Air SurOundinG mE liKe mY besT frIendS !
Group Blog
 
<<
มกราคม 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
31 มกราคม 2555
 
All Blogs
 

Cơm úp - เกิม อุ๊บ ข้าวถ้วยสุดท้ายของชีวิต

เมื่อคนเราเดินทางมาถึงวาระสุดท้ายของชีวิต จะรวยหรือจน
สูงต่ำหรือดำขาว สุดท้ายก็ต้องทิ้งลมหายใจแล้วออกเดินทางไกล
สู่ดินแดนแห่งบรรพบุรุษ สำหรับความเชื่อแบบเวียดนาม
หลังจากที่คนเราสิ้นลมหายใจไปแล้ว วิญญาณจะยังคงอยู่
อาหารมื้อสุดท้ายของชีวิตเก่า และอาหารแรกของการมีชีวิตใหม่
ก็คือ เกิม อุ๊บ



ทำไมถึงเรียก เกิม อุ๊บ ???

ในงานศพของคนเวียดนาม เกิม อุ๊บ เป็นสิ่งแรกๆ ที่จะถูกเตรียม
หลังจากที่มีคนในครอบครัวเสียชีวิต คำว่า “Cơm - เกิม”
ในภาษาเวียดนามหมายถึง ข้าว และ “Úp - อุ๊บ”
ในภาษเวียดนามหมายถึง คว่ำ เหตุที่เรียกเช่นนั้นก็เพราะว่า เกิม อุ๊บ
เกิดจากการนำข้าวสวยที่หุงสุกใหม่ๆ อัดเข้าไปในถ้วยข้าวสองใบจนแน่น แล้วเอามาประกบกัน หลังจากนั้นเอาถ้วยใบหนึ่งออก
จะได้ขาวสวยที่พูนขึ้นมาเป็นรูปถ้วยข้าวคว่ำอยู่บนถ้วยอีกใบ

เกิม อุ๊บแล้วมันจะยังไม่สมบูรณ์หากขาดไข่ไก่ต้มสุกที่ปลอกเปลือกเรียบร้อยแล้ว รวมถึงตะเกียบหนึ่งคู่ปักตั้งตรงอยู่ระหว่างไข่ไก่ มาถึงตรงนี้
ไข่ไก่ที่ต้มสุกหากจะวางบนถ้วยเกิม อุ๊บ
อยู่โดดเดี่ยวก็จะต้องตกหล่นเป็นแน่
ดังนั้น คนโบราณจึงเอาตะเกียบหนึ่งคู่มาปักเพื่อยึดไข่ไก่
ไม่ให้กลิ้งไปกลิ้งมาได้



ในบางพื้นที่ตะเกียบที่ปักอยู่ระหว่างไข่ไก่นั้น
จะถูกนำมาเหลาให้เป็นเส้นๆ อยู่ตรงปลาย ด้วยต้องการ
ที่จะแยกความแตกต่างระหว่างตะเกียบของคนที่ยังมีชีวิตอยู่
กับคนที่จากโลกใบนี้ไปแล้วออกจากกัน ตะเกียบที่ถูกนำมาเหลาให้เป็นเส้นๆ ในภาษาเวียดนามเรียกว่า “Đũa bông - ดั๋ว บง”
บางพื้นที่เรียก “Đũa ma - ดั๋ว มา” หากตะเกียบคู่นี้หากจะไม่เหลา
ให้เป็นเส้นๆ ก็ใช่ว่าจะผิดธรรมเนียมแต่อย่างใด เ
พราะในบางแห่งนิยมใช้ตะเกียบธรรมดามากกว่า “ดั๋ว บง” หรือ “ดั๋ว มา”

เกิม อุ๊บ เต็มเปี่ยมไปด้วยความหมายอันลึกซึ้ง
อันเป็นการผสมผสานกันระว่างความเชื่อกับความคิดของคนโบราณ
ที่หมายถึงคนเรามีเกิดก็ต้องมีดับ ความหมายที่แท้จริงของเกิม อุ๊บ
ก็คือการจากลาและการเกิดใหม่ ข้าวที่พูนขึ้นมาบนถ้วยข้าวอีกใบเปรียบเสมือนหลุมศพ ซึ่งแสดงถึงการสิ้นสุดลงของชีวิต
ส่วนไข่ไก่ที่วางอยู่บนถ้วยข้าวนั้นแสดงถึงการเกิดใหม่
การกลับไปสู่จุดแรกเริ่มของการมีชิวิต เพราะฉะนั้น
สองสิ่งนี้จึงเป็นสิ่งที่แสดงถึงความหมายการดับไปและการเกิดใหม่
นอกจากนี้ เกิม อุ๊บ ยังมีความหมายในแง่ของหลักหยิน-หยาง อีกด้วย
โดยถ้วยข้าวหมายถึงหยิน และไข่ไก่หมายถึงหยาง
อย่างไรก็ตามเกิมอุ๊บแบบที่ปักไข่นิยมใช้ทำพิธีเฉพาะช่วงยังไว้ทุกข์ หากเป็นการใช้ในงานไหว้ครบรอบการเสียเสียชีวิตประจำปี (โหย๋) เกิมอุ๊บมักไม่มีไข่จะมีแต่เพียงตะเกียบปักเท่านั้น เพราะตามความเชื่อแล้วผู้คุมวิญญาณจะแยกพิธีกรรมการไหว้วิญญาณใหม่กับวิญญาณเก่าจากเกิมอุ๊บที่มีไข่ แต่ทั้งนี้ความหมายของเกิมอุ๊บในงานโหย๋นั้นจะมีความหมายไปอีกแบบหนึ่งกล่าวคือ จะคล้าย ๆ กับเค้กวันเกิดของคนเป็น ทั้งนี้ในงานโหย๋นั้นมักจะมีการเชิญวิญญานญาติมิตรหรือผู้ติดตามมาร่วมรับการเซ่นไหว้ในงานด้วยด้วย ดังนั้นจึงต้องให้เกียรติเจ้าของงานได้กินข้าวจากถ้วยเกิมอุ๊บซึ่งถือว่าจัดเตรียมให้กับเจ้าของโหย่เป็นพิเศษดังกล่าวแล้ว



ข้าวถ้วยสุดท้ายของชีวิตเก่า และข้าวถ้วยแรกของการมีชีวิตใหม่ ได้กลายมาเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่ถูกสืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น จากอดีตจนมาถึงปัจจุบัน น้อยคนนักที่จะเข้าใจความหมายของข้าวถ้วยสุดท้ายใบนี้


++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บทความนี้ผมได้รับความอนุเคราะห์จากน้องต้อมพัชรพงษ์ ภูเบศร์พีรวัส
ผู้ซึ่งมีความสนใจในเรื่องธรรมเนียมชาวไทยเชื้อสายเวียตนามในจังหวัดนครพนม และบังเอิญมากที่เราก็เป็นคนนครพนมเหมือนกัน
ดังนั้นก็ต้องกราบขอบคุณบล๊อกแก๊งค์ที่มีพื้นที่ดี ๆ
ให้ผมได้เจอคนที่สนใจและพูดคุยเรื่องราวเดียวกันได้อย่างมีความสุข

ในส่วนของบทความที่น้องต้อมเขียนนั้น
ไม่ได้เผยแพร่ทั่วไปจำกัดเฉพาะกลุ่มผู้ใช้ facebook ของน้องเค้าเท่านั้น ผมรู้สึกเสียดายอยู่มากจึงขออนุญาตมาเผยแพร่ต่อในบล๊อกของผม
เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้สนใจใฝ่รู้
และยังมีบทความชั้นเลิศอีกมากที่น้องต้อม
ใช้เวลาเสาะแสวงหาความรู้อยู่นาน แฟนบล๊อกที่ได้อ่านงานเขียน
ของผมจะเข้าใจอะไรต่ออะไรได้อีกมาก
เมื่อได้อ่านงานเขียนของน้องต้อม
ซึ่งผมได้ขออนุญาตน้องเค้าแล้วโดยจะทยอยนำมาลงได้อ่านกันในโอกาสต่อไป

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++





 

Create Date : 31 มกราคม 2555
7 comments
Last Update : 13 มิถุนายน 2556 11:13:24 น.
Counter : 3386 Pageviews.

 

คนแรกครับพี่

ที่ท่าบ่อเกิมอุ๊บ จะรุ้จักกันดีในชื่อเกิมกุ๋ง

โดยที่ท่าบ่อปลายตะเกียบจะเหลาเปนฝอยเดียวชั้นเดียว เหมือนรูปแรกครับ

 

โดย: บอส IP: 223.206.236.22 9 กุมภาพันธ์ 2555 17:21:23 น.  

 

การดำรงธรรมเนียมปฏิบัติเอาไว้ให้สืบทอดต่อไปจากรุ่นสู่รุ่นถือเป็นความงดงามอย่างยิ่ง
เด็กยุคใหม่มักละเลยแบบธรรมเนียมดั้งเดิม
หรือหากจะรับไว้ก็อาจจะแค่ทำตามๆกันไป
แต่ไม่ลึกซึ้งถึงแนวคิดที่แฝงอยู่ในธรรมเนียมปฏิบัตินั้น
บทความนี้จึงเป็นวิทยาทานที่ทรงคุณค่าสำหรับผู้สนใจใฝ่รู้อย่างยิ่งค่ะคุณพีร์

 

โดย: ร่มไม้เย็น 9 กุมภาพันธ์ 2555 21:11:05 น.  

 

ได้เข้าใจความเป็นมาของอาหารทั้ง 2 ชุดครับ
ได้ช่วยให้ผมเข้าใจความเป็นอยู่ของชาวเวียตนามมากขึ้นครับ

ขอบคุณในความรู้ที่นำมาเผยแพร่ครับ

 

โดย: Insignia_Museum 9 กุมภาพันธ์ 2555 22:06:37 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ครับพี่พีร์

ทุกขั้นตอนในเกิมอุ๊บ
ผมว่าแฝงคติธรรมในการพิจารณาความตาย
และการเวียนว่ายตายเกิดได้ดีมากๆเลยครับ







 

โดย: กะว่าก๋า 10 กุมภาพันธ์ 2555 6:06:22 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ครับพี่พีร์







 

โดย: กะว่าก๋า 11 กุมภาพันธ์ 2555 5:53:32 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ครับพี่








 

โดย: กะว่าก๋า 12 กุมภาพันธ์ 2555 6:05:41 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ครับพี่





 

โดย: กะว่าก๋า 13 กุมภาพันธ์ 2555 6:20:21 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Gia Huy - Peeradol
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 13 คน [?]




Air SurOundinG mE liKe mY besT frIendS !
แจกฟรีแบ๊คกราว
Friends' blogs
[Add Gia Huy - Peeradol's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.