Group Blog
 
<<
เมษายน 2548
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
7 เมษายน 2548
 
All Blogs
 

สอนเขียนบทหนังซัดคนดูให้อยู่หมัด จากคอลัมยอดนิยมในนิตรยสารBIOSCOPE

1 ตัวละครของคุณเปนใครกันบ้าง
2 พวกเขาต้องการอะไร
3 ทำไมจึงต้องการสิ่งนั้น
4 พวกเขาจะทำอย่างไรเพื่อให้ได้มันมา
5 อะไรหยุดยั้งพวกเขาไว้
6 มันมีผลให้เกิดเหตุการณ์อะไรตามมาอีก

เรื่องในหนังก็คือภาพเปรียบเทียบกับชีวิตจริงของคนนั่นเอง
นักเล่าเรื่องที่ดีต้องสามารถจับเอาชีวิตคนทั้งเรื่องราวภายนอก,ปมปัญหาภายในใจ,ความฝันและความจริง
-มาร้อยเรียงถายในความยาว 2 ชม.ที่บอกให้คนดูรู้หลังจบว่า


"ขีวิตเป็นเช่นนี้แหละ

ไม่ว่าเรื่องราวชีวิตของตัวละครคุณจะเพียบปานเพียงไหน
สิ่งที่คุณต้องทำให้ได้ก็คือ
เลือกเฉพาะเรื่องสำคัญ และตัดเรือ่งหยุมหยิมที่ไร้ความหมาย
เพื่อบอกเล่าชีวิตของเขาหรือเธอคนนั้นให้ได้ภายในความยาวไม่เกินสองชม
ซึ่งหากคุณทำได้ดีพอ...
คนดูจะสามารถรับรู้รายละเอียดและมิติในชีวิตแม้แต่ส่วนที่คุณแทบไม่ได้เล่าถึงเลย !


วิธีที่จะทำให้เราตัดสินใจได้ว่าซีนไหนควรอยู่ ซีนไหนควรไป ก็คือ
จงพิจารณาแต่ละซีนอย่างละเอียดว่า ในตอนเริ่มซีนดังกล่าว
ชีวิตตัวละครของเรากำลังมี value ใด และเป็นด้านบวกหรือด้านลบ-กำลังรู้สึกล้มเหลว,กำลังมีความรัก
กำลังมองโลกในแง่ดี etc...
จากนั้นไปดูตอนจบของซีนว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในซีนนั้นทั้งหมดทำให้ value ของตัวละครเปลี่ยนแปลงไหม
(เปลี่ยนจากบวกเปนลบหรือลบเป็นบวกหรือไม่)
หากเปรียบเทียบแล้วพบว่า จุดเริ่มต้นอละจุดจบของซีนนั้นไม่ได้มีอะไรเปลี่ยนแปลงเลย
ก็หมายความว่า ซีนนั้นไม่มีเหตุการณ์ที่ดีแน่นอน และแน่นอน...มันไม่จำเป็นต้องอยู่ในหนังด้วย

โลกของหนังอันกว้าวใหญ่ใบนี้ก็ยังมีหนังอีกกลุ่มหนึ่ง
ซึ่งแม้ตัวละครจะพานพบอะไรๆมากมาย แต่กลับไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงในชีวิตของพวกเขาเลย
ตั้งแต่ต้นนถึงฉากจบ(ซึ่งแน่นอนว่าต้องจบแบบเปิด) หนังไม่ได้ เล่าเรื่อง ให้เราจับต้องได้เลยแม้แต่นิดเดียว
เราเรียกมันกันง่ายๆได้ว่า "หนังไม่มีพลอต"

แล้วจุดประสงค์ของหนังแบบนี้คืออะไร...ถึงในหนังจะดูราวไม่มีอะไรเปลี่ยน
แต่คนทำหนังคาดว่า เราจะซึมซาบภาพที่เห็น แล้วเก็บไปใคร่ครวญเพาะบ่ม
จนนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงในทางความคิดหรือทัศนคติในชีวิตจริงนอกจอของเรานั่นเอง

พึงระลึกไว้เสมอว่า พล๊อตแบบ Minimal และ Anti-structure นั้นไม่ได้เกิอขึ้นเอง
แต่เป็นการโต้ตอบพล็อต Classical (อันหนึ่งเป็นการลดทอน อีกอันเป็นการต่อต้านสุดขั้ว)
นั่นแปลว่า เราจะไม่มีวันเขียนพล็อตสองแนวนั้นได้ดีแด็ดขาดหากไม่เข้าใจพล็อต Classical อย่างถ่องแท้เสียก่อน

เข้าใจ setting ในหนังของคุณหรือยัง
-มิติแรกของเวลา คือ ยุคสมัย เรื่องของคุณเกิดในยุคใด ปัจจุบัน อดีต อนาคต หรือไม่ระบุยุคสมัยสถานที่
-ระยะเวลา หลายสิบปี 2-3ปี ไม่กี่เดือน 24ชม หรือเล่าตามเวลาจริง
-สถานที่ ที่ไหน เมืองอะไร ถนนสายอะไร ห้องเบอไหน บนดาวดวงไหน
-ระดับความขัดแย้ง มิติด้านมนุษย์ ระดับไหน ขัดแย้งในตัวเอง(ตัวตน ร่างกาย จิตใจ)
ขัดแย้งกับภายนอก(ทางสังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม)หรือผสมผสานความขัดแย้งหลายๆแบบ
โดยทั้งหมดก็คือการกำหนดระดับของสิ่งที่ตัวละครของคุณจะต้องเผชิญหน้า ดิ้นรน ต่อสู้นั่นเอง

"เห็นหน้า ไม่รู้ใจ" คือเคล็ดลับสร้างตัวละครที่เซอร์ไพรส์และจับใจคนดูได้เสมอ!!




 

Create Date : 07 เมษายน 2548
2 comments
Last Update : 7 เมษายน 2548 22:30:12 น.
Counter : 1391 Pageviews.

 

น่าสนใจแฮะ เผื่อจะจำเอาไปใช้ได้ ขอบคุณนะครับ

 

โดย: Mint@da{-"-} 7 เมษายน 2548 23:31:12 น.  

 

ก่อดีน่ะ งงๆไปนิด

ยังไงก่อพยายามต่อไปน่างับ

^ ^_\\=/

 

โดย: แอมเอง[=ไดองเมียวจิ=] IP: 203.118.74.220 14 เมษายน 2548 0:20:05 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


The ก๊อง
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add The ก๊อง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.