((((( "ระบบวิศวะกรรมที่ดีที่สุดคือร่างกายของสิ่งมีชิวิตทุกชนิด*-*))))))
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2551
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
242526272829 
 
4 กุมภาพันธ์ 2551
 
All Blogs
 

((จำลองเหตุการณ์นักสู้ ว่าด้วย คนงานยึดกิจการในอาเจนติน่า และ จุดสมดุลของท่าน คาร์ล มาร์กซ ))

...สวัสดีครับ ขอเกริ่นนำก่อนนะครับ ช่วงนิเป็นช่วงนิมิตหมายที่ดีสำหรับเมืองไทยในด้านการพัฒนานะครับเพราะจะได้รัฐบาลใหม่(แต่ไม่ซิงค์)เข้ามาบ้าอำนาจในประเทศ (อุ้ยมาบริหาร) เราก็หวังว่าคุณสมัครและลิ้วล้อ (อุ้ยพรรคพวก) คงจะทำได้ดีกว่ารัฐบาลขิงแก่รองเท้าบูซนะครับ
...และอยากจัดทำบล๊อกนี้เพื่อต่อเนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบันครับ ชื่อเรื่องทำไมต้องเป็นอาร์เจนติน่า ซึ้งไกลจากบ้านเรามาก ทำไมมีท่าน มาร์กซ มาด้วย ก็ผมอยากทำอะมีรัยป่าวๆ
...นี้แหละครับ ผมชอบศึกษาไคร่รู้เกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐศาสตร์ทั่วโลก นะครับยึดเอาลูกพี่ผมคือท่าน มาร์กซ และ อ.ที่เซี้ยมสอนผมที่ท่านพยายามให้ปัญญาผมอย่างมากในเรื่องเศรษกิจซึ้งสำคัญมากสำหรับรัฐและคุณภาพชีวิต แต่ผมได้รับความรู้จากท่านจริงๆอาจไม่เยอะ หรืออาจเอาความรู้คืนครูบ้าง ก็ไม่เป็นไร วันนี้เกิดคันปากอยากฉะ เรื่องเงินๆทองๆซะหน่อยครับ
...มีคำๆหนึ่งหลุดปากจากใครบางคนว่า คนเรามัวแต่สนใจเรื่องเงินทองง่ายๆจนลืมดูขุมทรัพย์ที่มหาศาลที่เป็นของๆเรา เช่น มีข่าวว่าเกิดการปล้นร้านทองที่ไหนนักข่าวก็ทำข่าวกันเกรียวกราว ตำรวจมาออกข่าว ออกหน้า และตามจำกัน แต่พอธนาคารแห่งประเทศไทยเอาเงินไปซื้อตุนดอลล่าแล้วเกิดเจ๊ง ไม่มีใครสนใจหรือค้นหาความรับผิดชอบเลย ทั้งที่มูลค่านั้นเป็นแสนล้านบาท
^
^
เป็นเรื่องของวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์สหรัฐ และความห่วยของชนชั้นบริหาร เรื่องนี้ผมก็อยากจะฉะเหมือนกัน

...ที่อาเจนติน่า ย้อนไปเมื่อปี2000-2001ประเทศเขาเกิดฟองสบู่แตก คือประเทศเขาขาดดุลการค้าอย่างแรงฮิ การนำเข้ามีมูลค่ามากกว่าการส่งออก การกู้เงินมีการนำไปลงทุนที่ขาดทุนมากกว่าจะมีกำไร ง่ายๆก็เหมือนกับบ้านเราตอนปี 40 ครับ (ประเทศไหน๋ดั๋ยผลประโยชน์เอ๋ย..........)
...ด้วยเหตุผลกลใดก็ตามนะครับ นายทุนต่างชาติเทขายทรัพย์สินและขนเงินออกหนี แล้วปิดกิจการไปมากกมาย คนงานในอาเจนติน่ากว่าแสนรายต้องหางานใหม่ อุตสาหกรรมถูกรัฐเข้ายึดและปิดประตูตั้งแต่บัดนั้น ประชาชาน53%ต้องดำเนินชีวิตที่มีรายได้ตกต่ำกว่าเส้นแบ่งความยากจน คือเขารายได้ไม่พอจะกิน
...ในเมื่อเจ้าแห่งประเทศอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในแดนลาตินต้องพ่ายต่อระบบทุนนิยมก็เกิดปัญหาให้รัฐต้องบริหารประชาชนอย่างไรให้มีดีเหมือนเดิม แต่ขอโทษรัฐหาได้ใส่ใจกับปัญหานี้ไม่
...ประชาชนต้องรวมตัวกันเรียกร้องสิทธิและขอมาตรการช่วยเหลือจากรัฐบาล แต่รัฐกลับหาวิธีตอบแบบปฏิปักษ์มาตลอด
...ในหมู่คนงานเดิมต้องตั้งสหกรณ์ขึ้นมาบริหารเพื่อนคนงานด้วยกันเองโดยรวมตัวกันกดดันให้รัฐบาลเขียนกฏหมาย ยึดกิจการระดับชาติ คือ เจตนาจะให้รัฐบาลอนุญาติให้คนงานเดิมมีสิทธิ์เป็นเจ้าของกิจการที่นายทุนฝรั่งมันล้มละลายไปทุกกิจการ แทนที่รัฐจะยึดไว้เฉยๆหรือขายทอดตลาดนั้น เอาให้คนงานเถอะ แต่ไม่ใช่รัฐให้ไปเป็นกรณีๆซึ้งขัดกันมากทำให้รวมตัวกันได้ไม่เยอะกระจายกันไปเป็นกลุ่มเล็กๆอำนาจก็ลดลงเป็นเงาตามตัว แล้วคนงานกลุ่มใหญ่ที่สุดคือ MNER(ขบวนการกอบกู้กิจการแห่งชาติ) มีกิจการกว่า40แห่ง อาทิ โรงแรมบราวเอน โรงพิมพ์ซีลาเวิ๊ตซ์ โรงชำแหละเนื้อ โรงงานรถแทร็กเตอร์ และอิกสารพัด
...ในบริบทนี้คนงานทุกคนต้องทำการบริหารด้วยตัวเอง ในขณะที่ทำงานเองเดิมยุแล้ว เรียกว่าความสามารถต้องรอบตัว เพราะเจ้านายและพวกอาเสี่ยทั้งหลายกลับบ้านเก่าแล้ว ในฐานะที่เป็นสหกรณ์และการรวมกลุ่มกันระหว่างเพื่อนๆกันงานด้วยคนนั้น เขากำหนดยุทธศาสตร์การค้าแบบสัมพันธ์กันในกิจการร่วมกัน เพื่อนคนงานมีสิทธิ์มเสียงในการเสนอความคิดเห็นของตนให้หัวหน้าใช้ร่วมในการพัฒนา ซึ้งต่างจากตอนที่มีนายทุนคุมอยู่พวกนี้แค่พูดก็ไม่ได้เลย พวกเขาเหล่านี้สร้างบริบทใหม่ในการเอาประชาธิปไตยมาใช้ในองค์กรณ์การค้าเช่นนี้ซึ้งหาได้น้อยมาก ในโลกแห่งทุนนิยม
...การสร้างตลาดแนวใหม่ คือพวกเขาเหล่านี้ไม่ได้รับการช่วยเหลือจากรัฐในด้านเงินกู้เลย ธนาคารก็ไม่ให้เครดิตเลยซักนิด พวกเขาต้องแข่งขันกับตลาดทุนนิยมในขณะที่เขามีเทคโนโลยีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพราะเจ้านายขนกลับบ้านเก่าแล้วในชิ้นส่วนที่สำคัญ การบริหารจากซากเดนเก่าเพื่อความอยู่รอด พวกเขาจึงต้องการผลิตสิ้นค้าและใช้จ่ายแลกเปลี่ยนกันในสมาคมกอบกู้กันเองก่อนเพื่อช่วยเหลือกันและกันเพื่อสร้างความแข็งแกร่ง และการหาสมาชิกในโซนลาตินอเมริกันด้วยกันระหว่างชาติ เพื่อสร้างเครื่อข่ายแลกเปลี่ยนสินค้ากัน พวกเขาพยายามกดดันให้รัฐออกกฏหมายคุ้มครองตำแหน่งงานในหน่วยของเขา เพื่อเป็นหลักประกันของเพื่อนสมาชิกด้วยกัน

โดยรวมแล้วพวกเขามีสิทธิ์มีเสียงในการกำหนดชะตากรรมของตัวเอง ดำเนินงานไปด้วยความสะบายใจ แทนที่จะถูกขูดรีดจากผู้มีอำนาจ

...บัญญัติที่ว่าด้วย ระบบจัดการบริหารด้วยตนเองของคนงาน (Worker Self-Management) ของ เจมส์ เพทราส และ เฮนรี เวลท์ไมเออร์
1.)ตัดสินในว่าจะผลิตอะไรและเพื่อใคร
2.)รักษาการจ้างงานและเพิ่มการจ้างงาน
3.)จัดลำดับความสำคัญของสิ่งผลิต
4.)กำหนดลักษณะว่าใครควรได้อะไร ที่ไหน อย่างไร
5.)ผสานการผลิตทางสังคมกับการคืนกำไรให้สังคมเข้าด้วยกัน
6.)สร้างความสมานฉันท์ของชนชั้นในโรงงาน ระดับภาค/ระดับชาติ/นานาชาติ
7.)สร้างความเป็นประชาธิปไตยให้ความสัมพันธ์ทางสังคมการผลิต


******
...จากที่สังเกตุการณ์ดูแล้วไม่น่าใช้เรื่องแปลกมากตรงไหนนะครับ แค่คนกลุ่มหนึ่งทำกิจการหนึ่งๆ ออกจะธรรมดาสามัญ
...แล้วไปเกี่ยวไรกับ มาร์กซิส ผมเล่าต่อใน VOl.2แล้วกันนะครับ ผมอินกระแสหนังไตรภาคครับ ต้องเล่นกันต่อเนื่อง อิอิ




 

Create Date : 04 กุมภาพันธ์ 2551
0 comments
Last Update : 4 กุมภาพันธ์ 2551 13:23:42 น.
Counter : 657 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


โอซารัน
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




สวัสดี ยินดี ไม่มีปัญหา
Friends' blogs
[Add โอซารัน's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.