by Sawittri Kaewkhiaw
Group Blog
 
<<
เมษายน 2554
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
15 เมษายน 2554
 
All Blogs
 

วันออกพรรษา (End of Buddhist Lent Day)



วันออกพรรษา หรือ วันปวารณาออกพรรษา เป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาวันหนึ่งในประเทศไทย เนื่องจากเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลาจำพรรษา 3 เดือนของพระสงฆ์เถรวาท โดยเป็นวันที่พระสงฆ์จะทำสังฆกรรมปวารณาออกพรรษาในวันนี้ วันออกพรรษาตามปกติ (ออกปุริมพรรษา1) จะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 (ประมาณเดือนตุลาคม) หลังวันเข้าพรรษา 3 เดือน ตามปฏิทินจันทรคติไทย

การออกพรรษานั้น ถือเป็นข้อปฏิบัติตามพระวินัยสำหรับพระสงฆ์โดยเฉพาะ เรียกว่า "ปวารณา" จัดเป็นญัตติกรรมวาจาสังฆกรรมประเภทหนึ่ง ที่ถูกกำหนดโดยพระวินัยบัญญัติให้โอกาสแก่พระสงฆ์ที่จำพรรษาอยู่ร่วมกันตลอดไตรมาสสามารถว่ากล่าวตักเตือนและชี้ข้อบกพร่องแก่กันและกันได้โดยเสมอภาค ด้วยจิตที่ปรารถนาดีซึ่งกันและกัน เพื่อสามารถให้พระสงฆ์ที่ถูกตักเตือนมีโอกาสรับรู้ข้อบกพร่องของตนและสามารถนำข้อบกพร่องไปแก้ไขปรับปรุงตัวให้ดียิ่งขึ้น

เมื่อถึงวันออกพรรษา พุทธศาสนิกชนถือเป็นโอกาสอันดีที่จะเข้าวัดเพื่อบำเพ็ญกุศลแก่พระสงฆ์ที่ตั้งใจจำพรรษาและตั้งใจปฏิบัติธรรมมาตลอดจนครบไตรมาสพรรษากาลในวันนี้ และวันถัดจากวันออกพรรษา 1 วัน (แรม 1 ค่ำ เดือน 11) พุทธศาสนิกชนในประเทศไทยยังนิยมไปทำบุญตักบาตรครั้งใหญ่ เรียกว่า ตักบาตรเทโว หรือ ตักบาตรเทโวโรหนะ เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในพุทธประวัติที่กล่าวว่า ในวันถัดวันออกพรรษาหนึ่งวัน พระพุทธเจ้าได้เสด็จลงจากเทวโลกกลับจากการโปรดพระพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ในพรรษาที่ 7 เพื่อลงมายังเมืองสังกัสสนคร พร้อมกับทรงแสดงโลกวิวรณปาฏิหาริย์เปิดโลกทั้งสามด้วย

นอกจากนี้ ช่วงเวลาออกพรรษาตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ถึง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ถือเป็นเวลากฐินกาลตามพระวินัยปิฎกเถรวาท เป็นช่วงเวลาที่พุทธศาสนิกชนชาวไทยจะเข้าร่วมบำเพ็ญกุศลเนื่องในงานกฐินประจำปีในวัดต่าง ๆ ด้วย โดยถือว่าเป็นงานบำเพ็ญกุศลที่ได้บุญกุศลมากงานหนึ่ง

ความสำคัญ
วันออกพรรษา คือ วันที่สิ้นสุดระยะการจำพรรษาเป็นเวลา 3 เดือน (นับแต่วันเข้าพรรษา) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วันมหาปวารณา" คำว่า "ปวารณา" แปลว่า "อนุญาต" หรือ "ยอมให้" ในวันออกพรรษานี้พระสงฆ์จะประกอบพิธีทำสังฆกรรมใหญ่ เรียกว่า มหาปวารณา เป็นการเปิดโอกาสให้ภิกษุว่ากล่าวตักเตือนกันได้ เพราะในระหว่างเข้าพรรษา พระสงฆ์บางรูปอาจมีข้อบกพร่องที่ต้องแก้ไข การให้ผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือนได้ ทำให้ได้รู้ข้อบกพร่องของตน และยังเปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัยซึ่งกันและกันด้วย



END OF BUDDHIST LENT (PHANSA)
The end of Buddhist lent or Rains retreat means the expiry of three months’ retreat through rigorous practice of the rules of the monk’s discipline (Vinaya in Pali) by the monks in a fixed residence during the three months of the rainy season, which begins roughly from the middle of July to middle of October.

Phansa goes back to the time of Lord Buddha. The origin of Phansa tells us that at the start of rainy season in India (which more or less corresponds with that in Thailand), the time of year when farmers have been busy ploughing and planting, some farmer once complained to Lord Buddha that the wandering monks are trampling crops and ruining them.

On hearing this the Buddha made a rule that during the rains the monks must remain within their abode (or Vihara in Pali) and stop travelling far and wide. They have to take a vow to enter the rains retreat on the first day of the new moon of the eight lunar month until the end of the full moon day of the eleventh lunar calendar.

The day immediately after the Buddhist lent is known (in Pali) as Pavarana or Mahapavarana Day. On this day, the monks must perform “Pavarana”. Pavarana is a special ceremony for the monks in which each monk has to allow other monks to criticise him with merciful intention concerning what they have seen, listened to or doubted about his behaviour.

The Pavarana Day is celebrated as a Holy day for the following reasons:
1. The Buddhist monks have received permission from the Buddha to stay overnight in other places.
2. After the retreat monks travel in different directions to preach the newly-found knowledge and experience to the people.
3. Monks perform Pavarana by allowing other monks to criticise them with merciful intention in order to cultivate purity, respect and harmony among the members of the Sangha community.
4. The lay Buddhists can follow and practise the teachings of Pavarana to improve themselves and develop human society.

Looking back
It is said that when Buddha entered the rain retreat at Jetavana in Savatthi (Sracasti) monks separated themselves from one another to enter the rains retreat at the temple in July. They were afraid that they might develop differences and would continue to argue during the three months’ retreat. So they set the regulation that they would not converse with one-another but at the end of retreat they met the Buddha at Jetavana and reported their deeds. The Buddha blamed them for living like a flock of animals and performed the “Pavarana.” While addressing the monks the Buddha said :

“O Monks, I have allowed you, who have entered the rains retreat, to perform Pavarana in three aspects : Seeing, listening and doubting, to perform suitable activity on Pavarana day.”

Accordingly on this day the monks perform Paravana instead of listening to Patimokkha (Discipline for monks), and lay
Buddhists celebrate this day as a holy day. They usually visit the temples to make merit, observe the precepts (five or eight) and listen to discourse on Dharma.

On the occasion another ceremony called “Tak Bat Devo” is held. According to the tradition “Pindapata” (offerings) is given to monk. “Tak Bat Devo” is derived from the word “Tak Bat Devo Rohana.” It is said that Buddha came down from “Tavatimsa” heaven and performed the “Yamaka Patihariya (the Great couple miracle performance) above a mango tree in Sravasti and performed seventh rains retreat at Tavatimsa” to preach Abhidhamma (Metaphysics) to His mother.




 

Create Date : 15 เมษายน 2554
0 comments
Last Update : 15 เมษายน 2554 14:57:39 น.
Counter : 8586 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


แผ่นฟ้า-พระจันทร์
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




E-MAIL to Panfah-Prajan http://panfah-prajan.bloggang.com
Friends' blogs
[Add แผ่นฟ้า-พระจันทร์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.