สมุดบันทึกผู้หญิงชอบเที่ยว "ภัทรานิตย์" -- www.atourthai.com --

"เที่ยวเมืองไทยด้วยหัวใจ แล้วคุณจะรักเมืองไทยอย่างยั่งยืน"


<<
มีนาคม 2554
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
8 มีนาคม 2554
 

กลยุทธ์การพลิกฟื้นกิจการ -- แนวทางรอดตาย

1. เปลี่ยนผู้นำ
ในสถานการณ์ที่ต้องพลิกฟื้นกิจการหรือ Turnaround Situation ส่วนใหญ่ มักต้องมีการเปลี่ยนตัวผู้บริหารระดับสูงเสมอ ทั้งนี้ เพราะผู้บริหารเดิมมักเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้กิจการเกิดปัญหาชะงักงันหรือถดถอย ไม่ว่าจะเกิดจากการโกง ความไร้ประสิทธิภาพในการบริหารงาน หรือการขาดวิสัยทัศน์ก็ตามที แต่บางทีก็มีเหมือนกันที่แม้ความถดถอยขององค์กรนั้นเกิดจากปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ ทว่า ผู้บริหารก็ถูกเปลี่ยนอยู่ดี เพราะสถานการณ์โดยรวมต้องการ “แพะรับบาป” ที่ทุกคนจะชี้นิ้วหาคนรับผิดชอบ

ผู้บริหารใหม่ที่จะเข้ามาเป็น Turnaround Manager นั้น ไม่จำเป็นต้องอยู่ในแวดวงอุตสาหกรรมเดียวกันก็ได้ อย่างกรณีของไอบีเอ็มที่ไม่เคยเอาคนนอกเข้ามาเป็นผู้บริหารระดับสูงมาก่อนนั้น หลังจากที่ประสบปัญหาอย่างหนักจน จอห์น เอเคอร์ ต้องออกแล้ว คณะสรรหาก็ต้องตัดสินใจว่าจ้าง ลู เกิร์ตสเนอร์ จาก RJR NABISCO ซึ่งเป็นกิจการอาหาร เข้ามาเป็นซีอีโอแทน และเมื่อเวลาผ่านไป ก็พิสูจน์แล้วว่า เป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง เพราะเกิร์ตสเนอร์มาพร้อมกับกระบวนทัศน์ในการสร้างความมั่งคั่งให้กับไอบีเอ็มในรูปแบบใหม่ พร้อมกับความคิดแหวกแนวต่างๆ ที่คนในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ด้วยกันยากจะคิดออก

การเปลี่ยนแปลงผู้บริหารนั้น บางทีก็ต้องเปลี่ยนกัน “ทั้งคณะ” หรือทั้งทีม เพื่อแก้ปัญหาอย่างเบ็ดเสร็จ และป้องกันปัญหาหาใหม่ที่อาจเกิดขึ้นจากความขัดแย้งระหว่างผู้บริหารกลุ่มใหม่กับกลุ่มเดิมในทางปฏิบัติ การเปลี่ยนทีมบริหาร ต้องเริ่มจากหา “หัว” หรือ Chief Executive ให้ได้เสียก่อน เพื่อให้หัวนั้นไปหาทีมของเขาเอง

อันที่จริงแนวคิดของ Turnaround Strategy นั้น มิได้จำกัดอยู่เฉพาะเรื่องธุรกิจ แม้การบริหารประเทศหรือบริหารราชการแผ่นดิน ก็ใช้แนวคิดนี้ไปประยุกต์ใช้ได้ด้วย เพราะเมื่อรัฐบาลใดบริหารงานผิดพลาด พาประเทศชาติไปผิดทิศผิดทาง ประชาชนซึ่งอุปมาเหมือนผู้ถือหุ้น ก็ต้องแสวงหาผู้นำคนใหม่ที่มีแนวทางพลิกฟื้นประเทศอย่างชัดเจนมาแทน


2. คุมเข้มเงินทอง
หลังเปลี่ยนผู้บริหารชุดใหม่แล้ว กลยุทธ์แรกที่นิยมนำมาใช้ในการพลิกฟื้นกิจการคือ “การเข้มงวดทางการเงิน” การเข้มงวดเรื่องเงินทอง มิได้หมายความว่า บริษัทจะไม่ใช้จ่ายเงิน แต่หมายถึง ความเข้มงวดในการตรวจสอบและการให้ความสำคัญกับข้อมูลทางการเงิน เพื่อป้องกันการรั่วไหล ทั้งทางด้านรายได้ที่ต้องติดตามเก็บเงินให้ได้ตามเป้าภายในระยะเวลาที่กำหนด และทางด้านรายจ่ายที่ต้องใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ

โดยทั่วไปแล้ว ในระยะแรก ผู้บริหารชุดใหม่จะต้องลงมาเล่นเองในเรื่องเงินทอง โดยการรวมศูนย์นโยบายการเงินเข้ามาไว้ที่ส่วนกลาง เพราะยิ่งเป็นกิจการใหญ่ที่มีบริษัทลูกจำนวนมาก โอกาสที่จะควบคุมไม่ถึงก็มี


3. ปรับโครงสร้าง
การปรับโครงสร้างองค์กรใหม่เพื่อให้รองรับกับแนวคิดหรือกระบวนทัศน์ใหม่เป็นเรื่องที่ต้องทำ และพร้อมกันนี้ ก็อาจมีการประเมินบุคลากรทั้งระบบใหม่ โดยมีจุดหมายที่การเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่งเพื่อบรรจุตามโครงสร้างใหม่ ซึ่งถ้าบุคลากรข้างในคุณสมบัติไม่ตรง ก็ต้องหามาจากข้างนอก

พร้อมกันนี้ ก็อาจทำการกระจายอำนาจไปยังหน่วยบริหารย่อยต่างๆ เพื่อเตรียมบุกอีกรอบ หลังจากที่ปัดกวาดบ้านเสร็จแล้วคำว่ากระจายอำนาจ หมายถึงการกระจายความรับผิดชอบและอำนาจการตัดสินใจ ในเชิงการบริหาร ทว่า นโยบายการเงินนั้น ส่วนใหญ่จะถูกควบคุมไว้ที่ส่วนกลางเหมือนเดิม


4. หาตลาดใหม่
หลังจากปัดกวาดบ้านและปรับองค์กรใหม่ หรือ ตั้งมั่นในลักษณะ “พร้อมรบ” แล้ว ก็ถึงคราวที่จะต้องหันมามองทางด้านการตลาดกันอย่างจริงจัง

ในกระบวนการกำหนดแผนการตลาดเชิงยุทธ์ หรือ Marketing Strategy นั้น จะต้องประเมินตลาด คู่แข่งขัน และ ทรัพยากรของเราไปพร้อมกัน การหาตลาดใหม่ และการคิดค้นผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ เป็นเรื่องจำเป็นสำหรับการฟื้นฟูกิจการ

5. ยกระดับการตลาด
การยกระดับการตลาด นับเป็นมิติหนึ่งของกลยุทธ์การฟื้นฟูกิจการ การยกระดับที่ว่านี้ ต้องยกระดับทั้ง Value Chain ตั้งแต่กระบวนการวางแผน การตั้งเป้าหมาย การกำหนดกลยุทธ์ของแต่ละผลิตภัณฑ์ ยุทธวิธีที่จะใช้ในแต่ละช่วง ไปจนถึงการควบคุมให้ได้ผลในเชิงปฏิบัติ

6. เข้าซื้อกิจการ
บางทีการเข้าซื้อกิจการอื่นอาจเป็นทางเลือกที่ดีในการพลิกฟื้นสถานะขององค์กรที่กำลังถดถอย กลยุทธ์แบบนี้ อุปมาเหมือน “หนามยอกต้องเอาหนามบ่ง” คือ เมื่อกิจการของเรากำลังถดถอยเพราะคู่แข่งขัน เราก็ต้องหาทางเข้า Takeover คู่แข่งขันรายนั้นเสีย หรือ หาทางเอาคู่แข่งขันที่เหลือมาเป็นพวกเพื่อสร้างให้ฐานเราแข็งขึ้น

การซื้อกิจการ อาจเป็นการซื้อข้ามอุตสาหกรรม เช่น กิจการ บุหรี่ในสหรัฐอเมริกา เมื่อเริ่มรู้ตัวว่า ธุรกิจบุหรี่นั้น อิ่มตัวแล้ว เพราะคนรุ่นใหม่สูบบุหรี่น้อยลง อีกทั้งกระแสรักสุขภาพที่กำลังมาแรงมาก หากปล่อยแบบนี้ ในอนาคตเขาจะแย่ จึงหาทางแก้ลำโดยการเข้าซื้อกิจการอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับบุหรี่ (เช่นธุรกิจอาหาร) โดยหวังว่าจะสามารถยึดกิจการนั้นเป็นหลักในอนาคต เมื่อบุหรี่ถดถอยไป

หรือบางที การใช้กลยุทธ์ Takeover เพื่อพลิกฟื้นสถานะของกิจการ อาจต้องทำโดยการเข้าซื้อกิจการต้นน้ำและปลายน้ำให้หมดเพื่อครอบครองตลาดแต่ผู้เดียว ในกรณีที่รู้แน่แล้วว่า โครงสร้างอุตสาหกรรมนั้น กำลังถดถอยทั้งระบบ ดังนั้น การซื้อคู่แข่งออกไปให้หมด พร้อมทั้งเข้าควบคุม Value Chain ตั้งแต่วัตถุดิบจนถึงตลาด ก็จะทำให้เรากำหนดเกมของอุตสาหกรรมได้คนเดียว หลังจากนั้น ถึงจะดำเนินกลยุทธ์ “เก็บเกี่ยว” หรือ Harvest อย่างเต็มที่ โดยเริ่มขายสินทรัพย์ที่ไม่เกี่ยวข้องทิ้ง ลดต้นทุน และหยุดลงทุน เพื่อรีดเงินสดเข้ากระเป๋าให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้

บางทีเราเรียกกลยุทธ์แบบนี้ว่า End-game Strategy หรือ “กลยุทธ์ทิ้งทวนธุรกิจ” ซึ่งอุปมาเหมือนกับพระเจ้าตากสั่งทุบหม้อข้าวหม้อแกงก่อนตีเมืองจันทบุรี

7. ตัดอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต
การตัดสินทรัพย์ขายทอดตลาด หรือ Devestment ก็สามารถนำมาใช้เป็นกลยุทธ์ในการพลิกฟื้นกิจการได้เช่นกัน โดยทั่วไปแล้ว กลยุทธ์นี้ จะใช้ร่วมกับกลยุทธ์แบบอื่น เช่น การลดต้นทุน หรือการลงทุนเพิ่มในกิจการหลัก เพราะสินทรัพย์ที่ถูกตัดขาย จะเป็นสินทรัพย์ที่มิใช่ Core Business หรือ ธุรกิจหลักของกิจการ

ตัวอย่างเครือเจริญโภคภัณฑ์นั้น หลังวิกฤตรอบก่อน ก็ได้ตัดขายกิจการที่ไม่ใช่ Core Business ไปจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นโรงงานผลิตรถจักรยานยนต์ในเมืองจีน โรงงานเบียร์ กิจการน้ำมัน หรือ แม้แต่กิจการค้าปลีกในเมืองไทยบางส่วน ซึ่งทำเงินให้กับเครือฯ อย่างต่อเนื่อง

8. ลงทุนเพิ่ม
การลงทุนเพิ่มในภาวะถดถอย นับเป็นกลยุทธ์ประเภท “หนามยอกต้องเอาหนามบ่ง” เช่นเดียวกัน โดยที่การลงทุนนั้น อาจเป็นไปเพื่อการเข้าสู่อุตสาหกรรมใหม่ หรือ เข้าสู่ตลาดใหม่ หรือ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งหวังให้เป็น “อนาคตใหม่” ของกิจการ

การลงทุนในภาวะถดถอย ต้องอาศัยความหนักแน่นและมั่นใจในหมู่ผู้บริหารและผู้ถือหุ้นมาก ดังนั้น ผู้บริหารต้องมีข้อมูลที่แน่ชัด เพราะในภาวะถดถอยนั้น ทุกคนจะเสียกำลังใจ และมองอะไรในแง่ร้ายไปหมด ผู้บริหารที่เชื่อในแนวทางนี้ ต้องมีความมุ่งมั่นสูงมาก เพราะเป็นการดำเนินกลยุทธ์แบบ “ฝืนจิตวิทยา” ของคนส่วนใหญ่ในองค์กร

แต่ขณะเดียวกัน การลงทุนเพิ่มในภาวะถดถอย ก็เป็นการสร้างความหวัง และแรงบันดาลใจ ให้กับคนในองค์กรได้เช่นกัน

9. ปรับโครงสร้างหนี้
การปรับโครงสร้างหนี้ เหมาะสำหรับกิจการที่ยังมีอนาคตดี แต่ประสบปัญหาเพราะมีหนี้สินเกินพอดี หรือใช้เงินผิด
ประเภท เช่น กู้เงินระยะสั้นมาลงทุนในโครงการที่ต้องอาศัยเวลานานกว่าจะคืนทุน หรือกู้เงินนอกระบบที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงเกินควร เป็นต้น

การปรับโครงสร้างหนี้ หมายถึงการเจรจากับเจ้าหนี้ เพื่อขอผ่อนผันการชำระเงิน การขอลดดอกเบี้ย หรือ ลดเงินต้น หรือขอ แปลงหนี้สินเป็นทุน เป็นต้น

ผู้ที่เคยผ่านวิกฤตรอบก่อนมาย่อมทราบอยู่แก่ใจดีว่า กิจการในเมืองไทยจำนวนมาก ที่ผ่านกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ แล้วกลับมาเติบโตอีกรอบนั้น มีให้เห็นเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะกิจการอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ทั้งหลายกันไว้ดีกว่าแก้ แย่แล้วอาจแก้ไม่ทัน

กลยุทธ์การพลิกฟื้นกิจการ อาจมีได้อีกหลายรูปแบบ นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้ว เปรียบไปเหมือนการรักษาโรค หมอแต่ละคนก็มีวิธีของตัวเอง ยิ่งหมอที่ได้รับการอบรมต่างวัฒนธรรมกัน ก็ยิ่งใช้วิธีรักษาต่างกัน อย่างหมอจีนก็อาจให้ฝังเข็ม หรือ หมอแขกก็ให้กินสมุนไพร เป็นต้น

วัฒนธรรมองค์กร นับเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะช่วยให้การนำกลยุทธ์พลิกฟื้นกิจการมาใช้ให้สำเร็จ เพราะฉะนั้น “นักฟื้นฟูกิจการ” ทั้งหลาย ต้องศึกษาวัฒนธรรมองค์กรที่ต้องเข้าไปฟื้นฟูให้ถ่องแท้เสียก่อนที่จะตัดสินใจนำกลยุทธ์ข้างต้นไปใช้

แม้ “กลยุทธ์พลิกฟื้นกิจการ” หรือ “กลยุทธ์ฝ่าพงหนาม” หรือ Turnaround Strategy ที่ว่ามาแล้ว จะเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ผู้บริหารทุกคนต้องรู้ไว้ แต่ผู้บริหารที่เก่งกาจ ย่อมต้องเล็งเห็นการณ์ไกล และ “ป้องกัน” มิให้กิจการของตัวเองเข้าสู่ภาวะถดถอยได้ก่อนในเบื้องแรก

เพราะแม้ว่า “วิธีฝ่า” พงหนามจะสำคัญ แต่การ “หลีก” พงหนาม หรือ “ถาง” (หรือไม่ก็เผา) พงหนามทิ้งแต่แรก ก่อนที่เราจะผ่านทางนั้น ย่อมสำคัญกว่า

โดย ทักษ์ศิล ฉัตรแก้ว
//www.mba-magazine.blogspot.com


Create Date : 08 มีนาคม 2554
Last Update : 17 กรกฎาคม 2554 16:33:05 น. 0 comments
Counter : 5157 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

patthanid
 
Location :
ราชบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 47 คน [?]




: การท่องเที่ยวไปในที่ต่างๆ
: คืออีกก้าวของประสบการณ์
: ทุกๆ ก้าวที่ก้าวเดิน
: มีจุดหมายที่อยากสัมผัส
: โลกใบกลมๆ ใบนี้

ติดต่อผู้เขียน
Email :: patthanids@hotmail.com
Line :: @atourthai
Facebook :: Patthanid Cheang
Fanpage :: โสดเที่ยวสนุก

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
พ.ศ.2539 ห้ามผู้ใดละเมิดโดยนำภาพถ่าย
รูปภาพ, บทความ งานเขียนต่างๆ รวมถึง
ข้อความต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นส่วนใดส่วนหนึ่ง
หรือทั้งหมดของข้อความใน Blog แห่งนี้
ไปใช้ทั้งโดยเผยแพร่ไม่ว่าเป็นการส่วนตัว
หรือเชิงพาณิชย์โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็น
ลายลักษณ์อักษร มิฉะนั้นจะถูกดำเนินคดี
ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด
New Comments
[Add patthanid's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com