Group Blog
พฤศจิกายน 2555

 
 
 
 
1
2
3
4
5
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
เทคโนโลยี Rfid ที่ใช้ในระบบสินค้าคงคลังมีอะไรบ้าง

เทคโนโลยี Rfid ที่ใช้ในระบบสินค้าคงคลัง

 

ตอบ ปัจจุบันหลายฝ่ายมีความเข้าใจดีถึงความสามารถเทคโนโลยี RFID ที่มีสูงกว่าเทคโนโลยีอื่น ๆ ทำให้ทุกฝ่ายคาดหวังว่าจะได้รับประโยชน์เมื่อนำมาใช้ แต่ยังมีข้อสงสัยถึงความคุ้มค่าในการลงทุน และความไม่ชัดเจนของประโยชน์ที่ได้รับจากการนำระบบดังกล่าวมาใช้งาน ในที่นี้จะกล่าวถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการนำระบบ RFID มาใช้ในคลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า ที่ทำให้เกิดกระบวนการตรวจสอบการรับและจัดส่งสินค้าอย่างอัตโนมัติ เพื่อให้สามารถรองรับปริมาณของสินค้า และข้อมูลในการจัดส่งสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก โดยนำระบบ RFID เข้ามาใช้นั้น นอกจากช่วยลดต้นทุนในด้านแรงงานที่จะเพิ่มขึ้นแล้ว ยังเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานที่มีความถูกต้องแม่นยำมากขึ้นและช่วยลดเวลาทั้งหมดที่สินค้าจะต้องถูกใช้ไปในกระบวนการเพื่อให้เกิดการขนส่งสินค้าออกไปยังลูกค้าต่อไป

 

 

ในหลาย ๆ ระดับของการนำ RFID ไปใช้งาน เช่น ระดับพาเลท (Pallet) ระดับบรรจุภัณฑ์ เพื่อการขนส่ง (Case หรือ Carton) และระดับหน่วยย่อยของสินค้าเพื่อการค้าปลีก (Item) จะสามารถสะท้อนประโยชน์ที่แตกต่างของการประยุกต์ใช้งานระบบ RFID ได้อย่างชัดเจน

 

 ในการติด Tag และอ่านข้อมูลที่ระดับพาเลท (Pallet Tagging) ระบบ RFID จะทำให้เกิดการปรับปรุงประสิทธิภาพในด้านการกระจายสินค้า (Product Diversion) การวางแผนการผลิต (Production Planning) การควบคุมและจัดเก็บสินค้าคงคลัง และการบริหารการเติมเต็มสินค้าในรูปแบบ Vendor-Managed Inventory หรือ VMI เป็นต้น

 

 ส่วนการติด Tag ในระดับบรรจุภัณฑ์ เพื่อการขนส่ง Case หรือ Carton ระบบ RFID จะช่วยให้เกิดประสิทะภาพสูงขึ้นมากในการบริหารอุปสงค์และอุปทาน และกระบวนการในการยกจัดวางและจัดส่งเพื่อกระจายสินค้า
 (Pick Pack and Ship Control) และในส่วนของการติด Tag ในระดับตัวสินค้า ระบบ RFID ก้จะยิ่งมีความหลากหลายในการประยุกต์ใช้งานและอำนวยประโยชน์เพิ่มขึ้น

 

 ตัวอย่างกรณีศึกษาของการนำระบบ RFID มาใช้ในกระบวนการการรับและการส่ง สินค้า (Shipping & Receiving) ซึ่งกระบวนการนี้จะต้องมีการติด Tag ที่ระดับพาเลท (Pallet) หรือบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง (Carton) โดยมีการใช้เลขรหัส EPC เป้นข้อมูลใน RFID Tag และมีการติดตั้ง  RFID Reader ที่บริเวณที่จะมีการผ่านเข้าออกของสินค้าระดับ Pallet หรือ Carton เมื่อรถยกมีการยกสินค้าเคลื่อนที่ผ่านบริเวณทางเข้าออก
RFID Reader ก็จะอ่านข้อมูลจาก Tag ทั้งหมดที่ติดอยู่ในระดับ Pallet และ Carton ซึ่งจะบรรจุข้อมูลทั้งหมดเหมือนกับที่จำเป็นจะต้องแสดงเวลาที่จะมีการการขนสินค้าเข้าออกไว้ใน RFID Tag และดำเนินการแสดงข้อมูลเพื่อการตรวจสอบ ทุกขั้นตอนโดยฮัตโนมัติ เช่น รายละเอียดสินค้า บรรจุภัณฑ์ คำสั่งซื้อ รวมถึงการเชื่อมโยงข้อมูลเข้าสู่ระบบการจัดการคลังสินค้า หรือแผนในการจัดส่งตัวสินค้าไปยังปลายทางทั้งหมดเกิดขึ้นในการอ่านเพียงครั้งเดียว

 

ในขณะที่การทำงานแบบเดิมด้วยบาร์โค้ด ผู้ปฏิบัติงานจะต้องทำการอ่านรหัสบาร์โค้ดบนบรรจุภัณฑ์นำข้อมูลไปกำกับใบสั่งซื้อ และดำเนินการตรวจสอบสินค้าใน Carton ว่าใช่หรือไม่ และแม้กระทั่งการเพิ่มฉลากบาร์โค้ดเข้าไปบน Carton เพื่อในกระบวนการทำงานภายใน

 

 ถึงแม้ว่าระบบ RFID จะมีประสิทธิภาพสูงกว่าระบบบาร์โค้ด แต่เนื่องจากต้นทุนในการติดตั้งอุปกรณ์ Reader และการใช้ Tag จำนวนมากยังมีต้นทุนสูง จึงทำให้ระบบ RFID ยังไม่สามารถนำมาแทนที่ระบบบาร์โค้ดได้ทั้งหมด ดังนั้นแนวโน้มของการใช้งานเทคโนโลยี RFID ร่วมกับบาร์โค้ดจึงน่าจะเป็นแนวทางที่ดีที่สุด จนกว่าเทคโนโลยี RFID จะมีการพัฒนาและมีการใช้งานมากขึ้นจยส่งผลให้ต้นทุนด้านต่าง ๆ ลดลง

 

 

 




Create Date : 06 พฤศจิกายน 2555
Last Update : 6 พฤศจิกายน 2555 17:20:37 น.
Counter : 838 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

peawnaja
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]