 จิตจะหลงในการ ปฏิบัติ วิปัสสนา
จิตจะหลงคิดว่าตนสำเร็จได้มรรคผล
เป็นวิปัสสนูปกิเลส
โดย: วิปัสสนูปกิเลส (สมาชิกหมายเลข 3481473 ) วันที่: 26 พฤศจิกายน 2559 เวลา:17:29:13 น.
  
พระอริยเจ้ารักษาใจ
พระอริยเจ้าไม่ได้รักษาศีล
เมื่อสำรวมใจ กาย วาจา
ก็ไม่ประพฤติ ล่วงละเมิดศีล


โดย: พระอริยเจ้ารักษาใจ (สมาชิกหมายเลข 3481473 ) วันที่: 27 พฤศจิกายน 2559 เวลา:16:30:05 น.
  
มีคนถามหลวงปู่มั่นว่าถือศีล 227ข้อหรือ กี่ข้อ
หลวงปู่มั่นบอก ท่านรักษาข้อเดียว
คือรักษาใจ ศีลรักษาที่ไหน
ศีลเกิดที่ใจ ธรรมเกิดที่ใจ
สมาธิเกิดที่ไหน สมาธิเกิดที่ใจ
ปัญญาเกิดที่ไหน ปัญญาเกิดที่ใจ
ให้ดูที่ใจที่เดียว อย่าไปดูที่อิ่น
โดย: ศีลเกิดที่ใจ (สมาชิกหมายเลข 3481473 ) วันที่: 27 พฤศจิกายน 2559 เวลา:19:11:20 น.
  
สมถะละราคะ เป็น เจโตวิมุติ จิตมีราคะย่อมไม่หลุดพ้น วิปัสสนาเกิดปัญญา ละอวิชชา เป็นปัญญาวิมุติ จิตมี อวิชชาย่อมไม่เจริญ
สมถะวิปัสสนาเป็นไปเพื่อวิชชา เจริญธรรมทั้งสองให้ยิ่งขึ้นไป
สมถะวิปัสสนา อบรมจิตจะเกิดปีติ ปราโมทย์ แทงตลอดซึ่งธาตุเป็นเอนก
สมถะวิปัสสนาต้องเป็นธรรมที่เคียงคู่กันไป
บุคคลในโลกนี้มี4จำพวก
1.บุคคลผู้มีปกติมีความสงบแห่งใจในภายใน( เจโตวิมุติ ) ไม่มีความเห็นแจ้งในธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง
2.บุคคลผู้มีปกติ ไม่มีความสงบแห่งใจในภายใน มีความเห็นแจ้งในธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง(ปัญญาวิมุติ)
3.บุคคลผู้มีปกติมีความสงบแห่งใจในภายใน ( เจโตวิมุติ ) มีความเห็นแจ้งในธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง(ปัญญาวิมุติ)
4.บุคคลผู้มีปกติไม่มีความสงบแห่งใจในภายใน ไม่ มีความเห็นแจ้งในธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง
โดย: สมถะ วิปัสสนา (สมาชิกหมายเลข 3481473 ) วันที่: 4 ธันวาคม 2559 เวลา:13:26:38 น.
  
ธรรมะง่ายนิดเดียว
เจริญสมาธิ ให้จิตตั้งมั่น
ให้จิตรู้ถึงความเป็นจริง
จิตจะเป็นฌาน
ธรรมะเกิดที่จิต
ธรรมะแก้ที่จิต
สมมุติคนติดบุหรี่
ใครอยากบุหรี่
กายอยากบุหรี่
ใจอยากบุหรื่
ใครเพลิดเพลินในรสบุหรี่
ใครดื่มด่ำในรสบุหรี่
ใครพร่ำถึงในรสบุหรี่
ใจไม่เพลิดเพลินในรสบุหรี่
ใจไม่ดื่มด่ำในรสบุหรี่
ใจไม่พร่ำถึงในรสบุหรี่
ใจก็ไม่อยากบุหรื่
ความอยากในใจก็ดับ
อุปาทานดับ
ภพ ชาติ ดับ
โสกะปริเทวะ ทุกข์
ทั้งหลายดับไป
โดย: ธรรมะง่ายนิดเดียว (สมาชิกหมายเลข 3481473 ) วันที่: 4 ธันวาคม 2559 เวลา:15:23:50 น.
  
ธรรมะเป็นของยากสำหรับบุคคลบางจำพวก
บุคคลบางจำพวก ชอบพร่ำถึง ชอบดื่มด่ำ ชอบเพลิดเพลิน
ในรูป นาม จึงมีอุปาทาน มีภพชาติ มีทุกข์
โดย: ธรรมะเป็นของยากสำหรับบุคคลบางจำพวก (สมาชิกหมายเลข 3481473 ) วันที่: 4 ธันวาคม 2559 เวลา:15:25:05 น.
  
ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ควรละ ควรทำให้เจริญ ควรทำให้แจ้ง

ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้วพึงกำหนดรู้ คืออุปาทานขันธ์5
ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้วพึงละเสีย คือ อวิชชา ภวตัณหา
ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้วพึงทำให้เจริญ คือ สมถะ และวิปัสสนา
ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้วพึงทำให้แจ้ง คือวิชชาและวิมุติ
โดย: ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ควรละ ควรทำให้เจริญ ควรทำให้แจ้ง (สมาชิกหมายเลข 3481473 ) วันที่: 8 ธันวาคม 2559 เวลา:19:54:39 น.
  
จิตรู้อุปาทานขันธ์ ในวิญญาน
ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร
ตัวรู้ เห็นอารมณ์ รู้รสอารมณ์
รู้แล้ววาง ไม่เจตนาปรุงแต่ง
ไม่คิดปรุงแต่ง ไม่มีเวร กรรม
ไม่มีแล้วภพ ชาติ

โดย: ไม่มีแล้วภพ ชาติ (สมาชิกหมายเลข 3481473 ) วันที่: 9 ธันวาคม 2559 เวลา:9:56:11 น.
  
จิตยึดนิพพาน เพื่อรู้ว่านิพพานมีอยู่

นิพพานตั้งอยู่ ทางไปนิพพานมีอยู่

จิตรู้ว่านิพพาน มีอยู่


แต่จิตไม่ไปยึดติดนิพพาน

จิตเห็นนิพพาน แล้วปล่อยวาง

จิตเห็นว่านิพพานเป็นอนัตตา

นิพพานไม่มีตัวตน ไม่ใช่ของเรา

ไม่ใช่ตน ไม่ใช่จิต ไม่ใชคน สัตว์ สิ่งของ
โดย: จิตยึดนิพพาน เพื่อรู้ว่านิพพานมีอยู่ (สมาชิกหมายเลข 3481473 ) วันที่: 16 ธันวาคม 2559 เวลา:21:59:10 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



New Comments
MY VIP Friends