"ชมรมจริยธรรม โรงพยาบาลพนมสารคาม" ศีล และ ธรรมไม่กลับมา โลกาจะวินาศ
Group Blog
 
<<
เมษายน 2551
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
13 เมษายน 2551
 
All Blogs
 
"กาลเวลากลืนกินชีวิตของสรรพสัตว์"

"กาลเวลากลืนกินชีวิตของสรรพสัตว์"



พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต/ศ.ดร.ประยูร ธมฺมจิตฺโต)
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดประยูรวงศาวาสวรวิหาร
กรุงเทพมหานคร และ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ...

ธรรมะวันอาทิตย์ วันอาทิตย์ที่ 13 เมษายน 2551 นี้
พระธรรมโกศาจารย์ท่านทรงเมตตาเทศนาว่า.....

เทศกาลสงกรานต์ถูกกำหนดตามการคำนวณโดยหลักเกณฑ์ในคัมภีร์สุริยยาตร์ โดยวันแรกของเทศกาลซึ่งเป็นวันที่พระอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีเมษ (ย้ายจากราศีมีนไปราศีเมษ) เรียกว่า "วันมหาสงกรานต์" ตรงกับวันที่ 13 เมษายน วันถัดมาเรียกว่า "วันเนา" และวันสุดท้ายซึ่งเป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชและเริ่มใช้กาลโยคประจำปีใหม่ เรียกว่า "วันเถลิงศก" 15 เมษายน ของทุกปี
"กาลเวลากลืนกินชีวิตของสรรพสัตว์" แล้วในวันสงกรานต์นี้ เราจะดำรงตนอย่างไรเกี่ยวกับการเคลื่อนย้าย ราศรี นี้ คิดเป็นทางธรรม ว่า
กาลเวลา เปรียบเหมือน พญายักษ์
มีหน้า 3 หน้า คือ หน้าร้อน , หน้าหนาว และ หน้าฝน
มีปาก 12 ข้าง หรือ มี 12 เดือนใน 1 ปี
มีฟัน 32 ซี่ เปรียบ กับวันประมาณ 28-31 วัน ต่อ 1 เดือน
กลืนกินชีวิตของสรรพสัตว์ เปรียบเหมือน ทุกขณะของกาลเวลา จะกลืนกินความหนุ่มสาวไปเรื่อย ๆ กลืนกินสุขภาพ ทำให้ป่วยไข้ กลืนกินไปจนเหลือน้อยลง จนถึงเสียชีวิตร่างกายสู่ เชิงตะกอน
สรรพสัตว์ นี้ทางธรรม จัดเป็น การรวมกัน(สังขาร)ของกาย และ ใจ
การรวมกัน(สังขาร)นี้ทางพุทธศาสนา เรียกว่า เป็นสามัญลักษณะ เป็นไตรลักษณ์
สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง (อนิจจัง - อนิจจตา)
สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา สังขารทั้งปวง คงทนอยู่ไม่ได้ (ทุกขัง- ทุกขตา)
สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งปวง ไม่เป็นตัวตน (อนัตตา- อนัตตตา)
ทราบดังนี้แล้ว เราใช้ กาลเวลา ให้คุ้มค่าแล้วหรือยัง ???
ควรใช้กาลเวลาอย่างไร ตามหลักพุทธศาสนา ควรใช้มาเพื่อ ทำตนเองให้พ้นทุกข์ หรือ ทำให้มีความสุขนั่นเอง สุขกับทุกข์ก็เช่นกัน ไม่พ้นสามัญลักษณ์ ที่เป็นไตรลักษณ์ ไม่มีตัวตน เช่นกัน
กาลเวลา จะรู้สึกว่า เร็ว เมื่อมีความสุข จะรู้สึกว่า ช้า เมื่อมีความทุกข์
แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ความสุข ความทุกข์ ก็ถูกกาลเวลากัดกินเช่นกัน
ดังนั้นจงอดทนต่อสู้กับความทุกข์ ด้วยความหวังต่อไปอย่ายอมพ่ายแพ้ เพราะว่า ความทุกข์ก็เป็นไตรลักษณ์ เมื่อเวลาผ่านไปก็จะไม่เที่ยง ตั้งอยู่ไม่ได้ ไม่มีตัวตน สักวันหนึ่ง ก็จะหมดทุกข์ไป ให้เชื่อกฏแห่งกรรม ให้สร้างเหตุแห่งความสุข - ทำดี , ละเว้นเหตุแห่งความทุกข์ - ละเว้นชั่ว , ทำใจให้ผ่องใส ตามโอวาทิปาติโมกข์ก็จะเป็นการใช้กาลเวลาที่กลืนกินสัตว์โลกให้มาเป็นประโยชน์ได้
……………….
ชาวพุทธควรวางตัวอย่างไร เมื่อทราบว่าพระสงฆ์ทำผิดพระวินัย



พระมหาวุฒิชัย วชิระเมธี (ว.วชิระเมธี)
วัดเบญจมบพิตรดุลิตวนาราม มหาวรวิหาร กรุงเทพ
ท่านมีเวบไซด์"ธรรมะติดปีก"ไว้เผยแพร่ธรรมะออนไลน์ที่

//www.dhammatidpeek.com/
ชาวพุทธควรวางตัวอย่างไร เมื่อทราบว่าพระสงฆ์ทำผิดพระวินัย

ท่านเมตตามาตอบคำถามจากทางบ้านว่า
พระสงฆ์ทำผิดพระวินัย(พระอลัชชี)มีน้อยแต่จะเป็นข่าวหน้าหนึ่งเสมอส่วน พระสงฆ์ที่ดีมีมากกว่า จะไม่มีการนำมาเสนอเป็นข่าว ?????
ก่อน ติ หรือ ตำหนิ พระอลัชชี มาทราบความจริงก่อนว่า ทำไมจึงเกิดมีพระอลัชชีขึ้น เป็นเพราะ….
1.ขบวนการคัดเลือกคนเข้ามาบวช เป็น พระสงฆ์ยังไม่รัดกุม ไม่มีการคัดกรอง อย่างละเอียด อาจมีคนติดยา มีคนด้อยการศึกษาเข้ามา บวช ทำให้พระสงฆ์ ด้อยคุณภาพ จึงทำให้เกิดพระอลัชชี ขึ้นได้
2.วัดด้อยคุณภาพ ไม่ให้การศึกษาด้านพระพุทธศาสนาที่เป็นแก่นแท้ของพระศาสนา กับชาวบ้าน จึงทำให้เกิดพระอลัชชี ขึ้นได้
3.ขาดการบริหารจัดการที่ดี ภายในคณะสงฆ์ยังไม่มีหน่วยงานพัฒนาพระ อาจเพราะ ไม่ได้รับการสนับสนุนจัดให้มีและพัฒนาให้เข้มแข็ง มีแต่หน่วยงานคอยจับผิดพระ จึงทำให้เกิดพระอลัชชี ขึ้นได้
4.ชาวบ้านที่ไม่สนใจ ความรู้ทางพระพุทธศาสนา พระที่ควรเคารพกลับไม่มีคนเคารพ กลับกลายเป็นตรงกันข้ามไปเคารพพระที่ไม่ควรเคารพ จึงทำให้เกิดพระอลัชชี ขึ้นได้
5.เมื่อพระทำผิดกระบวนการลงโทษก็ไม่เข้มงวด จึงทำให้เกิดพระอลัชชี ขึ้นได้
ดังนั้น ถ้าเราเห็นพระทำผิดวินัย ก็ให้รู้ว่า ไม่ใช่เฉพาะสถาบันสงฆ์เท่านั้นทีมีส่วนรับผิดชอบแต่เป็นพวกชาวบ้านอย่างพวกญาติโยม จะต้องมีส่วนรับผิดชอบด้วย ด้วยการช่วยกันพัฒนาพระศาสนาด้วย เช่น คอยตรวจสอบพระ ,เคารพพระที่ควรเคารพ
…………………………
เจ้าของบล็อกได้หาความรู้จากกูเกิ้ล พบความรู้เกี่ยวกับ อลัชชี นำมาลงเพิ่มดังนี้
ปัญหาด้วย ภิกษุ - อลัชชี
เกษม ศิริสัมพันธ์ คอลัมภ์แลไปข้างหน้า เนชั่นสุดสัปดาห์ ปีที่ ๑๒ ฉบับที่ ๕๙๗ วันที่ ๗–๑๓ ก.ค.๒๕๔๖
ในพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระคุณเจ้าพระธรรมปิฎก (ประยุทธิ ปฺยุตฺโต) ได้ให้คำอธิบายคำว่า อลัชชี ว่า 'ผู้ไม่มีความละอาย, ผู้หน้าด้าน'
ทุกวันนี้เรามักคิดกันว่า พระศาสนายุคนี้ทำไมจึงตกต่ำเช่นนี้! แต่แท้ที่จริงแล้ว ทุกยุคทุกสมัยที่ผ่านมา ล้วนแต่มีอลัชชี ที่แฝงกายเข้ามาหากินโดยเอาพระศาสนาบังหน้าตลอดมา

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ถึงกับได้ทรงตรากฎหมายที่เรียกว่า 'กฎพระสงฆ์' เพื่อกวาดล้างพวกอลัชชีที่เข้ามาแอบแฝงทำลายพระศาสนา

ปรากฏใน กฎพระสงฆ์ ที่ ๖ ในกฎหมายตราสามดวง มีความตอนหนึ่งว่า

"และภิกษุทุกวันนี้บวชเข้ามิได้กระทำตามพระวินัยปรนนิบัติ เห็นแต่เลี้ยงชีวิตผิดธรรมให้มีแต่เนื้อหนังบริบูรณ์ประดุจโคกระบือ มีแต่จะบริโภคอาหารให้จำเริญเนื้อหนัง จะได้จำเริญสติปัญญานั้นหามิได้ เป็นภิกษุสามเณรลามกในพระศาสนา ฝ่ายฆราวาสก็ปราศจากปัญญา มิได้รู้ว่า ทำทานเช่นนี้จะเกิดผลน้อยมากแก่คนหามิได้ มักพอใจทำทานแก่ภิกษุสามเณรอันประสานทำการของตนจึงทำทาน บางคาบย่อมมักง่ายถวายเงินทองของอันเป็นอกัปปิยะมิควรแก่สมณะ สมณะก็มีใจโลภสะสมทรัพย์เลี้ยงชีวิต ผิดพระพุทธบัญญัติฉะนี้ ได้ชื่อว่าฆราวาสหมู่นั้นให้กำลังแก่ภิกษุโจรอันปล้นพระศาสนา ทานนั้นหาผลมิได้ ชื่อว่าทำลายพระศาสนา"

ขอให้สังเกตว่ารัชกาลที่ ๑ ทรงบริภาษทั้ง 'ภิกษุสามเณร ลามกในพระศาสนา' และทั้งทรงตำหนิบรรดาฆราวาสที่ชอบทำบุญกับภิกษุสามเณรเช่นนั้น เพราะเป็นการ 'ให้กำลังแก่ภิกษุโจรอันปล้นพระศาสนา'

ที่ยกเอา กฎพระสงฆ์ ในกฎหมายตราสามดวง มาอ้างในที่นี้ ก็เพื่อชี้ให้เห็นว่า อลัชชี ซึ่งเป็นโจรปล้นพระศาสนานั้น มิใช่มีแต่สมัยปัจจุบันเท่านั้น แต่มีมาแต่โบราณกาลแล้วจนรัชกาลที่ ๑ ต้องตราเป็นกฎหมาย ดังที่ยกมาให้เห็น

ฉะนั้นอย่าได้ท้อใจว่า พระศาสนายุคปัจจุบันได้เรียวเล็กลง! พวกอลัชชีซึ่งเป็นโจรปล้นพระศาสนานั้นเป็นความชั่วร้ายที่ปรากฏมานานแล้ว และเราจะต้องช่วยกันสอดส่องและปราบปรามอย่างไม่หยุดยั้งต่างหาก

มีข้อสังเกตว่า ถ้าวัดดี พระดี ชุมชนชาวบ้านรอบวัดก็เลื่อมใสศรัทธา ทำบุญทำทานด้วยได้! แต่ถ้าสมภารเป็นอลัชชี ครองวัด ชาวบ้านก็ชุมนุมขับไล่!

ท่าทีของชาวบ้านรอบวัด ย่อมสะท้อนให้เห็นว่าสมภารเจ้าวัดนั้นเป็นภิกษุหรืออลัชชี ! ..




Create Date : 13 เมษายน 2551
Last Update : 13 เมษายน 2551 20:34:29 น. 0 comments
Counter : 850 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

panomsarakham
Location :
ฉะเชิงเทรา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




นายแพทย์สำเริง ไตรติลานันท์
นายแพทย์เชี่ยวชาญ
หัวหน้ากลุ่มงานเวชกรรมชุมชน
แพทย์ครอบครัว ร.พ.พนมสารคาม และ
ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพ ต.เขาหินซ้อน
ประธาน"ชมรมจริยธรรม ร.พ.พนมสารคาม"
..................................................

เธอจงระวังความคิดของเธอเพราะความคิดของเธอจะกลายเป็นความประพฤติของเธอ จงระวังความประพฤติของเธอเพราะความประพฤติของเธอจะกลายเป็นความเคยชินของเธอ จงระวังความเคยชินของเธอเพราะความเคยชินของเธอจะกลายเป็นอุปนิสัยของเธอเธอ จงระวังอุปนิสัยของเธอเพราะอุปนิสัยของเธอจะกำหนดชะตาชีวิตของเธอชั่วชีวิต....หลวงพ่อชา
Friends' blogs
[Add panomsarakham's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.