Air SurOundinG mE liKe mY besT frIendS !
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2554
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
26 มิถุนายน 2554
 
All Blogs
 

กลอง และฆ้องในงานศพ

ธรรมเนียมงานศพแบบเวียตนาม กลองและฆ้อง
เป็นส่วนสำคัญในพิธีที่จะขาดเสียมิได้

กลองจะถูกตีเพื่อบอกข่าวการตายเป็นครั้งแรกที่บ้านผู้ใหญ่บ้าน
โดยจังหวะที่ตีจะเป็นจังหวะเฉพาะซึ่งต่างไปจาก
การตีกลองประชุม หรือกลองเวลามีพิธีที่ศาลเจ้า

จังหวะที่ตี

1. จังหวะปกติ

ตี 1 -2/ 1/ 1 ….. ตีไปเรื่อย ๆ โดยจะเริ่ม ไวขึ้น ๆ ในจังหวะ 1
ครั้งท้าย ๆ ตีแบบนี้ไปสามรอบ พอรอบที่สี่ ก็ตี 1-2-3/1-2/1-2/1-2
สรุปคือในรอบสุดท้ายตีให้รวมกันได้ 9 ครั้ง
ก็เป็นอันจบหนึ่งชุดของการตี

ส่วนฆ้องก็เป็นพระรอง ตีล้อไปกับกลองทุกจังหวะ
กลอง 1-2 ฆ้องก็ 1-2 ด้วยกลอง 1 ฆ้องก็ 1 ไปด้วย
แม้ว่าผมจะคุ้นชินกับเสียงแบบนี้มาตั้งแต่เด็ก
ทว่าได้ยินครั้งใด ก็จะหมายความว่าผมได้สูญเสียญาติพี่น้องไปอีกหนึ่งแล้ว ดังนั้นได้ยินทุกครั้งก็รู้สึกใจหาย หวิว-หวิวยังไงชอบกล

จังหวะปกตินี้ จะตีวันหนึ่ง หลายรอบ ๆ เช้า กลางวัน เย็น
และช่วงหัวค่ำที่มีคนมาร่วมงานเยอะ ๆ
และอาจจะตีก่อนจะมีการประกาศ และก่อนทำพิธีใดๆในงานศพเสมอ

2. จังหวะยกศพ

จังหวะยกศพจะตี 1-2-3/ 1-2-3/…..รัว ๆ เร็ว ๆ
ไปกระทั่งการยกศพเสร็จสิ้นการตีครั้งแรกของจังหวะนี้คือ
ช่วงการบรรจุศพเข้าโลงศพ เรียกเป็นภาษาเวียตว่า “เหลื่อม”

การตีครั้งที่สองของจังหวะนี้คือ การตีช่วงยกศพลงจากบ้าน
เพื่อขึ้นรถเคลื่อนไปฝังที่สุสาน
การตีจังหวะนี้ลูกหลานเวียตล้วนแต่คุ้นเคยกันทั้งนั้น
และจะเดาได้เลยว่าตอนนี้ที่งานศพเค้าทำอะไรถึงไหนกันแล้ว

จังหวะรัวเร็วแบบนี้จะตีหลายชุดถี่ ๆ
เพื่อเตือนก่อนพิธีเคลื่อนศพไปฝังจะเริ่มขึ้น
และอีกนัยถือเป็นการเร่ง และเรียกคนให้มาร่วมงาน

ส่วนการตีจังหวะนี้ครั้งสุดท้ายก็ช่วงยกศพลงจากรถ
เพื่อไปเกยที่ปากหลุมศพก่อนทำพิธีส่งศพ (ฝังศพ)


คนตีกลอง

คนตีกลองหลัก ๆ ก็จะได้รับมอบหมายไว้เฉพาะคนตลอดงาน
แต่ก็จะมีคนที่ตีได้ช่วย ๆ กันตีเมื่อถึงเวลาที่ควรจะตีในแต่ละวัน
ตรงนี้มีเคล็ดอยู่หน่อยว่าคนที่ตีต้องไม่เป็นญาติที่รับผ้าขาว
(ไว้จะเล่าเรื่องผ้าขาวตอนถัด ๆ ไป)
แต่ถ้าประสงค์จะตีเพราะเค้าไม่มาตีตามเวลาก็ทำได้
โดยต้องถอดผ้าขาวออกก่อนตีกลอง
ตรงนี้ไม่รู้สาเหตุว่าทำไม ถามใครก็ไม่ได้คำตอบ




ตำแหน่งของกลอง

สมัยก่อนก็จะแขวนไว้ตามคานหรือตะปูดอกใหญ่ ๆ
ที่ตอกไว้แน่นกับแผ่นไม้
แต่สมัยนี้ก็มีเหล็กที่ทำขึ้นสำหรับแขวนให้เป็นที่เป็นทาง
แลดูสวยงามไม่เกะกะ



ส่วนวันเคลื่อนศพ แต่ก่อนนั้นก็จะใช้ไม้คาน
แล้วใช้สองคนหาม หนึ่งคนตี ทั้งกลองและฆ้องทำเหมือนกัน
สังเกตจากภาพเก่า สองข้างจะมีคนตีกลองกับฆ้องอยู่คนละฝั่ง



ยังจำได้สมัยยังหนุ่มๆ
ที่ยังอยู่ที่บ้านเคยโดยเกณฑ์ไปแบกฆ้องกะเค้าด้วยครั้งสองครั้ง
แต่สมัยนี้ก็สบาย ๆ ยกไอ้เซทที่เห็นนี้ขึ้นท้ายรถกะบะ
นั่งตีไปแบบสบาย ๆ
ที่ว่าสบายเพราะว่าคนอื่นเค้าเดินเท้ากันในวันเคลื่อนศพ
ตำแหน่งของกลองและฆ้องก็จะอยู่ตรงกลางขนานไปกับทิวธงทั้งสองข้าง



ทำไมต้องตีกลอง

ผู้ใหญ่เค้าเล่าให้ฟังว่าสมัยก่อนที่หมู่บ้านยังมีแต่ป่าทึบ
ไม่ค่อยได้ไปมาหาสู่กันการตีกลองช่วยได้มากเป็นการส่งข่าวถึงกัน
ให้รับรู้ว่าศพยังตั้งอยู่ที่บ้านเพื่อรอทำพิธีฝังศพต่อไป

แต่ผมว่ามันคงเทียบเคียงได้กับการประโคมย่ำยามของงานศพของ
คนชั้นสูงตามประเพณีแบบเขมร ไทย และพม่า ประมาณนั้นแหละ

เป็นอันจบเรื่องกลอง และฆ้องในงานศพแบบเวียตนามแต่เพียงเท่านี้
ไว้คราวหน้าจะเขียนเรื่องผ้าขาว กับการไว้ทุกข์ก็แล้วกันนะ


ปล. เรื่องที่เขียนในบล๊อกก็เป็นแต่เพียงความทรงจำ
ของผม และคำบอกเล่าของผู้ใหญ่ ตั้งใจเขียนเล่าให้อ่านเพลิน ๆ
และให้ได้ชมภาพที่หายาก ดังนั้น ผิดตก ขอยกเว้นนะครับ




 

Create Date : 26 มิถุนายน 2554
32 comments
Last Update : 5 กรกฎาคม 2554 16:49:00 น.
Counter : 4738 Pageviews.

 

เห็นพิธีนี้แล้วทำให้คิดถึงกลองมโหระทึกครับ

จากการค้นทางเน็ตทราบว่า ในเวียดนาม เพิ่งมีการขุดค้นพบครั้งแรกเมื่อประมาณ 80 ปีมานี่เอง ทางชุมชนโบราณตอนเหนือและภาคกลาง...ซึ่งยังคงเป็นปริศนาว่าใช้เพื่อการใด

ขอบคุณครับที่นำเรื่องนี้มาเล่าสู่กันฟัง เสียดายที่ไม่ได้ยินเสียงและจังหวะการตีกลองจริงๆ

 

โดย: Insignia_Museum 3 กรกฎาคม 2554 9:17:53 น.  

 

กลองก็เป็นเครื่องมือสื่อสารอย่างหนึ่ง ที่ชุมชนใช้เพราะตะก่อนคงไม่มีกระจายเสียงตามสายเหมือนปัจจุบันนะคะ

 

โดย: tuk-tuk@korat 3 กรกฎาคม 2554 10:15:19 น.  

 



3 กรกฎาคม 2554

เพียง 1 เสียงก็มีความหมาย
อนาคตของประเทศไทยอยู่ในมือเรา

ไปทำหน้าที่ประชาชนที่ดีกันนะคะคุณพีร์


 

โดย: ร่มไม้เย็น 3 กรกฎาคม 2554 13:39:02 น.  

 

เป็นเรื่องเล่าที่น่าสนใจดีจังเลยครับพี่พีร์
คนอ่านน่ะได้ประโยชน์ไปเต็มๆครับ
บางเรื่องก็เป็็นสิ่งที่ผมไม่เคยรู้เลยครับ


 

โดย: กะว่าก๋า 3 กรกฎาคม 2554 14:20:37 น.  

 

ได้ความรู้จริงๆ ด้วย คนเขียนตั้งใจเล่า
คนมาอ่านพลอยเห็นภาพเลยคะ แต่ตอนโพล้เพล้อย่างงี้
มันใจแกว่งๆ เหมือนกันนะ ถึงจะไม่ใช่เรื่องขนหัวลุก
แต่บรรยากาศมันพาไปคะ

 

โดย: lazymetal 4 กรกฎาคม 2554 2:38:48 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ครับพี่








 

โดย: กะว่าก๋า 4 กรกฎาคม 2554 7:45:15 น.  

 

ใช่ครับพี่

การแข่งขันจบแล้ว
ไม่ว่าผลจะภูกใจหรือไม่
ก็ควรยอมรับผลการแข่งขัน
แล้วก็ทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุดครับ


 

โดย: กะว่าก๋า 4 กรกฎาคม 2554 10:38:47 น.  

 

วันนี้หุ้นบินขึ้นเลยละคุณพีร์

วันนี้นำเสนอเพลง folk เก่า ๆ ค่ะ

 

โดย: tuk-tuk@korat 4 กรกฎาคม 2554 12:25:54 น.  

 

เพลง 4 strong winds ยุคพี่ตุ๊กอยู่ประถมโน่นค่ะ 2505-2513 แบบจำไม่ได้

อ่านแล้วลบเลยเด้อ ยังไม่อยากเป็น สว.

 

โดย: tuk-tuk@korat 4 กรกฎาคม 2554 21:57:36 น.  

 

เพื่อน อัพบล๊อกแล้วนะ สองเรื่อง
อีกเรื่องอยู่หน้า เมื่ออารมณ์หนึ่งผ่านเข้ามา

ชั้นเครียดจัง ช่วงนี้
สงสัยต้องจัดการอะไรกับตัวเองหลาย ๆ อย่าง
โดยเฉพาะ สิ่งที่เพื่อนเตือนไว้
อย่าเล่นสนุกกับหัวใจ และอย่าเอาความเหงามาล้อเล่น
อาจจะเป็นเรื่องต่อไปในหัวข้อของอารมณ์นะ
เฮ้ออออออ

 

โดย: nutjung (feathernutty ) 4 กรกฎาคม 2554 23:20:07 น.  

 



ยังขนหัวลุกอยู่

 

โดย: lazymetal 5 กรกฎาคม 2554 5:14:30 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ครับพี่








 

โดย: กะว่าก๋า 5 กรกฎาคม 2554 6:19:40 น.  

 

เงินเดือน 15000 นี่
ยากมากเลยนะครับพี่สำหรับเอกชนที่จะให้เด็กจบใหม่

ถ้าเริ่มต้นกับข้าราชการอาจทำได้ง่ายกว่าครับ


 

โดย: กะว่าก๋า 5 กรกฎาคม 2554 11:22:52 น.  

 

สวัสดีครับคุณพีร์

ตามอ่านบล๊อคของคุณอีกเช่นเคยแล้วครับ เหมือนเป็นยาเสพติดไปแล้ว 555
ขอบคุณครับที่ปลดล๊อคให้เม้นได้ ก่อนอื่นต้องขอโทษด้วยที่นำลิงค์บล๊อคนี้ไปแนะนำให้น้องๆ เอกภาษาเวียดนามที่มหาวิทยาลัยมหาสารคามโดยไม่ได้ขออนุญาติก่อน ต้องขออภัยจริงๆ ครับ

อันที่จริง เรื่องตีกลอง ฆ้องในงานศพ ของที่บ้านต้นผึ้ง กันที่โพนบกแทบจะเหมือนกันเลยก็ว่าได้ แตกจะแตกต่างกันก็ตรงที่ว่า ตอนบรรจุศพเข้าโลง (เหลื่อม) ที่โพนบกจะไม่ตีกลอง ซึ่งจะตีกลองได้ก็ต่อเมื่อ มีการประชุมจัดแจงหน้าที่เสร็จเรียบร้อยแล้วเท่านั้น อันที่จริงแต่ละชุมชนจังหวะของก็ไม่เหมือนกันซะทีเดียว แต่โดยรวมจะคล้ายกัน เช่น คนญวนแถบวัดศรีเทพ หรือที่เรียกกันจนติดปากว่า วัดป่า (หล่างป่า) การตีกลองในงานศพจะตีฆ้องก่อนแล้วถึงตีกลอง ว่าง่ายๆ คือเสียงฆ้องจะนำเสียงกลองนั่นเองครับ

แต่ผมว่านะ การตีกลองในงานศพสมัยนี้มันค่อยๆ ลดทอนความขลังลงจากสมัยก่อนเห็นด้วยมั้ยครับ โดยเฉพาะงานศพที่มาฝังที่สุสานด่ายเหียวของคนญวนในเมือง เค้าจะตีแค่ 2 จังหวะเท่านั้นคือ จังหวะบอกเวลา และจังหวะแห่ศพเท่านั้น มันเลยดูไม่ค่อยขลังเท่าที่ควร แต่สำหรับที่โพนบก บ้านของผม การตีกลองก็ยังคงอัตลักษณ์ของชุมชนซึ่งจะคล้ายๆ ที่นาจอก-ดอนโมง ปู่ผมบอกว่าจังหวะตีกลองของแต่ละบ้านจะถูกชาวบ้านหมู่บ้านนั้นๆ กำหนด จะเหมือนบ้านต่างบ้าง ไม่มีใครถูกไม่มีใครผิดว่ามั้ยครับ ส่วนจังหวะกลองที่เรียกว่า บาโห่ยจิ๊นเตี๋ยง หรือจังหวะกลอง 3 ครั้งยาว 9 ครั้งสั้น ที่โพนบกจะใช้ที่ในศาลเจ้าเท่านั้น จะไม่ใช้ตีในงานศพเลย

ยังรอคอยบล๊อคต่อๆ ไปอยู่นะครับ ชอบมากๆ ยิ่งอ่านยิ่งสนุก ได้แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างชุมชน หวังว่าพี่จะเขียนต่อไปเรื่อยๆ นะครับ ^^

 

โดย: พัชรพงษ์ ภูเบศรพีรวัส IP: 223.204.62.220 5 กรกฎาคม 2554 20:02:22 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ครับพี่







 

โดย: กะว่าก๋า 6 กรกฎาคม 2554 6:21:11 น.  

 

สวัสดีจ้า สว.มาเยี่ยมจ้า

 

โดย: สว. (tuk-tuk@korat ) 6 กรกฎาคม 2554 13:15:46 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ครับพี่








 

โดย: กะว่าก๋า 7 กรกฎาคม 2554 6:21:44 น.  

 

@คุณพัชรพงษ์ ภูเบศรพีรวัส

เรื่องที่นำบล๊อกไปเผยแพร่ยินดีมากครับไม่ต้องขออนุญาต แต่ออกตัวนิดครับว่าเป็นการเล่าจากความทรงจำเฉพาะชุมชน ผิดบ้างถูกบ้าง คงถือเป็นแก่นสารทางการอันใดไม่ได้นะครับ

บาโห่ยจิ๊นเตียง เป็นจังหวะงานศพอย่างเดียวครับ

ถ้าเป็นที่ศาลเจ้าจังหวะตีเวลาเค้า เต๋ เพราะมาก
เพราะจะมีการเคาะตัวกลอง (เสียงไม้กระทบกัน) แต๊ก ๆ
สลับกับการตีกลอง แล้วก็ฆ้อง

ใกล้วัน รำ (บุญกลางปี) ที่ศาลเจ้าแล้วนี่ครับอาทิตย์หน้าถ้ามีโอกาสแว้บมาฟังดิครับที่ศาลเจ้านาจอก (บ้านใหม่)
มีสองรอบ คือเย็น กับ เข้าวันรุ่งขึ้น

ปีนี้คงไม่ได้ไปที่ศาลเจ้าครับเพราะที่บ้านยังต้องไว้ทุกข์ต่อไปจนครบ 100 วัน

การตีกลองของชุนชนเมือง คงลดน้อยลงและไม่ขลังอย่างที่คุณว่า อาจเนื่องจากการตึบ่อย ๆ อาจสร้างความรำคาญให้คนที่ไม่ใช่เวียตก็ได้ ทั้งยังยุคใหม่สมัยใหม่อีกด้วยครับ

เคยได้ยินพูดใหญ่เล่าลือกันมาว่า บ้านโพนบกนี้
เคร่งครัดธรรมเนียมนักหนา ขนาดที่ว่าสาวใดไปเป็นสะใภ้โพนบกต้องคิดแล้วคิดอีก เล่นเอาเสียวสันหลังกันไปเลยทีเดียว
ยุคนี้ยังเป็นแบบนั้นมั้ยครับ 555


เรื่องงานศพปู่ยังเขียนได้อีกหลายตอนครับ
อย่าเพิ่งเบื่อกันซะก่อนละ
ตอนนี้ก็มี draf แล้ว 2 เรื่องคือ
ผ้าขาวไว้ทุกข์ กับ
ธรรมเนียมการคารวะศพ
อยู่ในระหว่างคัดรูปมาลง
แล้วก็ตรวจคำผิด
แต่อาจจะต้องลงสลับกับ group blog อื่นบ้างนะครับ
เดี๋ยวแฟนบล๊อกเก่า ๆ จะหายหมด

 

โดย: peeradol33189 7 กรกฎาคม 2554 11:00:54 น.  

 

นอกจากราศีจับจนตัวผ่อง
ตอนนี้ผมยังตัวอวบมากเลยครับพี่พีร์ 555


 

โดย: กะว่าก๋า 7 กรกฎาคม 2554 12:34:53 น.  

 

มาเดาอายุว่ายังไงก็ต้องเป็นน้องเท่านั้น เรียกได้แต่ พี่สถานเดียว อย่างอื่นปิดรับสมัครถาวร

 

โดย: tuk-tuk@korat 7 กรกฎาคม 2554 13:18:55 น.  

 

สวัสดีครับพี่พีร์

ขอบคุณครับที่ตอบเม้นของผม
จะว่าไปแล้วเป้นคนญวนเหมือนแต่ประเพณีปฏิบัติกลับแตกต่างกันอย่าสิ้นเชิง แบบในเรื่องตีกลอง บาโห่ยจิ๊นเตี๋ยง ที่โพนบกจะใช้ตีเชิญเทพเจ้าก่อนที่จะเข้าพิธีต่างๆ ส่วนจังหวะเต๋ก็เป้นอีกจังหวะหนึ่งแบบที่พี่ว่า จะตีก็ต่อเมื่อทำพิธีเต๋ ผมว่านะการตีกลองในแต่ละแบบถ้าไม่มีใครเรียนหรทอผึกเอาไว้ รับรองหายสาบสูญแน่ๆ

จะว่าไปที่โพนบกก็ขึ้นชื่อในเรื่องธรรมเนียมที่เคร่งครัดจริงๆ แหละครับ การจะปรับเปลี่ยนลดทอนขั้นตอนของประเพณีก็ดูจะเป้นเรื่องใหญ่ ก็เลยไม่ค่อยมีใครกล้าที่จะเปลี่ยนหรือทำตัวแปลกแยกมากนัก สะใภ้ที่แต่งเข้ามาในโพนบกต่างบนเป็นเสียงเดียวกันว่าจะทำอะไรโบราณนักหนา ปัจจุบันอาจจะดุไม่เครา่งเครียดเหมือนสมัยก่อน ปีๆ นึงในแต่ละบ้านไว้แทบจะทุกเดือน กินโย๋ กันสะบั้นหั่นแหลก ผมเคยได้ยินคนญวนในเมืองบอกว่า บ้านโพนบกไม่รู้จะไหว้อะไรนักหนา ไม่ยอมให้บรรพบุรุษไปเกิดหรือไง อะไรทำนองนี้แหละครับ

ยิ่งถ้าในบ้านมีคนตายสะใภ้นั่นแหละครับคือคนที่ลำบากที่สุด ถ้าเป้นคนต่างบ้านอาจจะเจออะไรที่ไม่เคยเจอ บางคนบอกว่าพ่อแม่สามีตายต้องเดินถอดรองเท้าจนเท้าพอง ขนาดพ่อแม่แท้ของเค้าก็ยังไม่ลำบากเท่านี้เลย แต่ผมว่ามันก้เป้นข้อดีอย่างนึงนะครับ คือมันทำให้ประเพณีเก่าๆ ยังคงอยู่ อย่างเช่นการไว้ทุกข์ให้กับคนตาย ที่โพนบกจะไวทุกข์นานถึง 2 ปี โดยในช่วงร้อยวันจะแต่งกายไว้ทุกข์ตามธรรมเนียมนิยม แต่หลังจากร้อยวันไปแล้วก็จะแต่งตัวตามปกติ แต่จะงดไปงานมงคล และไม่จัดงานมงคลอะไรใดๆ เลย ไม่ไปอวยพรญาติในวันปีใหม่ ชุดไว้ทุกข์ก็ยังไม่เผาจนกว่าจะครบสองปี เพราะยังคงต้องใส่ตอนทำบุญครบรอบหนึ่งปี และใส่ในงานกงเต็ก หลังจากนั้นจึงเผาทิ้ง และยังมีข้อแม้อีกว่า ถ้าพ่อตายก่อนชุดไว้ทุกข์จะเผาเฉพาะผ้ามัดหัว ส่วนเสื้อกับกางกางจะเก็บไว้ใส่อีกทีตอนงานศพแม่ อันนี้ผมว่าที่อื่นไม่น่าจะเป็นแบบนี้นะครับ เพราะส่วนใหญ่เห็นเค้านิยมออกทุกข์กันตอนร้อยวัน บางบ้านหัวโบราณหน่อยก็จะมัดหัวด้วยผ้าขาวจนครบร้อยวัน

ผมคงเขียนยาวเกินไปแล้วแหละ 555
หวังว่าพี่จะไม่โกรธนะเพราะมันยาวเกิน
ไว้ผมจะรอคอยบทความต่อๆ ไปนะครับ ^^
แล้วเจอกันครับ

 

โดย: พัชรพงษ์ ภูเบศรพีรวัส IP: 49.48.137.216 7 กรกฎาคม 2554 20:08:23 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ครับพี่พีร์







 

โดย: กะว่าก๋า 8 กรกฎาคม 2554 6:07:25 น.  

 

พี่พีร์คะสวัสดียามบ่ายค่ะ อากาศร้อนมาก รักษาสุขภาพด้วยนะคะ ^^

 

โดย: หัวใจแก้ว 8 กรกฎาคม 2554 14:09:48 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ครับพี่








 

โดย: กะว่าก๋า 9 กรกฎาคม 2554 5:46:21 น.  

 

พี่พีร์คะสุขสันต์วันเสาร์นะคะ ขอให้มีความสุขมากๆค่ะ ^^

 

โดย: หัวใจแก้ว 9 กรกฎาคม 2554 14:35:05 น.  

 

คุณพัชรพงษ์ ภูเบศรพีรวัส ยินดีมากครับที่ได้
แลกเปลี่ยนกัน ขอบแสดงความเห็นเป็นข้อ ๆ ดังนี้ครับ
1. เรื่องกินโย๋ ตระกูลข้างแม่ ลุงเป็นคนรับทำ ปีหนึ่งก็ไม่มาก 6 โย๋ + ตรุษจีน อิอิ แต่ที่นาจอกเริ่มทำกันในครอบครัวแล้วไม่ค่อยได้บอกกล่าวหรือเชิญใครนัก ส่วนบางบ้านที่พ่อแม่ปู่ย่า ตายาย เสียไปนับสิบปี เค้าก็จะรวมกันไหว้ครั้งเดียวคือ จับโย๋ยายไปรวมกับตา ย่าไปรวมกับปู่ ประมาณนี้

2.เรื่องการเผาเฉพาะผ้ามัดหัวถ้าพ่อตายก่อนแล้วเก็บชุดไว้ใส่คราวแม่ อันนี้เห็นอยู่บ้านหนึ่งทำ โดนด่าขรมเลยว่าประหยัด ขี้เหนียว เพิ่งจะมารู้ความจริงว่า จริง ๆ เค้าก็ทำกันปกติที่โพนบกนี่เอง

3. ธรรมเนียมไว้ทุกข์ ชั้นลูกที่นี่ ก็ 2 ปี แต่เป็นสองปีที่ไม่สามารถยกไก่ไปศาลเจ้าได้ แต่คงไปงานมงคลได้ปกติ แต่ก็ยังมีบางบ้านที่เค้ายังถือ 2 ปี อย่างบ้านผมตอนนี้ไงครับ ปู่เสียผมยังนุ่งดำ 100 วัน ไม่ไปงานมงคล แต่พี่ชายก็แต่งตัวปกติ ไปงานแต่งปกติ รอแค่ 100 วันค่อยแต่งดำไปงานก็แค่นั้น คือผู้ใหญ่ก็ปล่อย ๆ แล้วครับไม่เคร่ง

4.จำได้เหมือนกันสมัยทวดเสีย ชุดขาวเค้าเก็บไว้สองปี
อย่างที่คุณว่า แต่ปัจจุบันเผาทันทีเมือครบ 100 วัน
ส่วนเมื่อครบ 1 ปี ก็มีงานใหญ่อีกครั้ง คือมี เข้า-ออก สองวัน แล้วก็มียกข้าวยกน้ำ ประมาณนั้นครับ



 

โดย: peeradol33189 9 กรกฎาคม 2554 18:03:58 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ครับพี่








 

โดย: กะว่าก๋า 10 กรกฎาคม 2554 6:01:12 น.  

 

ขอบใจหลาย !

 

โดย: ไก๊ด IP: 124.122.235.197 10 กรกฎาคม 2554 22:07:57 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ครับพี่








 

โดย: กะว่าก๋า 11 กรกฎาคม 2554 5:57:57 น.  

 

พี่พีร์คะสวัสดียามบ่ายวันจันทร์นะคะ ขอมีความสุขสดชื่นตลอดทั้งวันนะคะ ^^

 

โดย: หัวใจแก้ว 11 กรกฎาคม 2554 15:13:26 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ครับพี่








 

โดย: กะว่าก๋า 12 กรกฎาคม 2554 6:14:41 น.  

 

เป็น blog เวียดนาม และแปลภาษาเวียดนามได้ดีจริงๆครับ

 

โดย: ต้าโก่ว 12 กรกฎาคม 2554 9:19:59 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Gia Huy - Peeradol
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 13 คน [?]




Air SurOundinG mE liKe mY besT frIendS !
แจกฟรีแบ๊คกราว
Friends' blogs
[Add Gia Huy - Peeradol's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.