Group Blog
มิถุนายน 2555

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
28
29
30
 
27 มิถุนายน 2555
กระบวนการผลิต

กระบวนการผลิตกระจก

การผลิตกระจก
ความรู้เกี่ยวกับกระจก
       การผลิตแผ่นกระจกในปัจจุบัน
มากกว่า 90% ผลิตด้วยระบบโฟล้ต (Float Glass Process) ซึ่งพัฒนาขึ้นโดย Sir Alastair Pilkington ชาวอังกฤษ ในปี 1959 โดยการหลอมวัตถุดิบหลักๆ ได้แก่ ทราย (Silica Sand) ยิปซั่ม (Gymsum) โซดาแอช (Soda Ash) และ ไลม์สโตน (Limestone) ที่อุณหภูมิ 1500° C โดยกระจกเหลวจะไหลออกจากเตาหลอมและลอยตัวบนผิวของดีบุกเหลว

แผ่นกระจกจะค่อยๆเย็นตัวลงขณะที่เคลื่อนตัวผ่านอ่างดีบุกเหลว และเมื่อกระจกแข็งตัวจะถูกนำไปผ่านเตา annealing ซึ่งเรียกว่า lehr และปล่อยให้กระจกค่อยๆเย็นลงจะได้แผ่นกระจกคุณภาพสูง ผิวเรียบสนิท


และด้วยเทคโนโลยี่ปัจจบัน
การผลิตกระจกด้วยระบบโฟล้ต สามารถผลิตแผ่นกระจกที่มีความหนาตั้งแต่ 0.3 มม. ถึง 25 มม. ในส่วนของอุตสาหกรรมกระจกตกแต่ง และกระจกแปรรูปในเมืองไทย จะใช้ขนาดความหนาตั้งแต่2 มม. ถึง 19 มม. โดยจะมีความหนาตามนี้
2mm     8mm
3mm     10mm
4mm     12mm
5mm     15mm
6mm     19mm   (22mm,25mm)

กระจกโฟล้ต ที่ตัดตามขนาดเรียบร้อยแล้ว รอการขนส่งไปแปรรูปเพื่อใช้งานตามจุดประสงค์ เช่น ส่งไปยังโรงงานที่แปรรูปกระจก นำไปแปรรูปเป็น กระจกนิรภัยเทมเปอร์ กระจกลามิเนต กระจกเงา กระจกเคลือบสีหรือ กระจกตกแต่ง ต่างๆ เป็นต้น




Create Date : 27 มิถุนายน 2555
Last Update : 27 มิถุนายน 2555 21:28:35 น.
Counter : 751 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

peawnaja
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]