ลมหายใจของใบไม้
Group Blog
 
<<
มกราคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
17 มกราคม 2554
 
All Blogs
 
:::ทฤษฎีความเครียด:::



ความเครียด
ผศ.วินัย เพชรช่วย

ความเครียดเป็นเรื่องพื้นฐานประจำชีวิต ไม่ว่าคุณจะเป็นคนประเภทไหน ฐานะอย่างไร มีอำนาจมากแค่ไหน รูปงามหรือไม่ มีความสบาย เพียงใด ไม่อาจหลีกเลี่ยงมันได้ ความเครียดมาในหลายรูปแบบ เช่นการสอบไล่ครั้งสำคัญ อุบัติเหตุทางรถยนต์ การเข้าแถวรอเป็นเวลานาน วันที่อะไรๆก็ดูจะไม่ถูกต้องสักอย่าง ความเครียดขนาดปานกลางอาจเป็นแรงกระตุ้น เป็นแรงจูงใจเป็นที่ต้องการให้มีในบางครั้ง แต่ถ้าหากเครียดมาก อาจก่อปัญหาทั้งทางร่างกาย ทางจิตใจ และทางพฤติกรรม

ความเครียด (stress) กระบวนการที่เกิดขึ้นเมื่อคนเราต้องปรับตัวหรือจัดการกับสถานการณ์แวดล้อมที่คุกคาม หรือขัดขวางการ ปฏิบัติทางกาย และทางจิตใจ (Taylor,1991) ความเครียดจึงเกี่ยวข้องกับวิธีการจัดการระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อม สถานการณ์แวดล้อมที่ทำให้คนเราต้องปรับตัว (เช่น การสอบไล่ อุบัติเหตุ) เรียกว่า เหตุก่อความเครียด (stressors) ส่วนปฏิกิริยาตอบสนองทั้งทางกาย ทางจิตใจ และพฤติกรรมที่เผชิญต่อความเครียด (เช่น ปวดหัว กระวนกระวาย อ่อนล้า) เรียกว่า อาการเครียด (stress reactions)

เรื่องที่น่าสนใจคือ คนบางคนเกิดอาการเครียดได้ง่ายต่อเหตุก่อความเครียดบางอย่างมากกว่าคนอื่นๆ หรือเครียดได้ง่ายเป็นบางโอกาส ทำไมเป็นเช่นนั้น คำตอบคือ ขึ้นอยู่กับปัจจัยสื่อ (mediating factors) ซึ่งเกี่ยวข้องในการจัดการระหว่างบุคคลกับสถานการณ์แวดล้อม ปัจจัยสื่อได้แก่ตัวแปรต่อไปนี้ เช่น คนสามารถคาดการณ์หรือควบคุมเหตุก่อความเครียดได้เพียงใด เขาแปลความหมายของการคุกคามอย่างไร เขาได้รับการช่วยเหลือจากคนอื่นๆ อย่างไรบ้าง และรวมถึงระดับความสามารถที่เขาจะจัดการกับความเครียด (stress-coping skills) ปัจจัยสื่อเหล่านี้มีผลต่อความมากหรือน้อยของอาการเครียด

เหตุก่อความเครียด

สำหรับคนเรานั้น เหตุก่อความเครียดมีส่วนประกอบทั้งทางกายภาพและทางจิตใจ เช่น นักกีฬา จะถูกกดดันทั้งจากสภาพความพร้อมของร่างกายและการต้องการเอาชนะในการแข่งขัน ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะเหตุทางจิตใจ (psychological stressors) แม้แต่เหตุการณ์ที่น่ายินดีก็ยังมีความเครียดเกิดขึ้นได้ (Brown & McGill,1989) เช่น การได้เลื่อนตำแหน่งและเพิ่มเงินเดือนเป็นสิ่งที่ใครก็ต้องการ แต่การมีตำแหน่งสูงขึ้นจะนำมาซึ่งแรงกดดันใหม่ๆ ด้วยเสมอ บางคนจะรู้สึกเหนื่อยอ่อนหลังจากเดินทางท่องเทียวพักผ่อน มีสถานการณ์และเหตุการณ์ก่อความเครียด ที่เราไม่ต้องการหลายอย่าง ได้แก่ ความยุ่งยากรำคาญใจในชีวิตประจำวัน การเปลี่ยนแปลงที่แย่ลงในชีวิต ภาระความรับผิดชอบที่กดดันในชีวิต และภัยพิบัติ เป็นต้น

ความวุ่นวายประจำวัน (daily hassles) สิ่งก่อกวน ความกดดัน ความรำคาญ ต่างๆ ถ้าหากเกิดขึ้นนานๆ ครั้งจะไม่เป็นเหตุก่อความเครียด แต่ถ้าได้รับเป็นประจำอย่างต่อเนื่องจะทำให้เกิดผลสะสม ทำให้มีอาการเครียดได้ เช่น การอยู่อาศัยใกล้สนามบินได้ยินเสียงเครื่องบินขึ้นลงตลอดเวลา มีผลทำให้อาการหงุดหงิดเกิดขึ้นทั้งในเด็กและผู้ใหญ่

การเปลี่ยนแปลงในชีวิต และภาวะกดดัน (life changes and strains) เป็นเหตุก่อความเครียดที่สำคัญ โดยเฉพาะเมื่อการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นไปทางลบ หรือ เป็นการบังคับให้คนต้องปรับตัวเอง เช่น การอย่าร้าง มีสมาชิกในครอบครัวเจ็บป่วย การว่างงาน มีปํญหาในที่ทำงาน การย้ายที่อยู่ไปเมืองอื่น เป็นเหตุการณ์ตัวอย่างบางเรื่องที่ทำให้คนต้องปรับตัวเองต่อเหตุการณ์นั้น การมีรายได้ไม่พอในการดำรงชีพ เพราะเศรษฐกิจตกต่ำ เป็นตัวอย่างของการกดดันในชีวิตที่ต่อเนื่องระยะยาว

ภัยพิบัติ เป็นเหตุหนึ่งที่ก่อความเครียด เช่น ไฟไหม้ น้ำท่วม พายุถล่ม สงคราม ถูกข่มขู่ ถูกล่วงละเมิดทางเพศ อุบัติเหตุหรือความเจ็บป่วย ที่เกิดกับคนใกล้ชิด บางครั้งทำให้เกิดอาการเครียดอย่างรุนแรงได้

การวัดเหตุก่อความเครียด (measuring stressors) เพื่อจะตรวจสอบว่าเหตุก่อความเครียดตัวใดที่เป็นอันตรายมากที่สุด เช่น อยากทราบว่าการเปลี่ยนแปลงในชีวิตเป็นเรื่องรุนแรงกว่าความยุ่งยากรำคาญประจำวันหรือไม่ นักจิตวิทยาจึงพยายามที่จะวัดผลกระทบที่เกิดจากเหตุก่อความเครียดชนิดต่าง ๆ

ปี ค.ศ.1967 Thomas Holmes และ Richard Rahe เริ่มสร้างเกณฑ์มาตรฐานในการวัดความเครียดในชีวิต ของคนเรา โดยมีความคิดพื้นฐานว่า การเปลี่ยนแปลงในชีวิตทุกกรณีไม่ว่าเป็นบวกหรือลบย่อมทำให้เกิดความเครียด ซึ่งทั้งสองได้ให้คนจำนวนมากประมาณค่าความเครียดในชีวิตจากเหตุการณ์ต่าง ๆ ในรูปของค่าเปลี่ยนแปลงในชีวิต หรือ life-change unit หรือ LCU เป็นปริมาณการปรับตัวที่ใช้ในเหตุการณ์นั้น เช่น การหย่าร้าง การถูกไล่ออกจากงาน การเกษียณอายุ สูญเสียคนรัก ตั้งครรภ์ การแต่งงาน เป็นต้น เพื่อการกำหนดประมาณค่าเหล่านี้ Holmes และ Rahe จึงพัฒนา Social Readjustment Rating Scale หรือ SRRS ขึ้นเพื่อใช้วัดค่าความเครียดที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยนับจากค่า LCU รวมของทุกเหตุการณ์ที่คนประสบมา


//www.novabizz.com

เพลงประกอบ : :::รักเธอเสมอ:::






Create Date : 17 มกราคม 2554
Last Update : 17 มกราคม 2554 22:02:19 น. 0 comments
Counter : 5258 Pageviews.

Peakroong
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 41 คน [?]





"หากต้องตัดสินใครสักคน

เริ่มจาก "ทำไม"คงจะดีกว่า"อย่างไร"

เพราะสิ่งที่มองเห็นไม่แน่ว่ามีอยู่จริง

สิ่งที่มองไม่เห็นใช่ว่าไม่มี

สิ่งที่คิดว่าใช่อาจไม่ใช่

สิ่งที่ไม่คิดว่าใช่สำหรับคุณ

มันอาจใช่เลยสำหรับใครอีกคน"


"
๐ ให้ลมหายใจของใบไม้เป็นบันทึกคนกล่อง
คำเขียนของคนล้มลุกคลุกคลาน
แต่ยังมีลมหายใจเป็นของตัวเอง
แม้ไม่ใช่ทุกอย่างที่มีหากเป็นทุกอย่างที่เป็น
เก็บความว่างเปล่าไว้เติมเต็ม..

๐ ขอบคุณตัวละครทุกตัว
ทั้งที่มีอยู่จริงและที่ไม่มีตัวตน
ขอบคุณวันเวลา-ครูบา-อาจารย์
ที่สอนให้เก็บเกี่ยว ฝึกให้คิด สอนให้เขียน

๐ ขอบคุณเพื่อนเพื่อนชาวไซเบอร์
ที่กรุยทางให้สร้างสรรรค์บล็อคได้เท่าใจ
ขอบคุณทุกภาพงดงามจากบล็อกน้องญามี่ขอบคุณ https://www.thaipoem.com
ที่ให้เพลงประกอบเป็นอมตะนิรันดร์กาล

๐ ขอบคุณความเป็นเธอ..
ที่ส่งผ่านการ"ให้"มาเสมอฝัน
ขอบคุณความเป็นฉัน..
คนเกี่ยวประสบการณ์ระหว่างวันมาถักทอ


'ปีฆรุ้ง
27 มกราคม 2553


Friends' blogs
[Add Peakroong's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.