ความสุขที่คุณอ่านได้
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2552
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
26 สิงหาคม 2552
 
All Blogs
 
เปลี่ยนเข่า : Knee prosthesis in Total Knee Arthroplasty

รวบรวมความรู้โดยผักบุ้งเอง
หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่กำลังจะผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าหรือคนที่สนใจนะคะ


ก่อนอื่นเรามารู้จักส่วนประกอบของเข่ากัน

ภาพนี้อ้างอิงมาจาก drmukhi.com นะคะ เป็นเข่าขวา เหมือนเราหันหน้าเข้าหาเข่าขวาของคนที่ยืนตรงข้ามเราค่ะ



1. กระดูกต้นขา = Femur
2. กระดูกหน้าแข้ง มี 2 อัน
2.1 อันใหญ่ = Tibia
2.2 อันเล็ก อยู่ด้านนอกของหน้าแข้งเรา = Fibula
3. กระดูกสะบ้า = Patella

ข้อเข่า = Femur + Tibia + Patella
ส่วน Fibular นั้นไม่รวมเป็นข้อเข่านะคะ

ระหว่างกระดูก Femur กับ Tibia ก็จะมีกระดูกอ่อนคั่นกลางค่ะ เรียกว่า Meniscus
โดยไอ้เจ้ากระดูกอ่อนนี่ก็อยู่หลังต่อกระดูกสะบ้า (Patella) นั่นเอง นอกนั้นก็เป็นเอ็นข้อต่อเสริมความมั่นคงยั้วเยี้ย ขอไม่กล่าวถึง ณ ตอนนี้นะคะ

คำศัพท์
TKP : Total knee prosthesis คือ สิ่งที่จะนำเข้าไปในเข่าเพื่อแทนเป็นผิวข้อเข่าเทียม ซึ่งใช้ในการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียม
PCL : Posterior Cruciate Ligament คือ เอ็นไขว้หลัง โดนจะเป็นเอ็นเล็ก ๆ หนาประมาณดินสอ ยาวประมาณ 1-2 cm. อยู่ข้างในเข่า มีความสำคัญคือเพิ่มความมั่นคงของเข่าและป้องกันการเกิดการงอเข่าที่มากเกินไป



การแบ่งกายอุปกรณ์ที่จะมาใช้เป็นข้อเข่าเทียม (Total Knee Prostheses : TKP)

1. แบ่งตามจำนวน joint surface เทียม (ระหว่าง 3 กระดูกนี้ จะเปลี่ยนผิวกระดูกอันไหนบ้าง)

1.1 Unicompartmental TKP เปลี่ยนอันใดอันหนึ่ง
1.2 Tricompartmental TKP เปลี่ยนหมดทั้ง 3 ผิวกระดูก
2. แบ่งตามการคงอยู่ของ Posterior cruciate ligament (PCL)
2.1 PCL retained TKP (ไม่ตัด PCL ทิ้ง)
2.2 PCL removed TKP (ตัด PCL ทิ้ง)
3. แบ่งตาม mobility ของ Polyethylene joint bearing
3.1 Fixed Polyethylene bearing TKP (Polyethylene ไม่เคลื่อน)
3.2 Mobile Polyethylene bearing TKP (Polyethylene เคลื่อนไปมาได้)


แบ่งตามจำนวน joint surface เทียม

1. Unicompartmental TKP
เป็นการเปลี่ยน joint surface เพียง joint เดียว หรืออาจนับว่าเป็น partial knee joint replacement โดยประกอบไปด้วย 2 components คือ
1. Femoral component คือ ส่วนที่ติดอยู่กับ Femoral condyle (ส่วนปลายของกระดูกต้นขา) โดยลักษณะของ prosthesis จะเป็นแผ่นเหล็กโค้งนูนเล็กน้อย เพื่อให้เข้ากันได้พอดีกับ Femoral condyle
2. Tibial component คือบริเวณ proximal end of Tibial surface (ส่วนต้นของกระดูกหน้าแข้ง) ลักษณะเป็นแผ่นค่อนข้างแบนรูปครึ่งวงกลม ทำจาก Polyethylene และจะมีแผ่นเหล็กดามอยู่ด้านใต้ซึ่งทำจาก Titanium โดยทั้งสองชิ้นนี้อาจจะติดอยู่ด้วยกัน หรือสามารถเคลื่อนแยกจากกันก็ได้แล้วแต่รุ่นที่ผลิต เช่น menisceal bearing unicondylar prosthesis ซึ่ง Polyethylene จะเลียนแบบการทำหน้าที่ของ meniscus ที่สามารถเคลื่อนไหวไปมาบนแผ่นเหล็กได้ใกล้เคียงกับ meniscus จริง ๆ (ว้าว!! )

2. Tricompartmental TKP
เป็นการเปลี่ยนข้อเทียมทั้งหมด 3 surfaces โดยรวมทั้ง Patellar โดยศัลยแพทย์บางท่านอาจจะพิจารณาไม่เปลี่ยน Patellar ก็ได้
1. Femoral component จะมีลักษณะนูนเข้ากับ Femoral condyle โดยจะมีขอบปีกยื่นออกมาด้าน anterosuperior เพื่อต่อกับการ gliding ของ Patellar
2. Tibial component เป็นแผ่นเว้าเล็กน้อย ผลิตจาก Ultra High Molecular Weight Polyethylene โดยจะแนบติดอยู่กับแผ่นเหล็กข้างใต้ โดยแผ่นเหล็กนี้จะช่วยลดการกร่อนของ Polyethylene
3. Patellar component (ส่วนที่มาแทนกระดูกสะบ้า) ทำมาจาก Polyethylene โดยอาจจะมีแผ่นเหล็กรองอยู่ด้วยหรือไม่ก็ได้


แบ่งตามการคงอยู่ของ Posterior cruciate ligament (PCL)

Posterior cruciate ligament (PCL) เป็น structure ที่สำคัญที่จะช่วยเสริมความมั่นคงของข้อเข่า ในผู้ป่วย severe osteoarthritis knee นั้น PCL มักจะเสื่อมหรือขาด
1. PCL retained TKPศัลยแพทย์หลายท่านมีความเชื่อว่า ถ้าหากผู้ป่วยยังคงมี PCL ที่ทำงานได้ดีเป็นปกติอยู่ ก็ควรจะเก็บ PCL นั้นไว้ ไม่ตัดทิ้งไปในขณะทำการผ่าตัด TKA ดังนั้นจึงมีการพัฒนา PCL retained TKP ขึ้นด้วยเหตุผลดังกล่าว
2. PCL removed TKPในขณะที่ศัลยแพทย์บางกลุ่มเชื่อว่า PCL จะไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ถ้าใส่ TKP จึงควรตัดออกไปขณะทำ TKA โดยควรหา prosthesis ที่สามารถชดเชยการทำงานของ PCL ได้ด้วย ด้วยเหตุนี้จึงมีพัฒนาและผลิต PCL removed TKP ขึ้น เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Posterior Stabilized TKP โดยมี “cam and post” mechanism เสริมเข้ามาใน prosthesis เพื่อทดแทนการทำงานของ PCL

ข้อดี
• ผ่าตัดใส่ได้ง่าย
• ลดการเกิด contracture
• ลดแรงกดที่ Polyethylene plate
• Range of Motion ของข้อเข่าเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนผ่าตัด

ข้อด้อย
• มีความเสี่ยงในการเกิด Subluxation
• ตัว post สามารถกร่อนได้ โดยพบการกร่อนถึง 30%
(Archibeck MJ , White RE Bone Joint Surgery 2002; 84-A: 1719-26 , Laskin RS Clin Orthop 2001; 388: 95-102)


แบ่งตาม mobility ของ Polyethylene joint bearing

1. Fixed Polyethylene bearing TKP
ลักษณะ TKP ชนิดนี้คือ ชิ้นส่วนของ Polyethylene นั้นติดอยู่กับแผ่นเหล็กด้านใต้ ซึ่งติดอยู่กับ Tibial surface
2. Mobile Polyethylene bearing TKP
เป็นลักษณะของ TKP ที่เลียนแบบเข่าโดยธรรมชาติ กล่าวคือในเข่าปกตินั้นจะมี meniscus ซึ่งเป็น cartilage รูปสามเหลี่ยม เชื่อมอยู่ระหว่างกระดูก Femur และ Tibia คอยรับและกระจายน้ำหนักในข้อเข่า ซึ่ง meniscus นี้จะสามารถเคลื่อนไหวไปมาแนว anteroposterior ได้อย่างอิสระ จึงได้มีการคิดค้น TKP ชนิดนี้ขึ้น เพื่อเลียนแบบการเคลื่อนไหวของ meniscus นั่นเอง

ข้อดี
• ลดแรงกดบนแผ่น Polyethylene เพราะหน้าตัดของแผ่น Polyethylene ใน TKP ชนิดนี้จะมีหน้าตัดที่กว้างถึง 1,000 – 1,500 ตร.มม. ในขณะที่แบบ Fixed จะมีหน้าตัดแค่ 300 – 200 ตร.มม. (Orthopaedics Today, July/August 1998)
• แผ่น Polyethylene ที่เคลื่อนไหวได้นั้นไม่จำกัด movement ของ Femoral component ตามธรรมชาติ และแรงกดที่ผ่านมายัง Polyethylene นั้นก็ไม่ตกที่จุดใดเพียงจุดเดียว ทำให้ความเสี่ยงของข้อเทียมลดลง

ข้อด้อย
แผ่น Polyethylene สามารถกร่อนได้ถึง 2 ด้าน คือด้านที่ติดกับ Femoral condyle และด้านที่ติดกับแผ่นเหล็ก Titanium


การเชื่อมกันของ Prosthesis กับ Skeleton (ข้อเทียมกับกระดูก)

1. Cementless TKP
เป็นการเชื่อม prosthesis เข้ากับ bone โดยตรง โดยพื้นผิวของ prosthesis นั้นจะมีรูเล็ก ๆ อยู่มากมาย ซึ่งมีประโยชน์คือ เพิ่มแรงเสียดทานระหว่าง prosthesis กับ bone อีกทั้งยังเป็นรูที่ให้ bone สามารถเจริญเติบโตงอกเข้าไปในรูนี้ได้ ทำให้เกิดการยึดเกาะแบบ biologic ที่แข็งแรงระหว่าง prosthesis และ bone นอกจากนี้ยังมี stem ซึ่งใช้แทงเข้าไปในเนื้อ bone เพื่อเสริมแรงยึดเกาะอีกด้วย

ข้อดี
• ไม่เกิดการขัดสีกันระหว่าง cement กับ Polyethylene

ข้อด้อย
• อาจจะไม่เกิดการอุดปิดช่องว่างระหว่าง prosthesis กับ bone ทำให้ joint fluid หรือชิ้นส่วนของ Polyethylene ที่กร่อนสามารถเข้าไปได้ และเกิดการกระตุ้น Osteolysis (การสลายของกระดูก)

2. Cemented TKP
เป็นการใส่ bone cement เสริมการยึดเกาะระหว่าง prosthesis กับ bone อาจจะใช้กับ component เดียว หรือทั้งสาม component ก็ได้

ข้อดี
• Cement จะปรับระดับ bone ที่ถูกตัดออกให้เรียบเสมอกัน
• ชั้นของ cement จะปรับแรงกดที่ไม่เท่ากันของชั้น metal prosthesis และ soft bone
• Cement จะอุดปิดช่องว่างระหว่าง prosthesis และ bone ทำให้ joint fluid และชิ้นส่วนของ Polyethylene ที่สึกกร่อนไม่สามารถเข้าไปได้ จึงไม่เกิดการกระตุ้น Osteolysis
ข้อด้อย
• การอัดของ cement เข้าไปใน marrow cavity of bone อาจรบกวน circulation ใน bone ได้
• การเสื่อมของ Cement


ปัญหาที่อาจพบหลังการผ่าตัด TKA

1. บวม โดยเฉพาะที่น่องและเท้า โดยถ้ามีการปวดน่องร่วมด้วย ควรคำนึงถึง Deep Vein Thrombosis (ลิ่มเลือดที่อาจจะไปอุดตันที่ปอด หัวใจ สมอง)
2. การบวม แดง ที่แผล ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
3. การสะสมของเลือดใน soft tissues รอบ ๆ ข้อเข่า ซึ่งถ้ามีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ อาจจะไปกดเส้นประสาทหรือกล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าว (Compartment syndrome) ทำให้เกิดความเจ็บปวดเป็นอย่างมาก
4. การมีไข้สูงเกิน 38 องศาเซลเซียส ให้คำนึงถึงการติดเชื้อ ควรหมั่นตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายอยู่เสมอ
5. การบวมกะทันหัน อาจจะเกิดจากการดึงรั้งแผลจากการทำ exercise มากเกินไป
6. มีอาการเจ็บหน้าอก ไอ หายใจสั้นตื้น ควรคำนึงถึง embolism (ลิ่มเลือดที่อาจไปอุดตัน ปอด หัวใจ สมอง)


ข้อควรระวัง

• การล้มซ้ำ แนะนำไม่ให้เดินในสถานที่หรือสิ่งแวดล้อมที่เสี่ยงต่อการล้ม หรือระมัดระวังตัวมากขึ้นเมื่อต้องเดินในสถานที่ดังกล่าว อาทิ ห้องน้ำ ควรมีการป้องกัน เช่น วางแผ่นกันลื่น
• ห้ามนั่งยอง ๆ หรือพับเพียบ
• ไม่นั่งเก้าอี้เตี้ย
• ไม่ใส่รองเท้าผูกเชือก ป้องกันการหกล้ม
• ไม่แกะ เกาแผล เพราะอาจเกิดการติดเชื้อ
• ไม่ exercise ท่างอเข่ามากเกินไป เพราะอาจจะไปยืดแผลให้เกิดการฉีกขาดได้
• ถ้าเกิดการติดเชื้อที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เช่น infected cuts , dental abcess pneumonia ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพราะเชื้อสามารถผ่านกระแสเลือดเข้าสู่แผลผ่าตัดเข่าได้
• การทำฟัน อาจทำให้เชื้อแบคทีเรียในปากผ่านเข้าสู่กระแสเลือดไปยังแผลผ่าตัดเข่าได้ จึงควรแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบก่อนทุกครั้ง
• เมื่อแผลหายดีแล้ว ควรหลีกเลี่ยงกีฬาที่มีแรงกระแทกต่อเข่า เช่น แบดมินตัน การวิ่ง การกระโดดเชือก
• การขับรถไม่เป็นอันตรายต่อข้อเข่าเทียม แต่อย่างไรก็ตามไม่ควรขับรถเอง ทั้งนี้เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุที่คาดไม่ถึง


ข้อควรทำ

• หมั่นตรวจดูแลแผลให้สะอาดอยู่เสมอ
• เมื่อมีอาการปวดหรือบวมให้ใช้การประคบเย็น แต่ไม่ควรใช้น้ำแข็งประคบลงบนผิวโดยตรง
• ในขณะพักรักษาให้แผลหาย ให้ขยับข้อเข่าในท่างอเหยียด กางและยกขาขึ้นอยู่เสมอเพื่อป้องกันเข่าติดแข็งและเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา
• รักษาน้ำหนักตัวไม่ให้หนักเกินไป
• การติดเชื้อไวรัส เช่น หวัด หรือมีอาการเจ็บคอ ไม่เป็นอันตรายต่อแผลผ่าตัดเข่า และไม่จำเป็นต้องรับประทานยา antibiotic ต่าง ๆ
• หมั่นพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คข้อเข่าเสมอ อย่างน้อยปีละครั้ง
• จัดเตรียมสิ่งแวดล้อมภายในที่อยู่อาศัยให้พร้อม เช่น มีราวจับที่บันไดหรือในห้องน้ำ มีแสงสว่างเพียงพอในบ้านทั้งตอนกลางวันและกลางคืน ไม่ใช้พรมเช็ดเท้าที่อาจเกิดการลื่นได้ เป็นต้น



Create Date : 26 สิงหาคม 2552
Last Update : 26 สิงหาคม 2552 17:40:19 น. 2 comments
Counter : 3736 Pageviews.

 
God is the life
the truth and the ways
Once you accept him in your
life u will find the miracal
as it dose happen to me


โดย: da IP: 124.120.5.164 วันที่: 27 สิงหาคม 2552 เวลา:0:11:28 น.  

 
ขอบคุณค่ะ กำลังหาข้อมูลไป conference กับอาจารย์อยู่พอดี


โดย: pl2@ng นศพย. IP: 119.46.60.246, 119.46.60.226 วันที่: 6 มกราคม 2553 เวลา:22:58:19 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

คุณย่าเซ็กซี่
Location :
สาว George Town , DC United States

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




If the opportunity shows up ,
we enjoy the maximum we can

I'm spoiled, mysterious, got my secret world and a little insecure. I make bunch of mistakes. I am out of control and at times hard to handle. But if you can't handle me at my worst, then you sure as hell don't deserve me at my best



Smiley  หน้าบล๊อกที่เขียนล่าสุด Smiley

Last Christmas // Wham

Positive Vibration is on the Earth !!

Friends' blogs
[Add คุณย่าเซ็กซี่'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.