พฤศจิกายน 2559

 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
นิกายในพระพุทธศาสนาอื่น ๆ จึงมีอภิธรรมปิฎกไม่เหมือนกัน


     ถ้าพระอภิธรรมพึงเป็นพุทธพจน์แล้ว  ก็เหตุไร  นิกายในพระพุทธศาสนาอื่น ๆ   จึงมีอภิธรรมปิฎกไม่เหมือนกัน   แม้แต่ชื่อคัมภีร์ก็เรียกไม่ตรงกัน   นิกายในพระพุทธศาสนาในที่นี้   ข้าพเจ้าขอเว้นไม่กล่าวถึงอภิธรรมฝ่ายมหายาน   เอาเพียงนิกายในเครือฝ่ายสาวกยานด้วยกันก็พอ  คือ  ในพุทธศตวรรษที่ ๑ ที่ ๓  สังฆมณฑลในอินเดียเกิดแตกนิกายออกถึง ๑๘  นิกาย  และแต่ละนิกายยังมีกิ่งนิกายย่อยอีกมาก  ซึ่งท่านผู้สนใจในด้านประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา  จะหาอ่านรายละเอียดได้ในหนังสือประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาภาค ๑ ของข้าพเจ้า  มีจำหน่าย ณ มหามกุฏราชวิทยาลัย  ในจำนวน  ๑๘  นิกายนั้น ปรากฏว่านิกายใหญ่ ๆ ที่มีอิทธิพล   และมีอภิธรรมปิฎกของตนเองไม่ซ้ำกับของใคร  ก็คือ นิกายเถรวาท, นิกายมหาสังฆิกะ,  นิกายโคกุลิกะ, นิกายสรวาสติวาทิน, นิกายวัชชีบุตร.  นิกายเถรวาทซึ่งนับถือภาษาบาลีเป็นภาษาถ่ายทอดพระพุทธวจนะ มีอภิธรรม ๗ ปกรณ์ คือ

ก.  ธรรมสังคณี    ข.  วิภังคะ    ค.  ธาตุถถา   ง.  ปุคคลบัญญัติ
จ.  ยมก    ฉ.  ปัฏฐานะ   ช.  กถาวัตถุ

เป็นหนังสือพระไตรปิฎกฉะบับสยามรัฐ  พิมพ์ครั้งแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗  รวม ๑๒ เล่ม  รายละเอียดของอภิธรรมบาลีมีอย่างไร  ข้าพเจ้าไม่จำต้องพรรณนา  เพราะท่านผู้ฟังที่สนใจ  อาจจะศึกษาได้จากสำนักเรียนอภิธรรมหลายแห่ง  เช่นที่พุทธสมาคมแห่งประเทศไทยเป็นต้น  แต่ข้าพเจ้าจะนำหลักธรรมฝ่ายอภิธรรมของนิกายอื่น  ซึ่งยังไม่เคยปรากฏแก่นักศึกษาอภิธรรมฝ่ายบาลีเลย มาแสดงไว้ ณ ที่นี้   เพื่อท่านจะได้อาศัยเทียบเคียงกันดู ในบรรดานิกายพระพุทธศาสนาเหล่านั้น มีอยู่ ๒ นิกาย ที่บูชานับถืออภิธรรมปิฎกเป็นชีวิตจิตต์ใจ ยิ่งกว่าปิฎกอื่น ๆ คือ

      ก.   นิกายโคกุลิกะ
ในตำนานสํสกฤตชื่อเภทธรรมมติจักรศาสตร์ และอรรถกถาแห่งคัมภีร์นั้น ชื่อ “อี้ปู้จงหลุงหลุ่นซุกกี่” แต่งโดยพระคณาจารย์กุยกี  เมื่อพุทธศตวรรษ์ที่ ๑๑  เล่าว่า นิกายนี้นับถืออภิธรรมปิฎกหนักหนา  มีคติถือว่าพระพุทธพจน์ที่ลึกซึ้งมีอยู่ในอภิธรรมเท่านั้น  ส่วนวินัยปิฎกและสุตตันตปิฎกเป็นเพียงอุบายธรรมซึ่งพระบรมศาสดาสอนสัตว์โดยลำดับเพื่อให้เข้าถึงอภิธรรม  เพราะฉะนั้นภิกษุในนิกายนี้เลยดูหมิ่นพระวินัยและพระสูตร   เห็นการปฏิบัติเคร่งครัดในวินัยเป็นเรื่องรุงรัง  ข้อสำคัญให้แตกฉานเข้าถึงอภิธรรมเป็นใช้ได้   เห็นพระสูตรเป็นเรื่องหญ้าปากคอกไม่จำเป็นต้องรู้   คณาจารย์ผู้ให้กำเนิดนิกายโคกุลิกะว่าเป็นบุคคลในวรรณะพราหมณ์  ที่แยกเป็นนิกายออกมาก็เพราะประสงค์แต่จะแผ่อภิธรรมปิฎก ๆ เดียว

      ข้าพเจ้าขอเรียกนิกายนี้ว่า  อภิธรรมสรณะนิกาย จะเหมาะสมอย่างยิ่ง  และปรากฏว่าในเมืองไทยเรามีนักอภิธรรมบางท่าน มีความคิดเห็นคล้ายคลึงกับคติของนิกายนี้มาก  คือเห็นอภิธรรมปิฎกวิเศษปิฎกเดียว  ถึงกับกล่าวว่าถ้าผู้ใดไม่ได้เรียนรู้อภิธรรม  เป็นไม่สามารถบัลลุมรรคผลนิพพานได้   ซึ่งข้าพเจ้าเห็นว่าท่านผู้มีความเห็นอย่างนี้  ควรสมัครเป็นลูกศิษย์นิกายโคกุลิกะจะเป็นกิ่งทองใบหยกงามสมพิลึก  แต่น่าเสียใจที่ว่านิกายโคกุลิกะสาปสูญเลิกล้มไปแล้วช้านาน  เห็นจะเป็นเพราะความเป็นอภิธรรมสรณะนิกายนี่เอง   เลยถูกนิกายอื่น ๆ เขม่นเอา  ฉะนั้นอภิธรรมปิฎกของนิกายโคกุลิกะมีลักษณะหลักธรรมฉันใด  จึงไม่มีทางจะทราบได้

          ข.  นิกายสรวาสติสาทิน 

      นิกายนี้นับถือยกย่องอภิธรรมปิฎกเป็นเลิศเหมือนกัน  แต่ไม่รุนแรงอย่างนิกายโคกุลิกะ  คือพร้อมกับการเผยแผ่อภิธรรมก็ได้รักษาวินัยเคร่งครัด  และศึกษาเล่าเรียนพระสูตรกำกับกันไปด้วย  นิกายสรวาสติวาทินจึงสามารถธำรงตัวอยู่ตลอดเวลากว่าพันปี  และมีอิทธิพลแพร่หลายทั่วไปในอินเดีย,  อาฟฆานิสตาน, เตอรกีสตาน  แล้วเข้าไปรุ่งเรืองในประเทศจีนอยู่ระยะหนึ่ง  นิกายสรฺวาสติวาทินต้องเลิกล้มสาปสูญไปพร้อมกับนิกายพระพุทธศาสนาอื่น ๆ ทั้งสาวกยานและมหายานในสมัยที่กองทัพอิสลามเข้ามารุกรานอินเดีย   เพราะฉะนั้นคัมภีร์ต่าง ๆ  ทั้งพระวินัย,  พระสูตร,  พระอภิธรรมของนิกายสรวาสติวาทินจึงยังมีเหลือยู่ทั้งในประเทศจีนและประเทศธิเบตแต่ได้แปลสู่ภาษาจีนแล้วในสมัยโบราณ   โดยเฉพาะอย่างยิ่งอภิธรรมปิฎกของนิกายนี้     ได้มีแปลเป็นภาษาจีนโดยสมบูรณ์ทั้งปิฎก    ซึ่งข้าพเจ้าได้อาศัยศึกษาจากฉะบับพากษ์จีนนี่เอง อภิธรรมปิฏกของนิกายสรวาทินได้ใช้ภาษาสํสกฤตแทนภาษาบาลี และบอกไว้ว่าเป็นรจนาของพระมหาสาวกที่มีชีวิตอยู่ครั้งพุทธกาล และหลังพุทธกาลหลายร้อยปี  


      ก็ถ้าอภิธรรมปิฎกจะเป็นพุทธพจน์แล้ว  นิกายเหล่านี้จะต้องเรียกชื่อตรงกัน  และจะต้องเป็นคัมภีร์นับถือบูชาร่วมกัน  นี่กลับเป็นว่าต่างนิกายต่างมีของตนไม่ซ้ำกัน   ผิดกับสุตตันตปิฎกและวินัยปิฎก  โดยเฉพาะคือวินัยปาฏิโมกข์   ต่างนิกายมีลักษณะตรงกัน  จะผิดกันก็เรื่องปลีกย่อยเล็กน้อยและเป็นเรื่องไม่สำคัญ  นี่ก็เป็นเครื่องพิสูจน์ว่า  อภิธรรมปิฎกมิใช่พุทธพจน์  เพราะหากใช่แล้วต่างนิกายต้องรับรองนับถือเหมือนพระสูตรกับพระวินัย



Create Date : 19 พฤศจิกายน 2559
Last Update : 19 พฤศจิกายน 2559 18:41:54 น.
Counter : 1119 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



New Comments
MY VIP Friends