Group Blog
 
<<
มกราคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
24 มกราคม 2554
 
All Blogs
 
บางส่วน ในกระทู้ ที่น่าบันทึกเก็บไว้

สันติอโศกแตกต่างจากนิกายที่คนส่วนใหญ่ในบ้านเรานับถืออย่างไร

ต่างกันดังนี้ครับ

1.สันติอโศก..ไม่ทานเนื้อสัตว์...นิกายที่คนส่วนใหญ่ในบ้านเรา..ทานเนื้อสัตว์

2.สันติอโศก..ไม่เชื่อเรื่องที่คนสามารถมองเห็นวิญญาณ(ผีที่คนทั่วไปเรียก)ด้วยตาเนื้อ...นิกายที่คนส่วนใหญ่ในบ้านเรา..เชื่อเรื่องนี้

3.สันติอโศก..เชื่อในเรื่องการที่จะปฎิบัติไปถึงนิพพานต้องลดละกิเลสและต้องไม่สะสมทรัพย์สิน(จึงทำอาชีพเกษตรส่วนใหญ่)...นิกายที่คนส่วนใหญ่ในบ้านเรา..เชื่อในเรื่องการที่จะปฎิบัติไปถึงนิพพานต้องลดละกิเลสแต่สะสมทรัพย์สินเงินทองได้

4.สันติอโศก..ไม่เชื่อเรื่องการแก้กรรมที่กระทำต่างๆแต่เชื่อการปฎิบัติมรรคจะเป็นการทำให้พ้นกรรมและกรรมใครทำกรรมอันใดจะได้รับวิบากตามกรรม(จึงไม่มีการอุทิศผลบุญให้ผู้ที่ตายหรือเป็นแล้ว)...นิกายที่คนส่วนใหญ่ในบ้านเรา...เชื่อเรื่องการแก้กรรม..อุทิศผลบุญให้คนที่ตายหรือที่เป็นได้

5.สันติอโศกไม่เชื่อ..เรื่องเครื่องรางของขลัง..นิกายที่คนส่วนใหญ่ในบ้านเราเชื่อเรื่องนี้

6.สันติอโศก...เชื่อเรื่องการกระทำกรรมต่างๆเพื่อคนหมู่มากเป็นการทำกุศลบาง..เช่นการชุมนุมทางการเมือง(ซึ่งผมไม่สามารถรู้จิตคนในสันติอโศกได้ว่าการชุมนุมทำเพื่อคนหมู่มากจริงหรือเปล่า)..รักษาคนป่วยฟรี(หมอเขียว)...สอนเรื่องการทำเกษตรฟรี(อาชีพที่พวกเขาถนัด)...นิกายที่คนส่วนใหญ่ในบ้านเรา...พระไม่ควรนำคนมาชุมนุมทางการเมือง

7.สันติอโศก..เชื่อเรื่องผู้ที่เป็นอรหันตร์เมื่อตายแล้วหากยังไม่ปรินิพานเกิดได้อีก...นิกายที่คนส่วนใหญ่ในบ้านเรา..ผู้ที่เป็นอรหันตร์เมื่อตายแล้วไม่เกิดอีก

8.สันติอโศกเชื่อเรื่อการปฎิบัติสัมมาสมาธิต้องไม่นั่งหลับตาต้องลืมตาให้มีผัสสะครบหมด...นิกายที่คนส่วนใหญ่ในบ้านเรา...เชื่อเรื่องการปฎิบัติสัมมาสมาธิต้องนั่งหลับตา

9.สันติอโศก..เชื่อเรื่องสิ่งที่เรียกว่านิมิตต่างๆ..การเห็นผี..เห็นเทวดา..เป็นมโนมยอัตตา(เป็นอุปปาทาน..จนเกิดรูปที่จิตสร้างขึ้นมาเอง)....นิกายที่คนส่วนใหญ่ในบ้านเรา...เชื่อว่านั้นคือของจริง

10.สันติอโศก..เชื่อเรื่องสัตตาโอปปาติกะคือการเกิดขึ้นของจิตวิญญาณที่เกิดอยู่ในทุกขณะจิตในแต่ละบุคคล(การปลี่ยนคุณลักษณะของจิตวิญญาณตามลักษณะของ..ผี..เทวดา..พรมหม..ต่างๆ..เช่นหากมีความอยากกินโน้นกินนี้โดยไม่หิวจิตวิญญาณนะขณะนั้นคือเปรต(สัตตาโอปปาติกะ..เปรตเกิด).....นิกายที่คนส่วนใหญ่ในบ้านเรา...เชื่อว่าสัตตาโอปปาติกะเป็นสัตว์ประเภทหนึ่ง..มีดินแดนที่อาศัยอยู่

11.ผลจากข้อ 10 ทำให้..สันติอโศกเชื่อว่า..นรกสวรรค์..จึงเกิดขึ้นในจิต...ไม่มีสถานที่แบบโลก..ดวงดาว...เช่นกันผลจากข้อ 10 ทำให้นิกายที่คนส่วนใหญ่ในบ้านเรา..เชื่อว่านรก..สวรรค์เป็นสถานที่

12.ผลจากข้อ 10 ทำให้..สันติอโศก..เชื่อว่าวิญญาณเมื่อตายไป..ไปคนเดียว..เจอใครไม่ได้หากยังไม่เกิดในร่างกาย..จะมีแต่สัญญา..สังขาร..ปรุงแต่งตามเหตุปัจจัยที่เคยกระทำมา(รับวิบากกรรม)..หากยังไม่มีการเกิดที่มีร่างกายครบถ้วน...นิกายที่คนส่วนใหญ่ในบ้านเรา..เชื่อว่าเจอกันได้เป็นชุมชนได้..

13.สันติอโศก..เชื่อว่าวิภวตัญหาคือตัญหาที่ไม่สร้างภพที่เกิดจากอุปปาทาน(จึงทำให้เชื่อว่าพระอรหันต์เกิดได้อีกหากไม่ปรินิพพาน)..นิกายที่คนส่วนใหญ่ในบ้านเรา..เชื่อว่าวิภวตัญหาคือความไม่อยากมี.ไม่อยากเป็นฉนั้นนิกายที่คนส่วนใหญ่ในบ้านเรา..จึงเชื่อว่าตัญหาแบบนี้จึงสร้างภพ(ที่เกิดจากอุปปาทาน)

14.สันติอโสก....เชื่อว่าพระโพธิสัตว์...พระพุทธเจ้า..เป็นผู้ที่เป็นพระอรหันตร์มาแล้วแต่มาเกิดเพื่อที่จะบรรลุเป็นพระโพธิสัตว์ขั้นสูงกว่าหรือมาเกิดเพื่อที่จะบรรลุเป็นพระพุทธเจ้า....นิกายที่คนส่วนใหญ่ในบ้านเรา..เชื่อว่าพระโพธิสัตว์...พระพุทธเจ้า..เป็นผู้ที่เป็นไม่ได้เป็นพระอรหันตร์มาแล้ว

15.พระในสันติอโศกห้ามสูบบุหรี่..ห้ามเขี้ยวหมาก......พระในนิกายที่คนส่วนใหญ่ในบ้านเรา...ไม่ได้ห้าม..มั๊ง

จากคุณ : โกวิทย์ (โกวิทย์)
เขียนเมื่อ : 15 ม.ค. 54 11:44:15

ผมขอเพิ่มอีกข้อ สมณะชาวอโศก ถือวินัย 227ข้อ กับจุลศีล มัชฌิมศีล และมหาศีลด้วย ซึ่งพระส่วนใหญ่ถือวินัยอย่างเดียว

-------------------------------------------------------------------------
จากกระทู้ //www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y10224638/Y10224638.html

ความคิดเห็นที่ 3

เนื่องจาก พระพุทธองค์
ทรงอึดอัด(อัฏฏิยามิ) ระอา(หรายามิ) เกลียดชัง(ชิคุจฉามิ) ในอิทธิปาฏิหาริย์ และอาเทสนาปาฏิหาริย์
แต่ทรงยกย่องอนุสาสนีปาฏิหาริย์

แต่วิชชา ๘ ที่พระอรหันต์ทุกองค์ต้องมีไม่ว่าจะบรรลุแบบใหน
จะไม่เป็นที่อึดอัด ระอา เกลียดชัง หรือว่าเราเข้าใจผิด เข้าใจไม่ได้ เข้าใจไม่ถึงในวิชชาทั้ง ๘ นี้
หรือจะมีใครบ้างไหม ในห้องนี้ ที่สามารถให้ความหมาย วิชชา ๘ เป็น อนุสาสนีปาฏิหาริย์ได้

วิปัสสนาญาณ มโนมยิทธิญาณ อิทธิวิธญาณ ทิพโสตญาณ
เจโตปริยญาณ บุพเพนิวาสานุสสติญาณ จุตูปปาตญาณ อาสวักขยญาณ

จะได้ไม่ต้องไปจำกัดความสามารถของพระอรหันต์อย่างที่เข้าใจกันทั่งไปอีก
จากคุณ : P2wichai
เขียนเมื่อ : 10 ก.พ. 54 12:11:37

ความคิดเห็นที่ 4

" จิตหลุดพ้นไปสู่นิพพานแล้วไม่ต้องมาเกิดอีก "

จิตหลุดพ้นไปสู่นิพพานแล้ว = หลุดพ้นจากกิเลสหมดสิ้นแล้ว

ไม่ต้องมาเกิดอีก = กิเลสไม่เกิดอีกต่อไปไม่ว่าจะเกิดอีกกี่ครั้ง

[๑๙๘] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตร อยู่ที่พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี.
ก็โดยสมัยนั้นแล ยมกภิกษุเกิดทิฏฐิอันชั่วช้าเห็นปานนี้ว่า
เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรม ตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วว่า พระขีณาสพ
เมื่อตายไปแล้วย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก.
ภิกษุหลายรูป ได้ฟังแล้วว่า ได้ยินว่า ยมกภิกษุเกิดทิฏฐิอันชั่วช้าเป็นปานนี้ว่า
เรารู้ทั่วถึงธรรม ตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วว่า พระขีณาสพ
เมื่อตายไปแล้ว ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก.

จากคุณ : P2wichai
เขียนเมื่อ : 10 ก.พ. 54 12:56:06
----------------------------------------------------------------------------------------
จากกระทู้ สติเป็นมรรค สมาธิเป็นผล รบกวนอธิบายหน่อยได้ไหมคะ
//www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y10223503/Y10223503.html

ความคิดเห็นที่ 1

"หมายถึงว่า การเคลื่อนไหว อิริยาบถใดก็ตามก็เจริญสติ รู้ตัวเสมอ
รู้ว่ากายกำลังทำอะไร ใจจดจ่ออยู่กับกายเราเองใช่ไหม
เพียรเจริญสติตัวนี้ไปเรื่อยๆ ผลจากการเพียรอย่างนี้ก็จะเกิดเป็นสมาธิใช่ไหมคะ"

ตามความเข้าใจผม ขอตอบว่า ใช่ แต่ไม่ใช่กายอย่างเดียว รู้วาจา รู้ใจ ด้วย
เมื่อมีสติรู้กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมในขณะนั้นๆแล้ว น่าจะต่อด้วยธัมมวิจยะ
คือให้รู้ว่ากรรมนั้นๆควรหรือไม่ ถ้ารู้ว่าไม่ควรก็พยายาม(วิริยะ)ลด ละ เลิกกรรมนั้นๆ
ถ้ารู้ว่ากรรมนั้นดี ก็เพียร(วิริยะ)ทำให้มากๆ

นั้นเป็นการเ้ดิน โพชฌงค์ 7 ในสามข้อแรก เมื่อทำได้ระดับหนึ่งแล้วจะเกิด
ปิติ ความอิ่มใจ ปัสสัทธิ ความสงบจากกิเลส และ สมาธิ ความมีใจตั้งมั่น
ตามลำดับ ส่วน อุเบกขา ความมีใจเป็นกลางเพราะเห็นตามความเป็นจริง เป็นตัวจบ

อาจไม่เหมือนใครๆในนี้ แต่อยากให้ลองปฏิบัติดูแล้วจะพบความจริง



จากคุณ : P2wichai
เขียนเมื่อ : 9 ก.พ. 54 20:28:59
ถูกใจ : โกวิทย์, ปริญญาบ้าเกมส์, mr.benz


ความคิดเห็นที่ 4
ต่อ ตห.1
ไม่ต้องเคร่งเครียด ค่อยๆทำ เหมือนแม่วัวเล็มกินหญ้าไป พร้อมคอยระวังภัยให้ลูกน้อย
ถ้า ธัมมวิจยะ ไม่ถูกหรือไม่แน่ใจ ก็ยึดเอามรรคองค์ที่ ๒, ๓, ๔, ๕ เป็นแนวทาง ดังนี้

สัมมาสังกัปปะ ๓ (ที่ยังเป็นสาสวะ อันเป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ )
๑. ความดำริออกจากกาม (เนกขัมมสังกัปโป)
๒. ดำริในความไม่พยาบาท (อพยาปาทสังกัปโป)
๓. ดำริในความไม่เบียดเบียน (อวิหิงสาสังกัปโป)

สัมมากัมมันตะ ๓ (ที่ยังเป็นสาสวะ อันเป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ )
๑. งดเว้นจากปาณาติบาต (ปาณาติปาตา เวรมณี)
๒. งดเว้นจากอทินนาทาน (อทินนาทานา เวรมณี)
๓. งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร (กาเมสุมิจฉาจาราเวรมณี)

สัมมาวาจา๔ (ที่ยังเป็นสาสวะ อันเป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ )
๑. งดเว้นจากการ พูดเท็จ (มุสาวาทา เวรมณี)
๒. งดเว้นจากการ พูดส่อเสียด (ปิสุณาย วาจาย เวรมณี)
๓. งดเว้นจากการ พูดคำหยาบ (ผรุสาย วาจาย เวรมณี)
๔. งดเว้นจากการ เจรจาเพ้อเจ้อ (สัมผัปปลาปา เวรมณี)

สัมมาอาชีวะ ๕(ที่ยังเป็นสาสวะ อันเป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ )
๑. งดเว้นจาก การโกง (กุหะนา)
๒. งดเว้นจาก การล่อลวง (ลปะนา)
๓. งดเว้นจาก การตลบตะแลง (เนมิตตกะตา)
๔. งดเว้นจาก การยอมมอบตนในทางผิด (นิปเปสิกะตา)
๕. งดเว้นจาก การเอาลาภแลกลาภ (ลาเภนะ ลาภัง นิชิคิงสนะตา)

ทำมรรคทั้ง ๔องค์นี้ด้วย สติ(สัมมาสติ)และ วิริยะ(สัมมาวายามะ)
และถ้าจะให้สมบูรณ์พร้อม ก็ต้องประกอบด้วย

๑. ปรโตโฆสะ (ความได้สดับฟังสัจจะอื่น จากผู้รู้ท่านอื่นๆ หรือบัณฑิตอื่น)
๒. โยนิโสมนสิการ (ปรับใจ ปฏิบัติกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ถ่องแท้ ให้หยั่งลงไปถึงแดนเกิดคือ..ใจ)
ดังนี้จึงจะเกิดสัมมาทิฏฐิ เมื่อสมบูรณ์พร้อมทั้ง ๗ มรรค ก็จะเกิด สัมมาสมาธิตามคำยืนยัน นี้

[๒๕๓] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็สัมมาสมาธิของพระอริยะ อันมีเหตุ มีองค์ประกอบ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ
สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ เป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ประกอบแล้วด้วยองค์ ๗ เหล่านี้แล
เรียกว่า สัมมาสมาธิของพระอริยะ อันมีเหตุบ้าง มีองค์ประกอบบ้าง ฯ
//www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=14&A=3724&Z=3923&pagebreak=0

จากคุณ : P2wichai
เขียนเมื่อ : 9 ก.พ. 54 22:52:58
ถูกใจ : นายอิ่ม, ปริญญาบ้าเกมส์

ความคิดเห็นที่ 6

เมื่อเริ่มปฏิบัติใหม่ๆ อาจทำได้บ้างไม่ได้บ้าง ไม่เป็นไร ให้อดทนพากเพียรทำต่อไป
ไม่ต้องทำทีเดียวครบหมดทุกอย่าง ทำเท่าที่จะทำได้ในบางข้อก่อน
เมื่อทำได้ดี ทำได้โดยไม่ยากไม่ลำบากแล้วจึงเพิ่มข้ออื่นๆอีก

เมื่อปฏิบัติได้ใหม่ๆจะมีวิตกวิจารว่าจะทำได้หรือไม่ จะถูกหรือไม่ก็พยายามใช้สติ วิจัยให้มาก
ในส่วนที่มั่นใจว่าทำได้แล้ว จะเกิดปิติยินดีที่ทำได้
เมื่อทำได้คล่องแคล่วไม่ยากไม่ลำบากก็มีความสุข เมื่อชำนานขึ้นก็สงบลง
นี่เป็นฌานที่ ๑ ปฐมฌาน (มีวิตก มีวิจาร มีปีติ มีสุข มีเอกัคคตารมณ์)

ซึ่งจะเป็นแนวทางที่จะเจริญเป็น ฌานที ๒, ๓, ๔ ต่อไป

จากคุณ : P2wichai
เขียนเมื่อ : 10 ก.พ. 54 00:30:19




Create Date : 24 มกราคม 2554
Last Update : 13 กุมภาพันธ์ 2554 11:44:13 น. 5 comments
Counter : 790 Pageviews.

 
แวะมาอ่านจร้าว่างๆแวะไปเยี่ยมblogเราบ้างนะ bigeye


โดย: NSA (tewtor ) วันที่: 13 เมษายน 2554 เวลา:10:50:39 น.  

 
"...เห็นธรรมชาติ...เป็นธรรมชาติ..."
แล้ว . . .
- ๑ . รู้เท่าทันธรรมชาติทั้งปวง
- ๒ . รู้เหตุแห่งการเกิดธรรมชาตินั้นๆ
- ๓ . รู้วิธี และดับธรรมชาตินั้นๆได้
- ๔ . รู้การอยู่เหนือธรรมชาตินั้นๆ

.ธรรมชาติไม่เที่ยง เป็นสมมุติสัจจะ คือ สังสารวัฏฏ์
. ธรรมที่เที่ยง เป็นปรมัตถสัจจะ คือ ตัดสังสารวัฏฏ์


โดย: P2wichai วันที่: 27 เมษายน 2554 เวลา:10:41:32 น.  

 
ทางมีองค์แปด ประเสริฐกว่าทางทั้งหลาย ธรรมอันพระอริยะเจ้าพึงถึง ๔ ประการประเสริฐกว่าสัจจะทั้งหลาย
วิราคธรรมประเสริฐกว่าธรรมทั้งหลาย พระตถาคตผู้มีจักษุประเสริฐกว่าสัตว์สองเท้าและอรูปธรรมทั้งหลาย
ทางนี้เท่านั้นเพื่อความหมดจดแห่งทัศนะ ทางอื่นไม่มี

เพราะเหตุนั้นท่านทั้งหลายจงดำเนินไปตามทางนี้แหละ เพราะทางนี้เป็นที่ยังมารและเสนามารให้หลง
ด้วยว่าท่านทั้งหลายดำเนินไปตามทางนี้แล้ว จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้

นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง ที่พึ่งอื่นของข้าพเจ้าไม่มี

พุทโธ เม สะระณัง วะรัง พระพุทธเจ้า เป็นที่พึงอันประเสริฐของข้าพเจ้า

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ ด้วยการกล่าวความจริงนี้

โสตถิ เม โหนตุ สัพพะทา ขอความสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ ฯ

นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง ที่พึ่งอื่นของข้าพเจ้าไม่มี

ธัมโม เม สะระณัง วะรัง พระธรรมเป็นที่พึงอันประเสริฐของข้าพเจ้า

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ ด้วยการกล่าวความจริงนี้

โสตถิ เม โหนตุ สัพพะทา ขอความสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ ฯ

นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง ที่พึ่งอื่นของข้าพเจ้าไม่มี

สังโฆ เม สะระณัง วะรัง พระสงฆ์เป็นที่พึงอันประเสริฐของข้าพเจ้า

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ ด้วยการกล่าวความจริงนี้

โสตถิ เม โหนตุ สัพพะทา ขอความสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ ฯ

จากคุณ : P2wichai
เขียนเมื่อ : 28 เม.ย. 54 09:39:37


โดย: P2wichai วันที่: 28 เมษายน 2554 เวลา:9:41:53 น.  

 
"เปรต อสุรกาย สัมภเวสี ผีไม่มีญาติ" ที่ว่าอยู่ตามทางสามแพร่ง หรือที่ไหนๆ ไม่น่ากลัวเลย

เพราะมันเหล่านั้นไม่สามารถหลอกหลอน ทำอันตรายให้ร้ายเราได้

แต่ "เปรต อสุรกาย สัมภเวสี ผีไม่มีญาติ" ที่ที่อยู่ในจิตใจคนเป็นๆนี่น่ากลัวกว่าเป็นไหนๆ

เพาะมันทั้งหลอก ทั้งลวง ทำอันตรายทำร้ายเราได้ สารพัดวิธี และหลายครั้งเราก็ไม่รู้ทันมันด้วย

และยังมี เปรต อสุรกาย ผีร้าย สัตว์นรก ที่น่ากลัวยิ่งกว่าสองแบบแรกหลายเท่าก็คือ

เปรต อสุรกาย ผีร้าย สัตว์นรก ที่อยู่ในจิตใจเราเอง เพราะมันทั้งหลอกลวง ทำร้ายเราได้มากกว่า

เพราะอยู่กับเราตลอด ฉลาดเก่งกาจไม่แพ้เรา ยากที่เราจะรู้ทัน และเอาชนะมันได้ง่ายๆ

ต้องใช้ศีล ใช้สติ ใช้วิริยะ ฝึกฝนศึกษา เพื่อเอาชนะมัน

เมื่อคุณเริ่มฝึกฝนปฏิบัติ "เปรต อสุรกาย สัมภเวสี ผีไม่มีญาติ" จะถอยห่างไม่มากวนคุณเลย

ปฏิบัติไปสักระยะ พอเก่งขึ้น พวกที่สองก็ไม่อยากเข้าใกล้ ถึงเข้ามาใกล้ ก็ทำอะไรคุณไม่ได้

ส่วนพวกที่สามคงต้องสู้กับมันไปอีกหลายชาติครับ กว่าจะชนะมันหมดทุกๆตัว


โดย: P2wichai วันที่: 2 กันยายน 2554 เวลา:22:32:24 น.  

 
ไม่เข้าใจเรื่องการกินเนื้อสัตว์ของชาวพุทธมนุษย์เมือง
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/09/Y11062975/Y11062975.html

คห.29
ผมว่าในปัจจุบัน มีใครบ้าง ที่จริงใจปฏิญาณว่า

ไม่รู้ว่าสัตว์ในตลาดต้องถูกฆ่าตาย "โดยเจตนา" เพื่อนำมาเป็นอาหารคน(ใครก็ได้ที่กิน)

และมีใครบ้างไหม ที่จริงใจปฏิญาณว่า กินเนื้อเพื่อยังชีพ ไม่ได้รู้สึกอร่อยเลยแม้สักกี่ครั้ง

ทั้งนี้ท่านผู้ปฏิบัติธรรมที่ยัง(ยินดี? หรือเปล่า? ?)ทานเนื้ออยู่โปรดพิจารณาทราบว่า

ผม "ไม่ได้กล่าวระบุว่า" การทานเนื้อ ผิดศีล บาป หรือไม่สมควร แต่ประการไดๆเลย

ซึ่งการทานเนื้อสัตว์หรือไม่นั้น เป็นความประสงค์ เป็นการเลือกตัดสินใจของท่านเอง

ไม่มีสัตว์ตัวไหนยินยอมพร้อมใจ สละเลือดเนื้อ ชีวิตให้ใครๆกินเลย มีแต่พยายามหนี

ถ้าท่านเลือกที่จะไม่กิน ความรู้สึกดีๆเหล่านั้น ไม่ได้อยู่ที่สัตว์ไดๆ หรือใครอื่นเลย

แต่อยู่ที่ใจของท่านเอง ท่านจะไม่ต้อง "รู้สึก" กับกระทู้แบบนี้ กับความเห็นแบบนี้

ท่านจะ "รู้สึก" แบบใดนั้นก็ตรวจดูในใจของท่านเอง. .. ...

. .. ... .. . ขอความสวัสดีจงมีแด่ทุกท่านเทอญฯ

จากคุณ : P2wichai Bloggang
เขียนเมื่อ : 13 ก.ย. 54 21:38:27

ความคิดเห็นที่ 53
- ผู้ถือมังสวิรัติพึงสำนึกไว้เสมอว่าตนเองไม่มีทางดีกว่าหรือประเสริฐกว่าคนอย่างน้อยอีกประเภทหนึ่งได้เลย
คือ คนที่เขาไม่วุ่นวาย ไม่ให้ความสำคัญอะไรนักกับเรื่องอาหาร พอมีอะไรช่วยรักษากายไว้ทำกิจได้ก็กินๆ เข้าไป
เสียเวลา เสียแรงงาน เสียความใส่ใจกับเรื่องนี้น้อยที่สุด มุ่งแต่จะทำกิจที่พึงทำให้สำเร็จ
เพราะคนประเภทนี้ดำเนินวิธีตามหลักของพระพุทธศาสนา .......... .... .. . . จากคห.45

จริงหรือ ? ! ? แล้วที่ว่า “ อาหาร เป็นหนึ่งในโลก (อาหาโร โลโก ปฐโม โหติ) ” ละ

ในการปฏิบัติธรรมเรื่องอาหารสำคัญที่สุดในปัจจัย ๔ ในปัจจัยอื่นแม้ขาดไปก็ยังอยู่ได้ ลำบากหน่อย

แต่อาหารขาดไม่ได้ ไม่มีใครแม้พระอรหันต์หรือพระพุทธเจ้า ก็ไม่อาจดำรงค์ชีพได้ต้องฉันอาหาร

การฉันก็ต้องพิจารณา ไม่ใชมีอะไรก็สักแต่ว่ากินๆเข้าไป โดยไม่พิจารณาก่อนว่าควรหรือไม่

(ผมไม่ได้ระบุว่าเนื้อสัตว์ไม่ควรนะครับ โปรดพิจารณา) การพิจารณาอาหารเป็นกิจแรกเลยสำหรับผู้ปฏิบัติธรรม

และการพิจารณาอาหารที่สัมมาทิฐิ มีโอกาสที่จะบรรลุธรรมได้โดยง่าย .. .. .. . .

.. .. .. .. ขอความ เจริญในธรรม จงมีแด่ทุกท่านเทอญฯ

จากคุณ : P2wichai Bloggang
เขียนเมื่อ : 14 ก.ย. 54 22:54:46- ผู้ถือมังสวิรัติพึงสำนึกไว้เสมอว่าตนเองไม่มีทางดีกว่าหรือประเสริฐกว่าคนอย่างน้อยอีกประเภทหนึ่งได้เลย
คือ คนที่เขาไม่วุ่นวาย ไม่ให้ความสำคัญอะไรนักกับเรื่องอาหาร พอมีอะไรช่วยรักษากายไว้ทำกิจได้ก็กินๆ เข้าไป
เสียเวลา เสียแรงงาน เสียความใส่ใจกับเรื่องนี้น้อยที่สุด มุ่งแต่จะทำกิจที่พึงทำให้สำเร็จ
เพราะคนประเภทนี้ดำเนินวิธีตามหลักของพระพุทธศาสนา .......... .... .. . . จากคห.45


โดย: P2wichai วันที่: 18 กรกฎาคม 2557 เวลา:22:30:11 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

P2wichai
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




มาตามหาเพื่อนร่วมทาง
เพื่อนเก่า-เพื่อนใหม่-ใครที่เคยรู้จัก ที่เคยคุย ช่วยแสดงตัวหน่อย

หรือใครที่ต้องการร่วมทางไป เหนือโลกด้วยกันก็เชิญด้วย
Friends' blogs
[Add P2wichai's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.