W e l c o m e To My B l o g
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2551
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
6 กรกฏาคม 2551
 
All Blogs
 
๏~* เอามาฝาก เพื่อนๆ อาจเป็นโรคนี้อยู่!! *~๏


๏~* เล่นคอม นานๆๆ ระวัง! เพื่อนๆ อาจเป็นโรควุ้นในลูกตาเสื่อม (Vlireous Degeneration) *~๏

ตอนนี้ในประเทศไทยมีคนเป็นโรค "วุ้นในลูกตาเสื่อม" ถึง 14 ล้านคนแล้วครับจากข้อมูลทางหนังสือพิมพ์

(นี่เฉพาะแค่ที่มีข้อมูลบันทึกไว้นะ คนที่ไม่รู้ตัวเองว่าตัวเองก้อเป็นมากขนาดไหน?)

ในขณะที่คุณอ่านข้อความนี้จากทางเนต บางคนก้อเป็นแต่ไม่รู้ตัว

อาการก้อคือ คุณจะเห็นเป็นคราบดำๆ เหมือนหยักใหย่ ลอยไปลอยมาเหมือนคราบที่ติดกระจก

จะเห็นชัดก้อต่อเมื่อ คุณมองไปยังภาพแบล็คกราวนด์ที่มีสีสว่าง เช่น ท้องฟ้าขาวๆ ฝาห้องขาวๆ ฝาห้องน้ำขาวๆ จะเห็นเป็นคราบดำๆ ลอยไปลอยมา

ถ้าอาการมากกว่านั้นก้อคือ ประสาทตาฉีกขาด คุณจะมองเห็นแสงแฟลชในที่มืด ไม่ว่าหลับตาหรือลืมตา (น่ากลัวมากๆ)

และถึงขั้นนี้จะต้องผ่าตัด (ซึ่งไม่มีอะไรรับประกันว่าจะดีเหมือนเดิมจะตาบอดหรือไม่ ?)

สาเหตุของโรคนี้คือ "การใช้สายตามากเกินไป" (เล่นคอม)

แต่ก่อนโรคนี้จะเกิดกับผู้สูงอายุ หรือ คนที่มีอาชีพใช้สายตามากๆ เช่น ช่างเจียรไนเพชรพลอย ที่ต้องใช้สายตาเพ่งมากๆ

แต่เด๋วนี้คนเป็นโรควุ้นในลูกตาเสื่อมกันมากเพราะ เล่นเนต หรือ เล่นคอม
(คุณฟังไม่ผิดหรอก เด๋วนี้คนเป็นโรคนี้กันมากเพราะเล่นคอมนี่แหละ)

ถามว่าทำไม คนเล่นเนต เล่นคอม ถึงเป็นกันมาก ?

ไม่ว่าคุณจะเล่นเนต, เล่นเกมส์, อ่านไดอารี่, อ่านบทความ, อ่านหนังสือ หรืออะไรก้อตาม ที่อยู่บนจอคอมพิวเตอร์

'ล้วนทำให้สายตาคุณเสียได้ทั้งสิ้น'

เพราะว่า ถ้าคุณอ่านหนังสือที่เป็นแผ่นกระดาษธรรมดาๆ 'ระยะห่างระหว่างลูกตา กับ ตัวหนังสือ จะคงที่แน่นอน'

เพราะขอบของตัวหนังสือจะคมชัด ทำให้สมองกะระยะโฟกัสได้ถูกต้องแน่นอน กล้ามเนื้อและประสาทตา จึงทำงานค่อนข้างคงที่

แต่! ตัวหนังสือบนจอคอมพิวเตอร์นั้น มีลักษณ์เป็นจุดๆ ประกอบกัน เหมือนแขวนลอยบนจอ ขอบของตัวหนังสือไม่ชัด

สมองจะสับสนในการปรับระยะโฟกัส (เพราะจอแก้ว จะมีความหนาของแก้ว แต่เรามองผ่านมันไป)

(และจอ LCD เราก้อต้องมองผ่านเข้าไปเหมือนกัน ตัวหนังสือมันไม่ได้ติดอยู่ด้านบนเหมือนอยู่บนแผ่นกระดาษ)

การปรับระยะโฟกัสจึงไม่แน่นอน

บวกกับ ลักษณะการอ่านหน้าหนังสือในคอมนั้น จะต้องใช้เม้าส์จิ้มลากแถบด้านข้างจอ เพื่อเลื่อนบรรทัดหนังสือขึ้นลง

เพื่อจะอ่านบรรทัดด้านล่างได้ หรือไม่ก้อ ใช้ลูกหมุนที่อยู่บนเม้าส์ หมุนเพื่อเลื่อนบรรทัดหนังสือ

แต่ การเลื่อนบรรทัดนี้มันไม่เหมือนกับการอ่านหนังสือจากแผ่นกระดาษที่แขนกับคอ

จะปรับการมองขึ้นลงโดยอัตโนมัติ มีระยะที่แน่นอน สัมพันธ์กัน

แต่ว่าการเลื่อนบรรทัดด้วยแถบด้านข้าง หรือลูกกลิ้งบนเม้าส์นั้น มันจะมีลักษณะการเลื่อนแบบกระตุกๆ (คุณสังเกตุดู)

มันจึงทำให้ปวดตามากๆ เพราะลูกตา จะต้องลากลูกตา เลื่อนตามบรรทัดที่กระตุกๆ นั้นไปตลอด

บวกกับ การพิมพ์ตัวหนังสือนั้น บางที คุณต้องก้มเพื่อมองนิ้วว่ากดตำแหน่งบนแป้มพิมพ์ถูกตัวอักษรหรือไม่ ทำให้เด๋วก้ม เด๋วเงย

ลูกตาปรับโฟกัสบ่อยเกิน ทำให้ลูกตาทำงานหนัก กว่าจะพิมพ์งานเสร็จคุณจะปวดตามากๆๆ

อย่างเด็กนักศึกษา เร่งพิมพ์รายงานส่งอาจารย์ ติดต่อกันข้ามคืน สองสามวัน ตาจะปวดมากๆ รวมทั้งเวลาการเปิดโปรแกรม word

ในการพิมพ์ตัวหนังสือมักจะมีสีพื้นที่เป็นสีสว่าง (ที่นิยมก้อคือตัวหนังสือดำ พื้นสีขาว )

สีพื้นที่สว่างขาวจ้า นี่เอง ทำให้ตาคุณจะเกิดอาการแพ้แสง ถ้ามีการพิมพ์ติดต่อกันนานๆ เพราะจ้องจอสีขาวนานเกินไป

หรือไม่ก้อ ในคนที่ชอบเล่นเกมส์บ่อยๆ มักจะมีการปรับแสงสว่างให้จ้าที่สุด เพราะเวลาเล่นเกมส์ ภาพพื้นหลังของเกมส์มักจะมืดๆ

เป็นสีกำแพง เป็นสีปราสาท มันจะให้สีสวยสดดี แต่การทำแบบนี้มีข้อเสียคือ

บางทีคุณหรือพี่น้องของคุณมาใช้คอมเครื่องนั้นต่อ จะทำให้บางครั้งลืมปรับความสว่างกลับมาให้มืดเหมือนเดิม

จากที่แค่สว่างพอที่จะพิมพ์รายงาน กลายเป็นจ้องจอสว่างจ้าตลอดคืนไม่รู้ตัว

สรุปก้อคือ

1. การมองตัวหนังสือที่แขวนลอยอยู่ในจอ โฟกัสไม่แน่นอน กล้ามเนื้อลูกตาทำงานหนัก 'ทำให้สายตาเสีย'

2. การเลื่อนตัวหนังสือและแถบบรรทัด ในหน้าคอม หรือ หน้าเนต มันจะเลื่อนแบบเป็นกระตุกๆ 'ทำให้สายตาเสีย'

การกระตุกๆ ของแถบบรรทัดนี่เอง ที่ทำให้สายตาเสีย

ถ้าคุณอ่านหนังสือจากเวปมากๆ คุณจะติดนิสัยเสียอย่างนึงติดตัวไปคือ

คุณจะติดนิสัย มองอะไรก้อตาม ไม่ว่าใกล้ไกล จะปรับโฟกัสมองเพ่งอยู่เสมอ ผลก้อคือ กล้ามเนื้อตาทำงานหนัก

คุณจะเริ่มมองของที่อยู่ไกลๆ เบลอๆ คุณจะไม่สามารถปรับโฟกัส มองของใกล้ แล้วมองไกล ได้ทันทีเหมือนเคย

(กล้ามเนื้อประสาทลูกตาจะล้า การปรับโฟกัสลูกตาเริ่มช้าลง)

3. การก้มๆ เงยๆ มองแป้นพิมพ์ และมองจอคอม กลับไปกลับมา ทำให้สายตาเสีย

4. การปรับจอภาพที่มีแสงสว่างจ้า มากเกินไปโดยไม่รู้ตัว ทำให้สายตาเสีย

(ข้อนี้ คล้ายๆ กับ การเปิดดูทีวี ในห้องมืดๆ เป็นประจำ แล้วทำให้สายตาเสียน่ะเอง อย่างเดียวกัน)

5. การใช้จอคอม ที่มีความกว้างมากเกิน !!

(จอคอมกว้างๆ นั้น เหมาะสำหรับการดูภาพ ดูหนัง แต่ไม่เหมาะกับการดูตัวหนังสือ !!)

เพราะว่า สายตาคนเรานั้นมีระยะการมองตัวอักษรที่ 1 ฟุต (12 นิ้ว)

แต่จอคอมสมัยใหม่ กลับมีความกว้าง 17 นิ้ว 19 นิ้ว หรือมากกว่านั้น

ซึ่งมันกว้างเกินระยะกวาดสายตามอง จากขอบหนึ่งไปสู่ อีกขอบหนึ่ง (ทำให้ปวดทั้งคอ ทั้งลูกตา)

แค่คุณนั่งอ่านหนังสือบนจอกว้างแบบนี้ หนึ่งชั่วโมง ลูกตาคุณจะทำงานปรับโฟกัส กลับไปกลับมา เป็นพันๆ ครั้ง

และถ้าเป็นปี หรือ หลายปี ติดต่อกัน สายตาคุณเสียแน่นอน

เพราะฉะนั้น ถ้าคุณจะอ่านหนังสือจากจอคอม ขนาดของจอคอมของคุณ ควรไม่เกิน 15 นิ้ว

ถามกลับไปว่า ทำไม กระดาษเอกสาร ที่ใช้ในการอ่าน การเขียนทั่วไป จึงมีขนาด A4?

(คำตอบ ก้อคือ ความกว้างของกระดาษ A4 ไม่กว้างเกินไป กำลังพอดี
ในการกวาดสายตามอง ยังงัยล่ะครับ)

และเป็นคำตอบเดียวกับที่ว่า ทำไมขนาดของจอคอมคุณที่จะเอามาอ่านหนังสือ ไม่ควรเกิน 15 นิ้ว นั่นเอง

และส่วนมากคนทั่วไป มักจะคิดไม่ถึงว่า การเล่นคอมทุกวัน ง่ายๆ นั้น

จะเป็นสาเหตุใหญ่ที่สามารถทำให้ตาบอดได้ ถ้าเกิดรุนแรง เพราะกว่าจะรู้ตัวไปหาหมอ

หมอก้ออาจจะบอกว่าคุณไม่สามารถรักษาหายได้แล้ว และต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเท่านั้น!!!

จึงอยากจะฝากประโยคเอาไว้ให้คนที่เล่นคอมทุกคนว่า

"คอมพิวเตอร์นั้น มีไว้สำหรับการค้นหามูล ไม่ได้มีไว้สำหรับการอ่านเป็นประจำ"

โดยเฉพาะการอ่าน อะไรก้อตามที่ยาวๆ เป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นไดอารี่ หนังสือบนเนต คุณเสี่ยงทั้งนั้น

เพราะฉะนั้น เราควรจะกลับมาอ่านหนังสือกระดาษกันเหมือนเดิม ลืมเรื่อง เล่นเนต เล่นคอมซะ เพื่อสุขภาพตา

ที่มา จากเวป T-PAGEANT
กรอบจาก KungGuenter





Create Date : 06 กรกฎาคม 2551
Last Update : 6 กรกฎาคม 2551 6:47:20 น. 0 comments
Counter : 734 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ooh_kk2007
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




สวัสดีครับ ชาว bloggang ทุกท่านครับ
-->
Friends' blogs
[Add ooh_kk2007's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.