มิถุนายน 2560

 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
รู้ทุกข์ จึงเห็นมรรค




เจ้าชายสิทธัตถะ เห็นทุกข์ เห็นบ่วงเกิดแล้ว จึงหนีเข้าป่าเพื่อจะหาทางหลุดพ้นจากบ่วง หาทางพ้นทุกข์  มรรคจึงเกิด สัมมาฑิฐิ คือเห็นชอบ ที่จะพ้นทุกข์  ไม่ใช่มีสัมมาฑิฐิแล้วค่อยรู้ทุกข์
รู้ทุกข์ แล้วหาทางพ้นทุกข์  การหาทางพ้นทุกข์คือการเห็นชอบ แต่มรรคก็ยังไม่เป็นสัมมามรรค มรรคตัวอื่นยังเป็นมิจฉามรรค คือยังมีกิเลส กามราคะตัณหาอยู่ สมาธิ สติ ยังไม่เป็นสัมมาสมาธิ ยังไปเป็นสัมมาสติ  ยังเป็นมิจฉาสมาธิ มิจฉาสติอยู่คือสมาธิที่มีแต่กิเลส สติที่มีแต่กิเลส คืออยากหนี อยากหลุดพ้น  เมื่อไปสำนักอาจารย์ที่สอนสมาธิ ก็ปฏิบัติฌานได้ กิเลส กามาราคะ  นิวรณ์5ระงับ จึงเกิดสัมมาสมาธิ สัมมาสติ
สัมมาตัวอื่นก็เกิดตามมา มีการงานชอบ คือต้องปฏิบัติให้พ้นทุกข์  มีเลี้ยงชีพชอบ คือต้องทำสมาธิ ทำสติ ให้เกิดฌาน ความเพียรชอบ ต้องมุ่งมั่น ให้หลุดพ้นจากทุกข์ วาจาชอบ คือปิดวาจา  คิดชอบที่จะให้หลุดพ้นจากทุกข์ 
มรรคมีทั้งมิจฉามรรค และสัมมามรรค
ถ้ามีมิจฉาฑิฐิ ก็เห็นไปทางที่ชั่ว
ถ้ามีสัมมาฑิฐิ ก็เห็นไปทางทีดี
การจะเห็นมรรคต้องเห็นทุกข์
จิตก็จะเกิดมรรค คือต้องการหาทางหลุดพ้นจากทุกข์
ถ้าเห็นผิด คิดผิด ก็จะไประบายทุกข์ทางที่ผิด ไปกินเหล้า ไปเสพกาม ที่คิดว่าจะหายทุกข์ได้ ก็เป็นมิจฉามรรค
ถ้าเห็นถูก คิดถูก ก็เกิดศรัทธา เกิดความเชื่อ ในศาสนา ที่สอนให้คนพ้นทุกข์ ก็เกิดสัมมามรรค



Create Date : 08 มิถุนายน 2560
Last Update : 8 มิถุนายน 2560 14:40:33 น.
Counter : 750 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



New Comments
MY VIP Friends