พฤศจิกายน 2559

 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
ทุกข์ ที่ปุถุชนเห็นเป็น ทุกข์ทางโลก


  ทุกข์ ที่ปุถุชนเห็นเป็น ทุกข์ทางโลก เป็นทุกข์จร  ทุกข์ที่เกิดจากนิวรณ์5  
กินอิ่มมากก็ทุกข์  หิวก็ทุกข์  ปวดหัวตัวร้อนก็ทุกข์  ไม่สบายเนื้อสบายตัวก็ทุกข์  
ทุกข์ทางโลกเหล่านี้พอได้รับการบำบัด ก็รู้สึกดี ก็คิดว่าหายทุกข์แล้ว  
แต่พออาการเหล่านี้เกิดอีกก็ทุกข์อีก บำบัดสนองตอบอย่างไรก็ไม่หมดทุกข์ 
ก็เพราะเรารู้ว่าทุกข์ แต่จิตไม่เห็นทุกข์ รู้ว่า กินอิ่มมากก็ทุกข์  หิวก็ทุกข์  
ปวดหัวตัวร้อนก็ทุกข์  ไม่สบายเนื้อสบายตัวก็ทุกข์  แต่ไม่เห็นว่าจิตมันทุกข์ 
หรือกายมันทุกข์  และไม่รู้ถึงสาเหตุที่ทำให้ทุกข์  
ไม่รู้ว่ามีข้อปฏิบัติให้ถึงการดับทุกข์  
ที่ดับทุกข์ทางโลกก็คือการสนองตอบความอยาก
เมื่อหมดความอยากมันก็หยุดทุกข์ได้ชั่วคราว  
จิตไม่รู้ว่ามีหนทางที่จะดับทุกข์ได้  จิตรู้ทางโลกว่า 
จิตต้องการอะไรก็เอาไปให้จิต เป็นทางที่จะดับทุกข์ได้ 
แต่หยุดได้ชั่วคราวไม่ตัครากถอนโคน    
เมื่อจิตได้พัฒนาตนเองโดยใช้ ศีล สมาธิ ปัญญา  
จิตนั้นก็จะ  รู้อริยสัจ4   รู้ทุกข์ที่เป็นทุกขสัจจ์
( ชอบรัก ชอบใคร่ ชอบสัมผัส  ชอบกำหนัด ชอบยินดีสัมผัสในกาม)
คือทุกข์ที่เป็นความจริงที่เกิดที่จิต จะเห็นว่าทุกข์นี้สามารถกำจัดได้อย่างถาวร 
ไม่กลับมากระทบที่จิตที่เห็น ทุกข์อริยสัจ อีกเลย 
เนื่องจากจิตนั้นได้เห็นอริยมรรค  ก่อน  แล้ว  รู้นิโรธ  
เห็นสมุทัย   เห็นทุกขสัจจ์

มิจฉา มรรค  เป็นมรรคที่ไม่เป็นไปเพื่อพ้นทุกข์

อริยมรรค เป็นมรรคที่เป็นไปเพื่อพ้นทุกข์


         ทาง  8   ทาง   สรุปคือ  เป็นศีล เป็นสมาธิ เป็นปัญญา
         1. เห็นชอบ        เป็นปัญญา   ที่จิตเห็น กุศลและอกุศล ที่ผ่านทางกายทั้งหมด 
เห็นให้หมดจด   จิตจะรู้ข้อปฏิบัติ  ให้ถึงความดับทุกข์(นิโรธ) 
จิตจะรู้วิธีที่จะ เลิกทำอกุศล  และทำให้กุศลเกิด
         2. ดำริชอบ         เป็นปัญญา  จิตคิดที่จะออกจากกามที่ติคถูกครอบงำอยู่ 
กามก็คือทุกข์อริยสัจ  จิตเห็นกุศล   และ เห็นอกุศล จิตเห็นกามชัดเจน  
  และจิตรู้ข้อปฏิบัติ  ให้ถึงความดับทุกข์(นิโรธ) ที่จิตเห็นวิธีออกจากกาม  
         3. เจรจาชอบ       เป็นศีล    จิตจะดู ความประพฤติ  
ความสำรวมในการพูด ไม่มีวจีทุจริต จิตเห็นถึงความทุกข์ที่เกิดจากวจีทุจริต 
และจิตรู้ข้อปฏิบัติ  ให้ถึงความดับทุกข์(นิโรธ)  จิตจะไม่พูด โกหก 
ไม่พูดเพ้อเจ้อ  ไม่นินทา ไม่พูดใส่ไคร้ให้ร้ายผู้อื่น ไม่พูดคำหยาบ
         4. กระทำชอบ      เป็นศีล    จิตจะดู ความประพฤติ   ความสำรวมในกาย  
ไม่ให้มีกายทุจริต  คือ   จิตจะไม่คิดเบียดเบียน จิตจะเว้นจากการฆ่าสัตว์
เว้นจากการลักทรัพย์ เว้นจากการประพฤติผิดในกาม จิตเห็นถึงความทุกข์ที่เกิดจากกายทุจริต และจิตรู้ข้อปฏิบัติ  ให้ถึงความดับทุกข์(นิโรธ)  จิตจะไม่ทำกายทุจริต
         5. เลี้ยงชีชอบ       เป็นศีล   จิตจะดู ความประพฤติ ที่เป็นสุจริต 
ไม่ทำเรื่องมิฉาชีพ ผิดทั้งทางโลกและทางธรรม 
จิตเห็นถึงความทุกข์ที่เกิดจากการหาเลี้ยง ชีพด้วย การปล้น  การลักทรัพย์  และจิตรู้ข้อปฏิบัติ  ให้ถึงความดับทุกข์(นิโรธ)  จิตจะทำการงานที่สุจริต ไม่มีกินก็ให้กายนี้ตายไป จะไม่ทำทุจริตอย่างแน่นอน
         6. พยายามชอบ    เป็นสมาธิ  จิตจะดู ความเพียรที่เกิดขึ้นที่จิต 
จิตเพียรที่จะเลิกทำอกุศลทั้งปวง
  และจะทำกุศลให้ถึงพร้อม ทำจิตให้ผ่องแพร่ว อยู่ตลอดเวลา 
ทั้งที่ตื่น และนอนหลับอยู่  จิตเห็นนิวรน์5  จิตมีความเพียรที่จะสู้กับนิวรน์5  และจิตรู้ข้อปฏิบัติ  ให้ถึงความดับทุกข์(นิโรธ)  จิตรู้ว่าจะกำจัดนิวรน์5อย่างไร
ื         7. ระลึกชอบ         เป็นสมาธิ   คือสัมมาสติ จิตจะดู ตนเองคือจิต 
เห็นจิตที่จิต เห็นธรรมที่ธรรม  เห็นกายที่กาย  เห็นเวทนาที่เวทนา 
และจิตรู้ข้อปฏิบัติ  ให้ถึงความดับทุกข์(นิโรธ)  คือ จิตเห็นธรรชาติทั้งหลายที่เกิดที่ตนและเกิดรอบๆตนเอง คือรู้ภายในและภายนอกเสมอกัน
         8. จิตตั้งมั่นชอบ     เป็นสมาธิ   เมื่อจิตได้สัมมาสมาธิ  ก็คือฌาณนั่นเอง 
เมื่อจิตเป็นฌาณ จิตจะมีวิปัสสนาญาณ และจิตรู้ข้อปฏิบัติ  
ให้ถึงความดับทุกข์(นิโรธ)  คือ  จิตจะรู้จักการปฏิบัติให้ฌาณ 
ละเอียดขึ้น จนจิตมีปัญญาเฉียบแหลม  
จิตจะไม่ถูกอกุศลครอบงำในขณะที่อยู่ในฌาณ เมื่อถึงฌาณ4  จิตเป็นอุเปกขา  จิตจะดูอกุศลที่เคยครอบงำจิต  กามที่กระทบจิตอยู่  จิตจะยกธรรมนั้นขึ้นสู่วิปัสสนาญาณ    จิตวิปัสสนาญาณ จะใคร่ครวญในธรรมนั้นๆ ทำให้จิตเห็นธรรมได้ชัดเจน  
         เมื่อจิตได้เห็นอริยมรรค ครบทุกมรรค  และจิตรู้ข้อปฏิบัติ 
ให้ถึงความดับทุกข์(นิโรธ)  คือ รู้ว่าเห็นอะไร ในมรรค และจะเกิดอะไรขึ้นที่จิต 
จะต้องประพฤติ ปฏิบัติอย่างไร ในมรรคนั้นๆ  และรู้ทุกขสัจจ์ที่เกิดที่จิต  
จิตจะรู้ว่าอะไรทำให้ทุกขสัจจ์เกิด   จิตจะรู้ว่าจิตนั้นถูก ความอยากในกาม (สมุทัย) 
ความยึดติดในตนครอบงำอยู่  จิตไปยึดว่าเป็นของตน 
( โดยที่จิต ไม่เห็นว่าถูกกามครอบงำอยู่  ไม่เห็นความยึดติดในจิต ) 
จิตจะรู้วิธีการกำจัดตัวความอยาก  โดยใช้วิปัสสนาญาณจิต ดูตัญหาเมื่อจิตเห็นตัญหาชัด  จิตจะไม่ไปยึดติดตัญหา  กามก็จะไม่กระทบกับจิตอีก

 เสียงธรรม หลวงปู่เจือ - การเพ่งกสิณท้องฟ้า พื้นดิน



Create Date : 19 พฤศจิกายน 2559
Last Update : 19 พฤศจิกายน 2559 17:52:36 น.
Counter : 538 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



New Comments
MY VIP Friends