@ดูงิ้วเถิดชื่นใจ@
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2553
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
7 ตุลาคม 2553
 
All Blogs
 
ชุดงิ้วหมวดชุดเกราะ 行头 - 靠

หมวดชุดเกราะ



การใช้งาน: ใช้นักรบ ขุนพล แม่ทัพทั้งสำหรับชายและหญิง

รูปแบบ: คอกลม มีปกไหล่คลุมทับ ปลายแขนเสื้อรวบพอดีข้อมือ
มีเกราะท้อง และเกราะขา ช่วงสะโพกด้านหลังมีแผ่นเกราะทั้งสองด้าน
เกราะสำหรับผู้หญิงจะมีส่วนเกราะท้องที่เล็กกว่าของชาย ด้านล่างเป็นกระโปรงริ้ว

ที่มา: พัฒนามาจากเกราะในสมัยราชวงศ์ชิง มีลักษณะบนเป็นเสื้อ ล่างเป็นกระโปรง
เป็นผ้าที่เย็บโดยบรรจุฝ้ายไว้ภายใน แล้วนำแผ่นโลหะมาประดับด้านนอก
ซึ่งในความเป็นจริงไม่เหมาะแก่การออกรบ เพราะแท้จริงแล้วชุดนี้จะใช้สำหรับพิธีการ
ต่างกับชุดเกราะในสมัยโบราณที่ต้องใช้งานรบจริง ที่ทำจากโลหะทั้งชุด
พอมาอยู่บนเวทีก็ได้รับการตกแต่งและพัฒนาจนเป็นที่พบเห็นกันในปัจจุบัน

จุดเด่น: มีลักษณะเป็นเสื้อยาวลงมาทั้งตัว ดูแล้วเหมือนเสื้อแต่ก็ไม่เหมือน
จะว่าเหมือนเกราะก็ไม่เหมือน เพราะส่วนที่ทำเป็นเกราะก็ไม่ได้ทำให้แนบร่างกาย
เกราะในการแสดงมีลักษณะหลวม แยกเป็นชิ้นส่วนต่างๆ แล้วนำมาประกอบกัน
ทำให้ยามดูพริ้วไหวยามออกท่าทาง นอกจากจะดูสวยงามแล้ว ยังดูสง่า
และเพราะเกราะที่ใหญ่โตเกินความจริง จึงทำให้ผู้สวมใส่ดูน่าเกรงขามขึ้นมาทันที

วัตถุดิบ: ผ้าต่วน

ลวดลาย: ลายส่วนมากเป็นเกล็ดปลา เพราะมีลักษณะเหมือนเกล็ดบนชุดเกราะ
หน้าอกและไหล่มีตัวอักษรสิริมงคลที่แปลว่าอายุยืน เพื่ออวยพรให้รบกลับมาโดยปลอดภัย
เกราะท้องของตัวละครชายมักเป็นรูปมังกร หญิงเป็นรูปหงส์และดอกโบตั๋น
ตัวหน้าลายเพื่อแสดงถึงความน่าเกรงขาม มักจะทำเป็นรูปหัวเสือ

สี: ตามบนล่างห้าสี มีการเลือกใช้สีชุดตามหลักเดียวกับชุดบรรดาศักดิ์ เช่น
วาดหน้าดำใช้เกราะดำ วาดหน้าแดงใช้เกราะเขียว พระเอกวัยหนุ่มในเกราะขาว ฯลฯ

การปัก: ปักด้วยดิ้นทอง เพื่อยามโดนแสงไฟจะดูเหมือนแสงที่กระทบโลหะ
ส่วนเกราะท้อง บ้างปักไหม บ้างปักดิ้นทองแล้วแซมด้วยไหม
หากเป็นช่วงไว้ทุกข์ ใช้เกราะขาวที่ปักด้วยดิ้นเงิน





ชุดเกราะแข็งบุรุษ
ชุดเกราะสำหรับขุนพลชาย ด้านหลังปักธง 4 ผืน หมายถึงแต่งตัวพร้อม อยู่ในสนามรบแล้ว
ชุดลักษณะนี้เรียกว่าเกราะแข็ง มาจากในสมัยโบราณมีการเสียบธงคำสั่งไว้ที่เอวด้านหลัง
ต่อมาพัฒนาให้ใหญ่ขึ้น และเพิ่มเป็นสี่ผืน เพื่อความสวยงามในการแสดง
โดยปกติมันปักเป็นลายมังกรเดี่ยวล่อแก้ว ชุดเกราะนี้มีความซับซ้อนมาก
ทั้งชุดมีส่วนประกอบที่ต้องปักลายถึง 31 ชิ้น
หากปกชุดเกราะใส่กับชุดบรรดาศักดิ์ แสดงถึงว่าตัวละครนั้นๆมีความสามารถในการต่อสู้
ในกรณีที่ต้องแสดงบทพ่ายแพ้จากการต่อสู้ ก็จะให้เพียงเกราะส่วนขาสองชิ้น
ภาพ: จูล่ง จากงิ้วเรื่อง สามก๊ก



ชุดเกราะอ่อนบุรุษ
เป็นชุดที่แสดงถึงนักรบที่ยังไม่ได้เข้าสู่สนามรบ ต่างจากชุดเกราะแข็งตรงที่ไม่มีธงด้านหลัง
ภาพ: ชุยจื่อเจี้ยน จากงิ้วเรื่อง ขุนศึกตระกูลหยาง



ชุดเกราะฌ้อป้าอ๋อง
เป็นชุดสำหรับซีฉู่ป้าหวังหรือฌ้อป้าอ๋องโดยเฉพาะ
ชุดเป็นสีดำปักลายทอง จุดเด่นที่สุดที่อยู่บริเวณช่วงเกราะตรงเอวจะมีพู่แถวสีเหลืองห้อยระย้า
ภาพ: ป้าหวังเซี่ยงอวี่ จากงิ้วเรื่อง ป้าหวังเปี๋ยจี



ชุดเกราะกวนอู
เป็นชุดสำหรับกวานอวี่หรือกวนอูโดยเฉพาะ
ชุดเป็นสีเขียวปักลายสีทอง พู่ระย้าใช้สีเหลือง ในสมัยก่อนยังมีการใช้หางนกยูงเป็นส่วนประกอบ
ภาพ: กวานอวี่หรือกวนอู จากงิ้วเรื่อง สามก๊ก



ชุดเกราะประยุกต์บุรุษ
เป็นชุดเกราะประยุกต์ ชุดมีการแบ่งออกเป็นส่วนบนส่วนล่าง ตัดเกราะช่วงท้องออกไป
ส่วนล่างมีเกราะผ้า 4 ชิ้นคือซ้ายขวาหน้าหลัง ส่วนบนช่วงไหล่มีหัวเสือนูนขึ้นมา ชุดนี้ไม่มีธง
ชุดประเภทนี้ดูไม่ยิ่งใหญ่อลังการเท่าชุดแบบเก่าที่มีธง ดังนั้นจึงมักใช้กับทหารชั้นกลางทั่วไป
แล้วยังนิยมใช้กับตัวละครต่างเผ่า โดยการแขวนหางจิ้งจอกทับลงไปบนชุด
ภาพ: นายทหาร จากงิ้วเรื่อง เถี่ยกงหยวน



ชุดเกราะแข็งสตรี
เป็นชุดเกราะแข็งสำหรับนักรบหญิง ปักลายหงส์คู่และดอกโบตั๋น
กระโปรงทำเป็นกระโปรงริ้วสองหรือสามชั้น เกราะช่วงแขนเป็นทรงใบบัว ปักลายเดียวกัน
เวลาสวมใส่ต้องมีปกเหมือนของชุดบรรดาศักดิ์หญิง มีพู่ระบายรอบๆ
ชุดเกราะแข็งหญิงต่างกับของชายตรงที่มีการตกแต่งรายละเอียดมากกว่า แสดงถึงความอ่อนหวานแม้ในขณะออกรบ
ภาพ: เสอไซ่ฮวา จากงิ้วเรื่อง ขุนศึกตระกูลหยาง



ชุดเกราะอ่อนสตรี
เหมือนกับชุดเกราะอ่อนของผู้ชาย โดยมากใช้กับนักรบหญิงในป่าเขาลำเนาไพร (โจรป่า)
เพราะชุดกระชับ เคลื่อนไหวได้แคล่วคล่องว่องไว เหมาะสมกับบริบทของตัวละคร
ภาพ: ฮู่ซันเหนียง จากงิ้วเรื่อง ฮู่เจียจวง







ข้อมูลชุดงิ้วในบทความนี้ เป็นข้อมูลของชุดงิ้วปักกิ่ง (京剧) ซึ่งยึดถือแบบแผนมาจากงิ้วคุนฉวี่ซึ่งถือเป็นบรรพบุรุษแห่งงิ้วทั้งปวง (百戏之祖) โดยในวงวิชาการที่ศึกษาเรื่องงิ้วจะทราบกันว่า แบบชุดงิ้วปักกิ่งและงิ้วคุนฉวี่มีระเบียบแบบแผนที่สืบทอดกันมาแต่โบราณและเคร่งครัด จนเป็นแบบอย่างให้กับงิ้วท้องถิ่นประเภทอื่นๆนำไปพัฒนาหรือประยุกต์การใช้งานออกไปอย่างกว้างขวาง ในขณะที่งิ้วปักกิ่งและงิ้วคุนฉวี่ยังคงพยายามรักษาแบบแผนนี้ไว้ จนกลายมาเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง

บทความเรื่องชุดงิ้วจะแบ่งเป็น 5 หมวด คือ
1.หมวดชุดบรรดาศักดิ์
2.หมวดชุดคลุม
3.หมวดชุดเกราะ
4.หมวดชุดลำลอง
5.หมวดชุดอื่นๆ แบ่งเป็นสี่หมวดย่อย และหมวดเครื่องแต่งกายเพิ่มเติมคือ
5.1ชุดแบบยาว
5.2ชุดแบบสั้น
5.3ชุดแบบเฉพาะ
5.4ชุดอุปกรณ์เสริม
และ เครื่องแต่งกายเพิ่มเติม

โดยสี่หมวดแรกเป็นการจัดหมวดตามประเภทชุด ส่วนหมวดสุดท้าย (หมวดชุดอื่นๆ) มีลักษณะเฉพาะและยากจะจัดเข้าพวกกับสี่หมวดแรก จึงไว้ในหมวดชุดอื่นๆรวมทั้งปิดท้ายด้วยเครื่องแต่งกายเพิ่มเติม

ดังนั้นข้อมูลเหล่านี้จะมีบางส่วนที่ไม่สามารถพบเห็นได้จากงิ้วไทย เนื่องจากคนไทยเชื้อสายจีนส่วนมากเป็นชาวแต้จิ๋ว จึงมักคุ้นเคยกับงิ้วแต้จิ๋วมากกว่า ซึ่งงิ้วแต้จิ๋วก็มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในการแสดงและการแต่งกายที่แต่งต่างออกไป จึงขอเรียนให้ทราบไว้ ณ ที่นี้ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องประกอบการพิจารณาอ่านบทความ


Create Date : 07 ตุลาคม 2553
Last Update : 9 ตุลาคม 2553 10:30:46 น. 0 comments
Counter : 9988 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

อุปรากรจีน
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




@ยินดีต้อนรับทุกท่านที่สนใจอุปรากรจีนครับ@

"บทความทุกชิ้นทั้งในกระทู้และblogนี้
ข้าพเจ้าขอสงวนสิทธิ์ในการคัดลอก
หากต้องการจะนำไปใช้ในกิจการใดๆ
รบกวนให้เกียรติลงชื่อ/Creditผู้เขียน
หรือจะแจ้งให้ทราบล่วงหน้าก็จะดีมาก
มิเช่นนั้นจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย"

Credit: ดนุพล ศิริตรานนท์

สามารถชมคลิปสารคดีงิ้วและงิ้วเรื่องต่างๆได้ที่
https://www.facebook.com/jingju.thai
http://www.youtube.com/user/MrOperahouse

ขอให้ทุกท่านมีความสุขกับสิ่งตัวเองที่รักนะครับ
Friends' blogs
[Add อุปรากรจีน's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.