MDM

<<
ธันวาคม 2555
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
2 ธันวาคม 2555
 

อ่าน.... จนตาลาย

อ่าน.... จนตาลาย

วันนี้
ชอบอันนี้


...
.
.

พระพุทธองค์ทรงพบว่า
ดวงจิตของเรามีองค์ประกอบที่เรียกว่า เจตสิก ซึ่งมีทั้งหมด 52 ชนิด โดยองค์ประกอบที่หลากหลายทำให้สามารถเกิดลักษณะของดวงจิตที่แตกต่างกันไปถึง 121 แบบ แต่ละแบบจะมีคุณสมบัติในการรับรู้ที่แตกต่างกันไป เมื่อเกิดรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ใต้จิตสำนึกเป็นตัวเหนี่ยวนำว่าเจตสิกแบบไหนที่จะมารวมตัวกันเป็นดวงจิต ซึ้งการตอบสนองรับรู้จะแตกต่างกันไปในแต่ละคน เพราะองค์ประกอบของเจตสิกที่ไม่เหมือนกัน ทำให้คุณสมบัติของจิตที่เกิดขึ้นรับรู้อารมณ์ได้ต่างกัน ดังนั้น ผัสสะหรือสิ่งเร้าหนึ่ง ๆ จะก่อให้เกิดเวทนา ตัณหา อุปาทาน เกิดภพ เกิดชาติตามหลักปฏิจจสมุปบาทในแต่ละคนได้ไม่เท่ากัน เพราะขั้นของการเกิดเวทนา ตัณหา เป็นการทำงานของเจตสิกและจิตโดยตรง ไม่ใช่สมอง

แม้ในยามฝัน ที่เรารู้สึกมีอารมณ์โดยที่ไม่มีอะไรเกิดขึ้นจริง ๆ นั่นแสดงว่าเกิดจากพลังกรรมอันแรงกล้าที่จะทำให้เจตสิกก่อตัวเป็นจิตเพื่อรับอารมณ์
ถ้าพลังภายในมีมากพอก็จะเกิดกระบวนการย้อนกลับ นั่นก็คือ เกิดอุปทาน ตัณหา เวทนา รูป รส กลิ่น เสียง โดยเริ่มต้นจาก พลังแห่งกรรมในใต้จิตสำนึก ขับดันมาจากภายใน
ไม่ใช่เกิดเวทนามาจากผัสสะ เพราะขณะฝันไม่มีการสัมผัสใด ๆ จากภายนอกเลย
การตายเป็นเพียงการเกิดดับของจิต ซึ่งในช่วงที่เรามีชีวิตอยู่ จิตก็จะเกิดดับ เป็นล้าน ๆ ครั้ง

ผู้ปฏิบัติธรรมจนพบการเกิดดับของจิตจะไม่กลัวตาย ยกเว้นจากผู้ที่หลงใหลยึดติดในระบบประสาทสัมผัสทั้งหกและขันธ์ 5 จะมีชีวิตอยู่ในช่วงสุดท้ายก่อนตายอย่างทรมาน ถ้าเราไม่ยึดติดกับตัวตน จุติจิตดับลงเมื่อไหร่ความเจ็บปวดทั้งหลายจะหายไปทันที

ในทางวิปัสสนากรรมฐานตามหลักสติปัฏฐาน 4
หนึ่งในสี่ อจิตตานุปัสสนา คือ การเฝ้าดูจิต เป็นด่านที่สำคัญที่สุด การกำหนดให้รู้เท่าทันการเกิดดับของจิต ก็สามารถควบคุมทุกสิ่งทุกอย่างได้หมด สำหรับผู้ที่มีวิปัสสนาญาณไม่สูงพอจะไม่สามารถกำหนดดูได้ทัน การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานสำหรับผู้ที่ไม่มีพื้นฐานต้องเริ่มต้นจากกายานุปัสสนาและเวทนานุปัสสนาก่อน



ไตรลักษณ์เป็นความจริงแท้แห่งธรรมชาติ สิ่งทั้งหลายทั้งปวงล้วนแล้วแต่มีความไม่เที่ยง (อนิจจัง) ทนอยู่ไม่ได้ (ทุกขัง) ต้องเสื่อมและดับไป ไม่มีตัวตนเป็นแก่นสาร (อนัตตา) โดยแท้จริงแล้วทั้งสามสิ่งนี้อยู่ในที่เดียวกัน แต่ความสามารถในการเข้าถึงของมนุษย์ที่ต่างกัน ทำให้หยั่งรู้ มองเห็นได้ไม่เท่ากัน การมองเห็น อนิจจัง เป็นการเสื่อมสลายของรูปนาม ความไม่เที่ยง เป็นเรื่องง่ายที่สุด แต่การจะเห็น ทุกขังต้องใช้ปัญญาระดับสูงขึ้นมา เพราะต้องสามารถเห็นลึกลงไปถึงสาเหตุแห่งอนิจจัง คือการทนอยู่ไม่ได้ เห็นความแปรปรวนที่เกิดขึ้นของ รูป นาม ส่วน อนัตตา คือ ความเข้าใจลึกลงไปกว่าทุกขัง เข้าใจถึงความไม่มีอยู่จริงของรูปนาม ซึ่งต้องใช้ปัญญาในระดับสูงมาก แต่ต้องเป็นภวนามยปัญญาเท่านั้น หลักอนิจจัง ทุกขังมีอยู่ในทุกศาสนา แต่อนัตตามีเฉพาะในศาสนาพุทธเท่านั้น และการเข้าถึงอนัตตาได้มีวิธีเดียว คือ วิถีทางแห่งวิปัสสนากรรมฐานตามหลักสติปัฏฐาน 4 ก็คือ เข้าใจการเกิดดับของกาย เวทนา จิต และธรรม



“เหตุผลแต่ประการเดียวสำหรับเวลาก็คือ เพื่อชี้บอกว่าทุกสิ่งทุกอย่างไม่ได้เกิดขึ้นพร้อมกัน”
ในชีวิตประจำวันของคนเราจะเห็นว่า คนที่จิตนิ่งจะมีเวลามากกว่าคนที่จิตร้อนรน การแข่งขันกีฬาก็เช่นกัน คนที่จิตนิ่งกว่าคือผู้ชนะ เพราะเวลาของเขาละเอียดและยาวนานกว่าคู่ต่อสู้ ผู้ปฏิบัติธรรมที่เข้าสู่สมาธิญาณระดับสูงสามารถกำหนดจิตได้นิ่งและไว ขณะนั้นเวลาของจิตแทบจะหยุดนิ่ง แต่เวลาบนนาฬิกาหมุนเร็วกว่าเป็นร้อยเท่าพันเท่า จิตจะเกิดดับอย่างรวดเร็ว ชัดเจน เพราะการเสื่อมของรูปเป็นไปตามเวลาบนนาฬิกา เรื่องของเวลายืนหดได้ พระพุทธองค์ทรงค้นพบมาก่อนไอน์สไตน์ถึงสองพันห้าร้อยปี แม้แต่เรื่องของอภิญญา
จักรวาลที่แท้จริงเป็นสี่มิติ ความจริงสุดยอด คือการเข้าถึงนิพพานจะอยู่ เหนือมิติที่ 4
คือ การยืด หด ของเวลาได้ ก็สามารถสร้างสิ่งมหัสจรรย์ให้กับชีวิตในโลกสามมิติได้เช่นกัน แม้แต่นักฟิสิกส์สามารถหยั่งรู้ในประสบการณ์ถึงโลกแห่งกาล-อวกาศสี่มิติ โดยผ่านสูตรคณิตศาสตร์ในทฤษฏีของเขา




“โลกถูกความอยากผูกมัดไว้ จะหลุดได้ต้องกำจัดความอยาก
เพราะละความอยากได้ จึงชื่อว่าตัดเครื่องผูกทั้งปวง”


นิพพาน คือ ธรรมชาติที่บริสุทธิ์ เยือกเย็น ความทุกข์ร้อนทั้งหลายดับสนิท เป็นความว่างอย่างยิ่ง เรื่องนี้ยากที่ปุถุชนจะเข้าใจได้เพราะเป็นสิ่งลุ่มลึก ยากที่จะเห็น ยากที่จะรู้ ไม่ใช่สิ่งที่หยั่งถึงด้วยความคิด ด้วยการคาดคะเน หรือนึกจินตนาการเอาตามความเข้าใจของตนเองได้ จะต้องลงมือปฏิบัติฝึกวิปัสสนากรรมฐานจนมรรคญาณปรากฏขึ้น จึงจะสามารถเข้าใจได้ว่าธรรมชาติของนิพพานเป็นอย่างไร

ทาน ศีล ภาวนา เป็นหลักใหญ่ของการเจริญกุศลเพื่อขจัดขัดเกลากิเลส แต่กุศลที่เกิดแก่ตัวเรามากที่สุด ขจัดกิเลสได้มากที่สุด และเป็นหนทางแห่งการหลุดพ้นที่แท้จริงมากจาก “ภาวนา” และต้องเป็นบุญกิริยาแบบ “วิปัสสนาภาวนา” เท่านั้น

เรา ท่านทั้งหลาย โชคดีที่ได้เกิดมาพบกับหนทางแห่งมรรคซึ่งเป็นทางปฏิบัติไปสู่ความเข้าใจในความจริงแท้ ซึ่งแม้แต่อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ก็ได้รับโอกาสแบบนี้ ถ้าเราละเลยไป ไม่รู้ต้องเกิดอีกกี่ภพกี่ชาติที่เราจะได้พบกับโอกาสเช่นนี้อีก หรืออาจไม่มีโอกาสเช่นนี้เลยก็ได้ พระพุทธองค์ทรงชี้หนทางแห่งความหลุดพ้นให้เราแล้ว หนทางแห่งความสุขที่เป็นอมตนิรันดร์กาล................

ขอให้ทุกท่านโชคดี




ก๊อปฯมาจากนี่ขะรับ

//203.113.25.46/training002/km%20Ipa/my_ebook21/Book21_opd_files/ไอน์สไตน์.rtf

 

คืนนี้จะไม่ดูรากบุญจนจบแล้ว
มานดึกเกิน

พรุ่งนี้เช้าค่อยตามดูคลิป



ต้องไปละ




Create Date : 02 ธันวาคม 2555
Last Update : 4 ธันวาคม 2555 18:57:01 น. 0 comments
Counter : 544 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

นักเหงา....มืออาชีพ
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




hits
[Add นักเหงา....มืออาชีพ's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com