มีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ
ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ,
มีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ
ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ

ซุ้มเฟื่องฟ้า
Location :
ชลบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




Group Blog
 
 
พฤษภาคม 2554
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
29 พฤษภาคม 2554
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ซุ้มเฟื่องฟ้า's blog to your web]
Links
 

 

แก้กรรมแนวพุทธ แง่มุมของกรรมที่ควรทราบ



ภิกษุทั้งหลาย !

(1) กรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ
(2) นิทานสัมภวะ เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,
(3) เวมัตตตา เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,
(4) วิบาก เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,
(5) กัมมนิโรธ เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,
(6) กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ.

คำที่เรากล่าวแล้วดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวเล่า ?

(1)
ภิกษุทั้งหลาย !
เรากล่าวซึ่งเจตนา ว่าเป็น กรรม
เพราะว่าบุคคลเจตนาแล้ว ย่อมกระทำซึ่งกรรม ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ.

(2)
ภิกษุทั้งหลาย ! นิทานสัมภวะแห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?
( นิทานสัมภวะ = เหตุเป็นแดนเกิดพร้อม )

ภิกษุทั้งหลาย ! นิทานสัมภวะแห่งกรรมทั้งหลาย คือ ผัสสะ.

(3)
ภิกษุทั้งหลาย ! เวมัตตตาแห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?
( เวมัตตตา = ความมีประมาณต่างๆ )

ภิกษุทั้งหลาย !
กรรมที่ทำให้สัตว์เสวยเวทนาในนรก มีอยู่,
กรรมที่ทำให้สัตว์เสวยเวทนาในกำเนิดเดรัจฉาน มีอยู่,
กรรมที่ทำสัตว์ให้เสวยเวทนาในเปรตวิสัย มีอยู่,
กรรมที่ทำสัตว์เสวยเวทนาในมนุษย์โลก มีอยู่,
กรรมที่ทำสัตว์เสวยเวทนาในเทวโลก มีอยู่.

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรากล่าวว่า เวมัตตตาแห่งกรรมทั้งหลาย.

(4)
ภิกษุทั้งหลาย ! วิบากแห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?
( วิบาก = ผล )

ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าว วิบากแห่งกรรมทั้งหลายว่ามีอยู่ 3 อย่าง คือ
วิบากในทิฏฐธรรม (เห็นได้เลยตรงนั้น) หรือว่า
วิบากในอุปะปัชชะ (ในเวลาต่อมา) หรือว่า
วิบากในอปรปริยายะ (ในเวลาต่อมาอีก)

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรากล่าวว่า วิบากแห่งกรรมทั้งหลาย.

(5)
ภิกษุทั้งหลาย ! กัมมนิโรธ เป็นอย่างไรเล่า ?
( กัมมนิโรธ = ความดับไม่เหลือแห่งกรรม )

ภิกษุทั้งหลาย ! กัมมนิโรธ ย่อมมีเพราะ ความดับแห่งผัสสะ.

(6)
ภิกษุทั้งหลาย ! กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นอย่างไรเล่า ?
( กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา = ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งกรรม )

ภิกษุทั้งหลาย ! อริยอัฏฐังคิกมรรค (อริยมรรคมีองค์ 8)นี้นั่นเองคือ กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา

ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ
สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ)
สัมมาวาจา (การพูดจาชอบ) สัมมากัมมันตะ (การทำการงานชอบ)
สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีวิตชอบ) สัมมาวายามะ (ความพากเพียรชอบ)
สัมมาสติ (ความระลึกชอบ) สัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นชอบ).

ภิกษุทั้งหลาย !
เมื่อใดอริยสาวก ย่อมรู้ชัดซึ่ง กรรม อย่างนี้,
รู้ชัดซึ่ง นิทานสัมภวะแห่งกรรม อย่างนี้,
รู้ชัดซึ่ง เวมัตตตาแห่งกรรม อย่างนี้,
รู้ชัดซึ่ง วิบากแห่งกรรม อย่างนี้,
รู้ชัดซึ่ง กัมมนิโรธ อย่างนี้,
รู้ชัดซึ่ง กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา อย่างนี้ ;

อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดซึ่งพรหมจรรย์นี้
ว่าเป็นเครื่องเจาะแทงกิเลส เป็นที่ดับไม่เหลือแห่งกรรม.

ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า

(1) กรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,
(2) นิทานสัมภวะแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,
(3) เวมัตตตาแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,
(4) วิบากแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,
(5) กัมมนิโรธ เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,
(6) กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ.

ดังนี้นั้น เราอาศัยความข้อนี้กล่าวแล้ว.

- ฉกฺก. อํ. 22/458,463-464/334




 

Create Date : 29 พฤษภาคม 2554
1 comments
Last Update : 29 พฤษภาคม 2554 8:14:07 น.
Counter : 841 Pageviews.

 

อนุโมทนาสาธุครับ

 

โดย: shadee829 29 พฤษภาคม 2554 12:00:52 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.