ลมหายใจของใบไม้
Group Blog
 
 
มกราคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
25 มกราคม 2554
 
All Blogs
 
:::พื้นฐานการใช้กล้องดิจิตอล:::



รูปมาจากใหน
รูปที่ได้นั้น มาจากแสงสะท้อนวัตถุเข้ามาสู่ตัวกล้อง เริ่มจากมีแหล่งกำเนิดแสงให้แสงตกลงวัตถุ วัตถุสะท้อนแสงไปที่เลนส์ เลนส์จะทำหน้าที่รวมแสงและควบคุมปริมาณแสง แสงไปยังกล้อง และเข้าไปสู่ CCD และกล้องจะประมวลผลรูปนั้นแล้วส่งไปเก็บที่การ์ดหน่วยความจำ

กระบวนการได้รูป

1.Pixel คืออะไร
ในระบบดิจิตอลนั้น พิกเซลก็คือความละเอียดของภาพนั้นๆ มาจากการนำความยาวคูณด้วยความกว้างจะได้เป็นจำนวนพิกเซลรวม มีค่าเป็น mp (million pixel หรือ ล้านพิกเซล) อย่างเช่นในกล้อง Pentax K100Dsของผมจะมีความละเอียด6ล้านพิกเซล หรือเขียนได้ว่า 6mp (million Pixel) พิกเซลน้อยภาพจะแตก พิกเซลมากภาพจะชัดกว่า

2.สัดส่วนของภาพ
ในระบบดิจิตอลที่ใช้กันทั่วไปนั้นจะเห็นได้ว่ามีสัดส่วนอยู่สองรูปแบบคือ 3:2 และ 4:3 รูปขนาด 3:2นั้นส่วนใหญ่จะพบได้จากกล้อง DSLR (Digital Single-Lens Reflex) และกล้องคอมแพ็คที่ระบุไว้ว่าเป็นสัดส่วน 3:2หรืออื่นๆ โดยจะอยู่นอกวงเล็บหน้าความละเอียดนั้นๆ คอมแพ็กเกือบทุกตัวจะมีสัดส่วนอยู่ที่ 4:3 ถ้าไม่ได้ระบุสัดส่วนหน้าวงเล็บแล้วก็จะเป็น4:3ทั้งหมด

ค่าต่างๆที่ใช้ประจำในกล้องดิจิตอล มีอยู่4ค่าที่จ้องจำใส่ใจไว้ในการถ่ายรูป ลองๆสักเกตุตอนถ่ายดู

Shutter Speed
Aperture
ISO rating
Focal Range

สามค่าแรกนั้นมีค่าโดยตรงต่อปริมาณการรับแสงของภาพ หรือพูดง่ายๆก็คือ ภาพจะสว่างหรือมืดจะขึ้นอยู่กับสามค่าแรกตรงๆ ส่วนค่าที่4นั้นจะมีผลทางอ้อม

Shutter Speed หรือ ความเร็วชัตเตอร์

กล้องดิจิตอลจะกำหนดเวลาในการรับแสงของ CCD เช่นเดียวกับเวลาในการเปิดรับแสงของกล้องใช้ฟิล์ม เวลาที่แสงตกลงบน Image Sensor เราเรียกว่า เวลาเปิดรับแสง (Exposure Time) หรือความเร็วชัตเตอร์ (Shutter Speed)

กล้องดิจิตอลแบบ SLR จะมีชัตเตอร์หน้า Image Sensor ทำหน้าที่ควบคุมเวลาในการเปิดรับแสง ส่วนกล้องดิจิตอลแบบคอมแพค หรือกล้องดิจิตอลที่ถ่ายภาพวิดีโอ หรือดูภาพที่ที่จะถ่ายทางจอ LDC ด้านหลังกล้องได้ จะไม่มีชัตเตอร์หน้า Image Sensor เวลาเปิดรับแสงจะควบคุมโดยเวลาการอ่านข้อมูลของ Image Sensor ซึ่งถูกควบคุมโดย Processor ในตัวกล้องอีกทีหนึ่งเวลาเปิดรับแสงจะมีผลต่อภาพ 2 ประการคือ

1. ความมืดสว่างของภาพ เวลาเปิดรับแสงสั้น แสงจะเข้าน้อย ทำให้ภาพมืดกว่าเวลาเปิดรับแสงนาน เช่น ความเร็วชัตเตอร์ 1 วินาที แสงจะเข้ามากกว่าความเร็วชัตเตอร์ 1/15 วินาที หากค่าการปรับตั้งทุกอย่างเท่ากัน (ความไวแสง ช่องรับแสง) ความเร็วชัตเตอร์ 1 วินาทีจะให้ภาพที่สว่างกว่าความเร็วชัตเตอร์ 1/15 วินาที

2. การเคลื่อนไหวของภาพ หากวัตถุในภาพมีการเคลื่อนไหว (จากการเคลื่อนที่ของวัตถุ หรือการเคลื่อนที่ของกล้อง) เวลาเปิดรับแสงนานจะทำให้ภาพเกิดการสั่นไหว หรือพร่ามัวได้มากกว่าเวลาเปิดรับแสงสั้น
เวลาเปิดรับแสงจะกำหนดเป็นค่าวินาทีแบบจำนวนเต็มหรือเศษส่วน แสดงอยู่ที่วงแหวนปรับความเร็วชัตเตอร์ ในจอแสดงข้อมูลที่ช่องมองภาพ หรือที่จอ LCD ด้านหลังตัวกล้อง แต่กล้องบางตัวก็ไม่แสดงความเร็วชัตเตอร์ให้ทราบ ตัวเลขความเร็วชัตเตอร์มีดังนี้ T , B , 30s ,15s , 4s , 2s , 1s , 1/2s , 1/4s , 1/8s , 1/15s , 1/30s , 1/60s , 1/125s , 1/250s , 1/500s , 1/1000s , 1/2000s , 1/4000s , 1/8000s

ความเร็วชัตเตอร์ T และ B เป็นการเปิดชัตเตอร์นานมาก ๆ เท่าที่ผู้ใช้ต้องการ ส่วนใหญ่จะไม่จำกัดเวลาเปิดรับแสง s คือ วินาที 30s ถึง 1s คือเวลาเปิดรับแสงเป็นจำนวนเต็มวินาที ส่วนตัวเลขถัดไปจะเป็นเศษส่วน เช่น 1/2s , 1/125s ซึ่งบางครั้งจะเขียนเป็นจำนวนเต็ม แต่ไม่มี s ต่อท้าย เช่น 125 คือ 1/125 วินาที 30 คือ 1/30 วินาที ส่วน 30s คือ 30 วินาที

การเลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์ขึ้นกับความต้องการในการควบคุมการเคลื่อนไหวของ วัตถุในภาพ และความสามารถในการถือกล้องให้นิ่ง ความเร็วชัตเตอร์มาตรฐานที่สามารถถือกล้องให้นิ่งได้จะอยู่ประมาณ 1/60 ถึง1/250 วินาที แล้วแต่น้ำหนักของกล้อง ความเร็วต่ำกว่านี้จะเสี่ยงต่อการสั่นไหวของภาพอันเนื่องมาจากมือไม่นิ่งแต่ ถ้าติดตั้งกล้องบนขาตั้งซึ่งไม่มีการสั่นไหว ความเร็วชัตเตอร์ยิ่งสูงจะสามารถจับวัตถุเคลื่อนไหวให้หยุดนิ่งได้ดีขึ้น เรื่อยๆ ในขณะที่ความเร็วชัตเตอร์ต่ำจะสามารถทำให้วัตถุเคลื่อนไหวพร่ามันมากขึ้น เรื่อย ๆ ตามความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำลง

สรุปง่ายๆก็คือ Shutter Speed ยิ่งเร็วก็จะยิ่งจับภาพให้นิ่งได้มากขึ้น แต่ก็ส่งผลให้แสงผ่านได้น้อยลงทำให้ภาพมืดลงได้เช่นกัน ค่าของ Speed Shutter จะมีค่าเป็น เศษส่วนต่อหนึ่งวินาที เช่น 1/50 1/250 เป็นต้น ถ้าไม่ได้กำกับเป็นเศษส่วนแล้วก็จะมีค่าเป็นวินาที Aperture Value หรือ ขนาดช่องรับแสง

เลนส์ของกล้องดิจิตอลจะมีม่านช่องรับแสง เป็นใบโลหะลักษณะเป็นกลีบเรียงตัวซ้อนกันเกิดเป็นช่องเปิดตรงกลาง เรียกว่า ช่องรับแสง การทำงานของช่องรับแสงในกล้องดิจิตอลจะขึ้นกับชนิดของกล้อง ถ้าเป็นกล้องที่ไม่มีม่านชัตเตอร์ ม่านรับแสงจะทำงานตลอดเวลาตามความสว่างของแสง เพื่อควบคุมปริมาณแสงที่ตกลงบน Image Sensor และความสว่างของภาพที่ดูทางจอ LCD ส่วนกล้องดิจิตอลที่มีม่านชัตเตอร์หรือกล้องดิจิตอลแบบ SLR ช่องรับแสงจะเปิดกว้างที่สุดเพื่อให้แสงเข้าไปในช่องมองภาพได้มาก จะมองเห็นภาพได้ชัดเจน เมื่อชัตเตอร์ทำงาน ม่านรับแสงก็จะปิดลงมาตามขนาดของช่องรับแสงทีได้ปรับตั้งเอาไว้ขนาดของช่อง รับแสงทำหน้าที่ 2 ประการคือ

1. ควบคุมปริมาณแสงที่ตกลงยัง Image Sensor ขน่าดช่องรับแสงกว้าง แสงจะตกลง Image Sensor มากกว่าขนาดช่องรับแสงแคบ

2. ควบคุมความชัดของวัตถุด้านหน้าและหลังของตำแหน่งที่ปรับความชัด ซึ่งเรียกว่า ความชัดลึก (Depth of Field) ขนาดช่องรับแสงจะระบุเป็นตัวเลข เรียกว่า F-Number หรือ F-Stop ซึ่งจะมีค่าต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ F 1 ,F 1.4 ,F 2 ,F 2.8 ,F 4 ,F 5.6 ,F 8 , F 11 ,F 16 ,F 22 , F 32 , F 45 , F 64

ตัวเลขขนาดช่องรับแสงเป็นส่วนกลับ ซึ่งได้มาจากการคำนวณขนาดของลำแสงที่ผ่านเข้าเลนส์ไปยังภาพ หารด้วยทางยาวโฟกัสของเลนส์ ตัวเลขจึงเป็นส่วนกลับ เช่น 1.4 คือ 1/1.4 5.6 คือ 1/5.6 เป็นต้น

ตัวเลขน้อย ขนาดช่องรับแสงจะกว้าง แสงเข้าได้มาก และให้ความชัดลึกต่ำ ตัวเลขมาก แสงเข้าได้น้อย มีความชัดลึกสูง การเลือกใช้ขนาดช่องรับแสง จะพิจารณาจากความต้องการให้ฉากหน้าและฉากหลังมีความคมชัด ต้องเปิดช่องรับแสงแคบลง แต่ถ้าต้องการให้ฉากหน้าและฉากหลังเบลอ ควรเปิดช่องรับแสงกว้าง ภาพวิว ภาพระยะใกล้ ภาพหมู่ มักเปิดช่องรับแสงแคบเพื่อให้ฉากหลังและฉากหน้ามีความคมชัดสูงส่วนภาพบุคคล เดี่ยวหรือภาพที่ต้องการให้ชัดเฉพาะส่วนมักเปิดช่องรับแสงกว้าง เป็นต้น

สรุปก็คือ Aperture Value ยิ่งค่ามากก็จะมีความชัดทั่วทั้งภาพมาก ถ้าน้อย ก็จะมีความชัดเฉพาะจุดหรือที่ได้ยินว่า หน้าชัดหลังเบลอ แต่ยิ่งค่ามากเท่าใหร่ม่านช่องรับแสงก็ยิ่งแคบ ทำให้รับแสงได้น้อยลงส่งผลให้ภาพมืดลงด้วย

ISO rating หรือ ความไวแสง

ความไวแสงของกล้องดิจิตอลจะสามารถปรับตั้งได้หลายค่า แล้วแต่รุ่นกล้องความไวแสงสูงจะช่วยให้สามารถใช้ขนาดช่องรับแสงแคบและความ เร็วชัตเตอร์สูงมาก ๆ ได้ ถ่ายภาพในสภาพแสงน้อยได้สะดวกการตั้งความไวแสงของกล้องดิจิตอล แต่ยิ่งค่า ISO สูงเท่าใหร่ก็จะทำให้เกิดสัญญาณรบกวนมาก จึงทำให้เกิดNoise จำนวนมากตามมาเช่นกัน ข้อดีของค่า ISO สูงๆคือสามารถถ่ายได้ในเวลาที่แสงน้อยอย่างเช่นตอนเย็น หรือในห้างเป็นต้น แต่ข้อเสียก็คือ ต้องแลกรูปมากับน๊อยส์จำนวนมาก ISO บางค่า อาจจะมีมากจนรับไม่ได้เลยก็เป็นได้

Focal Range หรือ ทางยาวโฟกัส

พูดกันง่ายๆก็คือ ค่า ซูมนั่นเอง ในกล้องคอมแพ็คนั้นจะไม่มีค่า Focal Range กำกับไว้ เพียงแต่จะเป็นค่าเทียบเท่า เท่านั้นเอง ดังที่เราเห็นเป็นค่า ซูม 2X 3X 15X แต่ในกล้อง DSLR นั้นจะมีค่าทางยาวโฟกัสกำกับไว้เป็นตัวเลขเช่น 18 35 55 โดยกำกับไว้ที่กระบอกเลนส์และมีเส้นขีดชี้ไว้ว่าเราบิดเลนส์ไว้ที่ทางยาวโฟกัสเท่าใหร่ยิ่งค่ามากก็เท่ากับว่าเราซูมเข้าไปมาก ค่าน้อย เราก็ถ่ายมุมกว้างขึ้น

Exposure Mode , Shooting Mode หรือเรียกกันว่าโหมดถ่ายภาพนั้น จะมีหลักใหญ่ๆอยู่สองส่วน คือ

1.Auto Zone
2.Creative Zone


1.Auto Zone
ก็ตามชื่อน่ะแหละครับ Auto ก็คือ Full Auto ทุกอย่างกล้องจัดการให้หมด โดยที่เราสามารถปรับค่าอะไรได้นิดหน่อยเท่านั้นอย่างเช่น ความละเอียด ขนาดรูปภาพเป็นต้น ส่วน Scene Mode นั้นก็คือออโต้ในรูปแบบที่เรากำหนดกรอบไว้ว่า สถานการณ์แบบนี้ควรถ่ายแบบใหน อย่างเช่น เราต้องการถ่ายภาพวิว ก็สามารถเลือกซีนที่เขียนว่า Landscape ซึ่งในการถ่ายรูปตีความหมายง่ายๆหมายถึงการถ่ายภาพวิวต่างๆ เมื่อเลือกโหมดนี้แล้ว กล้องจะทำการ ปิดแฟลชโดยอัตโนมัติ และก็จะไปเพิ่มค่า Aperture Value เพื่อให้เกิดความชัดลึก และยังไปเพิ่มความอิ่มตัวของสี (Saturation)เพื่อให้ภาพวิวที่ถ่ายออกมาดูน่าประทับใจยิ่งขึ้น
หรือยกตัวอย่างอีกอันหนึ่งก็คือรูปดอกไม้ ซึ่งหมายถึงการถ่ายภาพมาโคร (การถ่ายภาพระยะใกล้-ใกล้มาก รายละเอียดจะกล่าวถึงภายหลังต่อไป) เมื่อเลือกโหมดนี้กล้องจะเข้าสู่โหมดมาโครโดยอัตโนมัติ และจะทำการปิดระบบแฟลชออกไป รวมทั้งเพิ่มความอิ่มตัวของสี (Saturation) เข้าไปเพิ่มเติมด้วย สำหรับกล้อง Point and Shoot หรือกล้องที่ไม่มีตัวหมุนปรับนั้น สามารถปรับได้เหมือนกัน โดยจะอยู่ปุ่ม menu หรือปุ่ม F หรือปุ่มอื่นๆ ต้องอ่านคู่มืออีกทีหนึ่ง

Scene ส่วนใหญ่ (อ้างอิงจาก S2000HD)

1.1.Partrait รูปหน้าคน โหมดถ่ายบุคคล(เดี่ยว) กล้องจะเพิ่มความนุ่มนวลของสีผิว

1.2.Landscape รูปภูเขา โหมดถ่ายวิว กล้องจะเพิ่มค่าชัดลึก ค่าเปรียบต่าง(Contrast) และอิ่มตัวของสี(Saturation)

1.3.Sport รูปคนวิ่ง โหมดถ่ายรูปด้วยความเร็วชัตเตอร์สูง สำหรับถ่ายภาพที่เคลื่อนใหวเร็วๆให้หยุดนิ่ง โดยจะเพิ่มค่าความไวแสง (ISO rating) เพิ่อให้ความเร็วชัตเตอร์เร็วเพียงพอ

1.4.Night รูปดวงจันทร์กับดาว โหมดถ่ายรูปกลางคืน โหมดนี้จะไม่เพิ่มค่าความไวแสงนัก แต่จะไปลดความเร็วของค่าความเร็วชัตเตอร์เพื่อให้ความสว่างโดยรวมสว่างขึ้น แต่ต้องใช้คู่กับขาตั้งกล้อง หรือ วางกล้องไว้ในที่มั่นคง

1.5.Party รูปแก้ว โหมดเอารูปไว้ก่อน โหมดนี้จะเพิ่มทุกค่าจนสามารถที่จะถือกล้องถ่ายรูปภายใต้สภาวะแสงน้อยได้รวมทั้งแฟลช แต่ต้องแลกมากับนอยส์ เพราะกล้องจะไปเพิ่มความไวแสงเป็นอันดับแรก

1.6.Flower รูปดอกไม้ โหมดมาโคร (ถ่ายระยะใกล้มาก) โหมดนี้กล้องจะเข้าสู่โหมดมาโครโดยอัตโนมัติ สังเกตุหน้าจอจะมีรูปดอกไม้ขึ้นมาด้วย ทำให้สามารถโฟกัสดอกไม้ได้ใกล้ขึ้น และกล้องจะปิดแฟลชกับเพิ่มความอิ่มตัวของสีโดยอัตโนมัติ แต่โหมดมาโครนี้ จะส่งผลให้การโฟกัสตอนถ่ายรูปธรรมดายากขึ้น จึงต้องตรวจดูให้ดีว่า หน้าจอเราขึ้นรูปดอกไม้ใหม

2.Creative Zone

เป็นส่วนที่เราต้องจัดการตัวกล้องด้วยตนเอง ตั้งแต่ปล่อยให้กล้องคำนวนค่าเอง จนถึง ควบคุมด้วยตัวเองทั้งหมด แบ่งออกเป็นP S(Tv) A(Av) M B

2.1.P - Program AE หรือโหมดกึ่งอัตโนมัต เป็นโหมดที่กล้องจะปรับค่า Shutter Speed กับ Aperture Value โดยอัตโนมัติ โดยที่ผู้ใช้เป็นผู้เลือกการเปิดแฟลช ค่าความไวแสง หรือการชดเชยแสงด้วยตนเอง (การชดเชยแสงจะกล่าวถึงทีหลัง) (การเปิดแฟลช การชดเชยแสง ความไวแสง ใหนโหมดCreative Zoneนั้น ผู้ใช้ต้องกำหนดด้วยตนเองทั้งสิ้น)

2.2.S หรือ Tv - Shutter Speed Priority - Time Value กล้องจะปรับค่ารูรับแสง (Aperture Value) โดยอัตโนมัติ โดยผู้ใช้ต้องปรับค่าความเร็วชัตเตอร์ด้วยตนเอง เพื่อที่ให้ผู้ถ่ายได้ตัดสินใจด้วยตัวเองว่า จะทำให้ภาพนิ่งสนิท หรือ ทำให้อารมณ์ภาพเป็นเหมือนภาพเคลื่อนใหว

2.3 A หรือ Av - Aperture Priority ส่วนกลับของโหมด S กล้องจะปรับค่าความเร็วชัตเตอร์ (Shutter Speed) โดยอัตโนมัติ ผู้ใช้ต้องปรับค่ารูรับแสงด้วยตนเองซึ่งมีผลต่อความชัดทั่วทั้งภาพหรือชัดเฉพาะจุด

2.4 M - Manual ทุกอย่างผู้ใช้ต้องปรับเอง กล้องจะวัดแสงมาแค่ว่า ค่าที่ใช้นี้มีความสว่างมากเกินไปหรือน้อยเกินไปกี่เลเวล (ที่จริงต้องใช้คำว่า สต็อป แต่ใช้เลเวลเพิ่มความเข้าใจง่ายๆไปก่อน)

2.5 B - Bulb โหมดที่ผู้ใช้จะต้องกดชัตเตอร์ค้างไว้เพิ่อเริ่มการถ่ายรูป และกดค้างไว้ตามต้องการ จนกระทั่งปล่อยเพิ่อให้สิ้นสุดการถ่ายรูป รูปนั้นๆ มีไว้เพื่อถ่ายรูปที่ต้องการShutter Speed ที่ต่ำมากๆ โหมดนี้ควรใช้ร่วมกับ สายลั่นชัตเตอร์ และขาตั้งกล้อง




Create Date : 25 มกราคม 2554
Last Update : 25 มกราคม 2554 21:20:11 น. 0 comments
Counter : 1044 Pageviews.

Peakroong
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 41 คน [?]





"หากต้องตัดสินใครสักคน

เริ่มจาก "ทำไม"คงจะดีกว่า"อย่างไร"

เพราะสิ่งที่มองเห็นไม่แน่ว่ามีอยู่จริง

สิ่งที่มองไม่เห็นใช่ว่าไม่มี

สิ่งที่คิดว่าใช่อาจไม่ใช่

สิ่งที่ไม่คิดว่าใช่สำหรับคุณ

มันอาจใช่เลยสำหรับใครอีกคน"


"
๐ ให้ลมหายใจของใบไม้เป็นบันทึกคนกล่อง
คำเขียนของคนล้มลุกคลุกคลาน
แต่ยังมีลมหายใจเป็นของตัวเอง
แม้ไม่ใช่ทุกอย่างที่มีหากเป็นทุกอย่างที่เป็น
เก็บความว่างเปล่าไว้เติมเต็ม..

๐ ขอบคุณตัวละครทุกตัว
ทั้งที่มีอยู่จริงและที่ไม่มีตัวตน
ขอบคุณวันเวลา-ครูบา-อาจารย์
ที่สอนให้เก็บเกี่ยว ฝึกให้คิด สอนให้เขียน

๐ ขอบคุณเพื่อนเพื่อนชาวไซเบอร์
ที่กรุยทางให้สร้างสรรรค์บล็อคได้เท่าใจ
ขอบคุณทุกภาพงดงามจากบล็อกน้องญามี่ขอบคุณ https://www.thaipoem.com
ที่ให้เพลงประกอบเป็นอมตะนิรันดร์กาล

๐ ขอบคุณความเป็นเธอ..
ที่ส่งผ่านการ"ให้"มาเสมอฝัน
ขอบคุณความเป็นฉัน..
คนเกี่ยวประสบการณ์ระหว่างวันมาถักทอ


'ปีฆรุ้ง
27 มกราคม 2553


Friends' blogs
[Add Peakroong's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.