Welcome to my planet, and enjoy taking a wonderful journey

<<
กรกฏาคม 2554
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
15 กรกฏาคม 2554
 

สมองซีกขวาสนับสนุนซีกซ้ายทำงาน ไม่ได้แยกกันทำ โทนี บูซาน

ความเข้าใจของคนเราในเรื่องวิธีคิด
โทนี่ บูซาน เขียน : แปลโดย ธัญญา ผลอนันต์
ข้อมูลจาก : ใช้หัวคิด; Use Your Head. พิมพ์ครั้งที่ 3



คณะ DMH Staff ได้หนังสือมาเล่มหนึ่งจากงานเกษียณของข้าราชการกระทรวงสาธารณสุข นพ.อนันต์ เมนะรุจิ เมื่อปี 2544 ถึงแม้ว่าจะผ่านมาหลายปี แต่สาระของหนังสืออ่านดูแล้วก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก คณะ DMH Staff จึงขอถ่ายทอดความรู้ที่ได้มานั้นแด่ท่านผู้อ่านที่สนใจ ดังนี้คือ

ด้วยความเป็นจริงข้อหนึ่งก็คือว่า ชีวิตกำเนิดขึ้นมาในโลกนี้เมื่อประมาณ 3,500,000 ปีมาแล้ว แต่มนุษย์ทั่วไปเพิ่งจะรู้จักตำแหน่งของสมองเมื่อ 500 ปีที่ผ่านมาเท่านั้นเอง ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องประหลาดใจ ลองมานั่งคิดดูสักนิดหนึ่งว่า หากเราไม่รู้ว่าสมองของเราอยู่ที่ไหน พอเพื่อนถามว่า ?ศูนย์กลางความรู้สึก อารมณ์ ความคิด ความจำ แรงกระตุ้น และความต้องการของเราอยู่ที่ไหน? เราก็คงเหมือนกับคนส่วนใหญ่ (รวมทั้งอริสโตเติล) ที่มักจะคิดอย่างมีเหตุผลว่า ศูนย์กลางความรู้สึกของเราอยู่ที่หัวใจและบริเวณท้อง เพราะอวัยวะทั้งสองนี้มักจะแสดงอาการสะท้อนสิ่งที่เกิดขึ้นในใจเราเป็นประจำและรู้สึกสัมผัสได้มากที่สุด

แม้ว่าในปัจจุบันเราสามารถนำเอาคอมพิวเตอร์ และกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนมาใช้ในการช่วยไขข้อข้องใจที่จัดว่ายากยิ่งกว่าสิ่งใดๆ ทั้งหมดที่มนุษย์เคยอยากจะรู้ได้แล้ว แต่เราก็ต้องยอมรับว่าความรู้ทั้งหมดที่ได้มาจนถึงทุกวันนี้นั้นอาจจะน้อยกว่า 1% ของสิ่งที่มีให้เรียนรู้ เช่น เมื่อทดลองแล้วพิสูจน์ว่า วิธีคิดของเราทำงานแบบหนึ่ง แต่แล้วเมื่อทำการทดลองอีกกลับพบว่าวิธีคิดทำงานไปอีกรูปแบบหนึ่ง หรือเมื่อทดลองกับสมองมนุษย์คนหนึ่งแล้ว ก็เลยทำให้เราต้องรื้อกรอบความคิดทั้งหมดใหม่
?ผลจากการสู้อุตส่าห์ศึกษาค้นคว้ามาจนถึงทุกวันนี้ เราก็รู้ว่าสติปัญญาของเราซับซ้อนและละเอียดอ่อนอย่างมหาศาลเกินกว่าที่คิดเอาไว้ และแม้แต่คนที่มี ?หัวปานกลาง? ก็ยังมีความสามารถและศักยภาพสูงกว่าที่เคยคิดเอาไว้?

ขอยกตัวอย่างสัก 2-3 เรื่อง เพื่อจะได้เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น ศาสตร์ส่วนใหญ่ที่ค่อนไปทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งไม่ว่าจะดูแล้วมุ่งไปคนละทิศและทาง ต่างก็หมุนวนรอบๆเรื่องของสมองทั้งสิ้น ปัจจุบันนักเคมีกำลังค้นคว้าเกี่ยวกับโครงสร้างทางเคมีอันซับซ้อนที่มีอยู่และทำปฏิกิริยากันภายในหัวสมอง นักชีววิทยากำลังขวานขวายค้นหาหน้าที่ทางชีววิทยาของสมอง นักฟิสิกส์ค้นคว้าเรื่องแบบเดียวกันเมื่อศึกษาถึงอวกาศกว้างไกล นักจิตวิทยาพยายามศึกษาเรื่องจิตใจ แต่ก็หนักใจราวกับจับปูใส่กระด้ง แม้แต่นักคณิตศาสตร์ผู้คำนวณกฎเกณฑ์ของคอมพิวเตอร์ที่ซับซ้อน ไปจนกระทั่งจักวาล จนสร้างเป็นแบบจำลองได้ก็ยังไม่สามารถจับกฎการทำงานภายในสมองของมนุษย์ซึ่งดำเนินอยู่ทุกวันในชีวิตเรา "ไม่ได้มีเพียงสมองเดียว"

สิ่งที่เราค้นพบในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา คือมนุษย์มีสมองส่วนบน สองส่วน มิใช่ส่วนเดียว และสมองสองส่วนนี้ยังทำงานต่างกรรมต่างวาระกันอีกด้วย ทั้งสมองของเราก็มีศักยภาพสูงกว่าที่เคยคิดไว้เมื่อปลายทศวรรษที่ 1960 อีกมาก นอกจากนี้การหล่อเลี้ยงให้สมองอยู่ได้ก็ยังต้องการอาหารอีกหลากหลายประเภท

ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ในแคลิฟอร์เนีย เมื่อประมาณ ปี 2510-2515 ได้มีการค้นคว้าที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าประวัติศาสตร์ของความรู้เกี่ยวกับสมองของมนุษย์ ทำให้โรเจอร์ สเปอร์รี่ แห่งสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนียได้รับรางวัลโนเบล และโรเบิร์ต ออร์นสไตล์ มีชื่อเสียงไปทั่วโลกในผลงานเกี่ยวกับคลื่นสมองและการทำงานเฉพาะด้านของสมอง การทดลองนี้ ศ.อีราน ซาอีเดล และคณะได้สืบสานต่อมาจนถึงประมาณ ปี 2530

โดยสรุป สเปอร์รี่และออร์นสไตล์ค้นพบว่า สมอง 2 ซีกของมนุษย์หรือมันสมอง 2 ส่วนของมนุษย์เชื่อมโยงกันอย่างน่าอัศจรรย์ โดยเครือข่ายเส้นประสาทอันซับซ้อนที่เรียกว่า คอร์ปัสคอลโลซัม (Corpus Collosum) สมองทั้งสองด้านทำงานด้านความคิดต่างกันอย่างแยกได้ชัดเจน

ซีกซ้ายของสมองคนส่วนใหญ่จะทำงานเกี่ยวกับ ตรรก ภาษา ความเป็นเหตุเป็นผล ตัวเลข การวัด การวิเคราะห์ ฯลฯ ซึ่งอาจเรียกรวมๆว่าเป็น ?กิจกรรมทางวิชาการ? ขณะที่สมองซีกซ้ายทำงานเกี่ยวข้องกับกิจกรรมเหล่านี้ สมองซีกขวาก็จะอยู่ใน ?คลื่นอัลฟา? หรือภาวะพักพร้อมที่จะหนุนช่วย สมองซีกขวานั้นจะทำงานเกี่ยวข้องกับ จังหวะ จินตนาการ สี ฝันกลางวัน ตำแหน่งแห่งสรรพสิ่ง ภาพรวม และมิติ

?งานวิจัยต่อจากนั้นพบว่า เมื่อคนเราได้รับการส่งเสริมให้พัฒนาวิธีคิดด้านที่เคยทึบมาก่อน การพัฒนาเพียงด้านเดียวนี้แทนที่จะแยกเป็นเอกเทศจากวิธีคิดด้านอื่น กลับก่อให้เกิดการรวมพลังสร้างสรรค์ให้วิธีคิดโดยรวมดีขึ้นตามไปด้วย?

ศ.ซาอีเดลได้สานต่องานของสเปอร์รี่ในมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย จนได้ผลเป็นที่น่าพอใจ เขาพบว่า สมองแต่ละซีกคงไว้ซึ่งความสามารถที่สมองอีกซีกหนึ่งมีอยู่มากกว่าที่เคยคิดมาก่อน และสมองแต่ละซีกยังคงไว้ซึ่งความสามารถคิดได้อย่างกว้างขวางทีเดียว

ถ้ามองอย่างผิวเผินอาจจะเห็นว่าประวัติศาสตร์ขัดแย้งกับการค้นพบนี้ เพราะว่ามหาบุรุษหรือบุคคลสำคัญส่วนใหญ่มักจะมีวิธีคิดเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง เช่น ไอน์สไตน์และนักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆ ส่วนใหญ่มักจะใช้สมองซีกซ้ายโดดเด่นกว่า ขณะที่ปิกาสโซ่ ศิลปินชาวสเปน เซซานน์ ศิลปินชาวฝรั่งเศส และศิลปินและนักดนตรีคนอื่นๆจะเด่นในเรื่องใช้สมองซีกขวา

แต่จากการค้นคว้าที่เจาะลึกลงไปทำให้เราพบเรื่องน่าประหลาดใจว่า เมื่อตอนไอน์สไตน์อยู่โรงเรียน เขาสอบตกวิชาภาษาฝรั่งเศส และกิจกรรมที่เขาชอบคือ เล่นไวโอลิน ศิลปะ เล่นเรือ และเล่นเกมส์ที่ใช้จินตนาการ เกมจินตนาการช่วยให้ไอน์สไตน์ได้หยั่งรู้ลึกในทางวิทยาศาสตร์ วันหนึ่งในฤดูร้อน เขาหลับและกำลังฝันกลางวันอยู่บนเนินเขาแห่งหนึ่ง เขาได้จินตนาการว่า เขากำลังขี่แสงอาทิตย์ไปไกลสุดจักรวาล และพบว่าตนเองได้สัมผัสพื้นผิวดวงอาทิตย์ และยังกลับมาสู่โลกได้อย่างไม่น่าสมเหตุสมผล เขาก็ตระหนักรู้ในการศึกษาว่า ความจริงแล้วจักรวาลน่าจะต้องโค้ง และการฝึกฝน ?ตรรกวิทยา? ที่ผ่านมาของเขายังไม่สมบูรณ์ ตัวเลข สมการต่างๆที่เขานำมาหล่อหลอมความคิดใหม่นี้ทำให้เราได้ทฤษฎีสัมพันธภาพ ซึ่งเป็นการสังเคราะห์สมองซีกซ้ายและซีกขวาของเขานั่นเอง

ศิลปินผู้ยิ่งใหญ่หลายคนใช้สมองทั้งสองข้างเช่นเดียวกัน ในสมุดบันทึกของศิลปินแทนที่จะเต็มไปด้วยการบรรยายงานเลี้ยงสุรายาเมา หรือภาพร่างคร่าวๆของงานชิ้นเอก กลับเป็นเรื่องราวดังต่อไปนี้

?ตื่น 6 โมงเช้า ใช้เวลา 17 วันในการวาดรูปชุดใหม่ รูปที่ 6 ผสมสีส้ม 4 ส่วน กับสีเหลือง 2 ส่วน เพื่อให้ได้สีใหม่ที่ฉันชอบ ป้ายลงบนมุมซ้ายบนของผ้าใบ เพื่อให้มันตรงข้ามกับโครงสร้างก้นหอยทางมุมขวาล่าง ทำให้มองดูภาพแล้วสมดุลกัน?

นี่เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงการทำงานของสมองซีกซ้ายในคนที่เรามักจะคิดว่าใช้แต่สมองซีกขวา

ดังนั้นจึงดูเหมือนว่า เมื่อกล่าวว่า เรามีความสามารถเฉพาะด้านใดด้านหนึ่งเป็นพิเศษ และไม่ได้มีความสามารถในบางด้านนั้น ที่จริงเราต้องพูดว่า ?ศักยภาพด้านใดของเราได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่แล้ว และศักยภาพด้านใดไม่ได้รับการพัฒนา ความเป็นจริงก็คือว่ายังสามารถพัฒนาได้ เมื่อได้รับการฝึกฝนอย่างถูกต้อง?

กล่าวโดยสรุป : การพัฒนาทักษะทางด้านความถนัดที่เหมาะสม ร่วมกับการฝึกฝนบางอย่างที่ไม่ชำนาญก็สามารถทำให้เกิด ?ทักษะทั้งความถนัดที่มีอยู่เดิมและความสามารถที่ไปได้? ก็สามารถดำรงตนอยู่ในโลกนี้ได้อย่างมีศักยภาพรอบด้านได้ การเห็นแบบแยกส่วน คิดแบบแยกส่วน และทำแบบแยกส่วน ทำให้ติดอยู่เป็นส่วนๆได้

วิธีคิดแบบใหม่ที่เราได้เรียนรู้นี้นำไปสู่การเห็นทั้งหมด สามารถเชื่อมโยง หรือบูรณาการ เพื่อให้เกิดการพัฒนาไปสู่ ?การทำแผนที่ความคิด? การฝึกให้คิดอย่างมีความเชื่อมโยง จะทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างงอกงาม และเกิดความสุขอย่างฉับพลันและถาวรได้ด้วย



**********************************************




Create Date : 15 กรกฎาคม 2554
Last Update : 15 กรกฎาคม 2554 15:35:49 น. 0 comments
Counter : 1220 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

oozingplanet
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




ร้อนหนาวอยู่ที่กาย สุขทุกข์อยู่ที่ใจ
[Add oozingplanet's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com